ชื่ออู (จีน: 赤烏; พินอิน: Chìwū) เป็นเป็นชื่อศักราชลำดับที่ 4 ในรัชสมัยของจักรพรรดิซุนกวนแห่งง่อก๊กในยุคสามก๊กของจีน ชื่อศักราชชื่ออูใช้ตั้งแต่ ค.ศ. 238 ถึง ค.ศ. 251 รวมเวลา 14 ปี[1] คำว่าชื่ออูแฝงความหมายมงคลบ่งบอกถึงเมื่อครั้งจิวบูอ๋อง (周武王 โจวอู่หวาง) แห่งราชวงศ์จิวพิชิตติวอ๋อง (紂王 โจ้วหวัง) แห่งราชวงศ์เซียงลงได้ ได้ปรากฏนิมิตมงคลเป็นนกกาแดง (赤烏 ชื่ออู) บ่งบอกถึงการ "สำเร็จแผ่นดิน"[2]

ชื่ออู
赤烏
ค.ศ. 238 เดือน 8 – ค.ศ. 251 เดือน 4
ซุนกวน
สถานที่ประเทศจีน (ง่อก๊กในยุคสามก๊ก)
พระมหากษัตริย์ซุนกวน
ช่วงเวลา
← ก่อนหน้า
เจียเหอ
ถัดไป →
ไท่-ยฺเหวียน
ชื่ออู
อักษรจีนตัวเต็ม赤烏
อักษรจีนตัวย่อ赤乌

ในเดือน 5 ของศักราชชื่ออูปีที่ 14 (ค.ศ. 251) เปลี่ยนชื่อศักราชเป็นไท่-ยฺเหวียนปีที่ 1[3][4]

การเปลี่ยนชื่อศักราช

แก้

ตารางเทียบศักราช

แก้
ชื่ออู 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
ค.ศ. 238 239 240 241 242 243 244 245 246 247
วุยก๊ก จิ่งชู 2 จิ่งชู 3 เจิ้งฉื่อ 1 เจิ้งฉื่อ 2 เจิ้งฉื่อ 3 เจิ้งฉื่อ 4 เจิ้งฉื่อ 5 เจิ้งฉื่อ 6 เจิ้งฉื่อ 7 เจิ้งฉื่อ 8
จ๊กก๊ก เหยียนซี 1 เหยียนซี 2 เหยียนซี 3 เหยียนซี 4 เหยียนซี 5 เหยียนซี 6 เหยียนซี 7 เหยียนซี 8 เหยียนซี 9 เหยียนซี 10
ชื่ออู 11 12 13 14
ค.ศ. 248 249 250 251
วุยก๊ก เจิ้งฉื่อ 9 เจิ้งฉื่อ 10
เจียผิง 1
เจียผิง 2 เจียผิง 3
จ๊กก๊ก เหยียนซี 11 เหยียนซี 12 เหยียนซี 13 เหยียนซี 14

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 李崇智,《中國歷代年號考》,第18頁。
  2. 魏斌. "孫吳年號與符瑞問題" (PDF). 國家圖書館. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-01-25.
  3. 3.0 3.1 3.2 陳壽. 吳志孫權傳  – โดยทาง Wikisource.「(赤烏元年)秋八月,武昌言麒麟見。有司奏言麒麟者太平之應,宜改年號。詔曰:『間者赤烏集於殿前,朕所親見。若神靈以為嘉祥者,改年宜以赤烏為元。』群臣奏曰:『昔武王伐紂,有赤烏之祥,君臣觀之,遂有天下,聖人書策載述最詳者,以為近事既嘉,親見又明也。』於是改年。……太元元年夏五月,立皇后潘氏,大赦,改年。」
  4. 4.0 4.1 4.2 許嵩. 建康實錄太祖下  – โดยทาง Wikisource.「(嘉禾六年)冬十二月,赤烏群集前殿。大赦。改明年為赤烏元年。……(十三年)十二月,有神人授書,告改年、立后。帝大赦,改明年為太元元年。」
  5. 司馬光. 資治通鑑魏紀六  – โดยทาง Wikisource.「〔景初二年〕九月,吳改元赤烏。」
  6. 司馬光. 資治通鑑魏紀七  – โดยทาง Wikisource.「〔嘉平三年五月〕吳主立潘夫人為皇后,大赦,改元太元。」

บรรณานุกรม

แก้
ก่อนหน้า ชื่ออู ถัดไป
เจียเหอ   ศักราชของง่อก๊ก
(ค.ศ. 238 - 251)
  ไท่-ยฺเหวียน