คัมภีร์หลักในพระพุทธศาสนา
พระไตรปิฎกเถรวาท
๔๕ เล่ม

    พระวินัยปิฎก    
   
                                       
คัมภีร์
สุตตวิภังค์
คัมภีร์
ขันธกะ
คัมภีร์
ปริวาร
               
   
    พระสุตตันตปิฎก    
   
                                                      
คัมภีร์
ทีฆนิกาย
คัมภีร์
มัชฌิมนิกาย
คัมภีร์
สังยุตตนิกาย
                     
   
   
                                                                     
คัมภีร์
อังคุตตรนิกาย
คัมภีร์
ขุททกนิกาย
                           
   
    พระอภิธรรมปิฎก    
   
                                                           
สงฺ วิภงฺ ธา
ปุ.
กถา ยมก ปัฏฐานปกรณ์
                       
   
         

คัมภีร์ขันธกะ หรือ ขันธกะ เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระวินัยปิฎกเถรวาท มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 4 ถึง 7 ว่าด้วยบทบัญญัติต่าง ๆ เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ รวมถึงขนบธรรมเนียม พิธีกรรม สังฆกรรม วัตรปฏิบัติ อาจาระ มารยาท และความประพฤติโดยทั่วไปของพระสงฆ์ เพื่อประโยชน์คือความงามในด้านอาจาระเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสงฆ์ ขันธกะ จัดเป็นพระวินัยฝ่าย อภิสมาจาริกาสิกขา ซึ่งไม่ได้เป็นสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ การจัดแบ่งดังกล่าวเป็นการแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ของอังกฤษ ซึ่งแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็นสามหมวดคือ สุตตวิภังค์, ขันธกะ และปริวาร

คัมภีร์ขันธกะ มีคัมภีร์อรรถกถาขยายความชื่อ สมันตปาสาทิกา (อรรถกถาพระวินัย ภาค 3) และมีคัมภีร์ฎีกาขยายความอรรถกถาชื่อ ฎีกาสารัตถทีปนี (ฎีกาพระวินัย ภาค 4) [1]

การแบ่งเนื้อหาภายในคัมภีร์ขันธกะ

แก้

คัมภีร์ขันธกะมีเนื้อหารวม 22 ขันธกะ แบ่งเนื้อหาภายในคัมภีร์ขันธกะได้เป็นสองคือ[2]

  1. มหาวรรค มี 10 ขันธกะ
  2. จูฬวรรค มี 12 ขันธกะ

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. เสนาะ ผดุงวัตร. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพระไตรปิฎก. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๒๙
  2. พระพรหมจริยาภรณ์, ประยุทธ์ ปยุตฺโต. อนุสรณ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประจำปี ๒๕๑๘. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๑๘

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้