จารึก อารีราชการัณย์
พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ (9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 – 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566) สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2557 อดีตสมาชิกวุฒิสภา พุทธศักราช 2539 นายกสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย[1] และอดีตเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
จารึก อารีราชการัณย์ | |
---|---|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2562 | |
เลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2528 – 2564 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 |
เสียชีวิต | 21 สิงหาคม พ.ศ. 2566 (90 ปี) |
คู่สมรส | อรพินท์ อารีราชการัณย์ (เสียชีวิต) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | ? - พ.ศ. 2535 |
ยศ | พลตรี |
ประวัติ
แก้พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ เกิดเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2475 สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยหลักสูตรเร่งรัด (รุ่นที่ 9) พ.ศ. 2499, โรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศ กองทัพอากาศ ดอนเมือง ,โรงเรียนเสนาธิการร่วม (กองทัพบก, กองทัพเรือ, กองทัพอากาศ) และโรงเรียนส่งกำลังบำรุง[2]
พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ ถึงแก่อนิจกรรมอย่างสงบ ภายในบ้านพักย่านทองหล่อ ในวันที่ 21 สิงหาคม 2566[3]
การทำงาน
แก้พลตรี จารึก อารีราชการัณย์ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นเลขาธิการสมาคมกรีฑาแห่งประเทศไทย 6 สมัย (12 ปี), เลขาธิการและเหรัญญิกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย 2 สมัย (สมัยละ 2 ปี) กรรมการบริหารด้านกีฬาของทวีปเอเชีย 6 สมัย (สมัยละ 4 ปี) กรรมการบริหารของ ANOC (5 ทวีปของโลก)[2] และเคยดำรงตำแหน่งเป็นรองประธานกรรมการบริหารและเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ซึ่งดำรงตำแหน่งถึง 6 สมัย (สมัยละ 4 ปี)[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย[5]
นอกจากนี้ เคยได้รับการแต่งให้เป็นสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2539[6] ต่อมาได้รับการแต่งให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557[7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2534 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 3 ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ต.จ.ว.)[8]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)
- พ.ศ. 2505 – เหรียญชัยสมรภูมิ การร่วมรบกับสหประชาชาติ ณ ประเทศเกาหลี (ช.ส.)[9]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[10]
- พ.ศ. 2513 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)
- พ.ศ. 2511 – เหรียญราชรุจิทอง รัชกาลที่ 9 (ร.จ.ท.9)
- พ.ศ. 2525 – เหรียญกาชาดสมนาคุณ ชั้นที่ 1 (เหรียญทอง)
- พ.ศ. 2500 – เหรียญงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ
เครื่องอิสริยาภรณ์สากล
แก้- สหประชาชาติ :
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เหรียญสหประชาชาติเกาหลี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "คณะกรรมการบริหารสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย ประจำปี พ.ศ. 2555 – 2556". สมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2014.
- ↑ 2.0 2.1 "ข้อมูลประวัติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ – พลตรี จารึก อารีราชการัณย์". สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2014.
- ↑ "วงการกีฬาไทยเศร้า "พลตรีจารึก อารีราชการัณย์" เสียชีวิตอย่างสงบ". Siamsport. 21 สิงหาคม 2023.
- ↑ "คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2552 – 2556". คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 มิถุนายน 2014. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2014.
- ↑ ""บิ๊กป้อม" นั่งประธานโอลิมปิคไทยคนที่ 7". เดลินิวส์. 5 เมษายน 2017.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (แต่งตั้งขึ้นใหม่ทั้งคณะ จำนวน ๒๖๐ ราย). เล่ม 113 ตอนพิเศษ 7 ง หน้า 2. วันที่ 22 มีนาคม 2539.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. เล่ม 131 ตอนพิเศษ 147 ง หน้า 2. วันที่ 31 กรกฎาคม 2557.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม 116 ตอนที่ 8 ข หน้า 2, 4 พฤษภาคม 2542
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญชัยสมรภูมิ, เล่ม 79 ตอนที่ 14 หน้า 313, 13 กุมภาพันธ์ 2505
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม 87 ตอนที่ 97 ฉบับพิเศษ หน้า 1, 21 ตุลาคม 2513
อ่านเพิ่มเติม
แก้- จารึก อารีราชการัณย์; และคณะ (2008). ปรากฏการณ์เหนือการแข่งขันกีฬาใน"โอลิมปิกปักกิ่ง 2008". กาญจนบุรี: คณะกรรมการโครงการศึกษาและเผยแพร่กระบวนการโอลิมปิก (Olympic Movement) จาก "ปักกิ่งเกมส์ 2008". ISBN 978-974-604-406-6.