งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี พ.ศ. 2559
งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ร่วมกันจัดขึ้นโดยรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และประชาชนชาวไทย และเป็นงานเฉลิมฉลองให้แก่รัชกาลที่ 9 งานสุดท้ายก่อนการสวรรคตในวันที่ 13 ตุลาคม ปีเดียวกัน
งานฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี พ.ศ. 2559 | |
---|---|
ภาพการประดับธงตราสัญลักษณ์และตราสัญลักษณ์คู่กับธงชาติไทย เมื่อปี พ.ศ. 2559 | |
วันที่ | 9 มิถุนายน 2559 |
ประเทศ | ประเทศไทย |
เหตุการณ์ก่อนหน้า | พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. 2549 |
จัดโดย | รัฐบาลไทย |
รัฐพิธี
แก้รัฐบาลไทยได้เตรียมการจัดรัฐพิธีในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี พ.ศ. 2559 โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
- วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559[1]
- พิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลทั่วประเทศ โดยส่วนกลางจัดขึ้น ณ ประตูสวัสดิโสภา พระบรมมหาราชวัง มีพระสงฆ์ทั้งหมด 789 รูป นำโดยสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้น, พระราชาคณะ 18 รูป และพระสงฆ์ในโครงการบรรพชาอุปสมบท จำนวน 770 รูป
- พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล และย่ำฆ้อง กลอง ระฆัง ทั่วประเทศ โดยส่วนกลางจัดขึ้น ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทั้งนี้ มหาเถรสมาคมได้ประพันธ์บทสวดใหม่ "สัตตติวัสสรัชชกาลวรทานคาถา" ขึ้น เพื่อเจริญพระพุทธมนต์ในโอกาสนี้โดยเฉพาะ
กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ
แก้สำหรับภาคประชาชน รัฐบาลไทยได้กำหนดขอบเขตการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559 – 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560[2] โดยมีกิจกรรมสำคัญ เช่น[3]
- โครงการบรรพชาอุปสมบท 770 รูปเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสร่วมกับพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559
- โครงการ "ปลูกไทย...ในแบบพ่อ"[4]
- นิทรรศการสัญจรเฉลิมพระเกียรติ "บัวบาทยาตรา"
- ละครเวทีเฉลิมพระเกียรติ "เสียงแห่งความจงรักภักดี"
- ละครโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติ ชุด "ค่าของแผ่นดิน : Pride and Dignity of Thais"
- โครงการเยาวชนอาเซียนเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามรอยพระยุคลบาท
อย่างไรก็ตาม กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติทั้งหมดยุติลงตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 เนื่องจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยปรับกิจกรรมทั้งหมดเป็นการถวายความอาลัยแทน
เพลงเฉลิมพระเกียรติ
แก้ในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี ได้มีการแต่งเพลงเฉลิมพระเกียรติขึ้นมา 1 เพลง คือเพลง เหตุผลของพ่อ ที่จัดทำขึ้นโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงการทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ตลอด 70 ปี ที่ทรงงานอย่างหนัก และทรงเหน็ดเหนื่อยเพื่อประชาชนทุกคน ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย กมลศักดิ์ สุนทานนท์ และ ปิติ ลิ้มเจริญ เรียบเรียงโดย เจษฎา สุขทรามร และธิติวัฒน์ รองทอง ขับร้องโดย ธงไชย แมคอินไตย์ ซึ่งต่อมาได้รับการเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ประจำปี พ.ศ. 2565 เพลงนี้เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2559[5] และถือเป็นบทเพลงเฉลิมพระเกียรติเพลงสุดท้ายที่เผยแพร่ก่อนเกิดเหตุการณ์การสวรรคตในอีกสองวันถัดมา[6]
ตราสัญลักษณ์
แก้ตราสัญลักษณ์ของงานเฉลิมพระเกียรตินี้ ประกอบด้วย อักษรพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. สีเหลืองนวลทอง สีประจำวันพระบรมราชสมภพ ขอบริมอักษรสีทองบนพื้นสีขาบเข้ม (สีน้ำเงินแก่) เป็นสีประจำสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายในกรอบลายทองปนนากมีลายเนื่องสีทองมากกว่า 70 ดวง เป็นการถวายพระพร ให้ทรงสถิตดำรงในสิริราชสมบัติมากกว่าปีที่ 70 ให้สถาพรโดยสวัสดีเป็นอเนกอนันต์ ยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใด
อักษรพระปรมาภิไธย ภ.ป.ร. และกรอบลายทองปนนากอยู่ภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฎ ประกอบพระอุณาโลมสีทอง แวดล้อมด้วยพระแสงขรรค์ชัยศรี และพระแส้จามรีอยู่ฝั่งซ้ายของพระมหาพิชัยมงกุฎ มีธารพระกรและพัชนีฝักมะขาม อยู่ด้านขวา มีฉลองพระบาททอดอยู่เบื้องล่างของปลายพระแสงและธารพระกร รวมเรียกว่าเครื่องราชกกุธภัณฑ์ เป็นนิมิตหมายแห่งการฉลองสิริราชสมบัติ ล่างลงมาเป็นแพรแถบสีหงชาด (ชมพู) ขลิบทอง เขียนอักษรสีทอง ความว่า "ฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี" ปลายด้านขวาของแพรแถบระบุ "พ.ศ. 2489" ซึ่งเป็นปีที่เสด็จขึ้นครองราชย์ ปลายด้านซ้ายของแพรแถบระบุ "พ.ศ. 2559" แสดงระยะเวลาจากการครองราชย์มา 70 ปีจนถึงปัจจุบัน[7]
การใช้ตราสัญลักษณ์
แก้สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยเริ่มทยอยแสดงตราสัญลักษณ์ของงานเฉลิมพระเกียรตินี้ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 จนกระทั่งแสดงครบทุกช่องเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม จากนั้นตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคมเป็นต้นมา ได้ทยอยแสดงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 12 สิงหาคม 2559 ควบคู่กันด้วย โดยแสดงทางด้านขวามือติดกับตราสัญลักษณ์ของงานเฉลิมพระเกียรติ
