เกาะซุมบาวา
ซุมบาวา (อินโดนีเซีย: Sumbawa) เป็นเกาะในประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่ตรงกลางของหมู่เกาะซุนดาน้อย โดยทางตะวันตกติดกับเกาะลมบก ทางตะวันออกติดกับเกาะโฟลเร็ซ และทางตะวันออกเฉียงใต้ไปยังเกาะซุมบา เกาะนี้กับเกาะลมบกอยู่ในจังหวัดนูซาเติงการาตะวันตก แต่รัฐบาลอินโดนีเซียมีแผนที่จะแยกเกาะเหล่านี้ออกเป็นจังหวัดต่างหาก[1] เกาะเต็มไปด้วยภูเขา ยอดสูงสุดเป็นภูเขาไฟชื่อ กูนุงตัมโบรา อยู่ที่ปลายสุดของคาบสมุทรทางตอนเหนือ มีดินอุดมสมบูรณ์สามารถปลูกพืชเมืองร้อนได้ดีหลายชนิด
ภูมิศาสตร์ | |
---|---|
ที่ตั้ง | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
พิกัด | 8°47′S 118°5′E / 8.783°S 118.083°E |
กลุ่มเกาะ | หมู่เกาะเลสเซอร์ซุนดา |
พื้นที่ | 15,414.50 ตารางกิโลเมตร (5,951.57 ตารางไมล์) |
อันดับพื้นที่ | ที่ 57 |
ระดับสูงสุด | 2,850 ม. (9350 ฟุต) |
จุดสูงสุด | เขาตัมโบรา |
การปกครอง | |
อินโดนีเซีย | |
จังหวัด | นูซาเติงการาตะวันตก |
ประชากรศาสตร์ | |
ประชากร | 1,604,477 (ประมาณกลาง ค.ศ. 2022) |
ความหนาแน่น | 104.09/กม.2 (269.59/ตารางไมล์) |
กลุ่มชาติพันธุ์ | ซุมบาวา, บีมา |
เดิมเกาะนี้เป็นเมืองประเทศราชของอาณาจักรมัชปาหิต ต่อมา แตกออกเป็นรัฐขนาดเล็กหลายแห่ง เริ่มติดต่อกับฮอลันดาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 เมื่อ ค.ศ. 1815 ภูเขาไฟกูนุงตัมโบราเกิดปะทุอย่างรุนแรงทำให้ประชาชนเสียชีวิตและไร้ที่อยู่อาศัยหลายหมื่นคน จึงมีการอพยพผู้คนจากเกาะใกล้เคียงเข้ามาอยู่อาศัยแทน ในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ฮอลันดาได้เข้ามาปกครอง ถูกญี่ปุ่นเข้ายึดครองระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นส่วนหนึ่งของประเทศอินโดนีเซียเมื่อได้รับเอกราชใน ค.ศ. 1950
เกาะซุมบาวามีพื้นที่ (รวมเกาะเล็กนอกชายฝั่ง) 15,414.50 ตารางกิโลเมตร หรือ 5,951.57 ตารางไมล์ (ขนาดเป็น 3 เท่าของเกาะลมบก) มีประชากร 1,561,461 คน (ตามสำมะโน ค.ศ. 2020)[2] ส่วนจำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการในช่วงกลาง ค.ศ. 2022 อยู่ที่ 1,604,477 คน[3] เกาะเป็นเขตแดนระหว่างเกาะทางทิศตะวันตกที่ได้รับอิทธิพลจากศาสนาและวัฒนธรรมที่เผยแพร่จากอินเดีย และภูมิภาคทางตะวันออกที่ได้รับอิทธิพลน้อยกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้กับทั้งศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม
ศัพทมูลวิทยา
แก้ซุมบาวา (Sumbawa) เป็นรูปแผลงภาษาโปรตุเกสจากชื่อท้องถิ่นว่า Sambawa (ยังคงพบในภาษามากัซซาร์, cf. หรือ Semawa ในภาษาซุมบาวา) ชื่อนี้น่าจะมาจากภาษาสันสกฤตว่า śāmbhawa (शम्भु) หมายถึง 'มีความเกี่ยวข้องกับ Śambhu (= 'ผู้ทรงเมตตา', พระนามของพระศิวะ)'[4]
เขตบริหาร
แก้เกาะซุมบาวาแบ่งเขตบริหารออกเป็น 4 อำเภอ และ 1 นคร ดังนี้:
ชื่อ | เมืองหลัก | พื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) |
ประชากร สำมะโน 2010 |
ประชากร สำมะโน 2020 |
ประชากร ประมาณการ กลาง 2022 | |
---|---|---|---|---|---|---|
นครบีมา | บีมา | 207.50 | 142,579 | 155,140 | 157,362 | 0.722 (สูง) |
อำเภอบีมา | โวฮา | 4,389.40 | 439,228 | 514,105 | 527,952 | 0.626 (ปานกลาง) |
อำเภอดมปู | ดมปู | 2,324.60 | 218,973 | 236,665 | 239,781 | 0.635 (ปานกลาง) |
อำเภอซุมบาวา | ซุมบาวาเบอซาร์ | 6,643.98 | 415,789 | 509,753 | 527,607 | 0.628 (ปานกลาง) |
อำเภอซุมบาวาตะวันตก (Sumbawa Barat) |
ตาลีวัง | 1,849.02 | 114,951 | 145,798 | 151,775 | 0.671 (ปานกลาง) |
รวม | 15,414.50 | 1,331,520 | 1,561,461 | 1,604,477 |
ปัจจุบันรัฐบาลอินโดนีเซียพิจารณาแบ่งจังหวัดนูซาเติงการาบารัตออกไปเป็นจังหวัด เกาะซุมบาวา ใหม่[5] แต่ไม่มีข้อมูลว่าจะมีการเปลี่ยนชื่อส่วนของจังหวัดในปัจจุบัน (อำเภอในเกาะลมบก) หรือไม่
ประชากร
แก้ชาวมากัซซาร์จากเกาะซูลาเวซีเป็นผู้นำศาสนาอิสลามเข้ามาในเกาะนี้
ประชากรบนเกาะ (รวมเกาะเล็กรอบนอก) มี 1.56 ล้านคนตามสำมะโนใน ค.ศ. 2020 เทียบเท่า 29.46%[2] ของประชากรทั้งจังหวัดนูซาเติงการาตะวันตกที่มี 5.32 ล้านคน[6] จำนวนประมาณการอย่างเป็นทางการในช่วงกลาง ค.ศ. 2022 มีมากกว่า 1.6 ล้านคน
เนื่องจากขาดโอกาสที่จะได้งานบนเกาะและเกิดภัยแล้งบ่อยครั้ง[7] ทำให้หลายคนไปทำงานเป็นกรรมกรหรือแรงงานทำงานบ้านในตะวันออกกลาง แรงงานประมาณ 500,000 คน หรือมากกว่า 10% ของประชากรทั้งจังหวัด ออกไปทำงานต่างประเทศ[8]
อ้างอิง
แก้- ↑ Jakarta Post, 14 November 2013
- ↑ 2.0 2.1 Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2021.
- ↑ Badan Pusat Statistik, Jakarta, 2023.
- ↑ Noorduyn, J. (1987). "Makasar and the islamization of Bima". Bijdragen tot de Taal-, Land- en Volkenkunde. 143 (2/3): 312–342. doi:10.1163/22134379-90003330. JSTOR 27863842.
Sumbawa is a Portuguese corruption, Cumbava or Cimbava, of the original name Sambawa - possibly deriving from Sham- bhawa (Van Naerssen 1938:92) 'related to Shambhu', i.e. God Shiva
- ↑ Officials support new province for Sumbawa | The Jakarta Post
- ↑ "Indonesia (Urban City Population): Provinces & Cities - Statistics & Maps on City Population". Citypopulation.de. สืบค้นเมื่อ 15 September 2014.
- ↑ "Local Government Asks People to Be Careful of Drought Hazard Threats". Gaung NTB. March 30, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2012.
- ↑ Frode F. Jacobsen (2009). Hadrami Arabs in Present-day Indonesia: An Indonesia-oriented Group with an Arab Signature. Routledge. p. 30. ISBN 978-1-134-01852-9.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Sumbawa Tourist Attraction เก็บถาวร 2012-03-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- West Nusa Tenggara
- Hägerdal, Hans (2017), Held's History of Sumbawa. Amsterdam: Amsterdam University Press.[1] เก็บถาวร 2019-12-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน