ซีบู

เมืองในรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย

ซีบู (จีนตัวย่อ: 诗巫; จีนตัวเต็ม: 詩巫; พินอิน: Shīwū; ยฺหวิดเพ็ง: Si1 Mou4; เป่อ่วยยี: Si-bû) เป็นเมืองในแผ่นดินในรัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย เมืองตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว มีพื้นที่ 129.5 ตารางกิโลเมตร (50.0 ตารางไมล์)[12] ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำราจังและแม่น้ำอีกัน[13] อยู่ห่างจากทะเลจีนใต้ราว 60 กม.[14] และอยู่ห่างจากเมืองหลวงของรัฐ เมืองกูจิงราว 191.5 กิโลเมตร (119 ไมล์) ทางทิศเหนือ-ตะวันออก[15] ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวจีน โดยเฉพาะชาวจีนฝูโจว มีประชากรพื้นถิ่นอย่าง เมลาเนา มลายู และอีบัน ยังคงอาศัยอยู่บริเวณนี้[16] ข้อมูลประชากรในเมืองเมื่อ ค.ศ. 2010 มีประชากร 162,676 คน[7]

ซีบู

Sibu
เมือง
สถานที่ต่าง ๆ ในเมืองซีบู
สถานที่ต่าง ๆ ในเมืองซีบู
ตราอย่างเป็นทางการของซีบู
ตราสภาเทศบาลซีบู
สมญา: 
"เมืองหงส์"
แผนที่
ซีบูตั้งอยู่ในรัฐซาราวัก
ซีบู
ซีบู
ที่ตั้งของซีบูในรัฐซาราวัก
ซีบูตั้งอยู่ในมาเลเซียตะวันออก
ซีบู
ซีบู
ซีบู (มาเลเซียตะวันออก)
ซีบูตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย
ซีบู
ซีบู
ซีบู (ประเทศมาเลเซีย)
พิกัด: 02°17′16″N 111°49′51″E / 2.28778°N 111.83083°E / 2.28778; 111.83083
ประเทศ มาเลเซีย
รัฐรัฐซาราวัก ซาราวัก
เขตซีบ
อำเภอซีบู
ก่อตั้งโดยเจมส์ บรูก1862
Wong Nai Siong ตั้งถิ่นฐาน21 มกราคม 1901
จัดตั้งเทศบาล1 พฤศจิกายน 1981
การปกครอง[1]
 • ประเภทสภาเทศบาลซีบู
 • ประธานTiong Thai King
พื้นที่[2]
 • เทศบาล129.5 ตร.กม. (50.0 ตร.ไมล์)
ความสูง[3][4]0 เมตร (0 ฟุต)
ความสูงจุดสูงสุด[5]59 เมตร (194 ฟุต)
ประชากร
 (2014[6])[7]
 • เทศบาล162,676 คน
 • ความหนาแน่น1,256 คน/ตร.กม. (3,250 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล240,165 คน
เขตเวลาUTC+8 (เวลามาตรฐานมาเลเซีย[8])
รหัสไปรษณีย์96xxx[9]
รหัสพื้นที่084 (เฉพาะโทรศัพท์บ้าน)[10]
ทะเบียนยานพาหนะQS (ยานพาหนะทั้งหมด ยกเว้นแท็กซี่)
HQ (เฉพาะแท็กซี่)[11]
เว็บไซต์www.smc.gov.my

