จูเซปเป แวร์ดี
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
จูเซปเป ฟอร์ตูนีโน ฟรันเชสโก แวร์ดี (อังกฤษ: Giuseppe Verdi) เป็นคีตกวีชาวอิตาลี เกิดเมื่อวันที่10 ตุลาคม พ.ศ. 2356 (ค.ศ. 1813) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) โด่งดังจากอุปรากรเรื่อง ลา ทราเวียตตา ไอด้า โอเทลโล ผลงานของเขาได้รับความนิยมอย่างสูงเมื่อเขายังมีชีวิตอยู่ และต่อเนื่องจวบจนปัจจุบัน
แวร์ดีเกิดที่หมู่บ้าน Le Roncole ในอำเภอตาโร ซึ่งขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ต ในปี พ.ศ. 2367 (ค.ศ. 1824) เขาได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่เมืองบุสเชโต ที่ซึ่งเขาได้เรียนดนตรีกับเฟอร์ดินานโด โปรแวร์สิ เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี ขึ้นมาบทหนึ่งจากเพลงโหมโรงของอุปรากรเรื่อง กัลบกแห่งเมืองเซวิลล์ (Il barbiere di Siviglia) ของ จิโออัคคิโน รอสสินี จากนั้นก็ได้ย้ายไปอยู่ที่นครมิลาน เพื่อสมัครเข้าเรียนที่วิทยาลัยดนตรีแต่ก็ถูกปฏิเสธ เขาจึงเรียนแบบส่วนตัวกับวินเซนโซ ลาวินยา
ผลงานประพันธ์อุปรากรเรื่องแรกของเขาคือ Oberto, conte di San Bonifacio (เปิดการแสดงครั้งแรกที่กรุงมิลาน เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2382) ตามด้วยเรื่อง Un giorno di regno (ซึ่งเป็นความพยายามประพันธ์อุปรากรชวนหัวเพียงครั้งเดียว ซึ่งมีเพียง Falstaff อีกเรื่องในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา) แต่เขาประสบความสำเร็จครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2385 (ค.ศ. 1842) จากเรื่อง Nabucco ที่ได้เปิดแสดงที่โรงละครลา สกาล่า ในนครมิลาน โดยมีนักแสดงนำได้แก่จูเซปปินา สเตร็ปโปนี ร้องเสียงโซปราโน ในบทของอาบิไก นักร้องสาวได้กลายเป็นภรรยาน้อยของแวร์ดี เขาได้แต่งงานกับหล่อนในอีกหลายปีให้หลัง ภายหลังการเสียชีวิตของภรรยาของเขา
หลังจากที่อุปรากรเรื่อง I Lombardi alla prima crociata (เปิดแสดงครั้งแรกที่นครมิลาน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2386) ที่มีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวข้องกับสถานการณ์การเมือง เรื่องErnani ก็ประสบความสำเร็จในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซเช่นกัน
ในปีต่อมา อุปรากรเรื่อง Giovanna d'Arco และ La Forza del Destino ก็ตอกย้ำความโด่งดังของแวร์ดี แต่เขาเห็นว่าการแสดงงานของเขาที่โรงละครลา สกาล่านั้นยังไม่เข้าขั้น เป็นเหตุให้เขาปฏิเสธการเปิดแสดงอุปรากรเรื่องต่อ ๆ มาในมิลาน อันได้แก่เรื่อง Atilla, Alzira และ แมคเบ็ท ในได้ถูกนำออกแสดงในเมืองต่าง ๆ ทั่ว ประเทศอิตาลี ส่วนเรื่อง I Masnadieri นั้นได้ถูกประพันธ์ขึ้นที่กรุงลอนดอน
ในขณะที่นครมิลาน พ่ายแพ้และถูกจักรวรรดิออสเตรียเข้ายึดครอง แวร์ดีได้ประพันธ์อุปรากรเรื่อง Il Corsaro, La Battaglia di Legnano และ Luisa Miller รวมทั้งเรื่อง Manon Lescaut ที่แต่งไม่จบ หลังจากข่าวอื้อฉาวเกี่ยวกับบทประพันธ์เรื่อง Stiffelio ในปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ. 1851) เรื่อง Rigoletto ก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้นในการเปิดแสดงที่โรงละครลา เฟนิกซ์ ในนครเวนีซ
ในปี พ.ศ. 2396 (ค.ศ. 1853) เขาประสบความสำเร็จครั้งสำคัญอีกครั้งจากเรื่องIl Trovatore ที่โรงละครอพอลโลในกรุงโรม แต่การเปิดการแสดงภาคภาษาฝรั่งเศสในนครเวนีซไม่ประสบความสำเร็จเท่าใดนัก
อุปรากรเรื่องอื่น ๆ ที่ประพันธ์ขึ้นในช่วงนี้ ได้แก่ งูพิษแห่งเกาะซิซิลี (เปิดแสดงที่กรุงปารีส) Aroldo (งานที่สร้างขึ้นมาจากเรื่อง Stiffelioเดิม) และเรื่อง Simon Boccanegra กับ Un ballo in maschera (ที่ถูกห้ามนำออกแสดง) แวร์ดีได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างมากในการรวมชาติของประเทศอิตาลี (เขาได้ประพันธ์บทเพลง Inno delle Nazioni ซึ่งได้รวมเอาเพลงชาติต่าง ๆ ในยุโรปไว้ด้วยกัน เช่น เพลง Fratelli d'Italia Marseillaise และ God Save the King ในปี พ.ศ. 2405 (ค.ศ. 1862) และได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งวุฒิสมาชิก จากนั้นก็ได้นำผลงานเก่ามาแก้ไขเล็กน้อย จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2409 (ค.ศ. 1866) เมื่อDon Carlos ได้ถูกนำออกแสดงครั้งแรกที่กรุงปารีส
ในปี พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) เมื่อเขานำเรื่องไอด้า ออกแสดงที่โรงละครลา สกาล่าก็ประสบความสำเร็จอย่างท่วมท้น เขาได้ประพันธ์ให้แก่ผู้สำเร็จราชการแห่งอียิปต์กับเนื่องในโอกาสพิธีเปิดโรงละครแห่งใหม่ในกรุงไคโร และสำหรับการเปิดคลองสุเอซ
ผลงานของแวร์ดีมีความเป็นชาตินิยมของชาวอิตาลีอยู่ในตัว (เป็นต้นว่าเพลงชาวยิวสำหรับกลุ่มนักร้องประสานเสียงขับร้องในเรื่อง Nabucco ที่มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Va Pensiero นั้น ได้รับการเสนอให้เป็นเพลงชาติอิตาลีมาอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่ได้มีความหมายในเชิงเหยียดเชื้อชาติ)
เป็นที่น่าประหลาดใจ เมื่อมีคนพบว่าชื่อของเขา Verdi เป็นตัวอักษรย่อของคำว่า Vittorio Emanuele Re D’Italia (วิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กษัตริย์แห่งอิตาลี) ในช่วงเวลาที่ชาวเมืองมิลาน (ซึ่งยังตกอยู่ภายใต้การปกครองของออสเตรีย) ได้เริ่มหันมาสนับสนุนความพยายามรวมชาติอิตาลีของวิคเตอร์ เอ็มมานูเอล กลุ่มแนวร่วมหลบหนีเข้าเมืองได้เริ่มคบคิดที่จะให้กษัตริย์ Sardaigne บุกมิลาน เนื่องจากการกดขี่ของชาวออสเตรียนั้นรุนแรงเกินไป กลุ่มคนเหล่านี้ได้เริ่มการปลุกระดมที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า « Viva VERDI » (« V.E.R.D.I. จงเจริญ ») แวร์ดีทราบเรื่องการนำชื่อของเขาไปใช้ ซึ่งโดยหลักแล้วเขาควรจะห้าม แต่เขาก็ไม่ได้ห้าม เรื่องราวอื่น ๆ ที่เกี่ยวพันกับการเมืองของแวร์ดีได้ถูกนำเสนอในบทอุปรากรเรื่อง I Lombardi
