จังหวัดอากิตะ
จังหวัดอากิตะ (ญี่ปุ่น: 秋田県; โรมาจิ: Akita-ken) เป็นจังหวัดในประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่บริเวณภาคโทโฮกุซึ่งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น มีเมืองหลวงของจังหวัดได้แก่อากิตะ
จังหวัดอากิตะ 秋田県 | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
การถอดเสียงภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||
• ญี่ปุ่น | 秋田県 | ||||||||||||||
• โรมาจิ | Akita-ken | ||||||||||||||
| |||||||||||||||
เพลง: "อากิตะเค็มมิงกะ" (秋田県民歌) และ "เค็มมินโนะอูตะ" (県民の歌) | |||||||||||||||
พิกัด: 39°43′7″N 140°6′9″E / 39.71861°N 140.10250°E | |||||||||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||||||
ภูมิภาค | โทโฮกุ | ||||||||||||||
เกาะ | ฮนชู | ||||||||||||||
เมืองหลวง | อากิตะ | ||||||||||||||
เขตการปกครองย่อย | อำเภอ: 6, เทศบาล: 25 | ||||||||||||||
การปกครอง | |||||||||||||||
• ผู้ว่าราชการ | โนริฮิซะ ซาตาเกะ (佐竹 敬久) | ||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||
• ทั้งหมด | 11,637.52 ตร.กม. (4,493.27 ตร.ไมล์) | ||||||||||||||
อันดับพื้นที่ | ที่ 6 | ||||||||||||||
ประชากร (1 ตุลาคม ค.ศ. 2024) | |||||||||||||||
• ทั้งหมด | 896,225 คน | ||||||||||||||
• อันดับ | ที่ 38 | ||||||||||||||
• ความหนาแน่น | 77 คน/ตร.กม. (200 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||||||
• ภาษาถิ่น | อากิตะ, นัมบุ (คาซูโนะ) | ||||||||||||||
จีดีพี[1] | |||||||||||||||
• รวม | 3,625 พันล้านเยน 33.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค.ศ. 2019) | ||||||||||||||
รหัส ISO 3166 | JP-05 | ||||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||||
|
ภูมิศาสตร์และการปกครอง
แก้จังหวัดอากิตะตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเกาะฮนชู[2] มีอาณาเขตติดกับทะเลญี่ปุ่นทางทิศตะวันตก จังหวัดอาโอโมริทางทิศเหนือ จังหวัดอิวาเตะทางทิศตะวันออก จังหวัดมิยางิทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ และจังหวัดยามางาตะทางทิศใต้
จังหวัดอากิตะมีลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ 181 กิโลเมตร และตะวันออกจรดตะวันตก 111 กิโลเมตร มีภูเขาโออุเป็นหลักเขตจังหวัดทางธรรมชาติทางทิศตะวันออก และมีภูเขาเดวะทอดตัวขนานกันในตอนกลางของจังหวัด มีคาบสมุทรโองะเป็นจุดเด่นบริเวณชายฝั่งของจังหวัด ภูมิอากาศมีอากาศหนาวเย็นโดยเฉพาะในบริเวณที่ห่างไกลชายฝั่ง
เขตการปกครอง
แก้จังหวัดอากิตะประกอบด้วย 13 นคร 6 อำเภอ 9 เมือง และ 3 หมู่บ้าน พื้นที่ที่แสดงในตารางมาจากรายงานของสำนักงานสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2560[3] และจำนวนประชากรที่แสดงในตารางมาจากรายงานสำมะโนประชากรประจำ พ.ศ. 2558 ของสำนักงานสถิติ กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร[4] โดย 13 นครในจังหวัดอากิตะมีพื้นที่รวมกัน 9,340.10 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 80.26 ของพื้นที่จังหวัด และมีประชากรรวม 925,806 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 90.49 ของประชากรทั้งจังหวัด
