รัฐประหาร

(เปลี่ยนทางจาก คณะรัฐประหาร)

รัฐประหาร (ฝรั่งเศส: coup d'état หรือ coup) เป็นความพยายามที่ผิดกฎหมายและเปิดเผยโดยกองทัพหรือชนชั้นสูงอื่น ๆ ในรัฐบาล เพื่อถอดถอนผู้นำที่ดำรงตำแหน่งอยู่[1][2] ส่วนรัฐประหารตัวเองเป็นสิ่งที่ผู้นำที่ขึ้นสู่อำนาจโดยวิธีทางกฎหมาย พยายามจะอยู่ในอำนาจด้วยวิธีที่ผิดกฎหมาย[2]

นายพล นโปเลียน โบนาปาร์ต ในช่วงรัฐประหาร 18 บรูว์แมร์ที่แซ็ง-กลู ภาพวาดโดยฟร็องซัว บูโช ใน ค.ศ. 1840

จากการประมาณการครั้งหนึ่ง มีการพยายามรัฐประหาร 457 ครั้งระหว่างปี พ.ศ. 2493 ถึง 2553 ซึ่งครึ่งหนึ่งทำได้สำเร็จ ในจำนวนนี้มีครึ่งหนึ่งที่ประสบความสำเร็จ[1] ความพยายามรัฐประหารส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 แต่ก็มีความพยายามรัฐประหารจำนวนมากที่เกิดขึ้นในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1970 ถึงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990[1] การรัฐประหารที่เกิดขึ้นในสมัยหลังสงครามเย็นมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดระบอบประชาธิปไตยมากกว่ารัฐประหารในสงครามเย็น[3][4][5] แม้ว่าการรัฐประหารส่วนใหญ่ยังคงปกครองแบบอำนาจนิยมต่อไป[6]

ปัจจัยที่อาจนำไปสู่การเกิดรัฐประหารและตัวกำหนดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการรัฐประหารมีอยู่หลายปัจจัย เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้น ความสำเร็จในการทำรัฐประหารจะได้รับการขับเคลื่อนด้วยความสามารถของผู้ทำรัฐประหารในการให้ชนชั้นสูงและสาธารณชนเชื่อว่าความพยายามรัฐประหารจะประสบความสำเร็จ[7] เมื่อเวลาผ่านไป จำนวนรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จมีจำนวนลดลง[1] การรัฐประหารที่ล้มเหลวในระบอบอำนาจนิยมมีแนวโน้มที่จะทำให้อำนาจของผู้ปกครองเผด็จการเข้มแข็งขึ้น[8][9] จำนวนรัฐประหารสะสมเป็นตัวทำนายการรัฐประหารในอนาคตได้อย่างชัดเจน ปรากฏการณ์นี้มีชื่อเรียกว่า "กับดักรัฐประหาร" (coup trap)[10][11][12][13]

ส่วน "มาตรการป้องกันรัฐประหาร" (coup-proofing) เป็นสิ่งที่ระบอบการปกครองสร้างโครงสร้างที่ทำให้กลุ่มเล็กใด ๆ ยึดอำนาจได้ยาก ยุทธศาสตร์ป้องกันการรัฐประหารเหล่านี้อาจรวมถึงการวางครอบครัว ชาติพันธุ์ และกลุ่มศาสนาในกองทัพตามเชิงยุทธศาสตร์ และการกระจายตัวหน่วยงานทางทหารและหน่วยความมั่นคง[14] อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ทำให้ประสิทธิผลฝ่ายทหารลดลง[15][16][17][18][19][20] เหตุผลหนึ่งที่รัฐบาลเผด็จการมีแนวโน้มที่จะมีทหารที่ไร้ความสามารถก็คือ รัฐบาลเผด็จการกลัวว่าทหารจะก่อรัฐประหารหรือปล่อยให้เกิดการลุกฮือในประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองเผด็จการจึงมีแรงจูงใจที่จะวางผู้จงรักภักดีที่ไร้ความสามารถในตำแหน่งสำคัญของกองทัพ[21]

