จอดแล้วจร (อังกฤษ: Park and ride หรือ Incentive parking หรือ Commuter lot หรือ Park & Ride) เป็นบริการพื้นที่สำหรับจอดรถที่ตั้งอยู่ใกล้กับระบบขนส่งมวลชน ในรูปแบบของอาคารและลานจอดรถ เพื่อให้ประชาชนเปลี่ยนผ่านจากรถส่วนบุคคลเข้าสู่ระบบขนส่งมวลชน อาทิ รถโดยสารประจำทาง รถไฟ รถราง และมารับรถกลับหลังจากเดินทางกลับจากการทำงานหรือภารกิจ โดยปกติจะมีให้บริการอยู่ในเขตพื้นที่ชานเมืองหรือบริเวณขอบนอกของตัวเมืองใหญ่[2]

เครื่องหมายมาตรฐานของจอดแล้วจรในสหรัฐ[1]

การจูงใจ

แก้
 
จุดจอดแล้วจรใน ปราก - โอปาตอฟ ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน โดยมีเครื่องจำหน่ายตั๋วที่จอดที่รวมอยู่ในตั๋วโดยสารแล้ว

ในเมืองปราก สาธารณรัฐเช็ก สถานที่จอดแล้วจรตั้งอยู่ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินและสถานีรถไฟ (ในปี พ.ศ. 2554 มีที่จอดรถ 17 แห่งใกล้กับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน 12 แห่ง และสถานีรถไฟ 3 แห่ง)[3] ซึ่งที่จอดรถเหล่านี้มีค่าบริการที่ต่ำมากสำหรับทั้งตัววันและตั๋วไปกลับ โดยค่าบริการที่จอดจะคิดรวมอยู่กับค่าโดยสารของรถไฟใต้ดินและรถไฟ[4][5]

ประโยชน์ที่ได้รับ

แก้

สำหรับการจอดแล้วจรนั้น ช่วยประหยัดระยะเวลาในการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนบุคคล ลดปัญหาสภาพการจราจรบนท้องถนน และช่วยประหยัดระยะเวลาในการเดินทางเนื่องจากการใช้ระบบขนส่งมวลชนด้วยระบบรางนั้นมีความรวดเร็ว รวมถึงลดปัญหามลพิษจากการเผาไหม้และเกิดเป็นไอเสียจากรถยนต์[6] นอกจากนี้ยังช่วยลดความแออัดของสภาพการจราจรจากการที่รถยนต์ต้องวนหาสถานที่จอดรถในพื้นที่กลางเมืองใหญ่ที่หายากและมีราคาสูง

รถประจำทาง

แก้
 
รถประจำทางจอดแล้วจรในเมืองเอ็กซิเตอร์ ประเทศอังกฤษ

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับจอดแล้วจรของรถประจำทางเริ่มมีให้บริการในทศวรรษที่ 1960 ในสหราชอาณาจักร เมืองออกซฟอร์ดได้เริ่มโครงการดังกล่าวขึ้นเป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นทดลองโครงการโดยการทดลองเดินรถนอกเวลาจากโมเตลบนถนน A34 ในช่วงทศวรรษที่ 1960 และให้บริการเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2516[7] ในขณะที่ที่จอดรถเบทเทอร์ชอยส์ (Better Choice Parking) ได้ให้บริการจอดแล้วจรในท่าอากาศยานพร้อมกับบริการรถประจำทางรับส่งครั้งแรกในท่าอากาศยานลอนดอนแกตวิก ในปี พ.ศ. 2521[8] ปัจจุบันเมืองออกซฟอร์ดให้บริการจอดแล้วจรจำนวน 5 แห่งทั่วเมือง[9] ซึ่งในปี พ.ศ. 2558 เมืองออกซฟอร์ดมีโครงข่ายที่จอดแล้วจรที่ใหญ้ที่สุดในสหราชอาณาจักร สามารถรองรับรถยนต์เข้าใช้บริการได้ถึง 5,031 คัน[10]

ปั่นแล้วจร

แก้
 
สิ่งอำนวยความสะดวกของระบบปั่นแล้วจรที่สถานีเมโทรเรลไมอามี่

ปั่นแล้วจร (อังกฤษ: Bike and ride) หรือที่ถูกเรียกว่า B & R (B + R) เป็นช่องสำหรับจอดจักรยานใกล้กับสถานีขนส่งมวลชน ส่วนใหญ่จะอยู่ร่วมกับจุดจอดแล้วจร (P & R) โดยสามารถส่งเสริมระบบนี้ได้ผ่านทางค่าโดยสารและตั๋วร่วมกับระบบขนส่งสาธารณะ[11]

