จักรพรรดิทากากูระ

จักรพรรดิทากากูระ (ญี่ปุ่น: 高倉天皇โรมาจิTakakura-tennō; 20 กันยายน ค.ศ. 1161 – 30 มกราคม ค.ศ. 1181) เป็นจักรพรรดิญี่ปุ่นองค์ที่ 80 ตามประเพณีการสืบราชสันตติวงศ์ พระองค์ครองราชย์ตั้งแต่ ค.ศ. 1168 ถึง 1180[1]

จักรพรรดิทากากูระ
高倉天皇
จักรพรรดิทากากูระ, เท็นชิเซ็กกังมิเอ
จักรพรรดิญี่ปุ่น
9 เมษายน ค.ศ. 1168 – 18 มีนาคม ค.ศ. 1180
พิธีขึ้น29 เมษายน ค.ศ. 1168
ไดโจไซ20 ธันวาคม 1168
ก่อนหน้าจักรพรรดิโรกูโจ
ถัดไปจักรพรรดิอันโตกุ

พระราชสมภพ20 กันยายน ค.ศ. 1161
สวรรคต30 มกราคม ค.ศ. 1181(1181-01-30) (19 ปี)
ฝังพระบรมศพ30 มกราคม 1181
สุสานหลวงโนจิ โนะ เซกานูจิ โนะ มิซาซางิ (เกียวโต)
พิธีฉลองการเจริญวัย9 กุมภาพันธ์ 1171
พระราชบิดาจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ
พระราชมารดาไทระ โนะ ชิเงโกะ
พระสนมไทระ โนะ โทกูโกะ
พระราชโอรส-ธิดาจักรพรรดิอันโตกุ
เจ้าชายโทโยฮิโตะ
จักรพรรดิโกะ-โทบะ
เจ้าหญิงคิโยโกะ
เจ้าชายโคเรอากิ
เจ้าหญิงอิซาโกะ
เจ้าหญิงโนริโกะ

พระราชประวัติ

แก้

ก่อนสืบราชบัลลังก์ พระองค์มีพระนามเดิมว่า เจ้าชายโนริฮิโตะ (憲仁親王)

จักรพรรดิทากากูระเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ของจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ และเป็นพระปิตุลา (อา) ของจักรพรรดิโรกูโจซึ่งเป็นจักรพรรดิรัชกาลก่อน พระมารดาของพระองค์คือจักรพรรดินีไทระ โนะ ชิเงะโกะ น้องสาวของไทระ โนะ โทกิโกะ อนุภรรยาของไทระ โนะ คิโยโมริ จักรพรรดินีของพระองค์คือไทระ โนะ โทกูโกะ (ภายหลังคือจักรพรรดินีเคนเร) องค์จักรพรรดินีเป็นพระญาติชั้นที่ 1 ของพระองค์ (เนื่องจากพระมารดาของพระองค์และมารดาของจักรพรรดินีโทกูโกะ เป็นพี่น้องกัน)

เหตุการณ์ในพระชนม์ชีพ

แก้

แม้ว่าจักรพรรดิทากากูระจะสืบราชบัลลังก์อย่างเป็นทางการ แต่ความจริงก็คือกิจการในราชสำนักถูกควบคุมโดยพระราชบิดาและพระสัสสุระ (พ่อตา) ของพระองค์

  • ค.ศ. 1168 (ศักราชนิงอังที่ 3, วันที่ 19 เดือน 2): ปีที่ 3 ในรัชสมัยของจักรพรรดิโรกูโจ (六条天三年) องค์จักรพรรดิถูกปลดออกจากราชบัลลังก์โดย พระอัยกา (ปู่) ของพระองค์ และสืบราชบัลลังก์โดยพระปิตุลา (อา) ของพระองค์ พระราชโอรสลำดับที่ 4 ของอดีตจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ[2]
  • 1168 (ศักราชนิงอังที่ 3, วันที่ 19 เดือน 2): จักรพรรดิทากากูระทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษก (‘‘โซกูอิ’’) และกลายเป็นจักรพรรดิ[3]

จักรพรรดิทากากูระมีมุมมองบทบาทจักรพรรดิของพระองค์เอง โดยเขียนไว้ว่า:

"จักรพรรดิคือเรือ ราษฎรคือน้ำ น้ำทำให้เรือลอยได้ แต่บางครั้งเรือล่มเพราะมัน ราษฎรสามารถค้ำจุนจักรพรรดิได้ แต่บางครั้งพวกเขาโค่นพระองค์"[4]
  • 1172 (ศักราชโจอังที่ 2, วันที่ 10 เดือน 2): โทกูโกะ ธิดาของไทระ โนะ คิโยโมริ กลายเป็นจักรพรรดินีของจักรพรรดิทากากูระระ[5]
  • 27 พฤษภาคม 1177 (ศักราชจิโชที่ 1, วันที่ 28 เดือน 4): ลมแรงทำให้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ในเมืองหลวง และพระราชวังถูกเผาจนเป็นเถ้าถ่าน[6]
 
