ฉลอง ภู่สว่าง
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม (กุมภาพันธ์ 2022) |
ฉลอง ภู่สว่าง (22 มิถุนายน พ.ศ. 2481 - 29 กันยายน พ.ศ. 2564) เป็นนักแต่งเพลงลูกทุ่งชาวไทย
ฉลอง ภู่สว่าง | |
---|---|
รู้จักในชื่อ | เทพเจ้าแห่งบางโทรัด |
เกิด | 22 มิถุนายน พ.ศ. 2481 ตำบลบางโทรัด อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร |
เสียชีวิต | 29 กันยายน พ.ศ. 2564 (83 ปี) อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ |
แนวเพลง | เพลงลูกทุ่ง |
อาชีพ | นักดนตรี นักแต่งเพลง |
เครื่องดนตรี | แซ็กโซโฟน |
ช่วงปี | 2502-2564 |
ค่ายเพลง | วงดนตรีบรรจบเจริญพรวงดนตรีจีระพันธ์วีรพงษ์ |
คู่สมรส | คุณสมบูรณ์ ภู่สว่าง (มีบุตรด้วยกัน 2 คน) |
ประวัติ
แก้ครูฉลอง ภู่สว่างเกิดเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2481 ที่ ตำบลบางโทรัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร บิดาชื่อ นายเหลือบ ภู่สว่าง มารดาชื่อ นางหนู ภู่สว่าง โดยทั้งพ่อและแม่มีอาชีพ ทำนาเกลือ โดยครูฉลอง ภู่สว่าง เป็นบุตรคนที่ 2 ครอบครัวมีบุตรทั้งสิ้น 4 คน ประกอบด้วยชาย 3 คน หญิง 1 คน
การศึกษา
แก้เนื่องด้วยฐานะทางครอบครัวยากจน เขาจึงเรียนได้เพียงชั้น ป.3 ก็ต้องออกมาทำงานบ้านอยู่ 2 ปีจีงกลับไปเรียนจนจบชั้น ป.4 จาก โรงเรียนเมืองสมุทรสาคร เป็นคนเรียนเก่งแต่ต้องออกมารับจ้างเดินเรือขนส่งเกลือไปขายที่กรุงเทพฯ
หลังจากจบการศึกษาชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4 จึงสอบเทียบวุฒิการศึกษา จนได้วุฒิมัธยมศึกษา 3 (ม.ศ.3) ที่โรงเรียน วัดมกุฏกษัตริยาราม
ชีวิตสมรส
แก้ในช่วงเวลาที่ร่วมงานอยู่กับคณะ ดาราน้อย ท่านก็ได้พบคู่รักกับสมบูรณ์ ไชยสุข นางรำสาวสวยจากเมืองเชียงใหม่ หรือปัจจุบันคุณสมบูรณ์ ภู่สว่าง มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ พระเพื่อน พระแพง
เส้นทางสู่การแต่งเพลง
แก้แรงบันดาลใจ
