สมเจตน์ บุญถนอม
พลเอก สมเจตน์ บุญถนอม นักการเมืองและทหารบกชาวไทย ดำรงตำแหน่งสมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 10 สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 11 สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 12 ผู้ร่วมก่อตั้งสถาบันทิศทางไทย และคณาจารย์สถาบันทิศทางไทย อดีตสมาชิกวุฒิภาแบบสรรหา กรรมการการประปานครหลวงและ กรรมการที่เป็นอิสระการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) อดีตหัวหน้าคณะสำนักงานเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และอดีตประธานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม (สมัคร สุนทรเวช)
สมเจตน์ บุญถนอม | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย |
การศึกษา | โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนเสนาธิการทหารบก วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร |
อาชีพ | ทหารบก นักการเมือง |
เป็นที่รู้จักจาก | หัวหน้าคณะสำนักงานเลขาธิการคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ |
ประวัติ
แก้สมเจตน์ เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2491 ที่ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เป็นพี่ชายแท้ ๆ ของ สมคิด บุญถนอม อดีตจเรตำรวจ จบการศึกษาจากโรงเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 8 (ตท.8) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 19 (จปร.19), โรงเรียนเสนาธิการทหารบก, หลักสูตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร พ.ศ. 2541-พ.ศ. 2542 (วปอ.) นอกจากนี้แล้วยังได้ศึกษาเพิ่มเติมต่อ หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน รุ่นที่ 6 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ประกาศนียบัตรหลักสูตร Director Certification Program รุ่นที่ 91 ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย, หลักสูตร Director Accreditation Program รุ่นที่ 62 ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย และหลักสูตร Finance for Non-finance Director รุ่นที่ 35 ของสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย
ตำแหน่งทางราชการที่สำคัญ
แก้- ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาพิเศษ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา สังกัดกองบัญชาการทหารสูงสุด (ดูแลงานด้านพัฒนาชนบท)
- ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณกลาโหม สังกัดกระทรวงกลาโหม (ดูแลงานด้านงบประมาณ)
การเข้ามีบทบาททางการเมือง
แก้หลังการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 สมเจตน์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะสำนักงานเลขาธิการของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ หรือ คมช. ด้วยความที่ใกล้ชิดและสนิทสนมกับ วินัย ซึ่งเป็นเลขาธิการ ซึ่งในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 สมเจตน์ได้รับหน้าที่ให้ดูแลการเลือกตั้งให้เป็นไปอย่างสุจริต โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จึงพบความทุจริตในการเลือกตั้งของ ยงยุทธ ติยะไพรัช ซึ่งเป็นที่มาของคดียุบพรรคพลังประชาชนในเวลาต่อมา[1] ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกวุฒิภา (ส.ว.) ในแบบสรรหา[2]และปัจจุบันเป็นสมาชิกกลุ่มสยามสามัคคี
ในปี พ.ศ. 2557 สมเจตน์ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2549 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[4]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[5]
- พ.ศ. 2520 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[6]
- พ.ศ. 2544 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[7]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[8]
- พ.ศ. 2534 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 4 (ภ.ป.ร.4)[9]
อ้างอิง
แก้- ↑ หนังสือ ลับ ลวง พราง ภาค 2 ซ่อนรูปปฏิวัติหัก "เหลี่ยม" โหด ISBN 978-974-02-0597-5 โดย วาสนา นาน่วม :สำนักพิมพ์มติชน
- ↑ "สมเจตน์-จงรัก" เข้ารายงานตัวในฐานะ ส.ว.สรรหา หลัง กกต.ประกาศรับรองรายชื่อแล้วเก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากมติชน
- ↑ ประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ใช้เว็บไซค์ของวุฒิสภา), 1 สิงหาคม 2557
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2007-01-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๒, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๙
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๙๔ ตอนที่ ๙๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘๒, ๒๑ ตุลาคม ๒๕๒๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน เก็บถาวร 2021-09-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๘ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๕๐, ๒๘ กันยายน ๒๕๔๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๙๑๖, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๖๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗, ๒๐ กันยายน ๒๕๓๔