แวร์ดีเสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2444 (ค.ศ. 1901) ที่นครมิลาน หลังจากการก่อสร้างคฤหาสน์ Casa di Riposo เสร็จสิ้น (เขาตั้งใจให้เป็นที่พักชั่วคราวของเหล่าศิลปินตกยาก) พีธีศพของเขาจัดขึ้นอย่างอลังการ ผู้เข้าร่วมราว 250,000 คนได้มาแสดงความคารวะต่อปูชนียบุคคลผู้หนึ่งของวงการดนตรีอิตาลี
รายชื่อผลงาน
แก้- Oberto, Conte di San Bonifacio (17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1839 ที่โรงละครลา สกาลา นครมิลาน)
- Un giorno di regno (5 กันยายน ค.ศ. 1840 ที่โรงละครลา สกาลา นครมิลาน)
- Nabucco หรือ «Nabucodonosor» (9 มีนาคม ค.ศ. 1842 ที่โรงละครลา สกาลา นครมิลาน)
- I Lombardi alla prima crociata (11 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1843 ที่โรงละครลา สกาลา นครมิลาน)
- Ernani (9 มีนาคม ค.ศ. 1844 ที่โรงละครลา เฟนิกซ์ นครเวนีซ)
- I due Foscari (3 พฤศจิกายน ค.ศ. 1844 ที่โรงละครอาร์เจนตินา กรุงโรม)
- Giovanna d'Arco (15 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1845 ที่โรงละครลา สกาลา นครมิลาน)
- Alzira (22 สิงหาคม ค.ศ. 1845 ที่โรงละครซานการ์โล เมืองเนเปิลล์)
- Attila (17 มีนาคม ค.ศ. 1846 ที่โรงละครลา เฟนิกซ์ นครเวนีซ)
- Macbeth (14 มีนาคม ค.ศ. 1847 ที่โรงละครเปอร์โกลา นครฟลอเรนซ์)
- I Masnadieri (22 กรกฎาคม ค.ศ. 1847 ที่โรงละครควีนส์เธียเตอร์ กรุงลอนดอน)
- Jérusalem ดัดแปลงจากเรื่อง «I Lombardi» (26 พฤศจิกายน ค.ศ. 1847 ที่โรงอุปรากรแห่งกรุงปารีส)
- Il Corsaro (25 ตุลาคม ค.ศ. 1848 ที่โรงละครเตอาโตร กรันเด เมืองทรีเอสต์)
- La Battaglia di Legnano (27 มกราคม ค.ศ. 1849 ที่โรงละครอาร์เจนตินา ในกรุงโรม)
- Luisa Miller (8 ธันวาคม ค.ศ. 1849 ที่โรงละครซาน การ์โล เมืองเนเปิลส์)
- Stiffelio 16 พฤศจิกายน ค.ศ. 1850 ที่โรงละครเตอาโตร กรันเด เมืองทรีเอสต์)
- Rigoletto (11 มีนาคม ค.ศ. 1851 ที่โรงละครลา เฟนิกซ์ นครเวนีซ)
- Il Trovatore (19 มกราคม ค.ศ. 1853 ที่โรงละครอาร์เจนตินา ในกรุงโรม)
- La Traviata (6 มีนาคม ค.ศ. 1853 ที่โรงละครลา เฟนิกซ์ นครเวนีซ)
- เรื่องงูพิษแห่งเกาะซิซิลี (13 มิถุนายน ค.ศ. 1855 ที่โรงอุปรากรแห่งกรุงปารีส)
- Giovanna de Guzman ou «I vespri siciliani» ตัดแปลงจากเรื่องงูพิษแห่งเกาะซิซิลี (ค.ศ. 1856 ที่โรงละครลา สกาลา นครมิลาน)