นคร
แก้นคร | ภาษาญี่ปุ่น | โรมาจิ | พื้นที่ (ค.ศ. 2017)[3] |
ประชากร (ค.ศ. 2015)[4] |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
---|---|---|---|---|---|
คาซูโนะ | 鹿角市 | Kazuno-shi | 707.52 | 32,038 | 45 |
คาตางามิ | 潟上市 | Katagami-shi | 97.72 | 33,083 | 339 |
คิตะอากิตะ | 北秋田市 | Kitaakita-shi | 1,152.76 | 33,224 | 29 |
เซ็มโบกุ | 仙北市 | Senboku-shi | 1,093.56 | 27,523 | 25 |
ไดเซ็ง | 大仙市 | Daisen-shi | 866.77 | 82,783 | 96 |
นิกาโฮะ | にかほ市 | Nikaho-shi | 241.13 | 25,324 | 105 |
โนชิโระ | 能代市 | Noshiro-shi | 426.95 | 54,730 | 128 |
ยูซาวะ | 湯沢市 | Yuzawa-shi | 790.91 | 46,613 | 59 |
ยูริฮนโจ | 由利本荘市 | Yurihonjō-shi | 1,209.59 | 79,927 | 66 |
โยโกเตะ | 横手市 | Yokote-shi | 692.80 | 92,197 | 133 |
อากิตะ (เมืองหลวง) | 秋田市 | Akita-shi | 906.07 | 315,814 | 349 |
โองะ | 男鹿市 | Oga-shi | 241.09 | 28,375 | 133 |
โอดาเตะ | 大館市 | Ōdate-shi | 913.22 | 74,175 | 81 |
ทุกนคร | 9,340.10 | 925,806 | 99 |
อำเภอ เมือง และหมู่บ้าน
แก้จังหวัดอากิตะมี 6 อำเภอ โดยแต่ละอำเภอมีเขตการปกครองต่าง ๆ ดังนี้
อำเภอ | เมือง/หมู่บ้าน | ภาษาญี่ปุ่น | โรมาจิ | พื้นที่ (ค.ศ. 2017)[3] |
ประชากร (ค.ศ. 2015)[4] |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม.) |
---|---|---|---|---|---|---|
อำเภอคาซูโนะ | 鹿角郡 | Kazuno-gun | 201.70 | 5,339 | 26 | |
คาซูโนะ | เมืองโคซากะ | 小坂町 | Kosaka-machi | 201.70 | 5,339 | 26 |
อำเภอคิตะอากิตะ | 北秋田郡 | Kitaakita-gun | 256.72 | 2,381 | 9 | |
คิตะอากิตะ | หมู่บ้านคามิโกอานิ | 上小阿仁村 | Kamikoani-mura | 256.72 | 2,381 | 9 |
อำเภอเซ็มโบกุ | 仙北郡 | Senboku-gun | 168.34 | 20,279 | 120 | |
เซ็มโบกุ | เมืองมิซาโตะ | 美郷町 | Misato-chō | 168.34 | 20,279 | 120 |
อำเภอมินามิอากิตะ | 南秋田郡 | Minamiakita-gun | 499.98 | 23,639 | 47 | |
มินามิอากิตะ | เมืองโกโจเมะ | 五城目町 | Gojōme-machi | 214.92 | 9,463 | 44 |
มินามิอากิตะ | เมืองอิกาวะ | 井川町 | Ikawa-machi | 47.95 | 4,986 | 104 |
มินามิอากิตะ | เมืองฮาจิโรงาตะ | 八郎潟町 | Hachirōgata-machi | 17.00 | 6,080 | 358 |
มินามิอากิตะ | หมู่บ้านโองาตะ | 大潟村 | Ōgata-mura | 170.11 | 3,110 | 18 |
อำเภอยามาโมโตะ | 山本郡 | Yamamoto-gun | 764.26 | 27,746 | 36 | |
ยามาโมโตะ | เมืองฟูจิซาโตะ | 藤里町 | Fujisato-machi | 282.13 | 3,359 | 12 |
ยามาโมโตะ | เมืองมิตาเนะ | 三種町 | Mitane-chō | 247.98 | 17,078 | 69 |
ยามาโมโตะ | เมืองฮัปโป | 八峰町 | Happō-chō | 234.14 | 7,309 | 31 |
อำเภอโองาจิ | 雄勝郡 | Ogachi-gun | 434.46 | 17,929 | 41 | |
โองาจิ | เมืองอูโงะ | 羽後町 | Ugo-machi | 230.78 | 15,319 | 66 |
โองาจิ | หมู่บ้านฮิงาชินารูเซะ | 東成瀬村 | Higashinaruse-mura | 203.69 | 2,610 | 13 |
ทุกเมืองและหมู่บ้าน | 2,275.45 | 97,313 | 43 |
เศรษฐกิจ
แก้เศรษฐกิจยังคงประกอบอุตสาหกรรมดั้งเดิม เช่น การเกษตร การประมง และป่าไม้ อากิตะมีชื่อเสียงในเรื่องสาเก เป็นเหตุทำให้คนหนุ่มสาวนิยมออกเดินทางไปประกอบอาชีพในต่างพื้นที่ เช่น โตเกียว และเมืองใหญ่อื่น ๆ
ประเพณี – วัฒนธรรม – เทศกาล
แก้จังหวัดอาคิตะ เป็นดินแดนแห่งตำนานเรื่องเล่าขาน และเป็นแห่งสุดท้ายที่ยังคงอนุรักษ์วิถีชีวิตขนบประเพณีโบราณอยู่ รวมถึงหัตถกรรมพื้นเมืองที่ยังคงไว้ ภายใต้ความเจริญและอารยธรรมสมัยใหม่ที่หลั่งไหลเข้ามาอยู่ตลอดเวลา[5]
เทศกาลนามาฮาเงะ เซะโดะ[6] (NamahageSedo Festival) เป็นงานเทศกาลที่จัดขึ้นทุกเดือนกุมภาพันธ์ที่ศาลเจ้าชินซาน (Shinzan) ในคิทาอุระ (Kitaura) เมืองโอกะ (Oga) เทศกาลนี้รวมเหตุการณ์ของนามาอาเกะและพิธีกรรมชินโตแบบดั้งเดิมที่เรียกว่า เทศกาลเซโดะ ที่จัดขึ้นที่ศาลเจ้าเดียวกันในวันที่ 3 มกราคม ในช่วงต้นของเทศกาลนี้มีการจัดพิธีกรรมชินโต ประกอบด้วย ยุโนะมาย (Yunomai) ซึ่งนักบวชแสดงดนตรีและการเต้นรำชินโตและชินกามะไซ "Chinkamasai" ซึ่งนักบวชชำระผู้เยี่ยมชมด้วยการโรยน้ำร้อนลงบนพวกเขา "Namahage Consecration" หรือ การทำให้นามาฮาเกะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ เป็นสถานที่ที่เด็กๆ จะได้เยี่ยมชมศาลเจ้าและทำเครื่องแต่งกายให้บริสุทธิ์เพื่อที่จะเป็น "เทพเจ้าแห่งความดุร้าย" ก่อนที่จะไปเยี่ยมบ้านของผู้คน หลังจากนั้น นามาฮาเกะจะทำการเยี่ยมชมและจัดการแสดงบนเวทีในวันสิ้นปี การแสดงบทสนทนาระหว่างนามาฮาเกะและครอบครัวในภาษาพื้นเมืองของอะกิตะที่ติดสำเนียงแข็งแกร่งดูเหมือนจะตลกมากที่ทำให้ผู้ชมในพื้นที่หัวเราะ" หลังจากการแสดงเต้นรำของนามาฮาเกะและเสียงตีกลองนามาฮาเกะที่ทรงพลังได้ทำการเริ่มขึ้น ไม่นานนามาฮาเกะก็ลงมาจากภูเขา พวกเขาเดินขบวนไปทั่วสถานที่อย่างกล้าหาญพร้อมกับถือคบเพลิง ในเวลานี้ฟางที่ร่วงหล่นจากเครื่องแต่งกายของนามาฮาเงะกล่าวกันว่านำโชคมาให้ ในตอนท้ายของเทศกาลนามาฮาเกะจะมีลักษณะที่ไม่ซ้ำกันสำหรับแต่ละภูมิภาคจากนั้นเหล่านามาฮาเกะก็จะวิ่งเข้าไปในสถานที่จัดงาน นามาฮาเกะสนุกกับการโต้ตอบกับผู้คนผ่านการถ่ายภาพกับพวกเขาหรือบางครั้งได้มีการอุ้มเด็กขึ้นโดยไม่บอกสัญญาณใดเพื่อทำให้พวกเขาหวาดกลัว
เทศกาลคันโต[7] (Kanto Festival) หรือ เทศกาลโคมไฟจัดขึ้นในวันที่ 3 – 6 เดือนสิงหาคมเป็นงานเทศกาลแข่งขันทักษะการบังคับเสาไม้ไผ่ที่ประดับประดาด้วยพวงโคมไฟ จะใช้โคมไฟที่ทำจากโครงกระดาษนำมาประกอบต่อกันโดยมีท่อนไม้ไผ่สูงลิบลิ่วกว่า 10 เมตรเป็นโครงแขวนโคม และผู้ถือจะใช้ศีรษะและมือทำให้พวงโคมไฟแต่ละอันทรงตัวอยู่ได้ โดยที่ใช้วิธีคล้ายกับการเล่นกายกรรมและขณะเดินก็จะต้องมีการโชว์ลีลาหวาดเสียวด้วยการใช้ส่วนต่างๆ ประคองโครงและพวงโคมไฟให้สมดุลทั้งวางไว้บนศีรษะ หัวไหล่ หน้าผาก แขน และส่วนอื่นๆ แล้วแต่ตามความสามารถของผู้ถือเพื่อเรียกเสียงปรบมือและเสียงฮือฮาจากผู้ชม โดยในงานมีการใช้คันโตรวมทั้งสิ้นกว่าหนึ่งหมื่นโคม
