จุลสิงห์ วสันตสิงห์
บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน |
ศาสตราจารย์พิเศษ จุลสิงห์ วสันตสิงห์ อดีตนายกสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อดีตผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษด้านการเงินการธนาคาร อดีตอัยการสูงสุด เกิดวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 เป็นบุตรของ นายเมืองเริง วสันตสิงห์ (อดีตข้าราชสำนักผู้ใหญ่) และ หม่อมหลวงปานตา มาลากุล หลานลุงของ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล หลานอาของ ท่านผู้หญิง อรอวล อิศรางกูร ณ อยุธยา มีศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา สมรสกับ นางภัทรา วสันตสิงห์ (สกุลเดิม วีรเธียร) อดีตผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารทหารไทย มีบุตรชาย 1 คน ชื่อ นายศิวัช วสันตสิงห์ (เอ๊ก) และมีบุตรสาว 1 คน คือ นางสาวณัฏฐา วสันตสิงห์ (ออน)
จุลสิงห์ วสันตสิงห์ | |
---|---|
อัยการสูงสุด | |
ดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2552 – 30 กันยายน 2556 | |
ก่อนหน้า | ชัยเกษม นิติสิริ |
ถัดไป | อรรถพล ใหญ่สว่าง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 |
เสียชีวิต | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 (69 ปี) |
คู่สมรส | ภัทรา วสันตสิงห์ |
ขึ้นดำรงตำแหน่งอัยการสูงสุด ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 และได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์พิเศษ สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] นอกจากนี้ ได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการกฤษฎีกา ตั้งแต่ 2555
นายจุลสิงห์ ดำรงตำแหน่งกรรมการ มูลนิธิสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ และผู้แทนราชสกุลมาลากุล ในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 โดยโรคมะเร็ง สิริรวมอายุ 69 ปี มีพิธีพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส
ประวัติทางการศึกษา
แก้- โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย
- นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เนติบัณฑิต (สอบได้อันดับที่ 8 ของสมัยที่ 25) สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา
- ปริญญาโท Master of Comparative มหาวิทยาลัย IIIinois สหรัฐอเมริกา
- หลักสูตรโรงเรียนนักปกครองระดับสูง วิทยาลัยการปกครอง
- วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
- ประกาศนียบัตร Harvard Business School สหรัฐอเมริกา
- ปริญญานิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ปริญญาบัตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การดำรงตำแหน่งราชการ
แก้- อธิบดีอัยการฝ่ายต่างประเทศ
- อธิบดีอัยการฝ่ายคดีอัยการสูงสุด
- อธิบดีอัยการฝ่ายปรึกษา
- ผู้ตรวจราชการอัยการ
- รองอัยการสูงสุด
- อัยการสูงสุด ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552
การดำรงตำแหน่งอื่น ๆ
แก้- กรรมการกฤษฎีกา
- กรรมการเนติบัณฑิตยสภา
- กรรมการธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- กรรมการบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
- กรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
- กรรมการบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
- กรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- กรรมการการไฟฟ้านครหลวง
- กรรมการธนาคารออมสิน
- กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
- กรรมการบริษัท ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งใหม่ จำกัด
- กรรมการองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.)
- กรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย
- กรรมการบริษัท บริหารและจัดการน้ำภาคตะวันออก จำกัด(East water)
- กรรมการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2537 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
- พ.ศ. 2560 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 7 เหรียญเงินดิเรกคุณาภรณ์ (ร.ง.ภ.)[4]
- พ.ศ. 2543 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[5]
- พ.ศ. 2554 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษ (นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๖, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2007-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๔, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐ เก็บถาวร 2017-10-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๒๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา เก็บถาวร 2017-11-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๒๘, ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดี ชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๔ - ๒๕๕๕, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕, ๒๐ มกราคม ๒๕๕๘