แก้ครั้งหนึ่งอายุประมาณ 14 ปีเรือเกลือได้ไปจอดค้างคืน ที่ท่าน้ำ วัดแหลมสุวรรณาราม ตำบลท่าฉลอม ในคืนนั้นมีงานวัดครูฉลอง ภู่สว่าง จึงได้ไปดูวงดนตรี คณะบางกอกแมมโบ ที่มาเล่นที่วัดบ้านแหลมรวมนักร้องที่มีชื่อเสียงมากมาย สมัยนั้นมีคุณ เอมอร วิเศษสุข คุณสมศรี ม่วงศรเขียว ครู สุรพล สมบัติเจริญ และ คุณเฉลิม (ทหารเรือ) และคุณ สมยศ ทัศนพันธ์ จึงมีโอกาสได้ดูดนตรี ครูฉลอง ภู่สว่าง เห็นนักดนตรีเป่าแซกโซโฟนรู้สึกทึ่งมีปุ่มกดมากมาย ทำไมเขามีเพียง 10 นิ้วจะกดได้หมดเป็นความใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็ก ๆ จึงเกิดแรงบันดาลใจอยากจะได้สวมสูทและยืนเป่าเครื่องดนตรีกลับมาบ้านจึงได้ฝึกหัดสีซอกับลุงเติมครูฉลอง ภู่สว่าง มีโอกาสหยิบแซกโซโฟนมาทดลองเป่า
ครูฉลอง ภู่สว่าง ชอบและรักในการร้องเลงเป็นอย่างมาก เมื่อมีโอกาส ครูฉลอง ภู่สว่าง ร้องเพลงได้ดีเมื่อมีการประกวดร้องเพลงที่ไหนก็ขึ้นประกวดไปทั่วได้ที่ 1 บ้างไม่ได้บ้างก็ดิ้นรนใฝ่ฝันไปเรื่อย ๆ โดยเคยประกวดร้องเพลงมา 6 เวที ชนะเลิศ 5 เวที โดยเวทีที่ 6 มีคุณ ธานินทร์ อินทรเทพ เข้าประกวดด้วย
การค้นหาตนเอง
แก้เมื่อปี พ.ศ. 2502 ครูฉลอง ภู่สว่าง อายุครบเกณฑ์ทหาร จึงได้เป็นทหารรับใช้ชาติ 2 ปี โดยเข้าอยู่ในสังกัดหน่วย ทหารเรือ ที่สัตหีบ ชลบุรี มีโอกาสฝึก 2 เดือน แต่เนื่องจากมีความรักในดนตรีเป็นชีวิตจิตใจจึงมีโอกาสย้ายเหล่าไปอยู่ กองดุริยางค์ทหารเรือ ซึ่ง ณ ที่นี่เองที่ทำให้ท่านได้เรียนรู้การเล่นดนตรีหลายชิ้น แต่ที่ถนัดและเชี่ยวชาญที่สุด คือ แซกโซโฟน เริ่มฝึกเป่าแซกโซโฟนและได้เรียนโน้ตเพลงที่นี่ทำให้มีความสามารถและมีประการณ์มากขึ้นสามารถร้องเพลงแต่งเพลงและเล่นดนตรีได้บ้างพอสมควร
หลังจากรับหน้าที่การเป็นทหารนาน 2 ปี 1 เดือนกว่า ๆ ก็ปลดประจำการกองพันที่ 6 กองทัพอากาศ ชักชวนให้ไปอยู่เพราะเห็นความสามารถของครูฉลอง ภู่สว่างโดยมีคนบอกว่าฝึก 6 เดือนจะติดยศจ่าให้ โดยที่ผ่านมาทำให้ครูฉลอง ภู่สว่าง ได้มีโอกาสได้เรียนรู้วิธีแต่งเพลงเพิ่มเติมจาก ครูชาญชัย บัวบังศร เส้นทางการเป็นนักแต่งเพลงจึงเริ่มบังเกิดขึ้น
เมื่อปลดจากเกณฑ์ทหาร ครูฉลองก็ไปสมัครเป็นนักร้องและนักดนตรีอยู่กับรำวง คณะ ดาราน้อย ที่จังหวัดชลบุรี เล่นดนตรีร้องเพลงมีรายได้คืนละ 200 - 300 บาทและติดสาวรำวง มีนักร้องร่วมรุ่นหลายคน เช่น เรียม ดาราน้อย บุปผา สายชล บรรจบ เจริญพร และ พนม นพพร เป็นต้น จนในที่สุดเหลือครูฉลอง ภู่สว่าง อยู่คนเดียวอยู่กับคณะรำวงได้ 5 ปี ก็ออกจากรำวง คณะ ดาราน้อย ก็กลับมาบ้านที่บางโทรัดทำงานอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นก็ไปอยู่กับวงดนตรี พนม นพพร และวงดนตรีของ บุปผา สายชล
