ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม
ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม (เกิด 23 กรกฎาคม 2510) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานกรรมการการประปานครหลวง[1] อดีตอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทยควบตำแหน่งโฆษกกระทรวงมหาดไทย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี
ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม | |
---|---|
ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 19 มีนาคม 2567 (0 ปี 245 วัน) | |
ก่อนหน้า | สยาม ศิริมงคล |
รองปลัดกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2564 – 30 กันยายน 2566 (1 ปี 364 วัน) | |
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2566 – 18 มีนาคม 2567 (0 ปี 169 วัน) | |
ก่อนหน้า | อรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ |
ถัดไป | สยาม ศิริมงคล |
ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564 (0 ปี 364 วัน) | |
ก่อนหน้า | พินิจ บุญเลิศ |
ถัดไป | ณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร |
ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2563 (2 ปี 365 วัน) | |
ก่อนหน้า | คุมพล บรรเทาทุกข์ |
ถัดไป | ชัยธวัช เนียมศิริ |
ผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี | |
ดำรงตำแหน่ง 4 เมษายน พ.ศ. 2560 – 30 กันยายน พ.ศ. 2560 (0 ปี 179 วัน) | |
ก่อนหน้า | สุรพล แสวงศักดิ์ |
ถัดไป | ชยาวุธ จันทร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย |
คู่สมรส | กุลทรัพย์ ชื่นโกสุม |
ศิษย์เก่า | คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ชื่อเล่น | ติ๊ก |
ประวัติ
แก้ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม มีชื่อเล่นว่า ติ๊ก เกิดเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 ที่บ้านบุงคล้า ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนบ้านวังสะพุง เนื่องจากที่บ้านมีฐานะยากจน ทำให้ต้องไปสมัครสอบเทียบชั้น ม. 3 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเลย โดยเรียนควบคู่ไปกับการศึกษาผู้ใหญ่ภาคค่ำของกรมการศึกษานอกโรงเรียน โดยใช้สถานที่ของโรงเรียนเลยพิทยาคม จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย[2] ต่อมาเขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 และระดับปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต จากคณะและสถาบันเดียวกัน[3]
รับราชการ
แก้นายชัยวัฒน์เริ่มต้นรับราชการเป็นปลัดอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย จนได้ขยับขึ้นมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี[4] โดยนายชัยวัฒน์เริ่มเป็นขวัญใจชาวโซเชียลในสมัยที่เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดเลยซึ่งเป็นจังหวัดบ้านเกิดเมื่อปั่นจักรยานไปทำงานทุกวันเพื่อเป็นตัวอย่างแก่คนในจังหวัด พอย้ายมาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีได้สละเงินเดือน ๆ ละ 72,000 บาทเป็นเวลา 3 เดือนเพื่อสมทบช่วยเหลือชาวบ้านในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จากนั้นจึงได้ขึ้นเป็นรองปลัดกระทรวงมหาดไทยควบตำแหน่งโฆษกกระทรวงมหาดไทย[3] ต่อมาในวันที่ 18 กันยายน 2566 ได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชนแทนนายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ ที่ขยับไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครอง[5] จากนั้นในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 นายชัยวัฒน์ได้รับการอนุมัติให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาแทนนายสยาม ศิริมงคล ที่สลับมาเป็นอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน[6]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2563 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[7]
- พ.ศ. 2558 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2566 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2563 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2560 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[11]
อ้างอิง
แก้- ↑ ฐานเศรษฐกิจ (2024-01-09). "ครม. ตั้ง "ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม" นั่งประธานบอร์ด กปน.ชุดใหม่". thansettakij.
- ↑ "ศธ.ตามติดชีวิตไอดอลกศน.เมืองดอกบัวจากเด็กยากจนก้าวเป็นผู้ว่าฯ". posttoday. 2021-02-08.
- ↑ 3.0 3.1 เปิดประวัติ "ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม" โฆษก มท. คนล่าสุด ไม่ธรรมดา
- ↑ เปิดเส้นทาง ‘ชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม’ บากบั่นชีวิตจากอดีตเด็กถีบสามล้อ สู่ อธิบดี พช.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๒๔๕ ง หน้า ๓, ๒ ตุลาคม ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ, เล่ม ๑๔๑ ตอนพิเศษ ๘๒ ง หน้า ๑๓, ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๓, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๘, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๓๑ ข หน้า ๔๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๔๐ ตอนที่ ๓๗ ข หน้า ๙๘, ๑๘ สิงหาคม ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๓๗ ข หน้า ๔, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๑๓๖, ๑๖ ตุลาคม ๒๕๖๐