จนิรา พัชราจารยะ
จนิรา พัชราจารยะ (เนปาล: चनिरा बज्राचार्य; เกิด พ.ศ. 2538) เป็นอดีตกุมารีแห่งปาฏัน ประเทศเนปาล หรือเป็นที่รู้จักในนาม "เทพีผู้มีลมหายใจ" ดำรงตำแหน่งใน พ.ศ. 2543 ถึง พ.ศ. 2553
จนิรา พัชราจารยะ | |
---|---|
เกิด | พ.ศ. 2538 (ราว 29 ปี) ปาฏัน ราชอาณาจักรเนปาล |
สัญชาติ | เนปาล |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยกาฐมาณฑุ (บธ.ม.) |
มีชื่อเสียงจาก | กุมารี (พ.ศ. 2543–2553) |
ญาติ | ธนะ กุมารี พัชราจารยะ (ป้า) |
จนิราเกิดในตระกูลพัชราจารยะซึ่งเป็นตระกูลหนึ่งของชาวเนวารที่นับถือศาสนาพุทธแบบเนวาร[1] และเป็นหลานสาวของธนะ กุมารี พัชราจารยะ (धन कुमारी बज्राचार्य) กุมารีแห่งปาฏันผู้ดำรงตำแหน่งยาวนานกว่าสามทศวรรษเพราะขาดประจำเดือน และยังใช้ชีวิตอย่างกุมารีอยู่แม้ถูกษัตริย์ปลดจากตำแหน่งไปแล้ว[2]
ครั้นเมื่อจนิราอายุ 5 ขวบ ก็ถูกเลือกเป็นกุมารีหรือตัวแทนของเทพีตาเลชุ (तालेजु) เทพีที่มีลมหายใจตามธรรมเนียมฮินดูเนปาล เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2543[3][4] ระหว่างดำรงตำแหน่งกุมารี เธอได้รับการเล่าเรียนจนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี[3] ปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2544 จนิราร้องไห้เป็นเวลายาวนานถึงสี่วัน ซึ่งการกระทำนี้ถูกตีความว่าลางร้ายกำลังเกิดขึ้น กระทั่งรุ่งขึ้นหลังจนิราหยุดร่ำไห้ ก็เกิดเหตุการณ์การสังหารหมู่ราชวงศ์เนปาลในวันนั้นเอง[5] ในเวลาต่อมาเมื่อจนิรามีประจำเดือนครั้งแรกในวัย 15 ปี ตำแหน่งกุมารีจึงสิ้นสุดลงตามธรรมเนียม โดยสมิตา พัชราจารยะ (समिता बज्राचार्य) ผู้ผ่านการคัดเลือก ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นกุมารีแห่งปาฏันสืบต่อมา[6]
จนิราสำเร็จการศึกษาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยกาฐมาณฑุ[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ เมฆา วิรุฬหก (5 เมษายน 2562). ""กุมารี" เทพเจ้าบนโลก กับการละเมิดสิทธิเด็ก และตราบาปที่ถูกมองเป็น "คนกินผัว"". ศิลปวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "Nepal's earthquake forces 'living goddess' to break decades of seclusion". theguardian.com. 2015-07-20. สืบค้นเมื่อ 2016-12-08.
- ↑ 3.0 3.1 Narang, Sonia (2014-06-18). "Nepal's living goddess who still has to do homework". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2016-12-08.
- ↑ "เทพธิดา กุมารี – เทวนารีผู้ยังมีลมหายใจ". National Geographic ฉบับภาษาไทย. 16 มิถุนายน 2563. สืบค้นเมื่อ 13 กันยายน 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 5.0 5.1 Emily, Emily (15 July 2022). "Ex-Goddess Works to Reform 700-Year Tradition. Her M.B.A. Helps". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 27 July 2022.
- ↑ McCarthy, Julie (2015-08-28). "The Very Strange Life Of Nepal's Child Goddess". npr.org. สืบค้นเมื่อ 2016-12-08.