งานเทศกาลดอกไม้ไฟโอมาการิ[8] (Omagari Fireworks Festival) ได้ชื่อว่าเป็น “งานเทศกาลดอกไม้ไฟที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น” เพราะนักประดิษฐ์ดอกไม้ไฟจากทั่วประเทศจะมารวมตัวเพื่อประชันฝีมือ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับเสน่ห์ของดอกไม้ไฟนับหมื่นนัดที่กระจายอยู่บนท้องฟ้า งานเทศกาลนี้จัดให้มีขึ้นในวันเสาร์สุดท้ายของเดือนสิงหาคมของทุกปี
สถานที่ท่องเที่ยว
แก้ชมปีศาจหิมะ (Snow Monster) ที่สกีรีสอร์ท (Ani Ski Resort) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่หาชมได้เพียงไม่กี่แห่งในโลก ในช่วงประมาณเดือนมกราคม-ต้นมีนาคม ที่หิมะตกเยอะปกคลุมต้นสนจนเกิดเป็นรูปร่างคล้ายกับปีศาจ[9][10]
อ้างอิง
แก้- ↑ "2020年度国民経済計算(2015年基準・2008SNA) : 経済社会総合研究所 - 内閣府". 内閣府ホームページ (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2023-05-18.
- ↑ Nussbaum, Louis-Frédéric. (2005). "Provinces and prefectures" ใน สารานุกรมญี่ปุ่น, หน้า. 780, p. 780, ที่กูเกิล หนังสือ; "โทโฮกุ" ใน p. 970, p. 970, ที่กูเกิล หนังสือ.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 平成29年全国都道府県市区町村別面積調_国土地理院 (.pdf) (Report) (ภาษาญี่ปุ่น). สำนักงานสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งประเทศญี่ปุ่น. สืบค้นเมื่อ 17 มกราคม 2562.
{{cite report}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ 4.0 4.1 4.2 Population, Population Change(2010-2015), Area, Population Density, Households and Households Change(2010-2015) - Japan*, All Shi, All Gun, Prefectures*, All Shi of Prefectures, All Gun of Prefectures, Shi*, Ku*, Machi*, Mura* and Municipalities in 2000 (.csv) (Report) (ภาษาญี่ปุ่น). สำนักงานสถิติ กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสาร. 16 ธันวาคม 2559. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2562.
{{cite report}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ "หนีความวุ่นวายไปใช้ชีวิตช้าๆ ที่เมืองอาคิตะ (Akita) เมืองสโลว์ไลฟ์ที่ซ่อนอยู่ในประเทศญี่ปุ่น".
- ↑ "เทศกาลนามาฮาเกะ เซโดะ (Namahage Sedo Festival)".
- ↑ "Akita Kanto Festival".
- ↑ "omagari-hanabi".
- ↑ "Moriyoshisan Ani Ski Resort and surrounding area tourist information website".
- ↑ "กินเที่ยวเทศกาลหิมะที่ญี่ปุ่นสุดมัน SUGOI JAPAN - ตอนที่ 183 Akita1".
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์ทางการของจังหวัดอากิตะ (ในภาษาญี่ปุ่น)