ชุมพล ศิลปอาชา
ชุมพล ศิลปอาชา (6 มิถุนายน พ.ศ. 2483 – 21 มกราคม พ.ศ. 2556) เป็นนักการเมืองชาวไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีหลายสมัย ตลอดจนตำแหน่งทางการเมืองอื่น ๆ และยังเคยดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร
ชุมพล ศิลปอาชา | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรี | |
ดำรงตำแหน่ง 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 – 21 มกราคม พ.ศ. 2556 (1 ปี 165 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | สุเทพ เทือกสุบรรณ สนั่น ขจรประศาสน์ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี |
ถัดไป | ยุคล ลิ้มแหลมทอง |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา | |
ดำรงตำแหน่ง 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 21 มกราคม พ.ศ. 2556 (4 ปี 32 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร |
ก่อนหน้า | วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ |
ถัดไป | สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541 (0 ปี 321 วัน) | |
นายกรัฐมนตรี | ชวน หลีกภัย |
ก่อนหน้า | ชิงชัย มงคลธรรม |
ถัดไป | ปัญจะ เกสรทอง |
หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา | |
ดำรงตำแหน่ง 24 มกราคม พ.ศ. 2552 – 21 มกราคม พ.ศ. 2556 (3 ปี 362 วัน) | |
ก่อนหน้า | บรรหาร ศิลปอาชา (พรรคชาติไทย) |
ถัดไป | ธีระ วงศ์สมุทร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 6 มิถุนายน พ.ศ. 2483 อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 21 มกราคม พ.ศ. 2556 (72 ปี) โรงพยาบาลรามาธิบดี กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
พรรคการเมือง | ชาติไทย (2517—2549) ชาติไทยพัฒนา (2552–2556) |
คู่สมรส | ดวงมาลย์ ศิลปอาชา |
บุตร | 2 คน |
ลายมือชื่อ | |
ประวัติ
แก้นายชุมพล ศิลปอาชา เกิดเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ที่ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นบุตรของเซ่งกิม และสายเอ็ง แซ่เบ๊ เป็นน้องชายของบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีไทย คนที่ 21 จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท (M.P.A.) มหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐอเมริกา ด้านชีวิตครอบครัว ได้สมรสกับดวงมาลย์ ศิลปอาชา (สกุลเดิม เจียรสวัสดิ์วัฒนา) ผู้พิพากษาอาวุโส ศาลคดีเด็กสมุทรปราการ มีบุตร 2 คน คือ สลิลดา ศิลปอาชา กับรัฐพล ศิลปอาชา
การทำงาน
แก้ชุมพล ศิลปอาชา เคยรับราชการประจำที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และเป็นอาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[1] ต่อมาจึงได้เข้าสู่เส้นทางการเมือง เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดพรรคชาติไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 - 2535 เคยดำรงตำแหน่งสำคัญทางการเมืองหลายตำแหน่ง อาทิ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2523-2534 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม[2] พ.ศ. 2524-2526 รองประธานสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529 และ พ.ศ. 2535
ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 จึงได้เข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในรัฐบาลชวน หลีกภัย และหลังจากนั้นจึงได้หันหลังให้งานการเมืองในสภาผู้แทนราษฎร ไปลงสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา จนกระทั่งภายหลังการยุบพรรคชาติไทย และตัดสิทธิ์ทางการเมืองแกนนำพรรค ในปี พ.ศ. 2551 ส่งผลให้สมาชิกรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่ในชื่อว่า "พรรคชาติไทยพัฒนา" นายชุมพล ศิลปอาชา จึงได้หันกลับมาสู่งานการเมืองสภาล่างอีกครั้ง โดยการรับตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา
ต่อมาได้นำสมาชิกพรรคให้การสนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ ในการจัดตั้งรัฐบาล และเสนอชื่ออภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้ชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา[3]
ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี (กำกับดูแลกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงวัฒนธรรม) [4] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร[5] และจากการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน โดยสำนักเอแบคโพล เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2555 เขาเป็นรัฐมนตรีที่ประชาชนพึงพอใจ เป็นลำดับที่ 3[6] รองจากนายกรัฐมนตรี และ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 11 ระหว่าง 29 มิถุนายน พ.ศ. 2549 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551[7] และระหว่าง 29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 - 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (ขอลาออก)[8]
ถึงแก่อสัญกรรม
แก้ชุมพล ศิลปอาชา ถึงแก่อสัญกรรมเพราะหัวใจล้มเหลว เมื่อเวลาประมาณ 09:30 นาฬิกา ของวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556 ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี ในขณะที่ยังดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นผู้แทนพระองค์พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ ณ วัดเทพศิรินทราวาส ต่อมามีพระบรมราชโองการพระราชทานโกศไม้สิบสอง เนื่องจากถึงแก่อสัญกรรมระหว่างปฏิบัติหน้าที่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานพวงมาลาประจำพระองค์และพระบรมวงศ์ศานุวงศ์อีกด้วย และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินในการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2529 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2525 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[11]
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
อ้างอิง
แก้- ↑ ประวัตินายชุมพล ศิลปอาชา[ลิงก์เสีย]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ รัฐมนตรีลาออก ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและตั้งรัฐมนตรี (ปรับปรุงคณะรัฐมนตรีในสมัยพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี จำนวน ๒๖ ราย)
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
- ↑ แบ่งงานรองนายกฯ "ยงยุทธ" เป็นเบอร์ 1 "เฉลิม" คุมสื่อ-ตำรวจ "โกวิท" ดูแลข่าวกรอง-สมช. เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจาก มติชน
- ↑ พระบรมราชโองการประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษที่ 88 ง วันที่ 9 สิงหาคม 2554 หน้า 1
- ↑ "เปิดชื่อ 10 อันดับรัฐมนตรีที่ปชช.พอใจและ 10 อันดับรมต. โลกลืม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-09. สืบค้นเมื่อ 2013-02-10.
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๖๘ ง หน้า ๖ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๔๙
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัย และกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิของมหาวิทยาลัยศิลปากร, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๓๔ ง หน้า ๙ ๕ สิงหาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๑๘๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๕
- ↑ รายพระนามและนามผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๕ จากเว็บไซต์ thaiscouts
ก่อนหน้า | ชุมพล ศิลปอาชา | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
สุเทพ เทือกสุบรรณ พลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ ไตรรงค์ สุวรรณคีรี |
รองนายกรัฐมนตรี (ครม. 60) (9 สิงหาคม พ.ศ. 2554 - 21 มกราคม พ.ศ. 2556) |
ยุคล ลิ้มแหลมทอง | ||
ชิงชัย มงคลธรรม | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2541) |
ปัญจะ เกสรทอง | ||
วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (ครม.59 - 60) (20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 - 21 มกราคม พ.ศ. 2556) |
สมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ | ||
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ (สมัยที่ 1) |
นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 10 สมัยที่ 1 (29 มิถุนายน พ.ศ. 2549 – 28 มิถุนายน พ.ศ. 2551) |
สมัยที่ 2 | ||
สมัยที่ 1 | นายกสภามหาวิทยาลัยศิลปากร คนที่ 10 สมัยที่ 2 (29 มิถุนายน พ.ศ. 2551 – 18 ธันวาคม พ.ศ. 2551) |
คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ (สมัยที่ 2) |