ผลลัพธ์

แก้

การรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จเป็นหนึ่งในวิธีการเปลี่ยนระบอบการปกครองที่ขัดขวางการเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างสันติ[22][23] งานวิจัยใน พ.ศ. 2559 จัดผลลัพธ์ของรัฐประหารในระบอบเผด็จการที่เป็นไปได้ 4 รูปแบบ:[4]

  • รัฐประหารล้มเหลว
  • ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เช่น เมื่อผู้นำถูกสับเปลี่ยนอำนาจอย่างผิดกฎหมาย โดยไม่เปลี่ยนสถานะกลุ่มที่มีอำนาจหรือกฎหมายในการปกครอง
  • แทนที่ผู้ดำรงตำแหน่งด้วยเผด็จการคนอื่น
  • การโค่นล้มเผด็จการที่ตามมาด้วยประชาธิปไตย (มีชื่อเรียกว่า "democratic coups")[24]

รัฐประหารที่เกิดขึ้นในสมัยหลังสงครามเย็นมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้เกิดระบอบประชาธิปไตยมากกว่ารัฐประหารในสงครามเย็น[3][4][5] แม้ว่าการรัฐประหารส่วนใหญ่ยังคงใช้ระบอบอำนาจนิยมต่อไป[6] การรัฐประหารที่เกิดขึ้นในระหว่างสงครามกลางเมืองทำให้สงครามมีระยะเวลาสั้นลง[25]

ตัวทำนาย

แก้

บทวิจารณ์วรรณกรรมทางวิชาการใน พ.ศ. 2546 พบว่า ปัจจัยดังต่อไปนี้มีความเกี่ยวข้องกับการเกิดรัฐประหาร

  • ความไม่พอใจส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่รัฐ
  • ความไม่พอใจของหน่วยงานทางทหาร
  • ความเป็นที่นิยมของกองทัพ
  • ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทางเจตคติของกองทัพ
  • การตกต่ำทางเศรษฐกิจ
  • วิกฤตการเมืองท้องถิ่น
  • อิทธิพลจากรัฐประหารในภูมิภาค
  • ภัยคุกคามจากภายนอก
  • การเข้ามีส่วนร่วมในสงคราม
  • การสมรู้ร่วมคิดกับอำนาจทางการทหารจากต่างประเทศ
  • หลักยึดเหนี่ยวของกองทัพต่อความมั่นคงของรัฐ
  • วัฒนธรรมทางการเมืองของเจ้าหน้าที่รัฐ
  • หน่วยงานที่ขาดการมีส่วนร่วมทางการบริหาร
  • ประวัติของการเป็นอาณานิคม
  • การพัฒนาเศรษฐกิจ
  • การส่งออกที่ไม่กระจายรูปแบบ
  • องค์ประกอบทางชนชั้นของเจ้าหน้าที่รัฐ
  • ขนาดของกองทัพ
  • ความเข้มแข็งของสังคมภาคพลเมือง
  • ความน่าไว้วางใจของระบบการปกครอง
  • ประวัติการเกิดรัฐประหารในรัฐ[26][10]

บทวิจารณ์วรรณกรรมใน พ.ศ. 2559 มีการกล่าวถึงปัจจัยอื่นเพิ่มเข้ามา เช่น ความแตกย่อยเป็นกลุ่มของกลุ่มชาติพันธุ์ (ethnic factionalism), การสนับสนุนจากรัฐบาลต่างประเทศ, ความขาดประสบการณ์ของผู้นำ, การเติบโตที่เป็นไปอย่างเชื่องช้า, การสูงขึ้นของค่าครองชีพอย่างฉับพลัน และความยากจน[27]

กับดักรัฐประหาร

แก้

ตัวทำนายที่สำคัญหนึ่งของการเกิดรัฐประหารในอนาคตคือจำนวนรัฐประหารสะสมในอดีต[10][11][12]

