การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

(เปลี่ยนทางจาก การสอบแอดมิดชันส์)

การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย (เรียกสั้น ๆ ว่า ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา) เป็นระบบการรับสมัครบุคคลที่จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า และคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษามีการพัฒนามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2504 [1]: 3  ระบบเริ่มแรกเป็นระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง UCAS (ปี 2543 - 2548) ซึ่งมักเรียกกันว่า การสอบเอ็นทรานซ์ องค์การและหน่วยงานในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย หรือสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ปัจจุบัน) และสถาบันอุดมศึกษาของไทย ก็ได้ร่วมมือกันปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องเป็น ระบบแอดมิสชันส์กลาง ซึ่งสามารุถแบ่งออกเป็น 3 เวอร์ชันตามกระบวนการรับสมัคร และเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา คือ ระบบแอดมิสชันส์กลาง ระยะที่ 1 (ปี 2549 - 2552), ระบบแอดมิสชันส์กลาง ระยะที่ 2 (ปี 2553 - 2560) และระบบแอดมิสชันส์กลาง TCAS (ปี 2561 - ปัจจุบัน) [2]

ประวัติ

แก้
การพัฒนาระบบคัดเลือกกลาง
1961มก.+ มม. เริ่มต้น
1962รวม 6 สถาบัน คือ จฬ. มธ. มก. มม. มศก. และ มจธ.
1963
1964รวม 8 สถาบัน คือเพิ่ม มช. และ มข.
1965
1966
1967รวม 10 สถาบัน คือเพิ่ม มอ. และ สจล.
1968
1969
1970
1971
1972
1973ทบวงมหาวิทยาลัย รับงาน
1974
1975
1976
1977
1978
1979
1980
1981
1982
1983
1984
1985
1986
1987
1988
1989
1990
1991
1992
1993
1994
1995
1996
1997
1998
1999
2000ระบบกลาง เอ็นทรานซ์
2001
2002
2003มีพรบ. สกอ.
2004
2005ก่อตั้ง สทศ.
2006ระบบกลาง ระยะที่ 1
2007
2008เริ่มสอบ O-NET
2009เริ่มสอบ GAT/PAT
2010ระบบกลาง ระยะที่ 2
2011
2012
2013
2014
2015
2016
2017
2018ระบบกลาง TCAS

ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย ผ่านการพัฒนาตั้งแต่ปีการศึกษา 2504 จนถึงปัจจุบัน โดยมีหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

สกอ.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (OHEC)
ทบวง
ทบวงมหาวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2515 - 2546 [3] ปัจจุบันคือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สพฐ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC)
สำนักงานปลัด
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (OPS-MOE)
สกศ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา หรือ สภาการศึกษาแห่งชาติ (ONEC)
ทปอ.
ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (CUPT)...
สทศ.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (NIETS)

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง CUAS

แก้

ประวัติ

แก้

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา CUAS (Central University Admissions System) เป็นการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย มีพัฒนาการในช่วงปีการศึกษา 2504 – 2542 [2]

  • ก่อนปีการศึกษา 2504 – มหาวิทยาลัยแต่ละแห่งดำเนินการสอบเอง
  • ปีการศึกษา 2504 – มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) จัดสอบร่วมกัน โดยมี (สภาการศึกษาแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงาน
  • ปีการศึกษา 2505 – สถาบันการศึกษาอีก 6 แห่ง จัดสอบร่วมกัน เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการสละสิทธิ์และการเพิ่มจำนวนสำรองที่นั่งจากการที่ผู้สมัครได้หลายสถาบัน ทำให้นักเรียนในขณะนั้นต้องเสียเวลาสอบหลายแห่ง มีค่าใช้จ่ายมาก และมีผู้สมัครเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
  • ปีการศึกษา 2507 – สถาบันการศึกษาอีก 2 แห่งเข้าร่วม คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปัจจุบัน)
  • ปีการศึกษา 2509 – คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ กลับไปใช้วิธีสอบแยก แต่การดำเนินการเกิดปัญหามาก มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ต้องเลื่อนเปิดเทอมออกไป เนื่องจากต้องมีการเรียกสอบสัมภาษณ์เพิ่มหลายรอบ
  • ปีการศึกษา 2510 – คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอของสภาการศึกษาแห่งชาติ ให้มหาวิทยาลัยต่าง ๆ กลับมาใช้วิธีสอบรวมอีกครั้ง และสถาบันการศึกษาอีก 2 แห่งเข้าร่วม คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และวิทยาลัยโทรคมนาคมนนทบุรี (สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปัจจุบัน)
  • ปีการศึกษา 2516 – ทบวงมหาวิทยาลัยรับโอนงานการสอบคัดเลือกจากสำนักสภาการศึกษาแห่งชาติ แนวทางการคัดเลือกในช่วงนี้ ผู้สมัครมีสิทธิ์เลือกคณะหรือสถาบันการศึกษาได้ 6 อันดับ และเลือกวิชาสอบไปในคราวเดียวกัน หลังจากที่ระบบสอบคัดเลือกรวมได้ดำเนินการได้ระยะหนึ่ง ก็พบประเด็นปัญหาที่สำคัญดังนี้
    • การคัดเลือกแบบเดิมมีผลทางลบต่อการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย คือ ผู้เรียนส่วนใหญ่จะไม่สนใจเรียนวิชาที่ไม่ต้องใช้ในการสอบคัดเลือก เป้าหมายของการเรียนกลายเป็นการสอบเข้าศึกษาต่อเท่านั้น ผลที่ตามมาคือ นักเรียนที่เรียนดีได้มุ่งสอบเทียบเพื่อให้ตนมีคุณสมบัติเทียบเท่าสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แล้วเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยโดยเรียนไม่ครบตามชั้นปี ผู้ปกครองหรือนักเรียนอาจเห็นว่าเป็นการประหยัดเงินและเวลา ส่งผลให้มีผู้เรียนเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาก่อนมีวุฒิภาวะที่เหมาะสม และการจัดชั้นเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายก็มีปัญหาตามมา
    • การคัดเลือกแบบเดิมได้นักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถไม่สอดคล้องกับสาขาวิชาที่เข้าเรียน เนื่องจากมีการสอบเฉพาะวิชาสามัญ
    • จำนวนผู้เข้ารับการคัดเลือกมีแนวโน้มสูงขึ้น
    • ระบบการคัดเลือกสร้างความเครียดให้นักเรียนและผู้ปกครอง
    • มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา เนื่องจากดำเนินการเฉพาะช่วงปิดภาคการศึกษาเท่านั้น