ต่อมาครูฉลอง ภู่สว่างแต่งงานและมีลูก 2 คนจึงเปลี่ยนอาชีพเป็นพายเรือค้าขาย หันไปทำอาชีพพ่อค้าเรือทราย โดยลงทุนซื้อเรือบรรทุกทรายไว้ลำหนึ่ง ล่องขายระหว่างกรุงเทพ-จังหวัดราชบุรี โดยยึดอาชีพนี้อยู่ 2 ปี แต่กิจการไม่ดีมีหนี้สินมากมายและเห็นว่าไม่ใช่อาชีพที่ตนเองชอบและถนัด จึงตัดสินใจขายเรือได้เงินมาหมื่นกว่าบาท แบ่งเงินไปซื้อ แซกโซโฟนมา 1 ตัวราคาสองพันบาทจนทำให้ชาวบ้าน บ้านใกล้เรือนเคียงหนวกหูและเริ่มหัดแต่งเพลงถึงตีหนึ่งตีสองไม่ได้หลับไม่ได้นอน จนภรรยาก็บ่นว่า "เขียนไปทำไม? เขียนแล้วจะเอาไปให้ใคร?" ครูฉลอง ภู่สว่างจึงหวังลึก ๆ ว่าสักวันหนึ่งต้องทำตามความฝันให้ได้
ครูฉลอง ภู่สว่าง ได้ออกตระเวนเล่นดนตรีเคยเป็นนักดนตรีประจำ กองดุริยางค์ทหารเรือ เป็นกองเชียร์รำวง และเดินสายเล่นวงดนตรีกับหลาย ๆ วง เช่น วงดนตรีจุฬารัตน์ ของครูมงคล อมาตยกุล วงของ ศรีไพร ใจพระ บุปผา สายชล เสน่ห์ โกมารชุน ชาตรี ศรีชล และในที่สุดก็มาเป็นนักดนตรีประจำวง บรรจบ เจริญพร
เป็นนักแต่งเพลงเต็มตัว
แก้ครูฉลอง ภู่สว่าง เขียนเพลงจริงจัง เมื่ออายุ 21 ปี ณ วง บรรจบ เจริญพร ทำให้ชื่อของ ฉลอง ภู่สว่าง เกิดขึ้นในวงการเพลง เมื่อครูฉลอง ภู่สว่างได้นำเพลงที่ตัวเองแต่งไว้มาให้นักร้องประจำวงคนหนึ่งบันทึกเสียง 3 เพลง
- เพลง ลาก่อนความโกหก
- เพลง คำสั่งคุณหมอ
- เพลง ปีวอกหลอกพี่
ร้องโดยนักร้องชื่อ บุญมี ต่อมาเปลี่ยนเป็น ระพิน ภูไท และได้เปิดออกอากาศทางสถานีวิทยุได้รับความนิยมพอสมควร
ต่อมาครูฉลอง ภู่สว่าง ต้องออกจาก วงบรรจบ เจริญพร ครูฉลอง ภู่สว่าง จึงนำนักร้องที่ท่านสร้าง มาอยู่กับวง ลูกทุ่งเสียงทอง ของนายห้าง ประกิจ ศุภวิทยาโภคี (นายห้างซิมสัน) และในที่สุดก็ตั้งวงดนตรีเป็นของตัวเอง นายห้างได้ตั้งวงให้ใหม่ ชื่อวง พิณศรีวิชัย วางตำแหน่ง ระพิน ภูไท เป็นหัวหน้าวง จากนั้นครูฉลอง ภู่สว่าง ก็ได้เริ่มแต่งเพลงต่าง ๆ ขึ้นมาอีกมากมายหลายเพลงเขียนให้ ระพิน ภูไท ร้อง 10 กว่าเพลง (รายชื่อเพลงดังตารางด้านล่าง) ซึ่งเพลงเหล่านี้ดังเกือบหมดทุกเพลง และอื่น ๆ ให้กับศิลปินมากมายที่ไม่ได้กล่าวถึง อีกหลายเพลง
เมื่อครูฉลอง ภู่สว่าง ค้นพบว่าตนเองชอบแต่งเพลง จึงไม่รอช้าจึงแต่งเพลงให้ ภูษิต ภู่สว่าง ดังทั้ง 2 เพลง ได้แก่