- Simon Boccanegra (12 มีนาคม ค.ศ. 1857 ที่โรงละครลา เฟนิกซ์ นครเวนีซ)
- Aroldo ดัดแปลงจาเรื่อง «Stiffelio» (16 สิงหาคม ค.ศ. 1857 ที่โรงละครเตอาโตร นูโว เมืองทริมินี)
- Un ballo in maschera (17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1859 ที่โรงละครอาร์เจนตินา ในกรุงโรม)
- La Forza del Destino (10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1862 ที่โรงละครหลวงแห่งนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก)
- Macbeth ภาคดัดแปลง (21 เมษายน ค.ศ. 1865 ที่โรงละครเตอาตร์ ลีรีก กรุงปารีส)
- Don Carlos (11 มีนาคม ค.ศ. 1867 ที่โรงอุปรากรแห่งกรุงปารีส)
- ไอด้า (24 ธันวาคม ค.ศ. 1871 ที่โรงละครอิตาเลียน กรุงไคโร)
- Don Carlo ดัดแปลงจากเรื่อง «Don Carlos» (ค.ศ. 1872 ที่โรงละครซาน การ์โล เมืองเนเปิลส์)
- Simon Boccanegra.
- La force du destin ดัดแปลงจากเรื่อง «La Forza del Destino» (14 มีนาคม ค.ศ. 1883 ที่เมืองอองแวร์)
- Don Carlo ดัดแปลงจากเรื่อง «Don Carlos» (10 มกราคม ค.ศ. 1884 ที่โรงละครลา สกาลา นครมิลาน)
- โอเทลโล (5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1887 ที่โรงละครลา สกาลา นครมิลาน)
- Falstaff (9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1893 ที่โรงละครลา สกาลา นครมิลาน)
บทเพลงขับร้อง
แก้- Sei Romanze (ค.ศ. 1838)
- Non t'accostar all'urna (Jacopo Vittorelli)
- More, Elisa, lo stanco poeta (Tommaso Bianchi)
- In solitaria stanza (Vittorelli)
- Nell' orror di note oscura (Carlo Angiolini)
- Perduta ho la pace
- Deh, pietoso, o addolorata
- L'esule (ค.ศ. 1839) (Temistocle Solera)
- La seduzione (ค.ศ. 1839) (Balestra)
- Guarda che bianca luna: notturno (ค.ศ. 1839)
- Album di Sei Romanze (ค.ศ. 1845)
- Il tramonto (Andrea Maffei)
- La zingara (S. Manfredo Maggioni)
- Ad una stella (Maffei)
- Lo Spazzocamino (Maggioni)
- Il Mistero (Felice Romani)
- Brindisi (Maffei)
- Il poveretto (ค.ศ. 1847) (Maggioni)
- L'Abandonée (ค.ศ. 1849) (Escudier?)
- Stornello (ค.ศ. 1869) (annon.)
- Pietà Signor (ค.ศ. 1894) (ประพันธ์ร่วมกับ Boito)
- เรเควียม (22 พฤษภาคม ค.ศ. 1874 ที่โรงละครลา สกาล่า นครมิลาน)
- «Volgarizzati» da Dante (18 เมษายน ค.ศ. 1880 ที่นครมิลาน)
- Quattro Pezzi sacri (7 เมษายน ค.ศ. 1898 ที่กรุงปารีส)
- Ave Maria
- Stabat Mater
- Laudi alla Vergine Maria
- Te Deum
เพลงบรรเลง
แก้- Suona la tromba (ค.ศ. 1848) (Giuseppe Mameli)
- Inno delle Nazioni (ค.ศ. 1862)
- ควอร์เต็ตเครื่องสาย ในบันไดเสียงอี ไมเนอร์ (ค.ศ. 1873)