ระบอบการปกครองและการแบ่งขั้ว

แก้

ระบบการปกครองแบบผสมมีแนวโน้มที่จะเกิดรัฐประหารมากกว่ารัฐเผด็จการหรือรัฐประชาธิปไตย[28]

ความเหลื่อมล้ำทางสังคมก็เป็นอีกตัวแปรที่ทำให้มีแนวโน้มเกิดรัฐประหารเพิ่มขึ้น[29]

รายชื่อผู้นำจากรัฐประหารในปัจจุบัน

แก้

ตารางด้านล่างแสดงรายชื่อประเทศและผู้นำที่เข้าสู่อำนาจจากรัฐประหาร และยังคงอยู่ในตำแหน่งในปัจจุบัน

ตำแหน่ง ผู้นำจากรัฐประหาร ผู้นำที่ถูกปลด ประเทศ เหตุการณ์ วันที่
ประธานาธิบดี เตโอโดโร โอเบียง อึงเกมา อึมบาโซโก ฟรันซิสโก มาซิอัส อึงเกมา   อิเควทอเรียลกินี รัฐประหารในประเทศอิเควทอเรียลกินี ค.ศ. 1979 3 สิงหาคม พ.ศ. 2522
ประธานาธิบดี โยเวรี มูเซเวนี ตีโต โอเคลโล   ยูกันดา สงครามบุช ยูกันดา 29 มกราคม พ.ศ. 2529
ประธานาธิบดี เอมอมาลี ราห์มอน ราห์มอน นาบีเยฟ[n 1]   ทาจิกิสถาน สงครามกลางเมืองทาจิกิสถาน 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535
ประธานาธิบดี เดอนี ซาซู-อึนแกโซ ปาสกัล ลิสซูบา   คองโก สงครามกลางเมืองสาธารณรัฐคองโก 25 ตุลาคม พ.ศ. 2540
ประธานาธิบดี อับดุลฟัตตาห์ อัสซีซี มุฮัมมัด มุรซี   อียิปต์ รัฐประหารในประเทศอียิปต์ พ.ศ. 2556 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ประธานสภาการเมืองสูงสุด มะห์ดี อัลมาซัต อับดราบบูห์ มันซูร์ หะดี[n 2]   เยเมน รัฐประหารในประเทศเยเมน ค.ศ. 2014–2015 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
ประธานาธิบดี เอ็มเมอร์สัน อึมนังกากวา รอเบิร์ต มูกาบี[n 3]   ซิมบับเว รัฐประหารในประเทศซิมบับเว ค.ศ. 2017 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ประธานสภาเปลี่ยนผ่านอธิปไตย อับดุลฟัตตาห์ อัลบุรฮาน อุมัร อัลบะชีร   ซูดาน รัฐประหารในประเทศซูดาน ค.ศ. 2019 21 สิงหาคม พ.ศ. 2562
ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ มี่นอองไลง์ อองซานซูจี   พม่า รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
ประธานกรรมการแห่งชาติเพื่อความอยู่รอดของประชาชน อัสซิมี โกอิตา บาห์ เอ็นดาอู   มาลี รัฐประหารในประเทศมาลี ค.ศ. 2021 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
ประธานาธิบดี ก็อยส์ ซะอีด ฮิเชม เมชิชิ[n 4]   ตูนิเซีย วิกฤตการการเมืองตูนิเซีย ค.ศ. 2021 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ประธานคณะกรรมการปรองดองและพัฒนาแห่งชาติ มามาดี ดูมบูยา อาลฟา กงเด   กินี รัฐประหารในประเทศกินี พ.ศ. 2564 5 กันยายน พ.ศ. 2564
ประธานขบวนการรักชาติเพื่อการปกป้องและการฟื้นฟู อิบราฮิม ตราโอเร่ ปอล-อ็องรี ดามีบา   บูร์กินาฟาโซ รัฐประหารในประเทศบูร์กินาฟาโซ กันยายน ค.ศ. 2022 30 กันยายน พ.ศ. 2565
ประธานสภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน อาบดูราอามาน ชียานี มุฮัมมัด บาซูม   ไนเจอร์ รัฐประหารในประเทศไนเจอร์ พ.ศ. 2566 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
หัวหน้าคณะกรรมาธิการเพื่อการเปลี่ยนผ่านและฟื้นฟูรัฐธรรมนูญ บรีซ โคลแตร์ ออลีกี เงมา อาลี บองโก ออนดิมบา   กาบอง รัฐประหารในประเทศกาบอง พ.ศ. 2566 30 สิงหาคม พ.ศ. 2566
  1. นาบีเยฟถูกกองทหารบังคับให้ลาออกเมื่อ 7 กันยายน พ.ศ. 2535[30]
  2. หะดีถูกกบฏฮูตีบังคับให้ลาออก
  3. มูกาเบลาออกเมื่อ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
  4. ไม่ใช่ประธานาธิบดี แต่เป็นนายกรัฐมนตรีที่ถูกประธานาธิบดียึดอำนาจ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Powell, Jonathan M.; Thyne, Clayton L. (2011-03-01). "Global instances of coups from 1950 to 2010: A new dataset" (PDF). Journal of Peace Research (Preprint) (ภาษาอังกฤษ). 48 (2): 249–259. doi:10.1177/0022343310397436. ISSN 0022-3433. S2CID 9066792. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-06-20. To summarize, our definition of a coup attempt includes illegal and overt attempts by the military or other elites within the state apparatus to unseat the sitting executive... Coups may be undertaken by any elite who is part of the state apparatus. These can include non-civilian members of the military and security services, or civilian members of government.