- เพลง กัมพูชาที่รัก
- เพลง หยุดก่อนคนจน
ครูฉลอง ภู่สว่าง ได้แต่งเพลงให้กับ มานะ ตั้งชื่อให้ว่า จีระพันธ์ วีระพงษ์
- เพลง ไก่นาตาฟาง
- เพลง เจ้าสินอนกอดไผ
- เพลง คุณนายใจบุญ เขียนเพลงแรกให้ร้องในร่องเดียวกับ ระพิน ภูไท
- เพลง กลัวกรุงเทพ
- เพลง เจ้าซินอนกอดไผ
- เพลง คนจนไม่หวาน
- เพลง เมษาเศร้า
ครูฉลอง ภู่สว่าง สร้างเสกศักดิ์ ภู่กันทอง ด้วยเพลง
- เพลง ขันหมอกเศรษฐี
- เพลง โสภาใจดำ
- เพลง แม่ดาวชาวไร่
ครูฉลอง ภู่สว่าง สร้าง ชายธง ทรงพล ด้วยเพลง
- เพลง ปู่ไข่ไก่หลง
- เพลง หน้าไม่ทันสมัย
- เพลง ผู้หญิงหน้าเงิน
- เพลง เก่าจากไหน มาใหม่ที่นี่
- เพลง จอดป้ายตามเมีย
- เพลง ผัวเผลอ มีชู้ และอื่น ๆ
ครูฉลอง ภู่สว่าง สร้าง ดาวไทย ยืนยง ด้วยเพลง
- เพลง แผลเป็น และอื่น ๆ
ครูฉลอง ภู่สว่าง สร้าง ศรชัย เมฆวิเชียร ด้วยเพลง
- เพลง พายงัด
- เพลง อ้อนจันทร์
- เพลง จูบไม่หวาน
- เพลง คนงามลืมด้ามเคียว
- เพลง รอยแผลเป็น
- เพลง ปลูกหอรอน้อง
- เพลง ไม่ดังบ้างก็แล้วไป และอื่น ๆ
- เพลง ลำดวนลืมดง
- เพลง แฟนผู้จัดการ
- เพลง บขส.รอรัก
- เพลง แม่ค้าเมืองนนท์ และอื่น ๆ
การแต่งเพลง
แก้ครูฉลอง ภู่สว่าง เป็นปราชญ์ศิลปินชาวบ้าน ราชาเพลงต่อว่าต่อขานผู้หญิง ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ท่านมีความสามารถอย่างโดดเด่นคนหนึ่งในการเขียนเพลงลูกทุ่ง โดยท่านจะเก่งมากในเรื่องของการประชดประชันผู้หญิงผู้ชาย โดยนำเอาบรรยากาศของบ้านเมืองมาใส่ ทำให้ผู้ฟังนั้นฟังแล้วรู้สึกว่าเรื่องราวของคนในเพลงนั้นเป็นเรื่องจริงขึ้นมา
ครูฉลอง ภู่สว่างนั้นเป็นคนที่มีสัมผัสในทางโปรดิวเซอร์ที่สูงพอ ๆ กับ เต๋อ เรวัติ พุทธินันท์ เพราะสามารถเย็บกระเป๋ารถเมล์อย่าง จีระพันธ์ วีระพงษ์ ให้โด่งดังได้จากเพลง ไก่นาตาฟาง สร้างให้เด็กอู่ซ่อมรถอย่าง ศรชัย เมฆวิเชียร ขึ้นมาเป็นนักร้องดังเช่นเดียวกับทำให้ ระพิน ภูไท ดังได้อีกเหมือนกันโดยที่ว่ากันว่าระพินไม่มีแววอะไรเลยนอกจากเมาไปวัน ๆ ที่ดังสุดและติดหูมาจนถึงปัจจุบัน เช่นเพลง ปูไข่ไก่หลง ที่ครูฉลองเขียนให้ ชายธง ทรงพล ที่ร้องว่า
ช่างเถอะคนงาม ขอปล่อยตาม ตามวาสนา พี่ไม่มีปริญญาขวัญตามองหน้าทำเมิน ลืมได้ ลืมไป ลืมไปลืมได้ก็เชิญ พี่จนคนไร้เงิน เดินย่ำต๊อกน้องบอกว่าโซ..
นอกจากเพลงนี้ยังมี ไก่นาตาฟาง จีระพันธ์ วีระพงษ์ คนดังลืมหลังควาย พุ่มพวง ดวงจันทร์ คุณนายโรงแรม ที่ร้องโดย ระพิน ภูไท
ในระยะที่ครูฉลอง ภู่สว่าง มีชื่อเสียงได้มีคนไปมาหาสู่มากบางคนมาขอความรู้จากเพลงบางคนมาฝึกร้องเพลงโดยเริ่มจากเลียนแบบนักร้องที่มีชื่อเสียงจนมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองนักร้องที่มีชื่อเสียงที่มาหาครูฉลอง ภู่สว่างอยู่เสมอคือ ศรชัย เมฆวิเชียร, สดใส รุ่งโพธิ์ทอง สุนารี ราชสีมา แจ๊ค ธนพล
สมัยก่อนครูฉลองคิดเพลงและแต่งเพลงได้เร็ว เคยเขียนได้ถึง 6 เพลงก็เคย เช่นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เทพเจ้าบางปูน แต่งได้ 6 เพลงได้ค่าเหนื่อยเพลงละ 10,000 บาท 6 เพลงก็ได้ 60,000 บาทซึ่วครูฉลองมักเล่าอย่างภูมิใจว่าวันหนึ่งแต่งเพลงได้ตั้งหกหมื่นบาท
รายชื่อเพลงที่แต่ง (พอสังเขป)
แก้นักร้อง | ชือเพลง |
---|---|
ระพิน ภูไท |
|
จีระพันธ์ วีระพงษ์ |
|
เสกศักดิ์ ภู่กันทอง |
|
ภูษิต ภู่สว่าง |
|
ชายธง ทรงพล |
|
ดาวไทย ยืนยง |
|
ศรชัย เมฆวิเชียร |
รางวัลพระราชทานเสาอากาศทองคำ – ที่โรงละครแห่งชาติ
|
สายัณห์ สัญญา |
|
จ่าหรอย เฮนรี่ |
|
กุ้ง สุธิราช |
|
ไวพจน์ เพชรสุพรรณ |
|
คำภีร์ แสงทอง |
|
เสรี รุ่งสว่าง |
|
วงแกรนด์เอกซ์ |
|
ก๊อต จักรพันธ์ |
|
ยอดรัก สลักใจ |
|
รังษี เสรีชัย |
|
ศรเพชร ศรสุพรรณ |
|
ชุมพล เหมือปอง |
|
กังวาลไพร ลูกเพชร |
|
พี สะเดิด |
|
ธานินทร์ อินทรเทพ |
|
กำแพง พิมพ์ใจ |
|
เสมา ทองคำ |
|
เริง รัตนะ |
|
เอกราช สุวรรณภูมิ |
|
สันติ ดวงสว่าง |
|
ชาย เมืองสิงห์ |
|
พงษ์เทพ เทพสุดา |
|
บรรจบ เจริญพร |
|
เริงรมย์ แหลมทอง |
|
ธวัช บัญชีทอง |
|
สุชิน สินส่งเสริม |
|
จะเด็ด ดวงจินดา |
|
เกษม คมสันต์ |
|
วง เพื่อน |
|
ฉลอง ภู่สว่าง |
|
ศักดิ์ชาย สุระวี |
|
ศรีไพร ใจพระ |
|
ผันเงิน ผันทอง |
|
ตี๋ ติวเตอร์ |
|
สนธิ สมมาตร |
|
หมวก สรชัย |
|
ทม นทีทอง |
|
ชัยยัณห์ ยิ่งยงค์ |
|
พงษ์สิทธิ์ คำภีร์ |
|
วิจัย พลอยบุศย์ |
|
รุ่งเพชร แหลมสิงห์ |
|
เท่ห์ อุเทน |
|
วัฒนา อนันต์ |
|
เทียรี่ เมฆวัฒนา |
|
มาศ ยืนสุข |
|
พรหมินทร์ |
|
เรณู ภู่สว่าง |
|
สลา คุณวุฒิ |