จูบแล้วจร / จูบแล้วบิน

แก้
 
สัญลักษณ์จูบแล้วจรที่สถานีขององค์การขนส่งมวลชนมหานครแอตแลนตา

ในสถานีรถไฟและท่าอากาศยานหลายแห่งมีพื้นที่ "จูบแล้วจร" (อังกฤษ: Kiss and Ride) หรือ "จูบแล้วบิน" (อังกฤษ: Kiss and Fly) สำหรับให้รถยนต์สามารถหยุดเพื่อรับส่งผู้โดยสารจำนวนไม่มาก โดยคำนี้ปรากฎขึ้นครั้งแรกในรายงานเมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2499 ในหนังสือพิมพ์ลอสแอนเจลิสไทมส์[12] โดยหมายถึงการเดินทางไปส่งคู่สมรถหรือแฟนกันที่สถานี / สนามบินแล้วมีการจูบลากันก่อนที่อีกฝ่ายจะเดินทาง[12][13]

สำหรับการใช้งานในแต่ละพื้นที่นั้น ด็อยท์เชอบานผู้ให้บริการรถไฟในประเทศเยอรมนีได้เปลี่ยนการใช้คำภาษาอังกฤษของคำว่า Kiss and Ride, Service Points และ Counters เป็นภาษาเยอรมัน[14] ในประเทศอิตาลี สถานีรถไฟกลางโบโลญญา (Bologna Centrale railway station) แห่งใหม่ใช้สัญลักษณ์จูบแล้วจรในสถานี[15] ในไต้หวัน สถานีรถไฟความเร็วสูงหลายแห่งมีป้ายบอกในพื้นที่นอกสถานีเป็นภาษาอังกฤษว่า "Kiss and Ride" โดยมีคำภาษาจีนกำกับไว้ด้านบน แปลว่า "เขตรับส่งชั่วคราว"[16] ในประเทศโปแลนด์ จูบและจรกำลังได้รับความนิยม[17] โดยเมืองที่มีพื้นที่ดังกล่าวได้แก่ วรอตสวัฟ (ตั้งแต่ตุลาคม 2554)[18], กรากุฟ (ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2556)[19], วอร์ซอ (ตั้งแต่ 2559)[20] หรือตอรุญ (ตั้งแต่ 2559)[21] ซึ่งในท้องถิ่นรู้จักกันในชื่อภาษาอังกฤษว่า "Kiss and ride" ซึ่งแม้จะไม่ได้มีการกำหนดป้ายมาตรฐานขึ้นมา แต่ป้ายแสดงพื้นนี้ทั้งหมดจะมีการใช้ตัวอักษร K+R[17][22] กำกับอยู่ในนั้น ในประเทศเนเธอร์แลนด์ คำศัพท์ภาษาอังกฤษจำนวนมากถูกแปลไปเป็นภาษาดัตช์ รวมถึงคำว่าจูบแล้วจรด้วย

จุดจอดแล้วจรในประเทศไทย

แก้

จุดจอดแล้วจรในประเทศไทยจะเกี่ยวข้องกับโครงการรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีแบบทั้งคิดค่าบริการจอดรถเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายเดือน และไม่คิดค่าบริการ ซึ่งดูแลโดยผู้ให้บริการขนส่งมวลชนเอง หรือดูแลโดยบริษัทเอกชนในพื้นที่ข้างเคียงสถานี[23] โดยแยกตามความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีดังต่อไปนี้

การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย

แก้

จัดเป็นพื้นที่อาคารสำหรับจอดรถในระบบปิด มีระบบรักษาความปลอดภัยและมีการคิดค่าบริการ โดยมีส่วนลดให้กับผู้ใช้บริการขนส่งมวลชนรถไฟฟ้า เพื่อจูงใจให้ใช้บริการระบบรถไฟฟ้า[24] ประกอบไปด้วย

 
อาคารจอดแล้วจร (ขวา) พร้อมเส้นทางเชื่อมต่อเข้าสู่สถานีหลักสอง (ซ้าย)
 
ลานจอดแล้วจร ที่สถานีเคหะฯ

รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.

แก้

จัดเป็นพื้นที่จอดรถแบบเปิดกลางแจ้ง ในบริเวณสถานีรถไฟฟ้า บางส่วนยังไม่เปิดให้บริการ

รถไฟฟ้าบีทีเอส

แก้

ไม่มีการสร้างพื้นที่จอดและจรเป็นของตนเอง อาศัยพื้นที่จอดรถจากเอกชนบริเวณข้างเคียงสถานี ซึ่งคิดอัตราค่าบริการตามสถานที่นั้น ๆ กำหนด ทั้งในรูปแบบรายชั่วโมง รายวัน และรายเดือน[23]

  • รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท ช่วงหมอชิต - แบริ่ง
    • สถานีหมอชิต บริเวณลานจอดรถในพื้นที่ของกรมธนารักษ์
    • สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ บริเวณศูนย์การค้าเซ็นเตอร์วัน และ ศูนย์การค้าเซ็นจูรี่ เดอะมูฟวี่พลาซ่า
    • สถานีอโศก บริเวณศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 ลานจอดรถในซอยสุขุมวิท 23 (หลังตึกจัสมิน) และ อาคารอโศก เอ็กซเชนจ์ ทาวเวอร์
    • สถานีสำโรง บริเวณศูนย์การค้าอิมพีเรียลเวิลด์ สำโรง
  • รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ - บางหว้า
    • สถานีศาลาแดง บริเวณศูนย์การค้าสีลมคอมเพล็กซ์ อาคารธนิยะ พลาซ่า และ อาคารลิเบอร์ตี้ สแควร์
    • สถานีสะพานตากสิน บริเวณใกล้วัดยานนาวา ในวัดยานนาวา และ โรบินสัน บางรัก

