ตระกูลภาษาญี่ปุ่น
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ เนื่องจากขาดข้อมูลสำคัญในหลายประเด็น คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
ตระกูลภาษาญี่ปุ่น (อังกฤษ: Japonic languages) หรือ ตระกูลภาษาญี่ปุ่น–รีวกีว (Japanese–Ryukyuan language family) เป็นตระกูลของภาษาที่ประกอบด้วยภาษาญี่ปุ่นที่มีผู้พูดบนเกาะหลักของญี่ปุ่น และกลุ่มภาษารีวกีวที่มีผู้พูดบนหมู่เกาะรีวกีว นักภาษาศาสตร์ให้การยอมรับการจัดตระกูลภาษานี้ และมีความคืบหน้าในการสร้างภาษาดั้งเดิมใหม่อย่างมาก[2] การสร้างใหม่แสดงนัยถึงการแยกระหว่างภาษาย่อยญี่ปุ่นและวิธภาษารีวกัวทั้งหมด น่าจะในช่วงก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 7 มีการรวมภาษาฮาจิโจที่มีผู้พูดในหมู่เกาะอิซุด้วย แต่ตำแหน่งในตระกูลภาษายังไม่เป็นที่กระจ่าง
ตระกูลภาษาญี่ปุ่น | |
---|---|
ตระกูลภาษาญี่ปุ่น–รีวกีว | |
ภูมิภาค: | ประเทศญี่ปุ่น อาจรวมคาบสมุทรเกาหลีในอดีต |
การจําแนก ทางภาษาศาสตร์: | หนึ่งในตระกูลภาษาหลักของโลก |
ภาษาดั้งเดิม: | ญี่ปุ่นดั้งเดิม |
กลุ่มย่อย: | |
ISO 639-5: | jpx |
กลอตโตลอก: | japo1237[1] |
ภาษาและภาษาย่อยในตระกูลภาษาญี่ปุ่น |
การจัดจำแนก
แก้ตระกูลภาษาญี่ปุ่นประกอบด้วยสองสาขาที่ระบุได้: ญี่ปุ่น และรีวกีว[3] นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าภาษาตระกูลญี่ปุ่นเข้าสู่เกาะคีวชูเหนือผ่านคาบสมุทรเกาหลีเมื่อประมาณ 700 ถึง 300 ปีก่อน ค.ศ. โดยชาวนาข้าวเปียกจากวัฒนธรรมยาโยอิ และกระจายทั่วหมู่เกาะญี่ปุ่น แทนที่ภาษาพื้นเมือง[4][5][a] มีการยืนยันการกระจายตัวของภาษาไอนุที่กว้างกว่าในอดีต ผ่านชื่อสถานที่ในเกาะฮนชูตอนเหนือที่ลงท้ายด้วย -betsu < ไอนุ pet 'แม่น้ำ' และ -nai < ไอนุ nai 'ลำธาร'[8][9][10] ในเวลาต่อมา ภาษาตระกูลญี่ปุ่นจึงกระจายไปทางใต้ของหมู่เกาะรีวกีว[4] มีหลักฐานชื่อสถานที่ที่เป็นชิ้นส่วนของภาษาตระกูลญี่ปุ่นที่สูญหายแล้วในปัจจุบัน ยังคงมีผู้พูดในภาคกลางและภาคใต้ของคาบสมุทรเกาหลีในอีกหลายศตวรรษต่อมา[11][12]
สมาชิก
แก้- ภาษาญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: 日本語; โรมาจิ: Nihon-go) ได้แก่
- สำเนียงญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ (ญี่ปุ่น: 本土方言; โรมาจิ: Hondo hōgen) ใช้พูดบนเกาะฮนชู คีวชู ชิโกกุ และฮกไกโด
- สำเนียงญี่ปุ่นตะวันออก (ญี่ปุ่น: 東日本方言; โรมาจิ: Higashi Nihon hōgen) ใช้พูดทางฝั่งตะวันออกของนาโงยะ รวมทั้งสำเนียงโตเกียว
