ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์
ศาสตราจารย์ ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ (1 มกราคม พ.ศ. 2465 – 22 มกราคม พ.ศ. 2536) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และอดีตอธิบดีกรมสามัญศึกษา สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ | |
ดำรงตำแหน่ง 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 – 3 มีนาคม พ.ศ. 2523 | |
นายกรัฐมนตรี | พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ |
ก่อนหน้า | เกรียง กีรติกร |
ถัดไป | นิพนธ์ ศศิธร |
ดำรงตำแหน่ง 2 มีนาคม พ.ศ. 2534 – 22 มีนาคม พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | พลเอก เทียนชัย สิริสัมพันธ์ |
ถัดไป | พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ |
ดำรงตำแหน่ง 10 มิถุนายน พ.ศ. 2535 – 22 กันยายน พ.ศ. 2535 | |
นายกรัฐมนตรี | อานันท์ ปันยารชุน |
ก่อนหน้า | พลอากาศเอก สมบุญ ระหงษ์ |
ถัดไป | สัมพันธ์ ทองสมัคร |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 1 มกราคม พ.ศ. 2465 อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด |
เสียชีวิต | 22 มกราคม พ.ศ. 2536 (71 ปี) |
คู่สมรส | ชูศรี สวัสดิ์พาณิชย์ |
ประวัติ
แก้ศาสตราจารย์ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2465 ที่อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่นที่ 1) ระดับปริญญาตรีอักษรศาสตรบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2487 จบปริญญาโททางการศึกษา จากมหาวิทยาลัยโอคลาโฮมา และปริญญาเอกสาขาประถมศึกษา จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
ศาสตราจารย์ก่อ ได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ดังนี้[1]
- พ.ศ. 2524 - ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- พ.ศ. 2526 - ปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- พ.ศ. 2529 - ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- พ.ศ. 2534 - ปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศาสตราจารย์ก่อ ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2536 สิริอายุ 71 ปี[2]
การทำงาน
แก้ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เริ่มรับราชการในปี พ.ศ. 2487 เป็นครูสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และได้เลื่อนตำแหน่งเรื่อยมาจนได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมสามัญศึกษา ในปี พ.ศ. 2515
ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3] และเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2517 ในรัฐบาลของศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ และรัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[4] และได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการอีก 4 คณะรัฐมนตรี คือ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[5] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[6] รัฐบาลพลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์[7] และรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน 2 สมัย ในปี พ.ศ. 2534[8] และ พ.ศ. 2535[9]
นอกจากงานด้านการศึกษาของไทยแล้ว ศาสตราจารย์ก่อ เคยเป็นกรรมการบริหารยูเนสโก ในปี พ.ศ. 2525-2529
ศาสตราจารย์ก่อ เคยเป็นอาจารย์พิเศษให้กับบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมีผลงานแต่งตำราอีกมาก เช่น แบบเรียนชุดเสริมประสบการณ์ภาษาไทย ชั้น ป.1 เรื่อง "เราช่วยกัน" และ "เราขยันเรียน"
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2521 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[10]
- พ.ศ. 2520 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[11]
- พ.ศ. 2527 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายหน้า)[12]
- พ.ศ. 2535 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ[13]
- พ.ศ. 2512 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ ดวงประทีปแห่งความรุ่งโรจน์ของมูลนิธิฯ ตามลำดับแห่งกาลเวลา
- ↑ บุคคลสำคัญ เก็บถาวร 2012-08-22 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กระทรวงวัฒนธรรม
- ↑ "พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2014-07-08.
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-09-23. สืบค้นเมื่อ 2019-10-29.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
- ↑ คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาค พ.ศ. 2554
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๔ ราย) เก็บถาวร 2015-09-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเล่ม 108 ตอนที่ 45 วันที่ 6 มีนาคม 2534
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)เล่ม 109 ตอนที่ 69 วันที่ 14 มิถุนายน 2535
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๑๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๓๑ มกราคม ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๓๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๔, ๒๗ มีนาคม ๒๕๒๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๖๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๒๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๓๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑, ๙ ตุลาคม ๒๕๓๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๘๖ ตอนที่ ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๗๔, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๒