  2. 2.0 2.1 Chin, John J; Carter, David B; Wright, Joseph G (2021). "The Varieties of Coups D'état: Introducing the Colpus Dataset". International Studies Quarterly. 65 (4): 1040–1051. doi:10.1093/isq/sqab058. ISSN 0020-8833. A coup d ́etat occurs whenever the incumbent ruling regime or regime leader is ousted from power (or a presumptive regime leader is prevented from taking power) as a result of concrete, observable, and unconstitutional actions by one or more civilian members of the incumbent ruling regime and/or one or more members of the military or security apparatus
  3. 3.0 3.1 Marinov, Nikolay; Goemans, Hein (2014). "Coups and Democracy". British Journal of Political Science. 44 (4): 799–825. doi:10.1017/S0007123413000264. ISSN 1469-2112. S2CID 55915744.
  4. 4.0 4.1 4.2 Derpanopoulos, George; Frantz, Erica; Geddes, Barbara; Wright, Joseph (2016). "Are coups good for democracy?". Research & Politics. 3 (1): 2053168016630837. doi:10.1177/2053168016630837. ISSN 2053-1680.
  5. 5.0 5.1 Miller, Michael K. (2016). "Reanalysis: Are coups good for democracy?". Research & Politics. 3 (4): 2053168016681908. doi:10.1177/2053168016681908. ISSN 2053-1680.
  6. 6.0 6.1 Brooks, Risa A. (2019). "Integrating the Civil–Military Relations Subfield". Annual Review of Political Science (ภาษาอังกฤษ). 22 (1): 379–398. doi:10.1146/annurev-polisci-060518-025407. ISSN 1094-2939.
  7. Singh, Naunihal (2014). Seizing Power: The Strategic Logic of Military Coups (ภาษาอังกฤษ). JHU Press. ISBN 978-1-4214-1336-5.
  8. Timoneda, Joan C.; Escribà-Folch, Abel; Chin, John (2023). "The Rush to Personalize: Power Concentration after Failed Coups in Dictatorships". British Journal of Political Science (ภาษาอังกฤษ). 53 (3): 878–901. doi:10.1017/S0007123422000655. hdl:10230/57138. ISSN 0007-1234. S2CID 257479041. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2023. สืบค้นเมื่อ 21 July 2023.
  9. Habtom, Naman Karl-Thomas (2023-07-21). "When Failed Coups Strengthen Leaders". War on the Rocks (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2023. สืบค้นเมื่อ 21 July 2023.
  10. 10.0 10.1 10.2 Belkin, Aaron; Schofer, Evan (2003). "Toward a Structural Understanding of Coup Risk". Journal of Conflict Resolution. 47 (5): 594–620. doi:10.1177/0022002703258197. ISSN 0022-0027. S2CID 40848052.
  11. 11.0 11.1 Przeworski, Adam; Alvarez, Michael E.; Cheibub, Jose Antonio; Limongi, Fernando (2000). Democracy and Development: Political Institutions and Well-Being in the World, 1950–1990. Cambridge Studies in the Theory of Democracy. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-79379-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 September 2018. สืบค้นเมื่อ 23 February 2016.
  12. 12.0 12.1 Londregan, John B.; Poole, Keith T. (1990). "Poverty, the Coup Trap, and the Seizure of Executive Power". World Politics. 42 (2): 151–183. doi:10.2307/2010462. ISSN 1086-3338. JSTOR 2010462. S2CID 153454233.
  13. Lehoucq, Fabrice; Pérez-Liñán, Aníbal (2014). "Breaking Out of the Coup Trap". Comparative Political Studies. 47 (8): 1105–1129. doi:10.1177/0010414013488561. ISSN 0010-4140. S2CID 154707430. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 July 2021. สืบค้นเมื่อ 4 July 2021.
  14. Quinlivan, James T. (1 January 2000). "Coup-Proofing". RAND Corporation. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2019. สืบค้นเมื่อ 20 January 2016.
  15. Talmadge, Caitlin (2015). The Dictator's Army: Battlefield Effectiveness in Authoritarian Regimes (ภาษาอังกฤษ). Cornell University Press. ISBN 978-1-5017-0175-7. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 August 2023. สืบค้นเมื่อ 27 May 2022.
