จักรพรรดิอังกัง
จักรพรรดิอังกัง (ญี่ปุ่น: 安閑天皇; โรมาจิ: Ankan-tennō; ค.ศ. 466 — 25 มกราคม ค.ศ. 536) เป็นจักรพรรดิในตำนานองค์ที่ 27 ของญี่ปุ่น[1] อ้างอิงจากการสืบราชสันตติวงศ์ตามประเพณี[2]
จักรพรรดิอังกัง 安閑天皇 | |||||
---|---|---|---|---|---|
กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยามาโตะ | |||||
จักรพรรดิญี่ปุ่น | |||||
ครองราชย์ | ป. 10 มีนาคม ค.ศ. 531 – 25 มกราคม ค.ศ. 536 | ||||
ก่อนหน้า | เคไต | ||||
ถัดไป | เซ็งกะ | ||||
พระราชสมภพ | ค.ศ. 466 มางาริ (勾) | ||||
สวรรคต | 25 มกราคม ค.ศ. 536 | (69–70 ปี)||||
ฝังพระศพ | ฟูรูจิ โนะ ทากายะ โนะ โอกะ โนะ มิซาซางิ (ญี่ปุ่น: 古市高屋丘陵; โรมาจิ: Furuchi no Takaya no oka no misasagi; โอซากะ) | ||||
คู่อภิเษก | คาซูงะ โนะ ยามาดะ | ||||
พระราชบุตร |
| ||||
| |||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ญี่ปุ่น | ||||
พระราชบิดา | จักรพรรดิเคไต | ||||
พระราชมารดา | เมโนโกฮิเมะ |
ไม่สามารถกำหนดวันที่แน่นอนให้กับพระชนมชีพหรือรัชสมัยของจักรพรรดิองค์นี้ แต่ตามธรรมเนียมถือว่าได้ครองสิริราชสมบัติจาก 10 มีนาคม ค.ศ. 531 ถึง 25 มกราคม ค.ศ. 536[3]
ตำนาน
แก้รายงานจากโคจิกิ เจ้าชายมางาริ โนะ โอเอะ (ญี่ปุ่น: 勾大兄皇子; ภายหลังคือจักรพรดริอังกัง) เป็นพระราชโอรสองค์โตในจักรพรรดิเคไตผู้ปกครองประเทศในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 6 แม้ว่ามีข้อมูลเกี่ยวกัยพระองค์เพียงเล็กน้อย[4] เมื่อพระองค์มีพระชนมพรรษา 66 พรรษา เคไตจึงสละราชสมบัติให้พระองค์
ตำแหน่งร่วมสมัยของอังกังน่าจะไม่ใช่ เท็นโน เนื่องจากนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่าตำแหน่งนี้ยังไม่ปรากฏจนกระทั่งรัชสมัยจักรพรรดิเท็มมุและจักรพรรดินีจิโตแต่คาดว่าตำแหน่งในเวลานั้นคือ ซูเมรามิโกโตะ หรือ อาเมโนชิตะ ชิโรชิเมซุ โอกิมิ (ญี่ปุ่น: 治天下大王, หมายถึง "กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่ปกครองใต้สวรรค์" หรืออาจเรียกเป็น ヤマト大王/大君 หรือ "กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งยามาโตะ"
เหตุการณ์สำคัญที่สุดที่บันทึกในรัชสมัยของพระองค์คือการสร้างยุ้งฉางของรัฐจำนวนมากทั่วประเทศญี่ปุ่น ซึ่งบ่งชี้ถึงอำนาจของจักรวรรดิที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวางในขณะนั้น[5]
สุสานของอังกังตามธรรมเนียมมีความเกี่ยวข้องกับโคฟุงทากายัตสึกิยามะในฮาบิกิโนะ จังหวัดโอซากะ
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Imperial Household Agency (Kunaichō): 安閑天皇 (27)
- ↑ Varley, Paul. (1980). Jinnō Shōtōki, p. 120; Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du japon, p. 33., p. 33, ที่กูเกิล หนังสือ
- ↑ Ponsonby-Fane, Richard. (1959). The Imperial House of Japan, p. 44.
- ↑ Kelly, Charles F. "Kofun Culture," Japanese Archaeology. April 27, 2009.
- ↑ Mason, Joseph. (2002). The Meaning of Shinto, p. 172., p. 172, ที่กูเกิล หนังสือ
ข้อมูล
แก้- Aston, William George. (1896). Nihongi: Chronicles of Japan from the Earliest Times to A.D. 697. London: Kegan Paul, Trench, Trubner. OCLC 448337491
- Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
- Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
- Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Ōdai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
- Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842