กิตติพงษ์ เกษโกวิท

พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม และ อดีตราชองครักษ์พิเศษ[1] เกิดเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2493 จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 8 (ตท.8-ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ.อภิชาต เพ็ญกิตติ, พล.อ.พหล สง่าเนตร, พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม, พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส), โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 19 (จปร.19) จากนั้นได้ศึกษาต่อหลักสูตรชั้นนายร้อย-นายพันเหล่าทหารราบไทย, หลักสูตรชั้นนายพันเหล่าทหารราบสหรัฐอเมริกา และวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรรุ่นที่ 47 (วปร.47-ร่วมรุ่นเดียวกับ พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์)

พลเอก กิตติพงษ์ เกษโกวิท
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
ดำรงตำแหน่ง
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 (3 ปี 290 วัน)
ปลัดกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าพลเอก อภิชาต เพ็ญกิตติ
ถัดไปพลเอก เสถียร เพิ่มทองอินทร์
รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน
ดำรงตำแหน่ง
5 ตุลาคม พ.ศ. 2553 – 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด2 ธันวาคม พ.ศ. 2493 (73 ปี)
คู่สมรสเพ็ญศรี เกษโกวิท

การทำงาน

แก้

พลเอกกิตติพงษ์ เกษโกวิท รับราชการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2515 ในยศร้อยตรี (ร.ต.) ในตำแหน่งผู้บังคับหมวดปืนเล็ก กองร้อยอาวุธเบา กองพันทหารราบที่ 2 กรมผสมที่ 13

ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ ๆ อาทิ ผู้บังคับกองร้อยสนับสนุนการรบ กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ (พัน 2 ร.1 รอ.), ผบ.พัน 2 ร.2 รอ., ผู้บังคับการกรมนักเรียนนายร้อยรักษาพระองค์ จปร., ผู้บัญชาการ กองพลทหารราบที่ 15 ปี พ.ศ. 2543, รองแม่ทัพภาคที่ 4 และผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ ปี พ.ศ. 2547, รองเสนาธิการทหารบก ปี พ.ศ. 2548 ที่ปรึกษาพิเศษสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (ปต.) ในอัตราพลเอก (พล.อ.) ปี พ.ศ. 2550, ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก ปี พ.ศ. 2551

จากนั้นในปี พ.ศ. 2552 ได้ย้ายไปประจำอยู่ที่กองบัญชาการกองทัพไทย ในตำแหน่งหัวหน้านายทหารฝ่ายเสนาธิการประจำรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) และรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

ในปี พ.ศ. 2553 ได้รับโปรดเกล้าฯให้ดำรงปลัดกระทรวงกลาโหม ถือว่าเป็นการย้ายกลับมายังสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการได้รับการสนับสนุนจาก พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม[2][3]และดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน

ในปี พ.ศ. 2557 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[4] แต่ได้ยื่นหนังสือลาออกจาการเป็นสมาชิก สนช. เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 โดยให้เหตุผลว่า อายุมากและมีปัญหาเรื่องสุขภาพ[5]

ชีวิตส่วนตัว พล.อ.กิตติพงษ์ มีชื่อเล่นว่า "หมู" สื่อมวลชนจึงนิยมเรียกว่า "บิ๊กหมู"[6] ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางเพ็ญศรี เกษโกวิท

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

รางวัล

แก้
  • ได้รับรางวัลเกียรติยศจักรดาว พ.ศ. 2554[13]

อ้างอิง

แก้
  1. อดีตราชองครักษ์พิเศษ
  2. พล.อ.กิตติพงษ์ เกษโกวิท ข้ามห้วยผงาด"ปลัด กห." จากข่าวสด
  3. เจาะลึก! โยกย้ายทหาร "บูรพาพยัคฆ์-ตท.12"ผงาดคุมทหาร3เหล่าทัพ "คณิต-ทนงศักดิ์" วืดเก้าอี้5เสือทบ. เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากมติชน
  4. ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
  5. 'บิ๊กหมู' ไขก๊อกทิ้งเก้าอี้ สนช. เหตุปัญหาสุขภาพ-อายุมาก
  6. คอลัมน์: เลาะรั้วกองทัพ จากบ้านเมือง
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
  9. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๑๖๒ ง หน้า ๓๖๕๖, ๑ ตุลาคม ๒๕๑๗
  10. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๓๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๖๘, ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๓๐
  11. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๔ ตอนที่ ๒๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๓, ๒๕ ธันวาคม ๒๕๓๐
  12. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๕๒, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๑ ข หน้า ๓, ๑๒ มกราคม ๒๕๕๔
  13. ทำเนียบศิษย์เก่ารางวัลเกียรติยศจักรดาว[ลิงก์เสีย]