ตถาคตครรภ์
ในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานมีการตีความ ตถาคตครรภ์ (สันสกฤต: Tathāgatagarbha; จีน: 如来藏) หรือ พุทธธาตุ (จีน: 佛性 ฝอซิ่ง) แตกต่างกันในแต่ละสำนัก[1] โดยทั่วไปถือว่า ตถาคตครรภ์ เป็นภาวะบริสุทธิ์ดั้งเดิมที่มีอยู่ในจิตทั้งหลาย ภาวะนี้จึงเป็นเหมือนเมล็ดพันธุ์ (พีชะ seed) หรือ หน่อเนื้อ (embryo) ที่จะพัฒนาไปสู่การตรัสรู้ต่อไป
คำว่า ตถาคตครรภ์ เป็นคำสมาสมาจากคำว่า ตถาคต (พระพุทธเจ้า) + ครรภ์ (ท้อง womb) ซึ่งนักวิชาการตีความคำว่า "ครรภ์" อาจจะหมายถึง "ภายในหรือศูนย์กลางของสิ่งใดๆ" (the interior or middle of anything) "เก็บบรรจุ" (containing) "มีอยู่ภายใน" (having in the interior), “เต็มไปด้วย" (being filled with) "หน่อเนื้อ" (embryo) [2] หรือ สารัตถะ/แก่นแท้ (essence) [3]
ตถาคตครรภ์ จึงอาจหมายถึง ท้อง/ที่เก็บ/แก่น/หน่อเนื้อ ของพระตถาคต หรือ "ช่องบรรจุตถาคตอยู่ภายใน" หรือ "ท้องที่มีตถาคตซ่อนอยู่ภายใน" หรือ "ธรรมกายภายในท้อง" ขณะที่ 佛性 ในภาษาจีนหมายถึงสภาวะของพระพุทธเจ้า (พุทธภาวะ)หรือ "พุทธธาตุ" (buddhadhātu)[4] ส่วนนิกายวัชรยานนิยมใช้คำว่าสุคตครรภ์[5]
พระสูตรมหายานที่กล่าวถึง "ตถาคตครรภ์" มีหลายพระสูตร ได้แก่ ตถาคตครรภสูตร ศรีมาลาเทวีสิงหนาทสูตร มหายานมหาปรินิรวาณสูตร ลังกาวตารสูตร อวตังสกสูตร มหายานศรัทโธตปาทศาสตร์ เป็นต้น
อ้างอิง
แก้- ↑ สุมาลี มหณรงค์ชัย, พุทธศาสนามหายาน, กรุงเทพฯ : ศยาม, 2546, หน้า 124-134
- ↑ Brunnhölzl, Karl. "Different Ways of Explaining the Meaning of Tathāgatagarbha." In When the Clouds Part: The Uttaratantra and Its Meditative Tradition as a Bridge between Sūtra and Tantra, 53–80. Boston: Snow Lion Publications, 2014.
- ↑ Lopez, Donald S. (2001). The Story of Buddhism: a concise guide to its history & teaching. New York, NY, USA: HarperCollins Publishers, Inc. ISBN 0-06-069976-0 (cloth): p.263
- ↑ https://www.oxfordreference.com/display/10.1093/acref/9780190681159.001.0001/acref-9780190681159-e-736
- ↑ http://www.rigpawiki.org/index.php?title=Sugatagarbha