- สำเนียงญี่ปุ่นตะวันตก (ญี่ปุ่น: 西日本方言; โรมาจิ: Nishi Nihon hōgen) ใช้พูดทางฝั่งตะวันตกของนาโงยะ รวมทั้งสำเนียงเกียวโต
- สำเนียงญี่ปุ่นคีวชู (ญี่ปุ่น: 九州方言; โรมาจิ: Kyūshū hōgen) ใช้พูดในบริเวณส่วนใหญ่ของคีวชู
- สำเนียงฮาชิโจ (ญี่ปุ่น: 八丈方言; โรมาจิ: Hachijō hōgen) สำเนียงของเกาะฮาชิโจจิมะ และหมู่เกาะไดโต
- สำเนียงญี่ปุ่นแผ่นดินใหญ่ (ญี่ปุ่น: 本土方言; โรมาจิ: Hondo hōgen) ใช้พูดบนเกาะฮนชู คีวชู ชิโกกุ และฮกไกโด
- ภาษารีวกีว (ญี่ปุ่น: 琉球語派; โรมาจิ: Ryūkyū-goha) เป็นภาษาดั้งเดิมที่ใช้กันบนหมู่เกาะรีวกีว ปัจจุบันภาษานี้กำลังอยู่ในภาวะวิกฤต จากการรับอิทธิพลของภาษาญี่ปุ่นหลังการสิ้นเอกราชของรีวกีว รวมทั้งอิทธิพลช่วงยุคเมจิ
- ภาษารีวกีวเหนือ (ญี่ปุ่น: 北琉球語群; โรมาจิ: Kita Ryūkyū-go-gun) เป็นสำเนียงที่ใช้กันทางตอนเหนือของหมู่เกาะรีวกีว อันได้แก่หมู่เกาะอามามิ และหมู่เกาะรีวกีว
- ภาษาอามามิ (ญี่ปุ่น: 奄美語; โรมาจิ: Amami-go) หรือ สำเนียงอามามิ (ญี่ปุ่น: 奄美方言; โรมาจิ: Amami hōgen) ใช้พูดกันบนหมู่เกาะอามามิ
- สำเนียงอามามิ-โอชิมะเหนือ (ญี่ปุ่น: 北奄美大島方言; โรมาจิ: Kita Amami Ōshima hōgen)
- สำเนียงอามามิ-โอชิมะใต้ (ญี่ปุ่น: 南奄美大島方言; โรมาจิ: Minami Amami Ōshima hōgen)
- สำเนียงคิไก (ญี่ปุ่น: 喜界方言; โรมาจิ: Kikai hōgen) หรือ ภาษาชิมะยูมิตะ (ญี่ปุ่น: シマユミタ; โรมาจิ: Shimayumita)
- ภาษาทากูโนชิมะ (ญี่ปุ่น: 徳之島語; โรมาจิ: Tokunoshima-go) หรือ สำเนียงทากูโนชิมะ (ญี่ปุ่น: 徳之島方言; โรมาจิ: Tokunoshima hōgen) หรือ ภาษาชิมะยูมิตะ (ญี่ปุ่น: シマユミィタ; โรมาจิ: Shimayumiita)
- ภาษาคูนิงามิ (ญี่ปุ่น: 国頭語; โรมาจิ: Kunigami-go) หรือ สำเนียงโอกินาวะเหนือ (ญี่ปุ่น: 沖縄北部方言; โรมาจิ: Okinawa Hokubu hōgen) หรือ ภาษายันบะรุคูตูบะ (ญี่ปุ่น: 山原言葉(ヤンバルクトゥーバ); โรมาจิ: Yanbaru Kutuuba) เป็นภาษาที่พูดกันทางตอนเหนือของหมู่เกาะโอกินาวะ
- ภาษาโอกิโนะเอราบุ (ญี่ปุ่น: 沖永良部方言; โรมาจิ: Okinoerabu-go) หรือ สำเนียงโอกิโนะเอราบุ (ญี่ปุ่น: 沖永良部方言; โรมาจิ: Okinoerabu hōgen) หรือ ภาษาชิมะมูนิ (ญี่ปุ่น: 島ムニ; โรมาจิ: Shimamuni)
- ภาษาโยรง (ญี่ปุ่น: 与論語; โรมาจิ: Yoron-go) หรือ สำเนียงโยรง (ญี่ปุ่น: 与論方言; โรมาจิ: Yoron hōgen) หรือ ภาษายูนนุฟูตูบะ (ญี่ปุ่น: ユンヌフトゥバ; โรมาจิ: Yunnu Futuba)
