คำฝอย

สปีชีส์ของพืช
คำฝอย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
ไม่ได้จัดลำดับ: Angiosperms
ไม่ได้จัดลำดับ: Eudicots
ไม่ได้จัดลำดับ: Asterids
อันดับ: Asterales
วงศ์: Asteraceae
เผ่า: Cynareae
สกุล: Carthamus
สปีชีส์: C.  tinctorius
ชื่อทวินาม
Carthamus tinctorius
L.
แผนที่แสดงการปลูกคำฝอย
ชื่อพ้อง[1]
  • Cathamus tinctorius L.
Carthamus tinctorius

คำฝอย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Carthamus tinctorius) เป็นไม้ล้มลุก ในวงศ์ทานตะวัน (Asteraceae) มีความสูง 40-130 เซนติเมตร ลำต้นเป็นสันแตกกิ่งก้านมาก ใบเดี่ยวเรียงสลับรูปวงรี ใบหอก หรือขอบขนาน ขอบใบหยักฟันเลื่อย ปลายเป็นหนามแหลม ใบประดับแข็งเป็นหนาม รองรับช่อดอก ดอกเป็นดอกช่อ มีดอกย่อยขนาดเล็ก ๆ จำนวนมาก ออกที่ปลายยอด ดอกอ่อนเป็นสีเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีแดงภายหลัง ผลแห้งไม่แตก เมล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยม สีขาว ขนาดเล็ก

สารสีเหลืองส้มในกลีบดอกคือคาร์ทามินและ แซฟฟลาเวอร์เยลโลว์ ใช้แต่งสีอาหาร โดยนำดอกมาแช่น้ำร้อนและใช้ทำสีย้อมผ้ามาแต่โบราณ[2] ซึ่งดอกคำฝอยแห้ง พบปรากฏเรียกอยู่ในพระคัมภีร์ทางการแพทย์แผนไทยในชื่อว่า "โกฐกุสุมภ์" นอกจากนี้แล้ว ดอกของคำฝอยยังทำมาชงน้ำร้อนดื่มเพื่อสุขภาพได้แบบเก็กฮวยหรือน้ำชาได้อีกด้วย[3]

วรรณกรรม

แก้

คำฝอย ยังกลายมาเป็นชื่อบทในวรรณกรรมของญี่ปุ่นเรื่อง "ตำนานเก็นจิ" (ญี่ปุ่น: 源氏物語) ตอน "ซูเอ็ตสึมูฮานะ" (末摘花) ด้วย ซึ่งแปลได้ว่า "คำฝอย" อันเป็นบทที่ 6 จากทั้งหมด 54 บท[4]

อ้างอิง

แก้
  1. จาก itis.gov
  2. มหาวิทยาลัยมหิดล. สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. กทม. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. 2539
  3. เพื่อนเกษตร, รายการ. เช้าข่าว 7 สี: ศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2555 ทางช่อง 7
  4. "สุเอทสึมุฮานะ" เก็บถาวร 2005-02-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.The Tale of Genji.Unesco Global Heritage Pavilion.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้