ท้อ
ท้อ | |
---|---|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | พืช |
หมวด: | พืชดอก |
ชั้น: | พืชใบเลี้ยงคู่ |
อันดับ: | กุหลาบ |
วงศ์: | กุหลาบ |
สกุล: | พรุน |
สกุลย่อย: | Amygdalus |
สปีชีส์: | ท้อ (P. persica) |
ชื่อทวินาม | |
Prunus persica (L.) Batsch | |
ชื่อพ้อง | |
|
ท้อ (จีน: 桃; อังกฤษ: peach; ชื่อวิทยาศาสตร์: Prunus persica) เป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน จัดเป็นไม้พุ่มผลัดใบ อยู่ในสกุล Prunus อันเป็นสกุลเดียวกันกับ ซากุระ, บ๊วย, เชอร์รี่ หรือนางพญาเสือโคร่ง
ท้อจัดเป็นไม้เมืองหนาวที่จะขึ้นได้ดีในที่ ๆ มีความสูงตั้งแต่ 3,000 ฟุตขึ้นไป อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 10 องศาเซลเซียส ทนแล้งได้ดี เป็นไม้ใบเดี่ยว เรียงสลับ ขอบใบจัก ดอกเดี่ยว มักออกเป็นกระจุก กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ สีขาวหรืออาจเป็นสีแดง หรือชมพู ดอกจะแตกออกมาก่อนใบ ผลเป็นผลสดเมล็ดเดี่ยว มีขนปกคลุมทั่วบริเวณผิว
ท้อนับเป็นผลไม้ที่ใช้ประโยชน์ในการรับประทานมาอย่างยาวนาน และได้รับความนิยมไปทั่วโลก นอกจากนี้แล้วในวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆ จะมีท้อเข้ามาร่วมอยู่ด้วย ได้แก่ ชาวจีนมีความเชื่อว่า ท้อเป็นสัญลักษณ์ของการมีอายุยืนยาว และเกี่ยวข้องกับการกับการป้องกันสิ่งชั่วร้าย ถ้าดอกท้อของบานในระหว่างการฉลองวันปีใหม่ หมายถึง ปีต่อไปจะเป็นปีของโชคลาภ และดอกท้อยังใช้ประดับตกแต่งภายในบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล ป้องกันสิ่งชั่วร้ายอีกด้วย นอกจากนี้แล้วในสมัยโบราณ การเขียนป้ายคำอวยพรก็นิยมเขียนลงไม้ที่ทำมาจากต้นท้อ[2]
ในนิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่น โมโมทาโร่ (桃太郎) ซึ่งเป็นเด็กชายที่มีพละกำลังมากมายและเป็นผู้นำในการปราบปีศาจ ก็กำเนิดมาจากท้อ เป็นต้น[3]
สำหรับในประเทศไทย ท้อมีการนำเข้ามาปลูกในพื้นที่ภาคเหนือ เช่น โครงการหลวง โดยมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ เช่น มะฟุ้ง, มักม่น, มักม่วน, หุงคอบ, หุงหม่น เป็นต้น[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
- ↑ "15 ไม้มงคลตามความเชื่อจีน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-31. สืบค้นเมื่อ 2012-01-30.
- ↑ Ozaki, Yei Theodora (1903). "Momotaro, or the story of the Son of a Peach". The Japanese Fairy Book. Archibald Constable & Co.. http://books.google.com/books?id=V_RyPbadxJgC.
- ↑ ท้อ
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Prunus persica ที่วิกิสปีชีส์