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง UCAS (2543 - 2548)

แก้

ระบบคัดเลือก UCAS ถูกใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย ในช่วงปีการศึกษา 2543 - 2548 [2] ทบวงมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษา ตรวจสอบ และพัฒนาการนำผลการเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาใช้ในการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา [4][a] จึงได้ผลเป็นระบบคัดเลือกใหม่และทบวงให้ใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ ระบบคัดเลือกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาได้ผู้เรียนที่มีความรู้ความสามารถและความถนัดตรงกับสาขาวิชาที่ต้องการเข้าเรียน การคัดเลือกใช้องค์ประกอบ 2 ส่วนในการพิจารณา [5] คือ ผลการเรียนตลอดหลักสูตรระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า (ค่าน้ำหนัก 10%) และผลการสอบวิชาหลักและวิชาเฉพาะ (เรียกรวมว่า การสอบวัดความรู้ ) (ค่าน้ำหนัก 90%) และมีการดำเนินการสอบวัดความรู้ ปีละ 2 ครั้ง แล้วนำคะแนนครั้งที่มากมาคำนวณและจัดลำดับผลการสอบของผู้สมัครแต่ละคน

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง ระยะที่ 1

แก้

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง หรือ ระบบ Admissions ระยะที่ 1 ได้ประกาศใช้โดย สกอ. และ ทปอ. ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 ระบบคัดเลือกนี้ใช้ GPAX, GPA (กลุ่มสาระฯ ), O-NET และ A-NET เป็นองค์ประกอบของเกณฑ์การคัดเลือก

ในที่นี้ คำว่า ผลการเรียน หมายถึง ผลการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า, การรับเข้าศึกษาต่อ : การรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาไทย, สถานศึกษา : มหาวิทยาลัยหรือสถาบันผู้รับเข้าศึกษา, การคัดเลือก : การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัย 
ความเป็นมาของระบบกลาง (Admissions) ระยะที่ 1 [2]
  • ทปอ. ได้เสนอให้ทบวงพิจารณาปรับปรุงระบบการคัดเลือกในระบบสอบรวม โดยขอให้เริ่มตั้งแต่รุ่นปีการศึกษา 2547 เป็นต้นไป โดยยึดหลักการให้เพิ่มผลการเรียนเป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือกมากขึ้น และพิจารณาความสามารถของผู้สมัครจากผลการสอบวิชาหลัก และ/หรือแบบทดสอบมาตรฐานความสามารถทางการเรียน ซึ่งจัดสอบโดย สทศ. ที่จะจัดตั้งขึ้น[6]
  • สำหรับผลการเรียนต้องได้รับการตรวจสอบจาก สพฐ. หรือสำนักงานปลัด หรือต้นสังกัดต่าง ๆ เพื่อป้องกันการคิดเกรดผิดพลาด
  • ทั้งนี้ สถานศึกษาอาจกำหนดคุณสมบัติอื่น หรือให้มีการสอบวิชาเฉพาะ ซึ่งแต่ละสถานศึกษา หรือ สทศ.เป็นฝ่ายจัดสอบ หรือกลไกการสอบรวม (ทบวงเป็นผู้ประสานงานและสถานศึกษาเป็นศูนย์สอบ) เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542[7]
Admissions ระยะที่ 1: องค์ประกอบ
GPAX 10%
GPA (กลุ่มสาระ) 20%
O-NET 35–70%
A-NET และ/วิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา 0–35%
  • การพิจารณาของ ทปอ. ร่วมกับ สกอ. ได้ยึดหลักการแนวทางเพื่อกำหนดเป็นระบบกลางของการรับเข้าศึกษาต่อ มีสาระดังนี้
  1. ระบบใหม่จะต้องปรับเปลี่ยนจากระบบสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา เป็นระบบที่พิจารณาจากผลการเรียน และต้องเป็นระบบที่มีความยุติธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้
  2. การพิจารณาผลการเรียนเพื่อการรับเข้าศึกษาต่อจะพิจารณาจากการวัดผลด้วยวิธีการและตามช่วงวลาต่าง ๆ ที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 ตามกระบวนการปฏิรูปการศึกษา[8] [b]
  3. หลีกเลี่ยงการสอบเพิ่มเติม หรือแม้หากมีการสอบเพิ่มเติมกำหนดให้ไม่เกิน 3 วิชา
  • การปรับปรุงระบบการคัดเลือกได้ดำเนินการมาโดยลำดับ ได้ข้อยุติเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2548 โดย ทปอ. ประกาศการใช้ระบบการคัดเลือกนี้ เริ่มตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 (ดูตารางขวามือ)