  16. Talmadge, Caitlin (2016). "Different Threats, Different Militaries:Explaining Organizational Practices in Authoritarian Armies". Security Studies. 25 (1): 111–141. doi:10.1080/09636412.2016.1134192. ISSN 0963-6412. S2CID 3655994.
  17. Narang, Vipin; Talmadge, Caitlin (31 January 2017). "Civil-military Pathologies and Defeat in War". Journal of Conflict Resolution. 62 (7): 1379–1405. doi:10.1177/0022002716684627. S2CID 151897298.
  18. Brown, Cameron S.; Fariss, Christopher J.; McMahon, R. Blake (1 January 2016). "Recouping after Coup-Proofing: Compromised Military Effectiveness and Strategic Substitution". International Interactions. 42 (1): 1–30. doi:10.1080/03050629.2015.1046598. ISSN 0305-0629. S2CID 214653333.
  19. Bausch, Andrew W. (2018). "Coup-proofing and Military Inefficiencies: An Experiment". International Interactions. 44 (ja): 1–32. doi:10.1080/03050629.2017.1289938. ISSN 0305-0629. S2CID 157891333.
  20. Biddle, Stephen; Zirkle, Robert (1996-06-01). "Technology, civil-military relations, and warfare in the developing world". Journal of Strategic Studies. 19 (2): 171–212. doi:10.1080/01402399608437634. ISSN 0140-2390. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2020. สืบค้นเมื่อ 31 March 2021.
  21. Paine, Jack (2022). "Reframing The Guardianship Dilemma: How the Military's Dual Disloyalty Options Imperil Dictators". American Political Science Review (ภาษาอังกฤษ). 116 (4): 1425–1442. doi:10.1017/S0003055422000089. ISSN 0003-0554. S2CID 247278896. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 March 2022. สืบค้นเมื่อ 4 March 2022.
  22. "Orderly transfers of power occur less often than you might think". The Economist. ISSN 0013-0613.
  23. Przeworski, Adam (January 2015). "Acquiring the Habit of Changing Governments Through Elections". Comparative Political Studies (ภาษาอังกฤษ). 48 (1): 101–129. doi:10.1177/0010414014543614. ISSN 0010-4140. S2CID 154441890. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 August 2021. สืบค้นเมื่อ 29 June 2022. an entire sequence of elections may occur peacefully, with or without alternations, and then some exogenous event may lead to a coup, usurpation of power by the current incumbent, civil war, or some other constitutional irregularity.
  24. Varol, Ozan O. (20 May 2021). The Democratic Coup d'État. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-062602-0. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 May 2021. สืบค้นเมื่อ 24 October 2017 – โดยทาง Amazon.com.
  25. Thyne, Clayton (25 March 2015). "The impact of coups d'état on civil war duration". Conflict Management and Peace Science. 34 (3): 0738894215570431. doi:10.1177/0738894215570431. ISSN 0738-8942. S2CID 19036952.
  26. Nordvik, Frode Martin (1 April 2019). "Does Oil Promote or Prevent Coups? The Answer is Yes". The Economic Journal. 129 (619): 1425–1456. doi:10.1111/ecoj.12604. S2CID 158738285.
  27. Bell, Curtis (17 February 2016). "Coup d'État and Democracy". Comparative Political Studies. 49 (9): 0010414015621081. doi:10.1177/0010414015621081. ISSN 0010-4140. S2CID 155881388.
  28. Hiroi, Taeko; Omori, Sawa (1 February 2013). "Causes and Triggers of Coups d'état: An Event History Analysis". Politics & Policy. 41 (1): 39–64. doi:10.1111/polp.12001. ISSN 1747-1346.
  29. Houle, Christian (1 September 2016). "Why class inequality breeds coups but not civil wars". Journal of Peace Research. 53 (5): 680–695. doi:10.1177/0022343316652187. ISSN 0022-3433. S2CID 113899326.
  30. "Twenty Years Later: The Tajik Civil War And Its Aftermath". Radio Free Europe/Radio Liberty. 26 June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2017.

