ฉางเอ๋อ
ฉางเอ๋อ (จีน: 嫦娥;พินอิน: Cháng'é) เป็นเทพธิดาแห่งดวงจันทร์ตามความเชื่อปรัมปราของจีนและลัทธิเต๋ารวมถึงลัทธิขงจื๊อ โดยที่นางประทับเฉพาะแต่บนดวงจันทร์เท่านั้น.
พระแม่ฉางเอ๋อ | |
---|---|
พระจันทรเทวี | |
ส่วนหนึ่งของ เทวดารักษาดวงจันทร์ | |
ส่วนเกี่ยวข้อง | วิหารแห่งพระจันทร์ |
เป็นที่นับถือใน | ลัทธิเต๋า ศาสนาชาวบ้านจีน ลัทธิขงจื๊อ |
เทศกาล | เทศกาลไหว้พระจันทร์ |
ฉางเอ๋อ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 嫦娥 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ความหมายตามตัวอักษร | ฉางผู้สวยงาม | ||||||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||||||
เหงเอ๋อ | |||||||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 姮娥 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
|
ฉางเอ๋อ เป็นคนรักของโฮวอี้ ซึ่งเป็นนักยิงธนูแห่งสวรรค์ ในยุคพระเจ้าเหยา ดวงอาทิตย์พร้อมกันส่องแสงอย่างสนุกสนานพร้อมกันถึง 10 ดวง ยังความเดือดร้อนแก่ผู้คนบนโลกมนุษย์อย่างมาก เง็กเซียนฮ่องเต้จึงมีบัญชาให้โฮวอี้ไปจัดการ ด้วยความคะนองโฮวอี้จึงใช้ธนูยิงดวงอาทิตย์ตกลงไปถึง 9 ดวงด้วยกัน เป็นการกระทำเกินกว่าเหตุ จึงมีบัญชาให้เนรเทศโฮวอี้และฉางเอ๋อลงไปอยู่บนโลกมนุษย์ เฉกเช่นมนุษย์ธรรมดาทั่วไป ทั้งคู่จึงตกลงกันที่จะไปใช้ชีวิตอยู่บนโลกเช่นมนุษย์ธรรมดาทั่วไป แต่โฮวอี้ได้ใช้ฝีมือยิงธนูปราบปรามสัตว์ร้ายต่าง ๆ ราบคาบจนผู้คนยกย่องให้เป็นผู้นำ โฮวอี้ลำพองใจจนลืมตัว ฉางเอ๋อสังเกตเห็นการเปลี่ยนไปอันนี้ แต่มิอาจทัดทานได้ วันหนึ่ง โฮวอี้ได้น้ำอมฤตมาจากเจ้าแม่หว่างมู่ หากใครได้ดื่มกินแล้วจะมีชีวิตเป็นอมตะ เป็นหนุ่มสาวตลอดไป แต่โฮวอี้ได้ถูกเฟิงเมิ่ง ชายผู้แอบอิจฉาเขามาตลอดดักยิงตายที่หน้ากระโจมที่พัก ส่วนฉางเอ๋อเศร้าโศกเสียใจต่อการตายของโฮวอี้ และนางก็ได้ดื่มน้ำอมฤตนี้แต่เพียงผู้เดียว และเหาะกลับไปยังดวงจันทร์เหมือนเดิม แต่เพียงผู้เดียวด้วยความเศร้าสร้อย ซึ่งเรื่องราวของนางเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นที่มาของเทศกาลไหว้พระจันทร์ในคืนวันเพ็ญเดือน 8 (กันยายนตามปฏิทินสากล) แต่อย่างไรก็ดี เรื่องราวเกี่ยวกับนางก็มีแตกต่างกันออกไป เช่น ดั้งเดิมฉางเอ๋อมิใช่เทพธิดา แต่เป็นมนุษย์ธรรมดาบนโลก เป็นต้น[1] [2]
ปัจจุบัน ได้มีการตั้งชื่อดาวเทียมของจีนตามชื่อของนาง คือ ฉางเอ๋อ 1 และฉางเอ๋อ 2[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ฉางเอ๋อ : เทพธิดาแห่งดวงจันทร์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-22. สืบค้นเมื่อ 2012-11-27.
- ↑ เรื่องของฉางอี้, หน้า 184-191. สนุกกับเทศกาลเฉลิมฉลอง Goh Pei Ki เขียน แสงจินดา กันยาทิพย์ แปลและเรียบเรียง (พิมพ์ครั้งที่สอง: พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 สำนักพิมพ์ดอกหญ้า) ISBN 974-604-217-3
- ↑ “ฉางเอ๋อ” เทพธิดาลอยฟ้าในตำนาน กลายเป็นเรื่องจริง[ลิงก์เสีย]