- ภาษาโอกินาวะ (ญี่ปุ่น: 沖縄語; โรมาจิ: Okinawa-go) หรือ สำเนียงโอกินาวะ (ญี่ปุ่น: 沖縄方言; โรมาจิ: Okinawa hōgen) หรือ ภาษาอูจินางูชิ (ญี่ปุ่น: 沖縄口・ウチナーグチ; โรมาจิ: Uchinaa-guchi) พูดกันทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะโอกินาวะ มีสำเนียงหลักคือสำเนียงเมืองนาฮะและชูริ
- ภาษาอามามิ (ญี่ปุ่น: 奄美語; โรมาจิ: Amami-go) หรือ สำเนียงอามามิ (ญี่ปุ่น: 奄美方言; โรมาจิ: Amami hōgen) ใช้พูดกันบนหมู่เกาะอามามิ
- ภาษารีวกีวใต้ (ญี่ปุ่น: 南琉球語群; โรมาจิ: Minami Ryūkyū-gogun) เป็นกลุ่มภาษาที่พูดกันทางตอนล่างของหมู่เกาะรีวกีว บริเวณหมู่เกาะซากิชิมะ
- ภาษามิยาโกะ (ญี่ปุ่น: 宮古語; โรมาจิ: Miyako-go) หรือ สำเนียงมิยาโกะ (ญี่ปุ่น: 宮古方言; โรมาจิ: Miyako hōgen) หรือ ภาษามิยากูฟูสึ (ญี่ปุ่น: ミャークフツ・宮古口; โรมาจิ: Myaaku-futsu) หรือ ภาษาซูมะฟูสึ (ญี่ปุ่น: スマフツ・島口; โรมาจิ: Suma-futsu) ใช้พูดบนหมู่เกาะมิยาโกะ
- ภาษายาเอยามะ (ญี่ปุ่น: 八重山語; โรมาจิ: Yaeyama-go) หรือ สำเนียงยาเอยามะ (ญี่ปุ่น: 八重山方言; โรมาจิ: Yaeyama hōgen) หรือ ภาษาไยมะมูนิ (ญี่ปุ่น: ヤイマムニ・八重山物言; โรมาจิ: Yaima-muni) ใช้พูดบนหมู่เกาะยาเอยามะ
- ภาษาโยนางูนิ (ญี่ปุ่น: 与那国語; โรมาจิ: Yonaguni-go) หรือ สำเนียงโยนางูนิ (ญี่ปุ่น: 与那国方言; โรมาจิ: Yonaguni hōgen) หรือ ภาษาดูนันมูนุย (ญี่ปุ่น: ドゥナンムヌイ・与那国物言; โรมาจิ: Dunan-munui) เป็นภาษาที่พูดบนเกาะโยนางูนิ
- ภาษารีวกีวเหนือ (ญี่ปุ่น: 北琉球語群; โรมาจิ: Kita Ryūkyū-go-gun) เป็นสำเนียงที่ใช้กันทางตอนเหนือของหมู่เกาะรีวกีว อันได้แก่หมู่เกาะอามามิ และหมู่เกาะรีวกีว
นอกจากนี้ คริสโตเฟอร์ เบ็กวิท ยังได้เพิ่มกลุ่มภาษาโบราณทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลีมาไว้ในกลุ่มตระกูลภาษาญี่ปุ่นโบราณ ได้แก่[13]
ซึ่งยังไม่มีการสรปุชี้ชัดว่า ก่อนคาระ (Pre-Kara) จะมีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับภาษาของรัฐคายาในกาลต่อมา
หมายเหตุ
แก้- ↑ Roy Andrew Miller identified the arrival of Japonic with the Early Jōmon period (ประมาณ 3000 BC), but this is difficult to reconcile with the relatively shallow depth of Japonic and the presence of Japonic placenames on the Korean peninsula in the 1st millennium AD.[6][7]
อ้างอิง
แก้- ↑ Nordhoff, Sebastian; Hammarström, Harald; Forkel, Robert; Haspelmath, Martin, บ.ก. (2013). "Japonic". Glottolog 2.2. Leipzig: Max Planck Institute for Evolutionary Anthropology.