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง ระยะที่ 2

แก้

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง หรือ ระบบ Admissions ระยะที่ 2 ได้ประกาศใช้ในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 โดยใช้ GPAX, GPA (กลุ่มสาระ), O-NET, และ PAT เป็นองค์ประกอบของเกณฑ์การคัดเลือก [2]

เนื่องจากระบบระยะที่ 1 ได้รับเสียงวิจารณ์เรื่องการให้สัดส่วนผลการเรียนมากเกินไป การรับเข้าศึกษาด้วยระบบ Admissions มีเป้าหมายว่า เมื่อดำเนินการเต็มรูปแบบ สถานศึกษาจะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณารับเข้าและประกาศเกณฑ์อย่างทั่วถึง ผู้ที่สนใจจะสมัครเข้าศึกษาต่อสถาบันศึกษาใดจะต้องนำผลการสอบที่ สทศ. จัดสอบเพื่อให้มีมาตรฐานเดียวกันและต้องไม่เพิ่มภาระแก่ผู้สมัคร ที่สามารถจะนำผลการสอบไปยื่นสมัครที่หน่วยคัดเลือกกลางที่มีกลไกดำเนินงานที่ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ

Admissions ระยะที่ 2: องค์ประกอบ
GPAX 20%
GAT 10–50%
O-NET (8 กลุ่มสาระ) 30%
PAT 0–40%

ในการปรับปรุงระบบ ทปอ. ได้มอบให้กลุ่มเสวนาการรับบุคคลเข้าศึกษาและการวัดผล (Admissions and Assessment Forum) ดำเนินการ โดยมีหลักการซึ่ง ทปอ. ให้พิจารณานำผลการเรียนและการสอบ PAT เป็นองค์ประกอบของการคัดเลือก ผลการเรียนประกอบด้วย GPAX และผลการสอบ O-NET ส่วน PAT จะแทนที่การสอบ A-NET และ/หรือวิชาเฉพาะ เนื่องจากหลักการของ PAT เป็นการทดสอบความถนัดทางการเรียนซึ่งไม่เน้นเนื้อหาวิชา จึงสามารถจัดสอบได้หลายครั้งในแต่ละปี ทปอ. เห็นชอบองค์ประกอบการคัดเลือกปีการศึกษา 2553 ดังตารางทางขวามือ

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง TCAS

แก้

ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง TCAS (Thai university Central Admission System) เป็นการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 [9]

ความเป็นมา
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) พิจารณาปรับรูปแบบการรับเข้าศึกษา โดยมีหลักการที่สำคัญ คือ ให้นักเรียนอยู่ในห้องเรียนจนจบหลักสูตร ให้จัดการสอบเพื่อการคัดเลือกได้หลังจากนักเรียนเรียนจบหลักสูตรโดยใช้ข้อสอบของส่วนกลาง และให้มีการบริหารสิทธิ์ในการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย [10]: 6 
  • ทปอ.ได้รับหลักการและเสนอแนวทางการรับเข้าอุดมศึกษาแบบใหม่ โดยสถาบันอุดมศึกษาในเครือข่ายทปอ. 30 แห่ง ร่วมกันพิจารณากระบวนการคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา เพื่อความเท่าเทียมกัน ซึ่งจะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป ด้วยหลักการ 3 ประการ [10]: 6 
  • ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎและที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้รับหลักการในการเข้าร่วมดำเนินการตามแนวทางนี้ด้วย [10]: 6 

เกณฑ์การคัดเลือกและกระบวนการ

แก้

ระเบียนสถาบันอุดมศึกษา

แก้

การสอบเอ็นทรานซ์

แก้

การสอบเอ็นทรานซ์ (Entrance Examination) เป็นส่วนหนึ่งของระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง CUAS การสอบเอ็นทรานซ์เป็นการวัดความรู้เป็นหลัก โดยสำนักทดสอบกลาง ทบวงมหาวิทยาลัย ต่อมาคือ สำนักทดสอบกลาง สกอ. (สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ ในปัจจุบัน)