อย่างไรก็ตาม สถานีโทรทัศน์ในประเทศไทยทุกช่องได้นำตราสัญลักษณ์ทั้ง 2 งานข้างต้นลงจากจอโทรทัศน์ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม เวลา 19:00 น. เนื่องจากการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สิ่งที่ระลึก
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ตุลาคม 2024) |
สถานที่
แก้เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์
แก้เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์ เป็นเรือนยอดที่จัดสร้างโดยสถาบันสิริกิติ์ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในโอกาสเฉลิมพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์หลายโอกาส หนึ่งในนั้นคือในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปีของพระองค์ มีจำนวน 9 ยอด ตามรัชกาล ซึ่งนับเป็นเรือนยอดที่สูงสุดในประวัติศาสตร์ศิลปะไทย มีลักษณะเป็นเรือนโถง หน้าบันทั้ง 9 ยอดจารึกพระปรมาภิไธย, พระนามาภิไธย และอักษรพระนามของทุกพระองค์ที่เกี่ยวข้องกับรัชกาลที่ 9 เดิมตั้งอยู่ภายในพระราชวังดุสิต ทางด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งอนันตสมาคม[8] โดยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์มาทรงตัดริบบิ้นเปิดเรือนยอดนี้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2559[9] แต่ได้รื้อถอนในปี พ.ศ. 2566 เพื่อย้ายไปประดิษฐานที่พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน
เหรียญและแพรแถบที่ระลึก
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ตุลาคม 2024) |
เข็มที่ระลึก
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ตุลาคม 2024) |
เสื้อโปโลสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์ฯ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ตุลาคม 2024) |
แสตมป์ที่ระลึก
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ตุลาคม 2024) |
ธนบัตรที่ระลึก
แก้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดทำธนบัตรที่ระลึก ชนิดราคา 70 บาท โดยภาพด้านหน้าธนบัตร เชิญพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศจอมทัพ ฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทรงเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ และพระสังวาลปฐมจุลจอมเกล้าวิเศษ เป็นภาพประธาน ขณะที่ภาพด้านหลังธนบัตร เชิญพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ ทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี ทรงยืนเบื้องหน้าพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ธนบัตรที่ระลึกนี้ มีความกว้าง 89 มิลลิเมตร ความยาว 162 มิลลิเมตร เริ่มจ่ายแลกในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559[10]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ตุลาคม 2024) |
เหรียญกษาปณ์ที่ระลึก
แก้กรมธนารักษ์ได้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก ประกอบด้วย เหรียญกษาปณ์ทองคำขัดเงา ชนิดราคา 16,000 บาท เหรียญกษาปณ์เงินขัดเงา ชนิดราคา 800 บาท และเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคา 50 บาท โดยเปิดจำหน่ายตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2559[11]
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ (ตุลาคม 2024) |
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "ครองราชย์70ปี พสกนิกรร่วมใจสดุดีทั้งแผ่นดิน". ผู้จัดการออนไลน์. 9 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รบ.เตรียมจัดงานเฉลิมพระเกียรติ"ในหลวง"". ผู้จัดการออนไลน์. 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "รัฐบาลเตรียมจัดงานเฉลิมพระเกียรติในหลวงครองราชย์ครบ70ปี". โพสต์ทูเดย์. 11 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2024.
- ↑ "รัฐจัดโครงการเฉลิมพระเกียรติปลูกไทย...ในแบบพ่อ". โพสต์ทูเดย์. 1 กรกฎาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'เบิร์ด ธงไชย' ซาบซึ้งได้ขับร้องเพลงเฉลิมพระเกียรติในหลวง 'เหตุผลของพ่อ'". มติชน. 10 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2016.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ เชื้อสาวะถี, เจนวิทย์ (27 ตุลาคม 2017). "บันเทิงไทยใต้ร่มพระบารมี (1) : "เบิร์ด…เป็นนักร้องก็ดีที่หนึ่ง เป็นเกษตรกรก็ดีที่หนึ่ง"". มติชนสุดสัปดาห์. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สำนักงานปลัดสำนักนายกฯ เผยแพร่ "ตราสัญลักษณ์ฉลองสิริราชสมบัติครบ 70 ปี"". มติชน. 11 เมษายน 2016. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์ ศิลปกรรมชิ้นเอกที่ทรงคุณค่าแห่งกรุงรัตนโกสินทร์". ไทยรัฐ. 12 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2018.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เปิดแล้ว "เรือนยอดบรมมังคลานุสรณีย์"". คมชัดลึก. 11 มิถุนายน 2016. สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ออกธนบัตรฉบับ 70 บาท ฉลองสิริราชสมบัติ 70 ปี ในหลวง". kapook.com. 2016-05-30.
- ↑ "กรมธนารักษ์เปิดจำหน่ายเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก "ครองราชย์ครบ 70 ปี "". Thai PBS.