- ↑ Shimabukuro (2007), p. 1.
- ↑ Tranter (2012), p. 3.
- ↑ 4.0 4.1 Serafim (2008), p. 98.
- ↑ Vovin (2017).
- ↑ Hudson (1999), pp. 86–87.
- ↑ Whitman (2011), p. 155.
- ↑ Patrie (1982), p. 4.
- ↑ Tamura (2000), p. 269.
- ↑ Hudson (1999), p. 98.
- ↑ Vovin (2013), pp. 222–224.
- ↑ Sohn (1999), pp. 35–36.
- ↑ Christopher Beckwith, 2007, Koguryo, the Language of Japan's Continental Relatives, pp 27–28
ข้อมูล
แก้- Beckwith, Christopher (2007), Koguryo, the Language of Japan's Continental Relatives, BRILL, ISBN 978-90-04-16025-5.
- de Boer, Elisabeth (2020), "The classification of the Japonic languages", ใน Robbeets, Martine; Savelyev, Alexander (บ.ก.), The Oxford Guide to the Transeurasian Languages, Oxford University Press, pp. 40–58, doi:10.1093/oso/9780198804628.003.0005, ISBN 978-0-19-880462-8.
- Frellesvig, Bjarke (2010), A History of the Japanese Language, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-65320-6.
- Frellesvig, Bjarne; Whitman, John (2008), "Introduction", ใน Frellesvig, Bjarne; Whitman, John (บ.ก.), Proto-Japanese: Issues and Prospects, John Benjamins, pp. 1–9, ISBN 978-90-272-4809-1.
- Grimes, Barbara (2003), "Japanese – Language list", ใน Frawley, William (บ.ก.), International Encyclopedia of Linguistics, vol. 2 (2nd ed.), Oxford University Press, p. 335, ISBN 978-0-19-513977-8.
- Heinrich, Patrick; Ishihara, Masahide (2017), "Ryukyuan languages in Japan", ใน Seals, Corinne A.; Shah, Sheena (บ.ก.), Heritage Language Policies around the World, Routledge, pp. 165–184, ISBN 978-1-317-27404-9.
- Hudson, Mark J. (1999), Ruins of Identity: Ethnogenesis in the Japanese Islands, University of Hawai'i Press, ISBN 978-0-8248-2156-2.
- Izuyama, Atsuko (2012), "Yonaguni", ใน Tranter, Nicolas (บ.ก.), The Languages of Japan and Korea, Routledge, pp. 412–457, ISBN 978-0-415-46287-7.
- Kindaichi, Haruhiko (1978) [1957], The Japanese Language, Tuttle, ISBN 978-1-4629-0266-8.
- Lee, Ki-Moon; Ramsey, S. Robert (2011), A History of the Korean Language, Cambridge University Press, ISBN 978-1-139-49448-9.
- Martin, Samuel Elmo (1987), The Japanese Language through Time, New Haven and London: Yale University Press, ISBN 978-0-300-03729-6.
- Miyake, Marc Hideo (2003), Old Japanese: A Phonetic Reconstruction, London; New York: RoutledgeCurzon, ISBN 978-0-415-30575-4.
- Patrie, James (1982), The Genetic Relationship of the Ainu Language, Oceanic Linguistics Special Publications, vol. 17, University of Hawai'i Press, ISBN 978-0-8248-0724-5, JSTOR 20006692.
- Pellard, Thomas (2015), "The linguistic archeology of the Ryukyu Islands", ใน Heinrich, Patrick; Miyara, Shinsho; Shimoji, Michinori (บ.ก.), Handbook of the Ryukyuan languages: History, structure, and use, De Gruyter Mouton, pp. 13–37, doi:10.1515/9781614511151.13, ISBN 978-1-61451-161-8, S2CID 54004881.