บรรณานุกรม

แก้
  • Luttwak, Edward (1979) Coup d'État: A Practical Handbook. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-17547-1.
  • De Bruin, Erica (2020) How to Prevent Coups d'État. Cornell University Press.
  • Schiel, R., Powell, J., & Faulkner, C. (2020). "Mutiny in Africa, 1950–2018". Conflict Management and Peace Science.
  • Singh, Naunihal. (2014) Seizing Power: The Strategic Logic of Military Coups. Johns Hopkins University Press.
  • Malaparte, Curzio (1931). Technique du Coup d'État (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Éditions Grasset.
  • Finer, S.E. (1962). The Man on Horseback: The Role of the Military in Politics. London: Pall Mall Press. p. 98.
  • Goodspeed, D. J. (1962). Six Coups d'État. New-York: Viking Press Inc.
  • Connor, Ken; Hebditch, David (2008). How to Stage a Military Coup: From Planning to Execution. Pen and Sword Books Ltd. ISBN 978-1-84832-503-6.
  • McGowan, Patrick J. (2016). "Coups and Conflict in West Africa, 1955–2004". Armed Forces & Society. 32: 5–23. doi:10.1177/0095327X05277885. S2CID 144318327.
  • McGowan, Patrick J. (2016). "Coups and Conflict in West Africa, 1955–2004". Armed Forces & Society. 32 (2): 234–253. doi:10.1177/0095327X05277886. S2CID 144602647.
  • Beeson, Mark (2008). "Civil–Military Relations in Indonesia and the Philippines". Armed Forces & Society. 34 (3): 474–490. doi:10.1177/0095327X07303607. S2CID 144520194.
  • n'Diaye, Boubacar (2016). "How Not to Institutionalize Civilian Control: Kenya's Coup Prevention Strategies, 1964–1997". Armed Forces & Society. 28 (4): 619–640. doi:10.1177/0095327X0202800406. S2CID 145783304.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้