ก่ำซุง ประภากรแก้วรัตน์
ก่ำชุง ประภากรแก้วรัตน์ (เกิด 8 มิถุนายน พ.ศ. 2491) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชัยภูมิ 7 สมัย เป็นสมาชิกกลุ่มวังน้ำเย็น
ก่ำชุง ประภากรแก้วรัตน์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2491 อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ |
ประวัติ
แก้ก่ำซุง เกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2491 จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนอำนวยศิลป์
งานการเมือง
แก้ก่ำซุง ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 สังกัดพรรคกิจสังคม และได้รับเลือกตั้งอีก 3 สมัยติดต่อกัน คือ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 (พรรคกิจสังคม) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคสามัคคีธรรม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเทิดไทย และนายก่ำซุง เป็นกรรมการบริหารพรรค[1] แต่ก็ลาออกในเวลาต่อมา[2] และย้ายไปลงสมัครในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 สังกัดพรรคชาติไทย
เขาได้รับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคความหวังใหม่ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 สังกัดพรรคไทยรักไทย
ในปี พ.ศ. 2550 ย้ายไปสังกัดพรรคประชาราช ของเสนาะ เทียนทอง[3]
ก่ำซุง ยังเคยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2531 ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี พ.ศ. 2535 และผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2538
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2542 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง พรรคสามัคคีธรรมเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรค ชื่อพรรค และภาพเครื่องหมายพรรค เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 80 ก หน้า 2 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2535
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-08-16. สืบค้นเมื่อ 2020-04-30.
- ↑ เด็ก “ป๋าเหนาะ” พลั้งปากแขวะซ้ำ “ประชัย” อนุบาลการเมือง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๙, ๒ ธันวาคม ๒๕๔๒