เมืองซีบูก่อตั้งขึ้นโดยเจมส์ บรูก ในปี ค.ศ. 1862 โดยเขาได้สร้างป้อมในเมืองเพื่อป้องกันการโจมตีจากชาวดาจัก ต่อมาชาวจีนฮกเกี้ยนได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณป้อม และมีกิจกรรมการค้าในเมือง ในปี ค.ศ. 1901 หว่อง ไน เซียง (Wong Nai Siong) ได้นำผู้อพยพชาวฝูโจวจำนวน 1,118 คน จากมณฑลฝูเจี้ยนมาอาศัยอยู่ที่เมืองซีบู ทำให้เมืองซีบูขึ้นชื่อว่าเป็น "ฝูโจวแห่งใหม่" มีการสร้างตลาดและโรงพยาบาลแห่งแรกในการปกครองของบรูก โรงพยาบาลเลาคิงเฮา (Lau King Howe) และโรงเรียนเมทอดิสต์และโบสถ์หลายแห่ง สร้างขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1930 อย่างไรก็ตาม เกิดเหตุไฟไหม้ในเมืองซีบู 2 ครั้งในปี ค.ศ. 1889 และ 1928 และมีการก่อสร้างใหม่หลังจากนั้น ไม่มีการต่อสู้ในเมืองซีบูในช่วงที่ญี่ปุ่นเข้ามาในซาราวัก ในปี ค.ศ. 1941 ญี่ปุ่นได้เข้ามาสร้างที่พักอาศัยในซีบูในเดือนมิถุนายน ค.ศง 1942 และได้เปลี่ยนชื่อเมืองมาเป็น ซีบู-ชู (Sibu-shu) ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1942 หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1945 อังกฤษได้เข้ามายึดครองซีบูในฐานะคราวน์โคโลนี นี่เป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวเมลาเนารุ่นใหม่ในซีบูไม่พอใจ เป็นผลทำให้เจ้าหน้าที่บริหารชาวอังกฤษคนที่ 2 เซอร์ ดังคัน จอร์จ สจ๊วต ถูกลอบสังหารโดย รอสลี โดบี (Rosli Dhobi) เมื่อเขามาถึงซีบูในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1949 ต่อมารอสลีถูกแคว้นคอตายในคุกกลางกูจิงในปี ค.ศ. 1950 ลุ่มน้ำซีบูและราจังเป็นศูนย์กลางกิจกรรมของลัทธิคอมมิวนิสต์ และคงดำเนินต่อไปแม้ซาราวักได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1963

ศัพทมูลวิทยา

แก้

ก่อน ค.ศ.1873 ซีบูเคยมีชื่อเรียกว่า "มาลิง" (Maling) ซึ่งมาจากส่วนโค้งของแม่น้ำราจังที่มีชื่อว่า "ตันจุงมาลิง" (Tanjung Maling) ที่อยู่ตรงข้ามกับที่ตั้งของเมืองซีบูในปัจจุบัน[17]

อ้างอิง

แก้
  1. "Clarence Ting's appointment as SMC chairman hailed by many". The Borneo Post. The Borneo Post. 23 August 2019. สืบค้นเมื่อ 25 September 2019.
  2. "History Of Sibu Municipal Council (SMC)". Sibu Municipal Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-12. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
  3. "Malaysia Elevation Map (Elevation of Sibu)". Flood Map : Water Level Elevation Map. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2015. สืบค้นเมื่อ 22 August 2015.
  4. "Sibu, Malaysia Weather History and Climate Data". WorldClimate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 December 2004. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
  5. "Bukit Aup Jubilee Park". Sarawak Tourism Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 March 2015. สืบค้นเมื่อ 11 March 2015.
  6. "State statistics: Malays edge past Chinese in Sarawak". The Borneo Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2016. สืบค้นเมื่อ 15 April 2016.
  7. 7.0 7.1 "Population Distribution by Local Authority Areas and Mukims, 2010 (page 3)" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 5 February 2015. สืบค้นเมื่อ 5 February 2015.
  8. "Current local time in Sibu, Malaysia". worldtimezone.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2015. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
  9. "Datasets Malaysia - Sibu". geopostcodes.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2014. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
  10. "Page 58 Sarawak Visitors Guide 2014 - Sibu & Central Sarawak". sarawak.gov.my. Sarawak State Government. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2015. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
  11. Soon, Teh Wei (23 March 2015). "Some Little Known Facts On Malaysian Vehicle Registration Plates". Malaysian Digest. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2015. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
  12. Shelley, Sii (10 April 2006). "About Sibu - Today's Sibu Town". Collaborative Resource Development - Universiti Malaya. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2015. สืบค้นเมื่อ 5 February 2015.
  13. "Sibu". Encyclopædia Britannica. สืบค้นเมื่อ 5 February 2015.
  14. "Introducing Sibu". Lonely Planet. สืบค้นเมื่อ 5 February 2015.
  15. "Cheap flights from Sibu to Kuching". Trip Advisor. สืบค้นเมื่อ 5 February 2015.
  16. "Total population by ethnic group, sub-district and state, Malaysia, 2010 (page 376)" (PDF). Department of Statistics, Malaysia. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 February 2015. สืบค้นเมื่อ 5 January 2015.
  17. Chua, Andy (21 September 2010). "BORNEO BEATS: Sibu's big fuss". The Star (Malaysia). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 July 2015. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015. According to historical facts, Sibu was known as Maling before June 1, 1873. It was named after the winding portion of a river in Tanjung Maling located at the other side of Rejang River. Maling was a small village with a few small and simple shophouses.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Sibu
  •   คู่มือการท่องเที่ยว ซีบู จากวิกิท่องเที่ยว (ในภาษาอังกฤษ)