การจัดสอบเอ็นทรานซ์มีรายวิชาหลัก (วิชาความรูพื้นฐานวิชาการ) และวิชาเฉพาะ (วิชาพื้นฐานวิชาชีพ) จัดสอบปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 3 วัน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2541 ผลของการสอบเอ็นทรานซ์ถูกใช้ในการนำคะแนนครั้งที่มากมาคำนวณจัดเรียงลำดับที่ของผู้สมัครแต่ละคน คะแนนของการสอบเอ็นทรานซ์มีอายุ 3 ปี[2][1]

วิชาสอบเอ็นทรานซ์

แก้

การสอบวิชาหลักและวิชาเฉพาะ (เรียกรวมว่า การสอบวัดความรู้ ) มีรายวิชาที่กำหนดไว้ตามความต้องการของแต่ละคณะหรือสาขาวิชาต่าง ๆ ในระบบอุดมศึกษาของประเทศไทย

เกณฑ์การคัดเลือกและกระบวนการ TCAS

แก้
หลักเกณฑ์การคัดเลือกและกระบวนการที่สำคัญ
  1. การคัดเลือกของทั้งประเทศจะมี 5 รอบ [10]: 11–13  [11]
  2. การสอบคัดเลือกในแต่ละรอบเมื่อรับเสร็จจะทำการ Clearing คือ ผู้สมัคร 1 คน มี 1 สิทธิ์ในการยืนยันการเข้าศึกษต่อในสาขาที่สอบได้ เมื่อยืนยันแล้วระบบจะตัดชื่อออกจากการมีสิทธิ์สมัครสอบรอบต่อไป หากต้องการสมัครรอบต่อไปต้องสละสิทธิ์ก่อน หากมีการสมัครครั้งต่อไปโดยไม่สละสิทธิ์แล้วผ่านการคัดเลือกจะถือเป็นโมฆะ [10]: 13  ทั้งนี้มีปฏิทินกำหนดวันที่ทำการ Clearing แน่นอน ดังเช่นในประกาศของ ทปอ. ลงวันที่ 30 ตุลาคม 2560 [11]
  3. คะแนนวิชาสามัญ มี 9 วิชา วิชาละ 100 คะแนน (มีการจัดสอบวิชาละ 1 ชั่วโมง 30 นาที จัดสอบ 2 วัน) [10] วิชารวม:
    • สายวิทย์-ศิลป์ คือ ภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาอังกฤษ
    • สายวิทย์ 3+4 วิชา 700 คะแนน
    • สายศิลป์ 3+2 วิชา 500 คะแนน
  4. คะแนน GAT/PAT มีอายุ 2 ปี [10]: 36 
  5. สำหรับรอบที่ 3 (การรับตรงร่วมกัน) ทปอ. เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร ผู้สมัครสามารถเลือก 4 สาขาวิชา แบบไม่มีลำดับ [10]: 12 
  6. สำหรับรอบที่ 4 (การรับแบบ Admission) ทปอ. เป็นหน่วยกลางในการรับสมัคร ผู้สมัครสามารถเลือก 4 สาขาวิชา แบบมีลำดับ โดยใช้เกณฑ์ค่าน้ำหนักตามที่ประกาศไว้ล่วงหน้า 3 ปี [10]: 12  - ดูเกณฑ์ค่าน้ำหนักที่ เกณฑ์การคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาระบบกลาง
หลักเกณฑ์การคัดเลือก และกระบวนการ TCAS
รอบ กระบวนการ กลุ่มเป้าหมาย ที่รับสมัคร สอบข้อเขียน? กำหนดเวลา หมายเหตุ
ผู้สมัครทั่วไป เฉพาะกลุ่ม
1 รับด้วย Portfolio   กลุ่มเฉพาะ 1 [c] สถานศึกษา ไม่ มีนาคม ไม่มีการสอบข้อเขียน
2 รับแบบโควต้า   กลุ่มเฉพาะ 2 [d] สถานศึกษา อาจจะ พฤษภาคม มีการสอบข้อเขียนหรือข้อปฏิบัติ
3 รับตรงร่วมกัน   กลุ่มเฉพาะ 3 [e] ทปอ. ใช่ มิถุนายน
4 รับแบบ Admissions   ทปอ. ใช่ กรกฎาคม ใช้เกณฑ์แต่ละสาขาเหมือนกัน [f]
5 รับตรงอิสระ   สถานศึกษา อาจจะ ปลายกรกฎาคม
คุณสมบัติของผู้สมัครและเงื่อนไข TCAS
  1. จบการศึกษามัธยมตอนปลายหรือเทียบเท่า (กศน. และ ปวช.)
  2. มีระเบียน (ใบรับรองผลการศึกษา) แสดงผลการเรียนที่แสดงค่าผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) 6 ภาคการศึกษา ที่ระบุวันที่จบภายในวันสุดท้ายของการรับสมัครแอดมิชชั่นกลาง [12]
  3. เลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาได้ 4 อันดับ (สาขาวิชา) [12]
  4. มีคุณสมบัติเฉพาะ (ถ้ามี) ในหนังสือระเบียบการคัดเลือกฯ ซึ่มีรายละเอียดตามที่มหาวิทยาลัยแค่งละแห่งเป็นผู้กำหนด [12]

