ชยเทพ[2] หรือ ชยเทวะ (อักษรโรมัน: Jayadeva, ออกเสียง [dʑɐjɐˈdeːʋɐ] หรือ Jaideva; เกิด ป. ค.ศ. 1170) เป็นกวีภาษาสันสกฤตที่มีช่วงชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 12 เป็นที่รู้จักจากมหากาพย์ คีตโควินท์[3] ซึ่งเล่าเรื่องความรักของพระกฤษณะที่มีต่อโคปี พระราธา[4] เนื้อหาในกวีนิพนธ์ที่เสนอความรักของพระราธาที่ยิ่งใหญ่กว่าพระกฤษณะ ทำให้งานเขียนนี้มีความสำคัญมากต่อขบวนการภักติในศาสนาฮินดู[5]

ชยเทพ
รูปเคารพของชยเทพในรัฐโอฑิศา
ส่วนบุคคล
เกิดป. 1170[1]
มรณภาพป. 1245[1]
ศาสนาศาสนาฮินดู
ปรัชญาไวษณวะ
ตำแหน่งชั้นสูง
งานเขียนคีตโควินท์

ไม่ปรากฏหลักฐานมากนักเกี่ยวกับชีวประวัติของชยเพท ทราบเพียงแค่ว่าเป็นกวีที่ถือสันโดษ และดำรงชีพด้วยการเป็นขอทาน มีชีวิตอยู่ในพื้นที่อินเดียตะวันออก ชยเทพเป็นผู้นิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดาบทสวดของครุกรันถสาหิบของศาสนาซิกข์ที่นำเนื้อหาของชพเทพมาบรรจุหลายศตวรรษหลังเสียชีวิต[1]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Pashaura Singh (2003). The Bhagats of the Guru Granth Sahib: Sikh Self-definition and the Bhagat Bani. Oxford University Press. pp. 9, 116–123. ISBN 978-0-19-566269-6.
  2. ทับศัพท์ใน อัจฉราภรณ์ ธาตุวิสัย. (2013), การศึกษาวิเคราะห์คีตโควินทกาวยะ. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  3. Max Arthur Macauliffe (2013). The Sikh Religion: Its Gurus, Sacred Writings and Authors. Cambridge University Press. pp. 4–9. ISBN 978-1-108-05548-2.
  4. Miller 1977, preface ix.
  5. http://orissa.gov.in/e-magazine/Orissareview/2008/May-2008/engpdf/Poet39-40.pdf [bare URL PDF]

บรรณานุกรม

แก้