|
แสงสุรีย์ รุ่งโรจน์ |
|
โชคดี ทวีโชค |
|
เกียรติศักดิ์ หีบทองคำ |
|
เอกพจน์ วงศ์นาค |
|
- และอื่นๆ อีกหลายเพลง
รางวัลเกียรติยศ
แก้- รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าศิริกิตต์พระบรมราชินีนาถ 1 ครั้ง – ในงานกี่งศตวรรษลูกทุ่งไทย
2521
- รางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา 3 ครั้ง
- รางวัลพระราชทานเพลงดีเด่น – รางวัลกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 1
2532 จากเพลง คุณนายโรงแรม และ อ้อนจันทร์ - รางวัลพระราชทานเพลงดีเด่น – งานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 2
2534 จากเพลง ปูไข่ไก่หลง - บุคคลเกียรติยศของสมุทรสาคร ครูฉลอง ภู่สว่าง ครูเพลงที่ปั้นให้นักร้องดังได้ในเพลงเดียว ข้อมูลจาก เว็ปไซต์ โรงเรียนวัดหลักสองราษฎร์บำรุง
ช่วงสุดท้ายของชีวิต
แก้ก่อนหน้านั้น ครูฉลองภู่สว่าง ป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้มาได้ 2-3 ปี คุณหมอได้ทำการรักษาด้วยการผ่าตัดเนื้อร้ายทิ้ง อาการดีขึ้นเป็นลำดับ ต้องไปพบหมอกตามนัด แต่ท่านเป็นคนสมถะ ปล่อยวางกับชีวิต จึงผิดนัดกับหมอในการรักษาบ่อยครั้ง จนวันหนึ่งท่านมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง จนลุกเดินไม่ไหว แต่ก็ยังพูดคุยและทานอาหารได้ และครูได้ปรารภกับภรรยาว่า อยากไปอยู่กับหลานที่เชียงใหม อยากอยู่ที่เชียงใหม่จนกว่าจะเสียชีวิต ภรรยาของครู คือแม่สมบูรณ์ จึงพาท่านมาอยู่เชียงใหม่ ช่วงวันที่ 5 กันยายน 2564 โดยครูดูแจ่มใส ไม่มีท่าทีอาการป่วยรุนแรงขึ้นแต่อย่างใด
จนเช้าวันที่ 29 กันยายน 2564 เวลาประมาณ 8.00 น. ท่านมีอาการนอนแน่นิ่งเหมือนคนเป็นลม หลายไปเรียกท่านก็ไม่ยอมตอบ แต่พอมีสติรับรู้ เมื่อภรรยาและหลานจะพาไปโรงพยาบาล ท่านมีอาการขัดขืน มีเสียงดังในลำคอ เพื่อบอกให้รับรู้ว่าไม่อยากให้พาไป จนในที่สุด ท่านก็จากโลกนี้ไปอย่างสงบ ศิริรวมอายุได้ 83 ปี
อ้างอิง
แก้- เจนภพ จบกระบวนวรรณ. เพลงลูกทุ่ง, TK Park Music Library ชุดดนตรีไทย. กรุงเทพ : สำนักงานอุทยานการเรียนรู้, พ.ศ. 2550. 176 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 978-974-8218-83-0