เซอร์จอห์น เบาว์ริง (อังกฤษ: Sir John Bowring; 17 ตุลาคม พ.ศ. 2335 — 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415) หรือ พระยาสยามานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ เป็นนักเศรษฐศาสตร์การเมืองชาวอังกฤษ นักเดินทาง นักเขียน นักแปลวรรณกรรม พูดได้หลายภาษา และผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกงคนที่ 4 เขาได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียให้เป็นราชทูตมายังสยาม ต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้เป็นราชทูตสยามประจำกรุงลอนดอนพร้อมกับได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ

เซอร์ จอห์น เบาว์ริง
จอห์น เบาว์ริง ในปี ค.ศ. 1826
ผู้สำเร็จราชการเกาะฮ่องกง คนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
13 เมษายน 2397 - 9 กันยายน 2402
ก่อนหน้าเซอร์ จอร์จ บอนแฮม
ถัดไปเฮอร์คิวลิส รอบินสัน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 ตุลาคม พ.ศ. 2335
เอ็กเซเตอร์, อังกฤษ ราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
เสียชีวิต23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415 (80 ปี)
แกลร์มงต์, อังกฤษ ,สหราชอาณาจักร
พรรคการเมืองกลุ่มหัวรุนแรง
คู่สมรส
  • มาเรีย เลวิน (สมรส 1816; เสียชีวิต 1858)
  • เดโบร่าห์ แคสเซิล
    (สมรส 1860)

สนธิสัญญาฉบับนี้มีผลให้สยามต้องเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาลและคนในบังคับอังกฤษมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในสยาม นอกจากนี้ สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นการเปิดการค้าเสรีกับต่างประเทศ ถือเป็นการสิ้นสุดของการผูกขาดการค้ากับต่างประเทศโดยกรมพระคลังสินค้าของสยาม สนธิสัญญานี้มีผลใช้บังคับอยู่นานกว่า 70 ปี

ท้ายที่สุดสมัยปลายรัชกาลที่ 4 และต้นรัชกาลที่ 5 ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอนและทวีปยุโรป ถือได้ว่าเป็น “ตัวแทนประจำคนแรกของไทย” ก็ว่าได้[1] มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ

ประวัติ

แก้

เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เกิดที่นครเอ็กซิเตอร์ มณฑลเดวอน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ เป็นเด็กฉลาดหลักแหลม เรียนเก่ง เขาสามารถพูดได้ถึง 10 ภาษาหลัก ๆ ในทวีปยุโรปทั้งหมดรวมถึงจีนกลาง เริ่มเขียนบทความลงใน "Westminster Review” นิตยสารวิเคราะห์เศรษฐกิจ ต่อมาในปี 2368 ได้ขึ้นเป็นบรรณาธิการ และได้ย้ายไปเนเธอร์แลนด์เรียนจบนิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต (Doctor of Laws) จากมหาวิทยาลัยกรอนิงเกน (University of Groningen) ต่อมาได้เป็นสมาชิกของสภา Kilmarnock Burghs จากนั้นได้รับการแต่งตั้งไปเจรจาทางการค้ากับฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี ซีเรีย และเยอรมัน ซึ่งต่อมาได้เป็นตัวแทน การเจรจาทางการค้ากับจีนที่เมืองกวางจูในปี 2392 หลังจากนั้นอีก 5 ปี ก็ขึ้นเป็นข้าหลวงอังกฤษประจำฮ่องกง เมื่อฮ่องกงตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษ หลังจีนพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่นครั้งที่สอง และได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองฮ่องกง ในปี 2398

เบาว์ริงได้เชิญพระราชสาสน์ในสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการเข้ามาทำสนธิสัญญาทางไมตรีกับสยาม สัญญาฉบับนั้นคือ "สนธิสัญญาเบาว์ริง” เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2398 ซึ่งเป็นผลทำให้สยามต้องสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางการศาล และมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และทำให้เกิดการค้าเสรีถือเป็นการสิ้นสุดของการผูกขาดการค้าต่างประเทศ โดยพระคลังสินค้าของสยาม

