ขวัญแก้ว วัชโรทัย

ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ ขวัญแก้ว วัชโรทัย (3 กันยายน พ.ศ. 2471 - 28 มกราคม พ.ศ. 2560) อดีตรองเลขาธิการพระราชวัง และเป็นฝาแฝดกับแก้วขวัญ วัชโรทัย อดีตเลขาธิการพระราชวัง

ขวัญแก้ว วัชโรทัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด3 กันยายน พ.ศ. 2471
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
เสียชีวิต28 มกราคม พ.ศ. 2560 (88 ปี)
โรงพยาบาลศิริราช กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสพลตรีหญิง แพทย์หญิง ดร.ท่านผู้หญิงวัฒนา วัชโรทัย
บุตร2 คน
บุพการี
แก้วขวัญ วัชโรทัย (ซ้าย) และขวัญแก้ว วัชโรทัย (ขวา)

ประวัติ

แก้

ขวัญแก้ว วัชโรทัย เป็นบุตรของพระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ก๊าด วัชโรทัย) กับท่านผู้หญิงพัว อนุรักษ์ราชมณเฑียร เกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2471 มีฝาแฝดหนึ่งคน คือแก้วขวัญ วัชโรทัย ทั้งสองมีศักดิ์เป็นพระภาคิไนย (ลูกของพี่สาว) ในสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา และเป็นหลานน้าของพระสุจริตสุดา (เปรื่อง สุจริตกุล) “แก้วขวัญ” และ “ขวัญแก้ว” เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

ขวัญแก้วสมรสกับพลตรีหญิง แพทย์หญิง ท่านผู้หญิงวัฒนา วัชโรทัย ท.จ.ว.[1] (เป็นคู่สมรสพระราชทานคู่แรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร) ทั้งสองมีบุตรชาย 2 คน คือ

  • ฐานิสร์ วัชโรทัย (อดีตวิทยากรพิเศษ สำนักราชเลขาธิการ)(กรมราชเลขานุการในพระองค์ ในปัจจุบัน)
  • ดร.ดิสธร วัชโรทัย (อดีตรองเลขาธิการพระราชวัง)

การศึกษา

แก้

การทำงาน

แก้
  • เริ่มรับราชการที่สำนักพระราชวัง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2493
  • พ.ศ. 2495 ทำหน้าที่นายสถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวัง ทำหน้าที่แจ้งเหตุสำคัญ เช่น การเกิดโรคโปลีโอระบาดในปี พ.ศ. 2495 อหิวาตกโรคในปี พ.ศ. 2501 และวาตภัยที่แหลมตะลุมพุกในปี พ.ศ. 2505 ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในเวลาต่อมา
  • รองเลขาธิการพระราชวัง ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ
  • นายกมูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ประธานกรรมการบริหารและผู้จัดการโรงเรียนวังไกลกังวล

ถึงแก่อสัญกรรม

แก้

ขวัญแก้วเข้ารับการรักษาภาวะเส้นเลือดหัวใจตีบตันมาระยะหนึ่งด้วยการรักษาทางยา ในห้องไอซียู โรงพยาบาลศิริราช แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และถึงแก่อสัญกรรมด้วยภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เมื่อเวลา 04.48 น. ของวันที่ 28 มกราคม 2560

วันที่ 29 มกราคม เวลา 17.20 น พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และเชิญพวงมาลาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และพวงมาลาส่วนพระองค์วางที่หน้าโกศศพ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ภ.ป.ร.2 ปฏิบัติหน้าที่ประจำพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อดีตรองเลขาธิการพระราชวัง ในการนี้ ท่านผู้หญิง พลอยไพลิน เจนเซน พระธิดาในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี พร้อมด้วย นายเดวิด วีลเลอร์ สามี มาร่วมพิธีด้วย โดยมี ท่านผู้หญิงวัฒนา วัชโรทัย ภรรยาพร้อมด้วยบุตรชาย นายฐานิสร์ วัชโรทัย วิทยากรพิเศษ สำนักราชเลขาธิการ และนายดิสธร วัชโรทัย ผู้บริหารระดับสูง ประจำสำนักพระราชวัง เฝ้าฯ รับเสด็จ ณ ศาลาบัณณรศภาค วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร[2]

วันที่ 14 ธันวาคม 2563 เวลา 17.44 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปพระราชทานเพลิงศพ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ป.จ., ม.ป.ช., ม.ว.ม., ป.ภ., ภ.ป.ร.2 และพลตรีหญิง ท่านผู้หญิงวัฒนา วัชโรทัย ม.ป.ช., ม.ว.ม., ท.จ.ว., ภ.ป.ร.4 ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร[3]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-01-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๗ ข หน้า ๑, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๙
  2. https://www.matichon.co.th/court-news/news_445100
  3. https://www.royaloffice.th/2020/12/15/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B8%9E-7/
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2015-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๓ ตอนที่ ๒๑๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๒๙
  5. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๘ ตอนที่ ๒๐๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๕, ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๔
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๔๘, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๙๒ ง หน้า ๒๖๔๗, ๒๖ ตุลาคม ๒๕๐๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๒๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๔๘๗, ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙
  9. รายพระนามและรายนามผู้ที่สมควรได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๐ จากเว็บไซต์ thaiscouts
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔
  11. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๘๒ ตอนที่ ๖๕ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๑๓ สิงหาคม ๒๕๐๘

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้