จดหมายเดียวที่มีตราของจักรพรรดิทากากูระ
  • 1178 (ศักราชจิโชที่ 2, วันที่ 12 เดือน 11): ไทระ โนะ โทกูโกะ พระจักรพรรดินี มีพระประสูติกาลพระราชโอรส คิโยโมริดีใจ และข้าราชสำนักทั้งหมดแสดงความยินดีแก่พระราชบิดามารดา ในเดือนต่อมาทรงได้รับการสถาปนาเป็นรัชทายาท[7]
  • 1180 (ศักราชจิโชที่ 4, วันที่ 21 เดือน 2): จักรพรรดิทากากูระสละราชสมบัติ[8]
  • 1180 (ศักราชจิโชที่ 4, วันที่ 22 เดือน 4): พระราชพิธีราชาภิเษกจักรพรรดิอันโตกุ[8]
  • 1180 (ศักราชจิโชที่ 4, วันที่ 2 เดือน 6): อดีตจักรพรรดิโกะ-ชิรากาวะ, อดีตจักรพรรดิทากากูระ และจักรพรรดิอันโตกุออกจากเกียวโตไปที่ฟูกูฮาระเกียว[8]
  • 1180 (ศักราชจิโชที่ 4, วันที่ 26 เดือน 11): ย้ายเมืองหลวงจากฟูกูฮาระไปที่เกียวโต[8]
  • 1180 (ศักราชจิโชที่ 4): เกิดลมหมุนพัดถล่มเฮอังเกียว (เมืองหลวง) เสียหายอย่างหนัก[9]
  • 1181 (ศักราชจิโชที่ 5, วันที่ 14 เดือน 1): จักรพรรดิทากากูระสวรรคต[8]

สวรรคต

แก้

อดีตจักรพรรดิทะกะกุระเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 30 มกราคม 1724 ณ พระราชวังหลวงเฮอัง ขณะพระชนม์ได้เพียง 19 พรรษา

รัชสมัยของจักรพรรดิ

แก้

รัชสมัยของทากากูระมีมากกว่าหนึ่งศักราชหรือเน็งโง[10]

อ้างอิง

แก้
  1. Titsingh, Isaac. (1834). Annales des empereurs du Japon, pp. 195–200; Brown, Delmer et al. (1979). Gukanshō, pp. 330–333; Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki. pp. 212–214.
  2. Brown, p. 330; Varley, p. 44; n.b., a distinct act of senso is unrecognized prior to Emperor Tenji; and all sovereigns except Jitō, Yōzei, Go-Toba, and Fushimi have senso and sokui in the same year until the reign of Emperor Go-Murakami.
  3. Titsingh, p. 195; Varley, p. 44.
  4. Kitagawa, Hiroshi et al. (1975). The Tale of the Heike, p. 220.
  5. Kitagawa, p. 783.
  6. Titsingh, p. 198.
  7. Titsingh, p. 199.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 8.4 Kitagawa, p. 784.
  9. Kamo no Chōmei. (1212). Hōjōki.
  10. Titsingh, p. 195; Brown, pp. 330–331.

บรรณานุกรม

แก้
  • Brown, Delmer M. and Ichirō Ishida, eds. (1979). Gukanshō: The Future and the Past. Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-03460-0; OCLC 251325323
  • Helmolt, Hans Ferdinand and James Bryce Bryce. (1907). The World's History: A Survey of Man's Progress. Vol. 2. London: William Heinemann.OCLC 20279012
  • Kitagawa, Hiroshi and Burce T. Tsuchida, ed. (1975). The Tale of the Heike. Tokyo: University of Tokyo Press. ISBN 0-86008-128-1 OCLC 164803926
  • Ponsonby-Fane, Richard Arthur Brabazon. (1959). The Imperial House of Japan. Kyoto: Ponsonby Memorial Society. OCLC 194887
  • Titsingh, Isaac. (1834). Nihon Odai Ichiran; ou, Annales des empereurs du Japon. Paris: Royal Asiatic Society, Oriental Translation Fund of Great Britain and Ireland. OCLC 5850691
  • Varley, H. Paul. (1980). Jinnō Shōtōki: A Chronicle of Gods and Sovereigns. New York: Columbia University Press. ISBN 978-0-231-04940-5; OCLC 59145842