ช่วงต้นรัชกาลที่ 5 เบาว์ริง ได้รับแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตไทยประจำกรุงลอนดอน และทวีปยุโรป มีบรรดาศักดิ์เป็น "พระยาสยามมานุกูลกิจ สยามมิตรมหายศ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2404 เบาว์ริงย้ายไปเป็นตัวแทนทางการค้าที่อิตาลี และอีกหลายประเทศในยุโรป เบาว์ริงเสียชีวิตเมือวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415

สนธิสัญญาเบาว์ริง

แก้

สนธิสัญญาเบาว์ริง ว่าด้วย “การค้าเสรี” อันเป็น “ระเบียบใหม่” ของโลกในยุคลัทธิจักรวรรดินิยม อาณานิคมตะวันตก ลงนามกันระหว่างอังกฤษและสยามเมื่อ 18 เมษายน พ.ศ. 2398 (ค.ศ. 1855) ในสมัยนายกรัฐมนตรี เฮนรี จอห์น เทมเพิล ไวเคานท์พาลเมอร์สตันที่ 3 รัฐบาลในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และราชอาณาจักรสยาม สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สนธิสัญญานี้มีความสำคัญอย่างยิ่งและใช้บังคับอยู่เป็นเวลา ถึง 70 กว่าปี จนกระทั่งมีการแก้ไขค่อยๆยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 6 ภายหลังเมื่อสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สิ้นสุดลงเมื่อปี พ.ศ. 2461 (1918) แต่กว่าจะสิ้นสุดสมบูรณ์ ก็ล่วงมาถึงในปี พ.ศ. 2482 (1938) ในรัฐบาล จอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ที่ได้มีการแก้ไขและลงนามในสนธิสัญญาใหม่กับประเทศตะวันตก (และญี่ปุ่น) ใหม่ทั้งหมด

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 18 เม.ย.2398 รู้จัก พระยาสยามมานุกูลกิจผู้ที่ทำได้ทุกอย่าง ข่าวสดออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2561

บรรณานุกรม

  • Bartle, G. F. (1963). "Jeremy Bentham and John Bowring: a study of the relationship between Bentham and the editor of his Collected Works". Bulletin of the Institute of Historical Research. 36 (93): 27–35. doi:10.1111/j.1468-2281.1963.tb00620.x.
  • Bartle, George Frederick (1994). An old radical and his brood: a portrait of Sir John Bowring and his family based mainly on the correspondence of Bowring and his son, Frederick Bowring. London: Janus.
  • แม่แบบ:Cite Maclise
  • Bowring, Philip (2011). "Sir John Bowring: the imperial role of a lifelong radical". Asian Affairs. 42 (3): 419–29. doi:10.1080/03068374.2011.605604. S2CID 163009129.
  • Bowring, Philip (2014). Free Trade's First Missionary: Sir John Bowring in Europe and Asia. Hong Kong University Press. ISBN 9789888208722.
  • Endacott, G. B. (2005) [1962]. A Biographical Sketch-Book of Early Hong Kong. Hong Kong: Hong Kong University Press. pp. 36–44. ISBN 978-962-209-742-1.
  • Hurd, Douglas. "Sir John Bowring of Hong Kong, The Radical Governor" History Today (1967) 17#10 pp 651-659 online
  • Jumsai, M L Manich (1970). King Mongkut and Sir John Bowring. Great Britain: Chalermnit.
  • Ringmar, Erik (2013). Liberal Barbarism: The European Destruction of the Palace of the Emperor of China. New York: Palgrave Macmillan. ISBN 9781137268907.
  • Stone, Gerald (2009) [2004]. "Bowring, Sir John (1792–1872)". Oxford Dictionary of National Biography (online ed.). Oxford University Press. doi:10.1093/ref:odnb/3087. (ต้องสมัครสมาชิก)
  • Todd, David (2008). "John Bowring and the global dissemination of free trade". Historical Journal. 51 (2): 373–97. doi:10.1017/s0018246x08006754. S2CID 153892975.
  • Youings, Joyce Alice, บ.ก. (1993). Sir John Bowring, 1792–1872: aspects of his life and career. Plymouth: Devonshire Association.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้