โครงการในอนาคต

แก้
  • รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี
    • สถานีคลองบ้านม้า เป็นอาคารสูง 10 ชั้น สามารถจอดรถได้ประมาณ 1,200 คัน[30]

อ้างอิง

แก้
  1. "Standard Highway Signs—PDF and EPS files for New and Revised Signs - FHWA MUTCD". mutcd.fhwa.dot.gov. สืบค้นเมื่อ 2022-08-19.
  2. "DART First State Park & Ride/Park & Pool Lots" (PDF). DART First State. สืบค้นเมื่อ December 21, 2016.
  3. "Aktuální obsazenost P+R | Dopravní podnik hlavního města Prahy" (ภาษาเช็ก). dpp.cz. สืบค้นเมื่อ 2012-01-19.
  4. "TSK Praha - P+R" (ภาษาเช็ก). Tsk-praha.cz. สืบค้นเมื่อ 2012-01-19.
  5. Petr Kvapil, Lira IS s.r.o., www.lirais.cz. "ROPID-Cestujeme…-P+R, B+R, K+R (od 1.7.2011)". Ropid.cz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-25. สืบค้นเมื่อ 2012-01-19.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Duck, Parking (2016-08-09). "จอดแล้วจร Park & Ride". Medium (ภาษาอังกฤษ).
  7. "How Oxford led the way to create Park and Rides". Oxford Mail (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-04-19.
  8. "BCP Company Information & ar parking lots Offered". Airport Parking Shop. สืบค้นเมื่อ 2012-01-19.
  9. "Archived copy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-03-18. สืบค้นเมื่อ 2008-06-09.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  10. "Park and ride car parks". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-25. สืบค้นเมื่อ 2015-04-20.
  11. "Doprava: Pražská integrovaná doprava a cyklisté". Doprava.praha-mesto.cz. 2005-06-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-22. สืบค้นเมื่อ 2012-01-19.
  12. 12.0 12.1 "kiss and ride". A Way With Words. สืบค้นเมื่อ 2014-03-01.
  13. David Crystal (2003). The Cambridge Encyclopedia of the English Language. Cambridge University Press. p. 285. ISBN 0-521-53033-4.
  14. "German railways shunt English into sidings". BBC News. 16 February 2010. สืบค้นเมื่อ 2010-02-17.
  15. "Alta velocità. Nella stazione di Bologna apre alle auto il Kiss and ride". Radio Città del Capo. 22 September 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-07. สืบค้นเมื่อ 2015-03-04.
  16. "Kiss and ride signs stump Taiwan rail passengers". Reuters. 5 February 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-13. สืบค้นเมื่อ 2007-09-27.
  17. 17.0 17.1 "Kiss and Ride, czyli... Pocałuj i Jedź. Parking do całowania? Jak z tego korzystać? - TVS.pl". TVS.pl. 6 July 2016.
  18. "Kiss&ride: Całuśny znak przy stacji PKP". wroclaw.naszemiasto.pl. 7 October 2011. สืบค้นเมื่อ 2011-10-07.
  19. "ZIKiT - Komunikacja Miejska w Krakowie - Pocałuj i Jedź". kmkrakow.pl. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-30. สืบค้นเมื่อ 2017-10-29.
  20. "Powstają strefy "pocałuj i jedź". Mają ułatwić podwożenie do metra". warszawa.wyborcza.pl. สืบค้นเมื่อ 2017-10-29.
  21. ""Pocałuj i jedź". Jest pierwszy postój "Kiss & Ride"". Radio Gra Toruń.
  22. "K+R (KISS & RIDE). POCAŁUJ I JEDŹ NA JORDANKACH!". ototorun.pl. 29 November 2016.
  23. 23.0 23.1 "ที่จอดรถ". www.bts.co.th.
  24. "BEM บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพจำกัด (มหาชน)". metro.bemplc.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-15. สืบค้นเมื่อ 2022-02-15.
  25. "ที่จอดรถสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". www.mrta.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-16. สืบค้นเมื่อ 2022-02-15.
  26. "ที่จอดรถสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". www.mrta.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-15. สืบค้นเมื่อ 2022-02-15.
  27. "ที่จอดรถสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". www.mrta.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-15. สืบค้นเมื่อ 2022-02-15.
  28. "โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". www.mrta.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-12-09. สืบค้นเมื่อ 2022-06-09.
  29. "โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย". www.mrta.co.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-02-15. สืบค้นเมื่อ 2022-02-15.
  30. "โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์)". mrta-orangelineeast.com.