จักรพรรดิเคไต
จักรพรรดิเคไต (ญี่ปุ่น: 継体天皇; โรมาจิ: Keitai-tennō; สวรรคต 10 มีนาคม ค.ศ. 531) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นในตำนานองค์ที่ 26[1] ตามลำดับการสืบราชสันตติวงศ์แบบดั้งเดิม[2]
จักรพรรดิเคไต 継体天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยามาโตะ | |||||
พระบรมราชานุเสาวรีย์เคไตที่เขาอาซูวะ จังหวัดฟูกูอิ ประเทศญี่ปุ่น | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | 3 มีนาคม ค.ศ. 507 – 10 มีนาคม ค.ศ. 531 | ||||
ก่อนหน้า | บูเร็ตสึ | ||||
ถัดไป | อังกัง | ||||
พระราชสมภพ | ค.ศ. 450 | ||||
สวรรคต | 10 มีนาคม ค.ศ. 531 | (80–81 ปี)||||
ฝังพระศพ | มิชิมะ โนะ อากินุ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 三島藍野陵; โรมาจิ: Mishima no Akinu no misasagi; โอซากะ) | ||||
คู่อภิเษก | ทาชิรากะ | ||||
พระราชบุตร กับพระองค์อื่น ๆ... | |||||
| |||||
ราชสกุล | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | ฮิโกอูชิ โนะ โอกิมิ | ||||
พระราชมารดา | ฟูริฮิเมะ |
แม้ว่าไม่สามารถกำหนดวันที่แน่นอนให้กับพระชนมชีพหรือรัชสมัยของจักรพรรดิองค์นี้ แต่โดยทั่วไปถือว่าพระองค์ครองราชย์ในช่วงวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 507 ถึง 10 มีนาคม ค.ศ. 531[3]
เรื่องราวตามตำนาน
แก้เคไตถือเป็นผู้ปกครองประเทศในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่มีข้อมูลเกี่ยวกับพระองค์อยู่น้อย
บันทึกในโคจิกิและนิฮงโชกิก็มีความแตกต่างกัน โดยโคจิกิระบุปีพระราชสมภพที่ ค.ศ. 485 และปีสวรรคตอยู่ในวันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 527[4] ในข้อมูลเพิ่มเติม พระองค์ได้รับการเรียกขานเป็น โอโฮโดะ (ญี่ปุ่น: 袁本杼; โรมาจิ: Ohodo) ส่วนนิฮงโชกิระบุปีพระราชสมภพที่ ค.ศ. 450 และระบุปีสวรรคตในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 531 หรือ 534[4] ในบันทึกประวัติศาสตร์ พระองค์ได้รับการเรียกขานเป็น โอโฮโดะ (ญี่ปุ่น: 男大迹; โรมาจิ: Ohodo) และ ฮิโกฟูโตะ (ญี่ปุ่น: 彦太; โรมาจิ: Hikofuto)
ในบันทึกประวัติศาสตร์ฉบับอื่น ๆ กล่าวกันว่าพระองค์เคยเป็นกษัตริย์แห่งโคชิ กลุ่มชนเผ่าขนาดเล็กที่ดูเหมือนจะอยู่ในพื้นที่ตอนเหนือของญี่ปุ่นตอนกลาง บางทีอาจไกลไปจนถึงชายฝั่งทะเลญี่ปุ่น งานอ้างอิงประวัติศาสตร์สมัยใหม่บางเล่มเรียกเคไตแค่เพียง กษัตริย์โอโฮโดะแห่งโคชิ[5]
พระราชพงศาวลี
แก้เคไตไม่ได้เป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิองค์ก่อนหน้า โดยโคจิกิและนิฮงโชกิรายงานว่า บูเร็ตสึสวรรคตโดยไม่มีผู้สืบทอด ในตอนนั้นเคไต พระราชนัดดารุ่นที่ 5 ของจักรพรรดิโอจิง จึงเสด็จมาและขึ้นครองราชย์
ถ้าจักรพรรดิเคไตเริ่มต้นราชวงศ์ใหม่ดังที่นักประวัติศาสตร์บางส่วนเชื่อ นั่นจะทำให้จักรพรรดิบูเร็ตสึเป็นพระมหากษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์แรกของญี่ปุ่นที่ได้รับการบันทึก[6]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รัชสมัย
แก้เคไตประกาศขึ้นครองราชย์ที่คูซูฮะในพื้นที่ทางตอนเหนือของแคว้นคาวาจิ (ปัจจุบันคือฮิรากาตะ จังหวัดโอซากะ) และอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงทาชิรากะ พระกนิษฐภคินีในจักรพรดริบูเร็ตสึ คาดว่าการสืบทอดตำแหน่งของพระองค์ไม่ได้รับการต้อนรับจากทุกคน และต้องใช้เวลาประมาณ 20 ปีก่อนที่เคไตจะได้เข้าแคว้นยามาโตะ ศูนย์กลางทางการเมืองของญี่ปุ่นในขณะนั้น
ในช่วงปลายรัชสมัยใน ค.ศ. 527 หรือ 528 เกิดการกบฏอิวาอิในแคว้นสึกูชิ คีวชู เคไตทรงแต่งตั้ง[โมโนโนเบะ โนะ อารากาบิ]]เป็นโชกุนและส่งเขาไปปราบกบฏที่คีวชู
ในบรรดาพระราชโอรสของพระองค์ มีเพียงจักรพรรดิอังกัง, จักรพรรดิเซ็งกะ และจักรพรรดิคิมเมที่ขึ้นครองราชย์[5]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 継体天皇 (26)
- ↑ Varley, Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, pp. 119–120; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, pp. 31–33., p. 31, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 43.
- ↑ 4.0 4.1 วันที่ในนี้ระบุตามปฏิทินสุริยจันทรคติที่ใช้งานในประเทศญี่ปุ่นจนถึง ค.ศ. 1873
- ↑ 5.0 5.1 Aston, William. (1998). Nihongi, Vol. 2, pp. 1–25.
- ↑ Aston, William. (1998). Nihongi, Vol. 1, pp. 393–407.
บรรณานุกรม
แก้- Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. London: Kegan Paul, Trench, Trubner. OCLC 448337491
- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Hall, John Whitney. (1993). The Cambridge history of Japan: Ancient Japan, Vol. I. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-22352-2
- Kim Yong Woon (2009). History and the Future are One (천황은 백제어로 말한다). Seoul.
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Seeley, Christopher. (1991). A History of Writing in Japan. Leiden: Brill Publishers. ISBN 978-9-004-09081-1—reprinted by University of Hawaii Press (2000). ISBN 978-0-8248-2217-0
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842