เกณฑ์การคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาระบบกลาง

แก้

ระบบการตัดเลือกเข้าอุดมศึกษาระบบกลาง (Admissions) เป็นระบบที่สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) รับผิดชอบในการจัดการทดสอบวัดความรู้พื้นฐาน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549

เกณฑ์การคัดเลือก จากการสอบมีการเปลี่ยนแปลงในชนิดการทดสอบ และค่าน้ำหนัก ดังตารางข้างล่างนี้ ในช่วงปีการศึกษา 2549 - 2561 ตามข้อมูลต่อไปนี้

เกณฑ์การคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา
  องค์ประกอบ ค่าน้ำหนัก ระบบ Admissions กลาง หมายเหตุ
2549 2550 2551 2553-2559 2561
[g] GPAX 10% 10% 10% 20% 20%
[h] GPA (กลุ่มสาระ) 20% 30% 40%
[i] O-NET 35–70% 60% 50% 30% 30%
[j] A-NET และ/วิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา 0–35%
[k] GAT 10-50% 10-50%
[l] PAT 0-40% 0-40%

ค่าน้ำหนักกลุ่มสาขาวิชา TCAS 4

แก้

ค่าน้ำหนักขององค์ประกอบ (GPAX, O-NET, GAT, PAT) ตามกลุ่มสาขาในการคัดเลือกเข้าสถาบันอุดมศึกษา เมื่อปีการศึกษา 2561 [15]

PAT
1: คณิตศาสตร์
2: วิทยาศาสตร์
3: วิศวกรรมศาสตร์
4: สถาปัตยกรรมศาสตร์
5: วิชาชีพครู
6: ศิลปกรรมศาสตร์
7.1: ภาษาฝรั่งเศส
7.2: ภาษาเยอรมัน
7.3: ภาษาญี่ปุ่น
7.4: ภาษาจีน
7.5: ภาษาอาหรับ
7.6: ภาษาบาลี
7.7: ภาษาเกาหลี
ระบบกลาง TCAS รอบ 4 : กลุ่มสาขาวิชาและค่าน้ำหนัก
# กลุ่มสาขา สาขา GPAX O-NET GAT PAT หมายเหตุ
01 วิทยาศาสตร์สุขภาพ |  
- ดูรายชื่อสาขาในคอลัมน์ 'สาขา' [m] 20% 30% 20% 30% PAT 2
- ทันตแพทยศาสตร์ 20% 30% 20% 30%
  • PAT 1 10%
  • PAT 2 20%
- เภสัชศาสตร์ 20% 30% 10% 40% PAT 2
02 วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ  
- วิทยาศาสตร์, ทรัพยากรธรรมชาติ 20% 30% 10% 40%
  • PAT 1 10%
  • PAT 2 30%
- เทคโนโลยีสารสนเทศ 20% 30% 10% 40%
  • PAT 1 20%
  • PAT 2 20%
03 วิศวกรรมศาสตร์ 20% 30% 15% 35%
  • PAT 2 15%
  • PAT 3 20%
04 สถาปัตยกรรมศาสตร์ 20% 30% 10% 40% PAT 4
05 เกษตรศาสตร์ [n] 20% 30% 10% 40%
  • PAT 1 10%
  • PAT 2 30%
06 บริหารธุรกิจ พาณิชย์ศาสตร์ การบัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์  
- บริหารธุรกิจ |พาณิชยศาสตร์ การบัญชี เศรษฐศาสตร์ 20% 30% 30% 20% PAT 1
- การท่องเที่ยวและการโรงแรม รูปแบบที่ 1 20% 30% 50%
- การท่องเที่ยวและการโรงแรม รูปแบบที่ 2 20% 30% 40% 10% PAT 7 (เลือก 1 วิชา)
07 ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ [o]  
- รูปแบบที่ 1 20% 30% 20% 30% PAT 5
- รูปแบบที่ 2 20% 30% 20% PAT 1/2/3/4/6/7 (เลือก 1 วิชา)
08 ศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ [p] 20% 30% 10% 40% PAT 4 หรือ PAT 6 (เลือก 1 วิชา)
09 สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ [q]  
- พื้นฐานวิทยาศาสตร์ 20% 30% 30% 20% PAT 1
- พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 20% 30% 50%
- พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 2 20% 30% 30% 20% PAT 7 (เลือก 1 วิชา)

ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้

แก้

ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือ GPA กลุ่มสาระฯ คือ ผลการเรียนเฉลี่ยของวิชาพื้นฐาน และวิชาเลือก ที่ได้เรียนมาตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย เฉพาะในสาระการเรียนรู้นั้น

กลุ่มสาระการเรียนรู้'
  • 21 ภาษาไทย
  • 22 สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
  • 23 ภาษาต่างประเทศ
  • 24 คณิตศาสตร์
  • 25 วิทยาศาสตร์
  • 26 สุขศึกษาและพลศึกษา
  • 27 ศิลปะ
  • 28 การงานอาชีพและเทคโนโลยี

เช่น หากได้เรียนวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม ก็จะนำผลการเรียนไปคิดอยู่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หรือหากเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐานและวิชาภาษาเยอรมัน ก็จะนำไปคิดอยู่ในกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ เป็นต้น

แต่ละคณะจะกำหนดกลุ่มสาระและค่าน้ำหนัก (เป็น %) ของกลุ่มสาระที่จะนำ GPA มาพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับสาขาที่จะศึกษาต่อ โดยส่วนใหญ่จะนำ GPA ของวิชาภาษาไทย สังคมศึกษาฯ ภาษาต่างประเทศ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์มาใช้ แต่คณะมนุษยศาสตร์ก็มักจะไม่ใช้ GPA คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาในการพิจารณา

เมื่อนักเรียนจบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ช่วงชั้นที่ 4) จะได้รับใบแสดงผลการเรียน (ปพ.) ซึ่งบอกทั้ง GPAX และ GPA กลุ่มสาระอยู่แล้ว จึงไม่ต้องคำนวณเอง

การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน

แก้

การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือ โอเน็ต (O-NET) โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ จัดสอบตามสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ โอเน็ต วัดผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในช่วงชั้นที่ 4 จัดสอบ 5 กลุ่มสาระ ได้แก่ [16]

  • ภาษาไทย
  • คณิตศาสตร์
  • วิทยาศาสตร์
  • ภาษาอังกฤษ
  • สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

แต่ละปีมีการจัดสอบโอเน็ตเพียงครั้งเดียว เวลาสอบวิชาละ 2 ชั่วโมง

การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง

แก้
การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นสูง (Advanced National Educational Test; A-NET) เป็นการสอบความรู้ขั้นสูง 6 ภาคเรียน ทดสอบเฉพาะนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ประสงค์จะเข้าศึกษาสถาบันอุดมศึกษาในระบบแอดมิชชั่น จำนวนวิชาสอบ 11 วิชา ตามแต่ละคณะที่กำหนด มีช่วงเวลาสอบในเดือนตุลาคมและเดือนมีนาคมของทุกปี ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2553 ได้ยกเลิกการสอบเอเน็ตแล้วเปลี่ยนไปใช้การทดสอบความถนัดทั่วไป วิชาชีพและวิชาการ (GAT-PAT) แทน รวมมีการจัดสอบเอเน็ตทั้งหมด 4 ครั้ง

เอเน็ต (A-NET) เป็นการสอบสำหรับผู้ประสงค์จะเข้าศึกษาสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 (ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง ระยะที่ 1)

การสอบวิชาเฉพาะ

แก้
วิชาเฉพาะ'
ภาษาต่างประเทศ
  • 31 ภาษาฝรั่งเศส
  • 32 ภาษาเยอรมัน
  • 33 ภาษาบาลี
  • 34 ภาษาอาหรับ
  • 35 ภาษาจีน
  • 36 ภาษาญี่ปุ่น
ความถนัด
  • 37 ความถนัดทางวิศวกรรม (พื้นฐานทางวิศวกรรม)
  • 38 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม
  • 39 ความถนัดทางวิชาชีพครู (วัดแววความเป็นครู)
  • 40 ความรู้ความถนัดทางศิลป์
  • 41 ทฤษฎีทัศนศิลป์
  • 42 ปฏิบัติทัศนศิลป์
  • 43 ทฤษฎีนฤมิตศิลป์
  • 44 ปฏิบัตินฤมิตศิลป์
  • 45 วาดเส้น
  • 46 องค์ประกอบศิลป์
  • 47 ความถนัดทางนิเทศศิลป์

วิชาเฉพาะมีลักษณะเดียวกับ A-NET คือ ขึ้นอยู่กับความต้องการของคณะหรือสาขาวิชา แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ภาษาต่างประเทศ และความถนัด

  • สำหรับปีการศึกษา 2548 สทศ. จัดสอบวิชาเฉพาะ (ภาษาต่างประเทศ) พร้อมกับการสอบ O-NET และ A-NET ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม พ.ศ. 2549
  • สำหรับปีการศึกษา 2548 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้เป็นผู้จัดสอบวิชาเฉพาะ (ความถนัด) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2548
  • ปี พ.ศ. 2552 เป็นปีสุดท้ายที่มีการใช้ A-NET และปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นไปได้ใช้ GAT (ความถนัดทั่วไป) และ PAT (ความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ) แทน

ขั้นตอนของระบบแอดมิสชันส์

แก้
ระบบแอดมิสชันส์: กลุ่มสาขาวิชา
  • วิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • วิทยาศาสตร์กายภาพ เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม พลังงาน และทรัพยากร
  • วิศวกรรมศาสตร์
  • สถาปัตยกรรมศาสตร์
  • เกษตรศาสตร์
  • บริหารธุรกิจพาณิชย์ศาสตร์ การบัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์
  • ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์
  • ศิลปกรรมศาสตร์ วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์
  • สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์

ขั้นตอนของแอดมิสชันส์ต่อไปนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือก ระบบ Admissions ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไปใช้ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษากลาง TCAS

  1. ทดสอบแบบทดสอบต่าง ๆ ตามที่แต่ละคณะ/สาขาวิชาได้กำหนดไว้ให้ครบถ้วน
  2. สมัครและเลือกคณะที่ต้องการศึกษาต่อผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยเลือกได้ไม่เกิน 4 อันดับ และชำระค่าสมัครผ่านทางธนาคารหรือไปรษณีย์
  3. ระบบการคัดเลือกจะนำคะแนนขององค์ประกอบต่าง ๆ มาคำนวณเพื่อตัดสินผลตามอันดับที่ผู้มัครได้เลือกไว้ การคำนวณนี้จะใช้ค่าน้ำหนักขององค์ประกอบตามกลุ่มสาขาที่เลือก (ดูตารางขวามือ) แต่ละปีอาจมีการเปลี่ยนแปลงค่าน้ำหนักตามข้อตกลงร่วมกันของสถาบันอุดมศึกษา, ทปอ. และ สกอ.
    องค์ประกอบของการพิจารณาคัดเลือก
    - ปีการศึกษา 2549-2552 : GPAX, GPA (กลุ่มสาระฯ ), O-NET และ A-NET
    - ปีการศึกษา 2553-2560 : GPAX, GPA (กลุ่มสาระฯ ), O-NET และ PAT
  4. สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย
  5. ประกาศผลการคัดเลือก โดย สกอ. หรือ ทปอ. หรือองค์กรตัวแทน


ระบบคัดเลือกเข้าอุดมศึกษา โดยรับตรง

แก้

ระบบรับตรง เป็นวิธีคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา โดยจะใช้ระเบียบของแต่ละสถาบันในการคัดเลือกบุคคลที่มีความสามารถเฉพาะทาง และเปิดโอกาสทางการศึกษา โดยทั่วไปสถาบันแต่ละแห่งมักจะพิจารณาด้วยเกณฑ์ต่าง ๆ ขึ้นกับความต้องการของคณะหรือสาขาวิชา อาทิเช่น [17]

  • ประวัติผลงาน (Portfolio) ที่แสดงศักยภาพเชิงวิชาการ และผลการเรียนเฉลี่ยรวมในกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามที่กำหนด (สาขาวิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศภูมิศาสตร์ ภาคพิเศษ)
  • ประวัติผลงานเกี่ยวกับคหกรรมศาสตร์, ประสบการณ์ที่สะท้อนความสนใจในวิชาชีพครูหรือคหกรรมศาสตร์, และเรียงความแสดงเจตจำนงในการเข้าศึกษา (Statement of Purpose) (สาขาคหกรรมศาสตรศึกษา)
  • ประวัติผลงานมีการได้รับรางวัลทางด้านภาษาไทยระดับภูมิภาคขึ้นไป (สาขาภาษาไทย)
  • หลักฐานที่แสดงว่ามีประสบการณ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ หรือได้รับรางวัลจากการแข่งขันหรือการประกวดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ (สาขานวัตกรรมการท่องเที่ยว)
  • เรียงความ "แรงบันดาลใจในการเข้าศึกษาต่อสาขาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว" (สาขาการจัดการโรงแรมและท่องเที่ยว ภาคพิเศษ)

เชิงอรรถ

แก้
  1. ตามคำสั่งทบวงมหาวิทยาลัย ที่ 90/2542 คณะกรรมการศึกษา ตรวจสอบ และพัฒนาการนำผลการเรียนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมาใช้ในการคัดเลือกผู้สมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วยผู้แทนกรมวิชาการ ผู้แทนกรมสามัญศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปัจจุบัน) ผู้แทนคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ร่วมเป็นอนุกรรมการ
  2. เหตุผลที่ต้องปรับระบบการคัดเลือกในปีการศึกษา 2549 เนื่องจากเป็นปีที่นักเรียนเรียนจบตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 เป็นรุ่นแรกและเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2549)
  3. กลุ่มเฉพาะ 1: ผู้สมัครที่มีความสามารถพิเศษ ผู้สมัครโควตา ผู้สมัครเครือข่าย
  4. กลุ่มเฉพาะ 2: ผู้สมัครที่อยู่ในเขตพื้นที่หรือภาคโควตาโรงเรียนในเครือข่าย โครงการความสามารถพิเศษ และโควตา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
  5. กลุ่มเฉพาะ 3: โครงการ กสพท. โครงการอื่น ๆ
  6. โดยใช้เกณฑ์แต่ละสาขาเหมือนกัน (ตามเกณฑ์ค่าน้ำหนักที่กำหนดไว้ 3 ปี แล้ว), ดูเกณฑ์การสอบ และค่าน้ำหนักที่: เกณฑ์การคัดเลือกเข้าอุดมศึกษาระบบกลาง
  7. GPAX : ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษา ตอนปลาย หรือเทียบเท่า
  8. GPA (กลุ่มสาระ) : ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษา ตอนปลายตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ (GPA กลุ่มสาระ 3 - 5 กลุ่ม จาก 8 กลุ่ม
  9. O-NET : ผลการสอบทางศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (Ordinary National Educational Test)
  10. A-NET : ผลการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (Advanced National Educational Test) และ/วิชาเฉพาะไม่เกิน 3 วิชา;
  11. GAT : ผลการทดสอบความถนัดทั่วไป
  12. PAT : ผลการทดสอบความถนัดทางวิชาชีพและวิชาการ
  13. 01 วิทยาศาสตร์สุขภาพ,
    • สัตวแพทยศาสตร์
    • สหเวชศาสตร์
    • สาธารณสุขศาสตร์
    • เทคนิคการแพทย์
    • พยาบาลศาสตร์
    • วิทยาศาสตร์กีฬา
  14. 05 เกษตรศาสตร์
    • เกษตรศาสตร์
    • อุตสาหกรรมเกษตร
    • วนศาสตร์
    • เทคโนโลยีเกษตร
  15. 07 ครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์,
    • ครุศาสตร์
    • ศึกษาศาสตร์
    • พลศึกษา
    • สุขศึกษา
  16. 08 ศิลปกรรมศาสตร์,
    • ศิลปกรรมศาสตร์
    • วิจิตรศิลป์
    • ศิลปประยุกต์
    • ดุริยางคศิลป์
    • นาฏศิลป์
    • ศิลปะการออกแบบพัสตราภรณ์
    • ศิลปะการออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
  17. 09 สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์,
    • มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
    • นิเทศศาสตร์
    • วารสารศาสตร์
    • อักษรศาสตร์
    • ศิลปศาสตร์
    • มนุษยศาสตร์
    • รัฐศาสตร์
    • นิติศาสตร์
    • สังคมวิทยา
    • สังคมสงเคราะห์ศาสตร์
  18. ข้อสอบ O-NET ฉบับหนึ่ง ๆ จะมีคำถาม 75-100 ข้อ เฉพาะในวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์จะเป็นข้อสอบที่มีทั้งปรนัยและอัตนัย มีประมาณ 10% เป็นคำถามตอบสั้น

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 วีระถาวร, ธีระพร (2541). "เอ็นทรานซ์ระบบใหม่ของไทยจะดีขึ้นได้อย่างไร". วารสารวิธีวิทยาการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 11 (2): 1–12. ISSN 0857-2933.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 "ความเป็นมาของระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา". ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-20. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561. ก่อนปีการศึกษา 2504 - ปีการศึกษา 2542 [....] {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. "ประวัติทบวงมหาวิทยาลัย". MUA.go.th. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. ม.ป.ป. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-17. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "ผลการดำเนินงาน". MOE.go.th. กระทรวงศึกษาธิการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-10. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2561. 2.การพัฒนาระบบการกำกับ ติดตาม การดำเนินงานส่งเสริมการใช้ผลการเรียนเฉลี่ยเพื่อการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา [....] 4.การประสานงานกับทบวงมหาวิทยาลัย [....] คณะกรรมการชุดนี้แต่งตั้งตามคำสั่งทบวงมหาวิทยาลัย ที่ 90/2542 [....]1.กำหนดการส่ง GPA และ PR {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่". MOE.go.th. กระทรวงศึกษาธิการ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-14. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2561. ทบวงมหาวิทยาลัย[....]กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2542 {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ตามหนังสือที่ ทปอ.44/147 ลงวันที่ 19 เมษายน 2544
  7. พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒, ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๖ ตอนที่ ๗๔ ก หน้า ๑ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๒
  8. "หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-11-17. สืบค้นเมื่อ 2017-12-30.
  9. ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องนโยบายการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ ปีการศึกษา 2561. TCAS (Report). ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย. 23 พฤษภาคม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-17. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2561. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help); ระบุ |institution= และ |publisher= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 10.7 10.8 ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา (Thai university Central Admission System, TCAS) ปีการศึกษา 2561 (PDF). TCAS (Report). ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย. 13 กรกฎาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-05-17. สืบค้นเมื่อ 2018-06-20. {{cite report}}: ระบุ |institution= และ |publisher= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  11. 11.0 11.1 ปฏิทินการดำเนินการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2561 (PDF). TCAS (1 ed.). ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.). 10 ตุลาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 21 มินายน 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. 12.0 12.1 12.2 คำถาม–คำตอบ แอดมิชชั่นกลาง. TCAS (1 ed.). ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-28. สืบค้นเมื่อ 21 มินายน 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. องค์ประกอบและค่าน้ำหนักะของกลุ่มสาขาวิชาในการรับบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบกลาง (PDF). www.aupt.or.th. สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (สอท.). 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. โปรแกรมคำนวณคะแนนรอบบ TCAS รอบที่ 4 ปีการศึกษา 2561 - การคิดคะแนนในการคัดเลือก. tcas.cupt.net. ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.). 25ุ60. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-20. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2561. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  15. องค์ประกอบและค่าร้อยละของกลุ่มสาขาวิชาในการรับสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบ TCAS รอบที่ 4 (Adminssions) (PDF). TCAS (Report). ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย. 2560. สืบค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2561. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ระบุ |institution= และ |publisher= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)[ลิงก์เสีย]
  16. "O-NET (Ordinary National Educational Test)". niets.or.th. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. 27 กรกฑาคม 2558. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-29. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2561. ก่อนปีการศึกษา 2504 - ปีการศึกษา 2542 [....] {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. "โครงการช้างเผือก". admission.ku.ac.th. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-19. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้