- ——— (2018), "The comparative study of the Japonic languages", Approaches to endangered languages in Japan and Northeast Asia: Description, documentation and revitalization, Tachikawa, Japan: National Institute for Japanese Language and Linguistics.
- Serafim, Leon A. (2008), "The uses of Ryukyuan in understanding Japanese language history", ใน Frellesvig, Bjarne; Whitman, John (บ.ก.), Proto-Japanese: Issues and Prospects, John Benjamins, pp. 79–99, ISBN 978-90-272-4809-1.
- Shibatani, Masayoshi (1990), The Languages of Japan, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-36918-3
- Shimabukuro, Moriyo (2007), The Accentual History of the Japanese and Ryukyuan Languages: a Reconstruction, London: Global Oriental, ISBN 978-1-901903-63-8.
- Shimoji, Michinori (2010), "Ryukyuan languages: an introduction", ใน Shimoji, Michinori; Pellard, Thomas (บ.ก.), An Introduction to Ryukyuan Languages (PDF), Tokyo: Research Institute for Languages and Cultures of Asia and Africa, pp. 1–13, ISBN 978-4-86337-072-2.
- ——— (2012), "Northern Ryukyuan", ใน Tranter, Nicolas (บ.ก.), The Languages of Japan and Korea, Routledge, pp. 351–380, ISBN 978-0-415-46287-7.
- ——— (2022), "The Japonic Languages: an Introduction", ใน Shimoji, Michinori (บ.ก.), An Introduction to the Japonic Languages: Grammatical Sketches of Japanese Dialects and Ryukyuan Languages, Endangered and Lesser-Studied Languages and Dialects, vol. 1, Leiden: Brill, pp. 1–24, doi:10.1163/9789004519107, ISBN 978-90-04-51910-7.
- Sohn, Ho-Min (1999), The Korean Language, Cambridge: Cambridge University Press, ISBN 978-0-521-36123-1.
- Tamura, Suzuko (2000), The Ainu Language, ICHEL Linguistic Studies, vol. 2, Tokyo: Sanseido, ISBN 978-4-385-35976-2.
- Tranter, Nicholas (2012), "Introduction: typology and area in Japan and Korea", ใน Tranter, Nicolas (บ.ก.), The Languages of Japan and Korea, Routledge, pp. 3–23, ISBN 978-0-415-46287-7.
- Vovin, Alexander (2010), Korea-Japonica: A Re-evaluation of a Common Genetic Origin, University of Hawaii Press, ISBN 978-0-8248-3278-0, JSTOR j.ctt6wqz03.
- ——— (2013), "From Koguryo to Tamna: Slowly riding to the South with speakers of Proto-Korean", Korean Linguistics, 15 (2): 222–240, doi:10.1075/kl.15.2.03vov.
- ——— (2017), "Origins of the Japanese Language", Oxford Research Encyclopedia of Linguistics, Oxford University Press, doi:10.1093/acrefore/9780199384655.013.277, ISBN 978-0-19-938465-5.
- Whitman, John (2011), "Northeast Asian Linguistic Ecology and the Advent of Rice Agriculture in Korea and Japan", Rice, 4 (3–4): 149–158, doi:10.1007/s12284-011-9080-0.
- ——— (2012), "The relationship between Japanese and Korean" (PDF), ใน Tranter, Nicolas (บ.ก.), The Languages of Japan and Korea, Routledge, pp. 24–38, ISBN 978-0-415-46287-7.
อ่านเพิ่ม
แก้- Shimoji, Michinori, บ.ก. (2022), An Introduction to the Japonic Languages: Grammatical Sketches of Japanese Dialects and Ryukyuan Languages, Endangered and Lesser-Studied Languages and Dialects, vol. 1, Leiden: Brill, doi:10.1163/9789004519107, ISBN 978-90-04-51910-7.
- Vovin, Alexander (1994), "Long-distance Relationships, Reconstruction Methodology, and the Origins of Japanese", Diachronica, 11 (1): 95–114, doi:10.1075/dia.11.1.08vov.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Databases of dialectical and historical linguistics at the National Institute for Japanese Language and Linguistics
- 『日本言語地図』地図画像 (Linguistic Atlas of Japan)