พรรคประชาราช (อังกฤษ: Royal People Party, ย่อว่า: ปชร.) เป็นพรรคการเมืองที่ก่อตั้งโดยนายเสนาะ เทียนทอง เพื่อที่จะดำเนินงานทางการเมืองหลังลาออกมาจากพรรคไทยรักไทย ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้งให้ตั้งเป็นพรรคเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2549 แต่เดิมมี นายเสนาะ เทียนทอง เป็นหัวหน้าพรรค และมี นายฐานิสร์ เทียนทอง บุตรชายนายเสนาะ เป็นเลขาธิการพรรค ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 ทั้งคู่ได้ลาออกไปร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย จึงทำให้ รองหัวหน้าพรรค ทำหน้าที่รักษาการหัวหน้าพรรคแทน[1] และที่ประชุมใหญ่วิสามัญของพรรค เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2554 มีมติแต่งตั้งให้ ดร.คัมภีร์ สุริยาศศิน เป็นหัวหน้าพรรค และนางพรพิศ โกศลจิตร เป็นเลขาธิการพรรค [2]

พรรคประชาราช
ผู้ก่อตั้งเสนาะ เทียนทอง
หัวหน้าดร.คัมภีร์ สุริยาศศิน
เลขาธิการพรพิศ โกศลจิตร
โฆษกทรงธรรม ขจรชัยธนัง
คำขวัญไทยวัฒนา ประชาเป็นสุข
ก่อตั้ง10 มกราคม พ.ศ. 2549
ถูกยุบ22 สิงหาคม พ.ศ. 2561 (12 ปี 224 วัน)
แยกจากพรรคไทยรักไทย
ที่ทำการ55/305 เมืองทองธานี ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
สภาผู้แทนราษฎร 2550
8 / 480
เว็บไซต์
http://www.prp.or.th
(ปัจจุบันใช้การไม่ได้แล้ว)
การเมืองไทย
รายชื่อพรรคการเมือง
การเลือกตั้ง

พรรคประชาราช มีตราสัญลักษณ์เป็นรูป "เปลวเทียนสีแดง" หมายถึง พลังอันบริสุทธิ์ของประชาชน มีคำขวัญของพรรคว่า "ไทยวัฒนา ประชาเป็นสุข" นายเสนาะ เทียนทอง เคยอธิบายความหมายของชื่อพรรคไว้ว่า ชื่อพรรคประชาราช หมายถึง "ประชาชนผู้จงรักภักดีต่อราชบัลลังก์" [3]


นโยบายของพรรค

แก้

นโยบายหลักของพรรคมีอยู่ 12 ข้อ ที่ประกาศต่อสาธารณะ [4]

  1. ส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง
  2. ปราบทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวง
  3. นำสันติสุขกลับคืนภาคใต้โดยเร็ว
  4. จัดทำเอกสารที่ดินทำกินให้เหมาะสม
  5. ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
  6. แก้ไขความยากจนของเกษตรกร การตั้งสหกรณ์ ทบทวน FTA
  7. แก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร
  8. ให้นักเรียนเรียนฟรี 12 ปี จนถึงอุดมศึกษา
  9. คุ้มครองสิทธิ ผลประโยชน์ของผู้ใช้แรงงาน
  10. รับรอง คุ้มครองสิทธิเด็ก คนชรา คนพิการ
  11. ดูแลรักษาสุขภาพอนามัยของประชาชน (ไม่เก็บ 30 บาท)
  12. ปรับฐานภาษี ให้ทั่วถึงเป็นธรรม

กรรมการบริหารพรรค

แก้

หลังจากก่อตั้งพรรค นายเสนาะได้พยายามติดต่อผู้มีชื่อเสียงในสังคมหลายคน เข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าพรรค เช่น ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี, คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน [5], ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา แต่ในระยะแรก นายเสนาะ เทียนทอง ได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค โดยมีนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ผู้ก่อตั้งและอดีตผู้บริหารทีพีไอ เป็นเลขาธิการพรรค และนายประมวล รุจนเสรี เป็นรองหัวหน้าพรรค [6]

ในวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550 พรรคประชาราชได้มีการประชุมใหญ่สามัญประจำปี ที่ประชุมตกลงให้นายเสนาะ เทียนทอง เป็นหัวหน้าพรรค นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน (ภรรยานายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นเลขาธิการพรรค นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ เป็นประธานคณะกรรมการบริหารพรรค

แต่ในวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550 นายประชัยได้แถลงข่าวลาออก ด้วยเหตุผลว่าแนวทางทางการเมืองไปด้วยกันไม่ได้กับนายเสนาะ พร้อมกันนี้ เลขาธิการพรรคและสมาชิกพรรคส่วนหนึ่งได้ลาออกตามด้วย และหลังจากนั้นทั้งหมดพากันไปเข้าสังกัด พรรคมัชฌิมาธิปไตย ที่ก่อตั้งโดยนายสมศักดิ์ เทพสุทิน

ในการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 พรรคประชาราชมีแนวทางที่จะสนับสนุน นายกร ทัพพะรังสี รองหัวหน้าพรรคให้เป็นนายกรัฐมนตรี

แต่ในปลายเดือนตุลาคมปีเดียว นายกร ทัพพะรังสี ได้ลาออกจากพรรคประชาราช เพื่อไปอยู่กับพรรคชาติไทย และนายเสนาะ ก็ได้ให้โอกาสสมาชิกพรรคย้ายพรรคไปอยู่กับพรรคอื่นได้โดยอิสระ

ต่อมาในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 นายเสนาะ เทียนทอง พร้อมด้วยนายฐานิสร์ เทียนทอง เลขาธิการพรรค และสมาชิกพรรคบางส่วน ย้ายไปร่วมกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคเพื่อไทย[7] โดยมี ดร.คัมภีร์ สุริยาศศิน รองหัวหน้าพรรค ปฏิบัติหน้าที่รักษาการแทน[8]

การเลือกตั้ง

แก้
ผลการเลือกตั้ง จำนวนที่นั่ง คะแนนเสียงทั้งหมด สัดส่วนคะแนนเสียง ที่นั่งเปลี่ยน ผลการเลือกตั้ง ผู้นำเลือกตั้ง
2550
5 / 480
408,851 1.36%   5 [] ร่วมรัฐบาล (2551) เสนาะ เทียนทอง
ฝ่ายค้าน (2551-2554)
2557 การเลือกตั้งเป็นโมฆะ คัมภีร์ สุริยาศศิน

สิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง

แก้

พรรคประชาราชถูกยุบพรรคตามมติในที่ประชุม กกต. ครั้งที่ ๓๓/๒๕๖๑ เมื่อวันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เนื่องจากในการประชุมคณะกรรมการบริหารพรรคประชาราชครั้งที่ ๑/๒๕๖๑ เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 คณะกรรมการบริหารพรรคมีมติให้ยุบเลิกพรรคตามข้อบังคับพรรคประชาราช (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๐ ข้อ ๑๐๘ ซึ่ง กกต. ได้มีประกาศออกมาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561 โดยให้มีผลตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาคือ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2561 [9]


หมายเหตุ

แก้
  1. ได้รับเลือก 5 คน ต่อมาได้รับเลือกตั้งซ่อม เพิ่ม 4 คน


อ้างอิง

แก้
  1. ""ไดโนเหนาะ" ยิ้มร่า พาโคตรเหง้าเข้ารังเพื่อแม้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-06-27.
  2. ประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่อง ตอบรับการเปลี่บนแปลงคณะกรรมการบริหารพรรคประชาราช [(จำนวน 8 คน)ราชกิจาจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนที่ 164ง วันที่ 17 พฤศจิกายน 2554 หน้า 38
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-14. สืบค้นเมื่อ 2006-08-28.
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2006-08-28.
  5. นายเสนาะได้พยายามติดต่อผู้มีชื่อเสียงในสังคมหลายคน เข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าพรรค
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2006-08-28.
  7. 'เสนาะ'ควงลูก เข้าเพื่อไทย ชู'ยิ่งลักษณ์'นายกฯไทยรัฐออนไลน์
  8. "เสนาะ'หนุน'ยิ่งลักษณ์'นั่งนายกฯหญิงคนแรก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-13. สืบค้นเมื่อ 2011-06-05.
  9. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง พรรคประชาราชสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง