การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเกาหลีเหนือ

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเกาหลีเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของการระบาดทั่วของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนา SARS-CoV-2 เกาหลีเหนือยืนยันพบผู้ติดเชื้อรายแรกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเกาหลีเหนือ
โรคโควิด-19
สายพันธุ์ไวรัสSARS-CoV-2
สถานที่เกาหลีเหนือ
การระบาดครั้งแรกอู่ฮั่น, มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน
ผู้ป่วยต้นปัญหาเปียงยาง
วันแรกปรากฏ8 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (926 วัน)[1]
ผู้ป่วยยืนยันสะสม4,304,380 คน[2]
เข้ารับการรักษา93,690 คน[2]
หาย4,210,610 คน[2]
เสียชีวิต80 คน[2][a]

เกาหลีเหนือเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกที่มีความลับและโดดเดี่ยวทางการทูต ระบบรักษาพยาบาลที่อ่อนแอและประชากรมีสถานะยากจนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับความเปราะบางของประเทศต่อการระบาด ด้วยระบบการเมืองแบบเผด็จการ ทำให้ข้อมูลของผลกระทบจากการระบาดทั่วในเกาหลีเหนือ ได้รับการเผยแพร่ให้กับผู้สังเกตการณ์จากต่างประเทศเพียงเล็กน้อย

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2563 รัฐบาลประเทศเกาหลีเหนือเริ่มใช้มาตรการที่ครอบคลุมเพื่อปกป้องตนเองจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในระยะเริ่มการระบาด ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งสถานกักโรค และออกข้อจำกัดการเดินทางที่เข้มงวด ในเดือนมีนาคมและเมษายน พ.ศ. 2563 เอเชียไทมส์ สื่อมวลชนจากฮ่องกง และเว็บไซต์ 38 North จากสหรัฐ รายงานว่ามาตรการเหล่านี้เหมือนจะประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก[3][4]

ก่อนเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 รัฐบาลของเกาหลีเหนือไม่ได้รายงานผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันของโรคโควิด-19 แม้ว่านักวิเคราะห์ต่างประเทศบางคนเชื่อว่าไวรัสมีการแพร่กระจายภายในเกาหลีเหนือแล้ว ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2563[5][6] Daily NK เว็บไซต์ข่าวของผู้คัดค้านระบอบของเกาหลีเหนือซึ่งมีฐานอยู่ในเกาหลีใต้ รายงานว่าทหารประมาณ 180 นายอาจเสียชีวิตจากอาการของโควิด-19 ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563[7] และแพทย์ได้รับคำสั่งไม่ให้กล่าวถึงโรคโควิด-19 เนื่องจากอาจสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของ คิม จ็อง-อึน ผู้นำสูงสุด[8] ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 มีผู้สงสัยติดเชื้อหนึ่งรายในนครแคซ็อง กระตุ้นให้มีการประกาศล็อกดาวน์เป็นเวลาสามสัปดาห์

ในปี พ.ศ. 2564 มีรายงานเพิ่มขึ้นว่าการปิดประเทศที่กำหนดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่ระบาดของโรคกำลังส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจ เกาหลีเหนือปฏิเสธข้อเสนอส่งมอบวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากนานาประเทศหลายรายการ ทำให้เป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังไม่เริ่มโครงการให้วัคซีน

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2565 สำนักข่าวกลางเกาหลี (조선중앙통신; KCNA) ของทางการเกาหลีเหนือ รายงานว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่งในกรุงเปียงยางมีผลตรวจไวรัสเป็นบวก และประกาศยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตเป็นรายแรกของประเทศ เจ้าหน้าที่ประกาศว่าชาวเกาหลีเหนือกว่า 1 ล้านคนมีอาการ "ไข้" คิม จ็อง-อึน ได้ประกาศภาวะฉุกเฉินระดับชาติและมีการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ

ภูมิหลัง

แก้

ประเทศเกาหลีเหนือมีพรมแดนติดกับประเทศจีนและเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นสองประเทศที่มีการระบาดในระยะเริ่มต้น จีนเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดที่สุดของเกาหลีเหนือ เป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุด และเป็นแหล่งที่มาของนักท่องเที่ยว[9][10] พรมแดนจีน-เกาหลีเหนือมีจุดรั่วไหล ตรงกันข้ามกับพรมแดนที่มีกำลังทหารจำนวนมากระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตามจำนวนผู้สงสัยติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 ในมณฑลเหลียวหนิงและมณฑลจี๋หลินของจีนที่มีพรมแดนติดกับเกาหลีเหนือ ยังคงอยู่ในระดับต่ำ[6]

เกาหลีเหนือเป็นประเทศยากจนที่โดดเดี่ยวทางการทูตและทางเศรษฐกิจ[6] และถูกนานาชาติคว่ำบาตร มีระบบการรักษาพยาบาลที่อ่อนแอ ซึ่งทำให้เปราะบางต่อกรณีที่เกิดการระบาด[11][9] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 มีความกังวลว่าภาวะทุพโภชนาการเป็นวงกว้างในประเทศอาจทำให้การแพร่กระจายของโรคโควิด-19 รุนแรงขึ้น[6] ในเดือนเมษายน พัก มย็อง-ซู (박명수) เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเกาหลีเหนือ กล่าวว่าหากโรคนี้แพร่กระจายในเกาหลีเหนือ "ภัยพิบัติร้ายแรงก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้"[12] รัฐบาลเกาหลีเหนือมีความลึกลับ สื่อของเกาหลีเหนือก็ถูกควบคุมอย่างเข้มงวด ทำให้เป็นการยากสำหรับผู้สังเกตการณ์จากภายนอกที่จะตัดสินว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นในประเทศนี้[6]

ในอดีต เกาหลีเหนือจำกัดการเดินทางเมื่อเผชิญกับเหตุการณ์โรคระบาดในต่างประเทศ เช่น โรคซาร์สในปี พ.ศ. 2546 และการระบาดของไวรัสอีโบลาในแอฟริกาตะวันตกในปี พ.ศ. 2557[9][13] โรคหัดหมดไปจากประเทศในปี พ.ศ. 2561[6][14] จากโปรแกรมการให้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากซึ่งจัดการโดยศูนย์อนามัยและกักกันโรคกลาง (중앙위생방역소; CHAEI) และสถานีในส่วนภูมิภาค (AEHS) ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากยูนิเซฟ (UNICEF) และองค์การอนามัยโลก (WHO) การจัดหาวัคซีนป้องกันโควิด-19 สามารถให้วัคซีนโดสแรกแก่ประชากรทั้งหมดภายในไม่กี่สัปดาห์ด้วยโปรแกรมดังกล่าว[15]

เกาหลีเหนือมีรัฐบาลเผด็จการเบ็ดเสร็จและยังคงควบคุมประเทศและสังคมอย่างเข้มงวด ซึ่งผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าจะสามารถช่วยบังคับใช้มาตรการควบคุมโรค เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม[6][16] ประเทศมีแพทย์จำนวนมากเมื่อเทียบผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศต่อประชากร แม้ว่าพวกเขาจะมีทักษะและความพร้อมน้อยกว่าในประเทศทางตะวันตกและในเกาหลีใต้ แต่เกาหลีเหนือยังมี "มาตรฐานด้านสุขอนามัยที่ค่อนข้างดีกว่า" ประเทศอื่น ๆ ที่มีระดับเศรษฐกิจเท่ากัน (เช่น ประเทศบอตสวานา หรือลาว)[16]

เส้นเวลา

แก้

มกราคม–กุมภาพันธ์ 2563

แก้
 
มาซิกรย็อง (마식령) สกีรีสอร์ทยอดนิยมในเกาหลีเหนือ เนื่องจากการระบาดของไวรัส สกีรีสอร์ทและสปาในเกาหลีเหนือจึงถูกปิด

ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม เกาหลีเหนือสั่งห้ามนักท่องเที่ยวจากต่างชาติเข้าประเทศ[17] เที่ยวบินระหว่างประเทศทั้งหมดถูกระงับ ทางการเริ่มส่งผู้ป่วยที่สงสัยว่าติดเชื้อโควิดรวมทั้งผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เล็กน้อย ไปกักกันโรคในเมืองชินอึยจูเป็นเวลาสองสัปดาห์[18][9]

เมื่อวันที่ 30 มกราคม สำนักข่าวกลางเกาหลี (KCNA) ของเกาหลีเหนือประกาศ "สถานการณ์ฉุกเฉิน" และรายงานการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ต่อต้านการแพร่ระบาดของโรคทั่วประเทศ[19]

ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ KCNA รายงานว่าทุกคนที่เข้ามาในประเทศหลังจากวันที่ 13 มกราคมจะต้องอยู่ภายใต้มาตรการ "การดูแลทางการแพทย์"[19]

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ หนังสือพิมพ์ Daily NK ของเกาหลีใต้อ้างว่า ชาวเกาหลีเหนือห้าคนในชินอึยจู ที่ชายแดนจีนเสียชีวิต[20] ภายในวันเดียวกันหนังสือพิมพ์เดอะโคเรียนไทมส์รายงานว่า มีผู้หญิงชาวเกาหลีเหนือที่อาศัยอยู่ในเมืองหลวงเปียงยางติดเชื้อ[21] แม้จะไม่มีการยืนยันคำอ้างดังกล่าวจากทางการเกาหลีเหนือ แต่ก็ได้มีมาตรการเข้มงวดขึ้นเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัส[22][23]

โรงเรียนทั่วประเทศปิดทำการตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยในเปียงยางที่เดินทางมาจากส่วนอื่นของประเทศถูกกักตัวอยู่ในหอพัก[24][25]

เมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ คิม จ็อง-อึนมีคำสั่งให้มีมาตรการที่เข้มแข็งขึ้นเพื่อป้องกันโควิด-19 ไม่ให้แพร่กระจายในเกาหลีเหนือ[26]

มีนาคม 2563

แก้
 
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลผดุงครรภ์ในเปียงยาง (2551)

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2563 หนังสือพิมพ์ Daily NK จากเกาหลีใต้รายงานว่า ผู้ให้ข่าวภายในกองทัพเกาหลีเหนือระบุว่ามีทหารเสียชีวิต 180 นายในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ และมีทหาร 3,700 นายที่ถูกกักกัน[7]

วันที่ 14 มีนาคม สื่อของรัฐเกาหลีเหนือรายงานว่าไม่มีกรณีผู้ป่วยยืนยันในอาณาเขตของประเทศ[27]

วันที่ 18 มีนาคม คิม จ็อง-อึน สั่งการให้มีการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ในเกาหลีเหนือ สื่อของรัฐเกาหลีเหนือรายงานว่าโรงพยาบาลแห่งใหม่ที่เพิ่งเริ่มการก่อสร้างเมื่อวันอังคารที่ 17 มีนาคม คิมได้กล่าวในรายงานของหนังสือพิมพ์ของพรรคแรงงานของเกาหลีว่า การก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่นั้น เพื่อปรับปรุงระบบการดูแลสุขภาพทั่วไปของประเทศโดยไม่พูดถึงโควิด-19[28]

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม สื่อเกาหลีเหนือกล่าวว่ามีผู้ได้รับการปล่อยตัวจากการกักกันมากกว่า 2,590 คน ในจังหวัดพยองอันเหนือและจังหวัดพยองอันใต้ ชาวต่างชาติที่ถูกกักกันทั้งสามคนถูกปล่อยตัว[29]

วันที่ 31 มีนาคม เอเชียไทมส์ รายงานว่ามาตรการของเกาหลีเหนือในการต่อต้านโรคระบาดทั่วดูเหมือนจะประสบความสำเร็จอย่างมาก[4]

เมษายน–มิถุนายน 2563

แก้

เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเกาหลีเหนือ พัก เมียง-ซู ย้ำคำอ้างที่ว่าเกาหลีเหนือไม่มีกรณีผู้ป่วยจากไวรัส[12] เมื่อวันที่ 23 เมษายน มีรายงานว่าได้ทำการทดสอบเชื้อไวรัสโคโรนา 740 กรณีในประเทศ และทั้งหมดให้ผลเป็นลบ[30]

เมื่อวันที่ 23 เมษายน หนังสือพิมพ์ Daily NK รายงานว่าชาวเกาหลีเหนือผู้แปรพักตร์ซึ่งถูกยิงขณะพยายามข้ามแม่น้ำตูเมน (เกาหลี: 두만강; จีน: 图们江) เข้าสู่ประเทศจีนมีผลทดสอบไวรัสเป็นบวก[31]

ในช่วงกลางถึงปลายเดือนเมษายน ข้อจำกัดของชาวต่างชาติที่เดินทางไปยังเปียงยางผ่อนคลายลง ท่าเรือนัมโพถูกเปิดขึ้นอีกครั้งสำหรับเรือสินค้าบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ และการประชุมสมัชชาประชาชนครั้งที่ 14 ซึ่งมีผู้แทนหลายร้อยคนถูกจัดขึ้นโดยไม่มีการสวมหน้ากากอนามัย[3][32]

เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำสาธารณรัฐประชาชนเกาหลีเหนือ โคลิน ครุกส์ กล่าวว่า "สถานทูตสหราชอาณาจักรในเปียงยางปิดทำการชั่วคราวในวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 และเจ้าหน้าที่การทูตทุกคนได้ออกจากเกาหลีเหนือในเวลานั้น"[33] ตามคำแถลงจากสำนักงานต่างประเทศของสหราชอาณาจักร "ข้อจำกัดในการเดินทางเข้าประเทศทำให้ไม่สามารถหมุนเวียนเจ้าหน้าที่และดำรงการดำเนินงานของสถานทูตได้"[33]

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน มีข่าวจากองค์การอนามัยโลกระบุว่า กระทรวงสาธารณสุขของเกาหลีเหนือกล่าวว่าสถาบันการศึกษาทุกแห่งได้เปิดทำการแล้ว[34]

กรกฎาคม 2563

แก้
 
นครแคซ็อง, มีการรายงานผู้ต้องสงสัยติดเชื้อในเดือนกรกฎาคม 2563

ในวันที่ 1 กรกฎาคม เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกกล่าวว่า ยังมีการห้ามไม่ให้มีการชุมนุมสาธารณะและประชาชนต้องสวมหน้ากากในที่สาธารณะ[34] สำนักข่าวกลางเกาหลีและหนังสือพิมพ์โรดองซินมุนของทางการเกาหลีเหนือ เผยแพร่ภาพเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม โดยเป็นการประชุมของคิม จ็อง-อึนและเจ้าหน้าที่หลายสิบคนซึ่งไม่มีใครสวมหน้ากาก[35][36]

จากข้อมูลของ นพ. เอ็ดวิน ซัลวาดอร์ (Edwin Salvador) ผู้แทนขององค์การอนามัยโลกในเกาหลีเหนือพบว่า มีคนในประเทศ 922 คนที่ได้รับการทดสอบการติดเชื้อก่อโรคโควิด-19 และทั้งหมดมีผลการทดสอบเป็นลบ[35]

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม คิม จ็อง-อึนเข้าร่วมการประชุมฉุกเฉินหลังจากมีการรายงานผู้ต้องสงสัยป่วยด้วยโรคโควิด-19 ในเมืองแคซ็อง คิมประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและกำหนดให้ล็อกดาวน์เมือง[37][38] ผู้ต้องสงสัยรายนี้มีรายงานว่าเป็นบุคคลที่หลบหนีไปยังเกาหลีใต้เมื่อสามปีก่อน ก่อนที่จะกลับไปเกาหลีเหนือในเดือนกรกฎาคม ตามรายงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอาวุโสของเกาหลีใต้ บุคคลดังกล่าวไม่ได้ลงทะเบียนเป็นผู้ป่วยโควิด-19 และไม่ได้จัดอยู่ในประเภทบุคคลที่ติดต่อกับผู้ป่วยรายอื่น การสัมผัสใกล้ชิดของผู้แปรพักตร์สองคนในเกาหลีใต้มีผลตรวจเป็นลบสำหรับโควิด-19[39] เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม นายแพทย์ ซัลวาดอร์ กล่าวว่าผู้แปรพักตร์ที่กลับมาได้รับการตรวจหาเชื้อแต่ "ผลลัพธ์ยังไม่สามารถสรุปได้"[40] เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม คิม จ็อง-อึนยกเลิกการประกาศล็อกดาวน์เป็นเวลาสามสัปดาห์ในแคซ็องและพื้นที่ใกล้เคียง[41] หลังจาก "การตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์และการรับประกันโดยองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญในการต่อต้านการระบาด"[42]

ตามรายงานข่าวกรองของเกาหลีใต้ ในเดือนสิงหาคม เจ้าหน้าที่เกาหลีเหนือคนหนึ่งถูกประหารชีวิตเนื่องจากละเมิดข้อจำกัดของโควิด-19 โดยนำสินค้าจากชายแดนจีนเข้ามาที่เมืองชินอึยจู เจ้าหน้าที่ข่าวกรองเกาหลีใต้ยังกล่าวด้วยว่ารัฐบาลเกาหลีเหนือได้ล็อกดาวน์เปียงยาง และปฏิเสธที่จะรับข้าว 110,000 ตันจากประเทศจีนเพราะกลัวว่าจะปล่อยให้ไวรัสเข้ามาในประเทศ[43]

ชาวต่างชาติในเกาหลีเหนือมีความกังวลเกี่ยวกับการรักษาโรคโควิด-19 เนื่องจากระบบการรักษาพยาบาลของเกาหลีเหนือมีข้อจำกัด และเป็นการยากที่จะเข้ารับการรักษาในจีนเนื่องจากการจำกัดการเดินทาง[44]

ตามรายงานของ NK News เมื่อวันที่ 22 กันยายน ลูกเรือของเรือลาดตระเวนของเกาหลีเหนือได้สังหารเจ้าหน้าที่ประมงชาวเกาหลีใต้รายหนึ่งที่พวกเขาพบนอกชายฝั่ง จากนั้นจึงจุดไฟเผาอุปกรณ์ผิวน้ำของเขาตามคำสั่งฉุกเฉินเกี่ยวกับโควิด-19 คิม จ็อง-อึน ขอโทษเกาหลีใต้สำหรับเหตุการณ์นี้[45] ในเดือนตุลาคม สื่อของเกาหลีเหนือกล่าวว่าโลกกำลังมองดูเกาหลีเหนือด้วยความอิจฉาเนื่องจากสถานะปลอดไวรัส แต่ในขณะเดียวกันก็เตือนไม่ให้มีความพึงพอใจ[46] ในเดือนเดียวกันนั้น มีคนเข้ารับการทดสอบและกักกันโรคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการเฉลิมฉลองในวันที่ 10 ตุลาคม[47]

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2563 Daily NK รายงานว่ามีผู้ที่อยู่ในสถานกักกันที่มีอาการของโรคโควิด-19 พุ่งสูงขึ้น และผู้ที่ไม่ใช่ทหารอย่างน้อย 80,000 คนถูกกักกันโรค แม้ว่าประเทศจะยังคงมาตรการดังกล่าวแต่ก็ไม่มีการยืนยันผู้ป่วยกรณีใด ๆ แหล่งข่าวของ Daily NK รายงานว่าประชาชนบางส่วนสงสัยว่ารัฐบาลมีการปกปิด และแพทย์ได้รับคำสั่งให้ไม่กล่าวเกี่ยวกับโรคโควิด-19 เพื่อที่จะไม่ "ทำลายภาพลักษณ์" ของ คิม จ็อง-อึน[8]

ปี 2564

แก้

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 พรมแดนของเกาหลีเหนือถูกปิดมาแล้วเป็นเวลาหนึ่งปี จากการวิเคราะห์ของเกาหลีใต้ การค้าระหว่างเกาหลีเหนือและจีนได้ลดลง 76%[48]

ในเดือนมีนาคม เกาหลีเหนือตัดสินใจไม่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่กรุงโตเกียว เนื่องจากกังวลว่าอาจติดเชื้อโควิด-19[49] ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีจึงถูกระงับสิทธิ์โดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) จนถึงสิ้นปี พ.ศ. 2565 ดังนั้นจึงเป็นการห้ามไม่ให้ประเทศเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่ปักกิ่ง[50]

เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 นักการทูตรัสเซียในเปียงยางกล่าวว่าเกาหลีเหนือมี "การจำกัดสิทธิ์ทั้งหมดซึ่งมีความเคร่งครัดอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน" รวมถึงมีการขาดแคลนอย่างรุนแรง ตามรายงานของคณะผู้แทนทางการทูต นักการทูตต่างประเทศจำนวนมากได้ออกจากประเทศแล้ว โดยเหลือชาวต่างชาติน้อยกว่า 290 คนในเกาหลีเหนือ รวมทั้งเอกอัครราชทูตเพียงเก้าคนและอุปทูตสี่คน[51] ปลายเดือนนั้น คิม จอง-อึน กล่าวว่าเกาหลีเหนือกำลังเผชิญกับ "สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด" โดยอ้างอิงถึงภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอันเนื่องมาจากโรคโควิด-19[52] เขาเรียกร้องให้พรรคดำเนินการเช่นเดียวกับสถานการณ์ "อาร์ดอส มาร์ช" อีกครั้งเพื่อต่อสู้กับความยากลำบากของภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้าย[53]

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนโต้แย้งว่าการแปลว่าเป็น "สถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด" เป็นการพูดเกินจริง โดยคำพูดดั้งเดิม (극난한) แปลได้ว่าเป็นสถานการณ์ที่ยากหรือยากลำบาก คำแปลว่า "แย่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา" เคยถูกใช้มาก่อนในการประชุมรัฐสภาครั้งที่ 8 ของพรรคแรงงานแห่งเกาหลีเพื่ออ้างถึงช่วงห้าปีที่ผ่านมา แต่เศรษฐกิจก็ไม่ลำบากเท่าช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 ในทำนองเดียวกัน ในบริบทของเกาหลีเหนือ "อาร์ดอส มาร์ช" ไม่ได้หมายถึงความยากลำบากทางเศรษฐกิจโดยตรง แต่เป็นความตั้งใจแน่วแน่ที่จะดำเนินงานของพรรค[54]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 คิม จ็อง-อึน เรียกประชุมเพื่อไล่เจ้าหน้าที่หลายคนออกเนื่องจากการละเมิดมาตรการโควิด-19 ที่ "รุนแรง"[55] และเตือนถึงวิกฤตครั้งใหญ่ที่เกิดจากการระบาดทั่วในประเทศ[56] อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ พัก จ็อง-ชอน (박정천) ที่ถูกลดตำแหน่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้รับการเลื่อนตำแหน่งให้เป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางพรรคและเข้าร่วมโปลิตบูโรอีกครั้งในฐานะสมาชิกเต็มรูปแบบ[57]

ทิม เอ. ปีเตอร์ส นักเคลื่อนไหวชาวอเมริกัน กล่าวว่า มีสัญญาณของ “ความเครียดอย่างมากของประชากรเกาหลีเหนือ” อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดและข้อจำกัดที่เกี่ยวข้อง และเขาสงสัยว่าโควิด-19 กำลังแพร่กระจายภายในเกาหลีเหนือแม้จะไม่มีผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้วก็ตาม[58]

ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 เกาหลีเหนือปฏิเสธที่จะรับมอบวัคซีนของออกซฟอร์ด-แอสตราเซเนกาประมาณ 2 ล้านโดส โดยอ้างถึงความกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ในเดือนเดียวกัน รัสเซียยังได้เสนอที่จะจัดหาวัคซีนสปุตนิก วี ให้กับประเทศหลายครั้ง ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 เกาหลีเหนือได้ปฏิเสธวัคซีนโคโรนาแว็ก ของจีนจำนวน 3 ล้านโดส ซึ่งเสนอให้ภายใต้โครงการโคแวกซ์ (COVAX) โดยขอให้จัดสรรวัคซีนดังกล่าวให้กับประเทศอื่น[59]

เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม องค์การอนามัยโลกรายงานว่าผู้ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ 37,291 คนได้รับการตรวจหาเชื้อสำหรับโควิด-19 ในประเทศแล้ว โดยทั้งหมดมีผลตรวจเป็นลบ[60]

ในเดือนตุลาคม 2564 มีรายงานโดย NK News ระบุว่าคูปองแทนเงินกำลังแพร่หลายในเกาหลีเหนือ เนื่องจากมีรายงานว่าการควบคุมโควิด-19 ทำให้เกิดปัญหาในการออกธนบัตรหมุนเวียน นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่ามีสัญญาณเริ่มต้นของภาวะเงินเฟ้อในเกาหลีเหนือ[61]

มกราคม 2565

แก้

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 รถไฟบรรทุกสินค้าขบวนแรกระหว่างเกาหลีเหนือและจีนได้กลับมาดำเนินการอีกครั้งหลังจากถูกระงับนานสองปี[62][63] ฐานทัพอากาศอึยจู (의주비행장) ถูกดัดแปลงเป็นสถานที่กำจัดการปนเปื้อนของสินค้าสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ที่นำเข้าโดยรถไฟบรรทุกสินค้า[64] ศูนย์วิจัยความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเกาหลี (남북경제협력연구소; IKECRC) ซึ่งเป็นองค์กรด้านมนุษยธรรมในเกาหลีใต้ที่ได้รับการยกเว้นการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ ได้ส่งกล้องถ่ายภาพความร้อน 20 ตัวไปยังจังหวัดพย็องอันเหนือเพื่อตรวจหาผู้มีอาการไข้ โดยองค์การอนามัยโลก ขยายเวลาอีก 18 เดือนในการส่งมอบสินค้าเนื่องจากการหยุดชะงักของโครงการ[65]

พฤษภาคม 2565

แก้

วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 รัฐบาลเกาหลีเหนือได้ประกาศ "ภาวะฉุกเฉินระดับชาติขั้นรุนแรง" หลังจากผลการสุ่มตรวจหาเชื้อจากกลุ่มประชากรที่ไม่ระบุจำนวนมีผลตรวจโควิด-19 เป็นบวก นับเป็นครั้งแรกที่เกาหลีเหนือได้เปิดเผยต่อสาธารณะว่ามีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศ สำนักข่าวกลางของเกาหลีระบุว่าผู้นำสูงสุด คิม จ็อง-อึน ได้เรียกประชุมฉุกเฉินของคณะกรรมการโปลิตบูโรของพรรคแรงงานเกาหลีหลังจากทราบผลการตรวจซึ่งได้มาจากผู้อยู่อาศัยในเปียงยางและมีอาการ "สอดคล้องกับ" สายพันธุ์ย่อยโอมิครอน คณะโปลิตบูโรแนะนำให้ดำเนินการกักกันฉุกเฉิน "ขั้นสูงสุด" ซึ่งรวมถึงการล็อกดาวน์ทั่วประเทศ จำกัดการผ่านแดน และจำกัดขนาดของกลุ่มในสถานที่ทำงาน[66][67][68][69][70] ในระหว่างการประชุมโปลิตบูโร ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์กลยุทธ์ต่อต้านการแพร่ระบาดครั้งก่อน[70][71] NK News รายงานว่า ทั้งประเทศถูกล็อกดาวน์เมื่อสองวันก่อน แม้ว่าเกษตรกรในพื้นที่ชายแดนใกล้กับเกาหลีใต้จะยังคงดูแลแปลงเพาะปลูกอยู่ก็ตาม[67] สื่อของรัฐรายงานในเวลาต่อมาว่า ชาวเกาหลีเหนืออย่างน้อยหนึ่งรายเสียชีวิตหลังจากผลตรวจหาเชื้อเป็นบวก และมี 187,800 คนถูกกักบริเวณเนื่องจาก "มีไข้"[72]

เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม คิม จ็อง-อึน จัดประชุมที่สำนักงานป้องกันโรคระบาดฉุกเฉินแห่งรัฐ ซึ่งเขาเรียกร้องให้มีการดำเนินการต่อต้านการแพร่ระบาด, ล็อกดาวน์ และการแยกกักตัวกรณีผู้สงสัยติดเชื้อต่อไป ความพยายามที่จะหยุดการแพร่กระจายได้รับการประกาศให้เป็นภาระสูงสุดของพรรค มีการระบุว่า "อาการไข้" เริ่มแพร่กระจายตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน พ.ศ. 2565 โดยเปียงยางเป็นศูนย์กลางของการแพร่กระจาย[73] เพื่อให้สอดคล้องกับการตัดสินใจของคณะโปลิตบูโร องค์กรต่าง ๆ ยังคงดำเนินการตามปกติในขณะที่จัดกระบวนการกักกันฉุกเฉิน[74] โครงการสำคัญต่าง ๆ เช่น โครงการที่อยู่อาศัย 10,000 หน่วย ยังคงดำเนินการต่อไปเหมือนก่อนหน้า[75] นอกจากนี้ ในวันที่ 13 พฤษภาคม สื่อทางการของเกาหลีเหนือรายงานผู้เสียชีวิต 6 รายและมีไข้ 350,000 ราย[76]

วันที่ 14 พฤษภาคม มีรายงานผู้ป่วยเพิ่มเป็น 174,440 ราย รักษาหาย 81,430 ราย เสียชีวิต 21 ราย ในระหว่างการประชุมโปลิตบูโร คิม จ็อง-อึน กล่าวว่าสถานการณ์ปัจจุบันเทียบเท่ากับความวุ่นวายระหว่างการก่อตั้งประเทศ แต่สถานการณ์สามารถเอาชนะได้ด้วยธรรมาภิบาลที่เข้มแข็งเหนือกว่า ตามรายงานระบุว่า กรณีของการกระจายเชื้อไวรัสข้ามระหว่างภูมิภาคลดลง นอกจากนี้ ยังมีคำสั่งให้เบิกจ่ายยาฉุกเฉินตามแผนต่อต้านการแพร่ระบาด[77]

เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม มีรายงานว่าในช่วง 24 ชั่วโมงของวันที่ 15-16 ผู้ป่วยในประเทศที่มีอาการไข้มีจำนวน 269,510 ราย, รักษาหายแล้ว 170,460 ราย และเสียชีวิตเพิ่ม 6 ราย จำนวนผู้ป่วยที่รายงานอย่างเป็นทางการรวมอยู่ที่ 1,483,060 ราย ในจำนวนนี้ รักษาหายแล้ว 819,090 ราย, กำลังรักษา 663,910 ราย และเสียชีวิต 56 ราย[78][79] ในขณะที่จำนวนผู้ป่วยยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในส่วนภูมิภาค แต่จำนวนผู้ป่วยเริ่มลดลงในเปียงยาง[80][81] ตามข้อมูลของ KCTV จากรายงานจนถึงวันที่ 17 พฤษภาคม ในจำนวนผู้เสียชีวิต 50 รายมี 25 รายที่เกิดจากการใช้ยาอย่างไม่เหมาะสม[82]

วันที่ 19 พฤษภาคม มีรายงานผู้ป่วย 262,270 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย[83] มีการจัดตั้งศูนย์การรักษาระดับภูมิภาคเนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในจังหวัดพย็องอันใต้และจังหวัดฮัมกย็องใต้[80]

ดูเพิ่ม

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 มีชาวเกาหลีเหนือหกคนเสียชีวิต โดยหนึ่งในนั้นมีผลการทดสอบการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์ย่อย โอมิครอน BA.2 เป็นบวก วันต่อมามีอีก 21 คนเสียชีวิต ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตรวมเป็น 27 คน (26 รายไม่ระบุรายละเอียดสาเหตุการเสียชีวิต และมี 1 รายยืนยันสาเหตุจากโควิด-19)

อ้างอิง

แก้
  1. "North Korea says 6 people dead, 187,800 in quarantine due to 'fever'". NK News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 12 พฤษภาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2022.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 조선중앙통신 | 기사 | 전국적인 전염병전파 및 치료상황 통보 [Nationwide spread of infectious diseases and notification of treatment status]. kcna.kp. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2022.
  3. 3.0 3.1 Park, Kee B.; Jong, Jessup; Jung, Youngwoo (23 April 2020). "Do They or Do They Not Have COVID-19 Inside North Korea?". 38 North. The Henry L. Stimson Center. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
  4. 4.0 4.1 Bernal, Gabriela (31 March 2020). "North Korea's silent struggle against Covid-19". Asian Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 May 2020. สืบค้นเมื่อ 11 April 2020.
  5. "Coronavirus: nearly 200 North Korea soldiers 'die from outbreak government refuses to acknowledge'". South China Morning Post. 10 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2020. สืบค้นเมื่อ 10 March 2020.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 6.5 6.6 Wainer, David; Lee, Jihye (17 March 2020). "Who Knows How Many Virus Cases North Korea Has. It Says Zero". Bloomberg.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 March 2020. สืบค้นเมื่อ 20 March 2020.
  7. 7.0 7.1 Jeong Tae Joo (9 March 2020). "Sources: Almost 200 soldiers have died from COVID-19". Daily NK. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
  8. 8.0 8.1 Jang Seul Gi (5 November 2020). "Sources: N. Korea is hiding the real number of suspected COVID-19 cases". Daily NK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 "North Korea Bars Foreign Tourists Amid Virus Threat, Groups Say". Bloomberg.com (ภาษาอังกฤษ). 22 January 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2020. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  10. Sang-Hun, Choe (31 March 2020). "North Korea Claims No Coronavirus Cases. Can It Be Trusted?". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2020. สืบค้นเมื่อ 1 April 2020.
  11. "South Korea says detected North Korea missile fire 'inapproriate' [ตามต้นฉบับ] amid coronavirus". CNBC (ภาษาอังกฤษ). 21 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2020. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  12. 12.0 12.1 "N. Korea has no infected people with new coronavirus: expert". Mainichi Daily News (ภาษาอังกฤษ). 2 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 4, 2020. สืบค้นเมื่อ 5 April 2020.
  13. Im, Esther S.; Abrahamian, Andray (20 February 2020). "Pandemics and Preparation the North Korean Way". 38 North. The Henry L. Stimson Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2020. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
  14. Patel, Minal K. (2019). "Progress Toward Regional Measles Elimination — Worldwide, 2000–2018". MMWR. Morbidity and Mortality Weekly Report (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 68 (48): 1105–1111. doi:10.15585/mmwr.mm6848a1. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 August 2020. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  15. M., Nagi Shafik; Yoonhee, C. Ryder; B., Kee Park (5 August 2021). "North Korea's Vaccination Capabilities: Implications for a COVID-19 Campaign". 38 North. The Henry L. Stimson Center. สืบค้นเมื่อ 9 August 2021.
  16. 16.0 16.1 "Why North Korea's healthcare sector is better equipped than many believe". NK News - North Korea News. 20 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 July 2020. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  17. hermesauto (21 January 2020). "North Korea to temporarily ban tourists over Wuhan virus fears, says tour company". The Straits Times. สืบค้นเมื่อ 22 January 2020.
  18. "N. Korea quarantines suspected coronavirus cases in Sinuiju". Daily NK. 28 January 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 30, 2020. สืบค้นเมื่อ 30 January 2020.
  19. 19.0 19.1 Berlinger, Joshua; Seo, Yoonjung (7 February 2020). "All of its neighbors have it, so why hasn't North Korea reported any coronavirus cases?". CNN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 February 2020. สืบค้นเมื่อ 7 February 2020.
  20. Jang Seul Gi (7 February 2020). "Sources: Five N. Koreans died from coronavirus infections". Daily NK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2020. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
  21. "Coronavirus spreads to North Korea, woman infected". The Standard. Hong Kong. 7 February 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2020. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
  22. "Nation steps up fight against novel CoV". The Pyongyang Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-21. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
  23. "Work to Curb the Inflow of Infectious Disease Pushed ahead with". Rodong Sinmun. สืบค้นเมื่อ 8 February 2020.
  24. Joo, Jeong Tae (18 March 2020). "Sources: N. Korea extends school closures until April 15". Daily NK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 March 2020. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  25. Joo, Jeong Tae (21 February 2020). "N. Korea closes schools throughout the country for one month". Daily NK. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2020. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  26. "Kim warns of 'serious consequences' if virus spreads to N Korea". al Jazeera.
  27. Kim, Stella; Hagen, Isobel (March 14, 2020). "North Korea claims it has no coronavirus cases". NBC News. สืบค้นเมื่อ March 14, 2020.
  28. "Kim Jong Un orders workers to build new hospitals as North Korea continues to claim no coronavirus cases". Fox News. 2020-03-18.
  29. "COVID-19: North Korea releases quarantined people". www.aa.com.tr. สืบค้นเมื่อ 21 March 2020.
  30. Norman, Greg (23 April 2020). "North Korea claims 740 coronavirus tests came back negative, thousands released from quarantine". Fox News. สืบค้นเมื่อ 24 April 2020.
  31. Gi, Jang Seul (2020-04-23). "N. Korean tests positive for COVID-19 in China". Daily NK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-04-25.
  32. Frank, Ruediger (13 April 2020). "The 2020 Parliamentary Session in North Korea: Self-Criticism and Dubious Optimism Concerning Economic Development". 38 North. The Henry L. Stimson Center. สืบค้นเมื่อ 26 April 2020.
  33. 33.0 33.1 "UK closes embassy, pulls diplomats from North Korea over coronavirus restrictions" Reuters. 28 พฤษภาคม 2020.
  34. 34.0 34.1 Shin, Hyonhee (1 กรกฎาคม 2020). "North Korea reopens schools, but stays on guard against COVID-19 threat: WHO" Reuters.
  35. 35.0 35.1 Berlinger, Joshua; Hancocks, Paula; Seo, Yoonjung (July 3, 2020). "North Korea's Covid-19 response has been a 'shining success,' Kim Jong Un claims" CNN.
  36. "Coronavirus update: English tourists to be cleared for international travel without the worry of return quarantine" ABC News (Australia). 3 กรกฎาคม 2020.
  37. Sang-Hun, Choe (25 กรกฎาคม 2020). "North Korea Declares Emergency After Suspected Covid-19 Case" เก็บถาวร 28 สิงหาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The New York Times
  38. Cha, Sangmi; Smith, Josh (25 July 2020). "North Korea declares emergency in border town over first suspected COVID-19 case". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 July 2020. สืบค้นเมื่อ 25 July 2020.
  39. "Coronavirus: Swimming defector was not infected, says S Korea". BBC. 27 July 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2020. สืบค้นเมื่อ 27 July 2020.
  40. Farge, Emma; Smith, Josh (5 สิงหาคม 2020). "WHO says North Korea's COVID-19 test results for first suspected case 'inconclusive'" เก็บถาวร 21 สิงหาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Reuters.
  41. Cha, Sangmi (14 สิงหาคม 2020). "North Korea lifts lockdown in border town after suspected COVID-19 case 'inconclusive'" เก็บถาวร 20 สิงหาคม 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Reuters.
  42. Political News Team. "16th Meeting of Political Bureau of 7th Central Committee of WPK Held". rodong.rep.kp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 August 2020. สืบค้นเมื่อ 21 August 2020.
  43. "North Korea Executed Coronavirus Rule-Breaker, Says South Korean Intelligence". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 December 2020. สืบค้นเมื่อ 21 December 2020.
  44. "Expats in Pyongyang worry about getting medical help amid COVID-19 restrictions | NK News". 28 August 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 August 2020.
  45. Kim, Jeongmin; Kasulis, Kelly (25 September 2020). "Kim Jong Un apologizes for lethal shooting of South Korean official". NK News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2021. สืบค้นเมื่อ 31 October 2020.
  46. Zwirko, Colin (29 October 2020). "The 'cleanest place': North Korea revives propaganda touting zero COVID-19 cases". NK News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 October 2020. สืบค้นเมื่อ 29 October 2020.
  47. Kim, Jeongmin (3 November 2020). "North Korea reports 5,368 "suspected" COVID-19 cases, surge amid military parade". NK News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2020. สืบค้นเมื่อ 3 November 2020.
  48. Shin, Mitch (6 January 2021). "What Is the Truth About COVID-19 in North Korea?". The Diplomat. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2021. สืบค้นเมื่อ 30 January 2021.
  49. "North Korea to skip Tokyo Olympics because of Covid-19 fears". NBC News (ภาษาอังกฤษ). 6 April 2021. สืบค้นเมื่อ 9 April 2021.
  50. "North Korea suspended from IOC". BBC Sport (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 31 October 2021.
  51. "Russian diplomats complain of acute shortages in North Korea causing foreign exodus". Reuters (ภาษาอังกฤษ). 1 April 2021. สืบค้นเมื่อ 4 April 2021.
  52. "North Korea's Kim Jong Un admits nation facing "worst-ever situation"". CBS News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 8 April 2021. สืบค้นเมื่อ 9 April 2021.
  53. "Kim Jong Un compares North Korea's economic woes to 1990s famine". NBC News (ภาษาอังกฤษ). The Associated Press. 9 April 2021. สืบค้นเมื่อ 9 April 2021.
  54. ""Worst-Ever Situation" or Not - 38 North: Informed Analysis of North Korea". 38 North (ภาษาอังกฤษ). 14 April 2021. สืบค้นเมื่อ 27 October 2021.
  55. Smith, Josh (30 June 2021). "North Korea's Kim says 'great crisis' caused by pandemic lapse". Reuters.
  56. McCurry, Justin (30 June 2021). "North Korea Covid-19 outbreak fears after Kim Jong-un warns of 'huge crisis' in 'antivirus fight'". TheGuardian.com. Guardian.
  57. "North Korea reveals new top military brass days after politburo meeting | NK News". NK News - North Korea News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 7 September 2021. สืบค้นเมื่อ 27 October 2021.
  58. Power, John (1 August 2021). "North Korea's pandemic isolation fuels humanitarian disaster fears". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 August 2021.
  59. "North Korea rejects offer of almost three million Covid-19 jabs". BBC. 1 September 2021. สืบค้นเมื่อ 2 September 2021.
  60. "COVID-19 Weekly Situation Report" (PDF). WHO Regional Office for South-East Asia. 27 August 2021. Cumulatively 37 291 persons have been tested with reverse transcription polymerase chain reaction (RT-PCR) at an interval of 10 days (total samples: 74 308) and all were found negative for COVID -19. These include 665 persons who were tested during the period of 12-19 August 2021, of which 97 were people with influenza-like illness and/or severe acute respiratory infections and rest 568 were health care workers.
  61. O'Carroll, Chad (26 October 2021). "North Koreans using cash coupons as country struggles to print new bills". nknews.org (ภาษาอังกฤษ). NK News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2021. สืบค้นเมื่อ 26 October 2021.
  62. "North Korea train makes first crossing into China since COVID-19 border lockdown: Reports". CNA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-15. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.
  63. "China and North Korea reopen rail link after 2-year coronavirus closure". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 17 January 2022. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.
  64. Davies, Christian (15 November 2021). "North Korea building project points to reopening of border with China". Financial Times. สืบค้นเมื่อ 19 January 2022.
  65. Kim, Jeongmin (3 February 2022). "South Korean group receives new exemption to deliver COVID-19 aid to North Korea". NK News.
  66. 로동신문. rodong.rep.kp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-14. สืบค้นเมื่อ 13 May 2022.
  67. 67.0 67.1 "North Korea orders strict lockdown with first official Covid cases". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 12 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
  68. "North Korea admits to Covid outbreak for first time and declares 'severe national emergency'". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 12 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
  69. 조선중앙통신 | 기사 | 조선로동당 중앙위원회 정치국 국가방역사업을 최대비상방역체계로 이행하기로 결정. kcna.kp. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
  70. 70.0 70.1 "North Korea reports first-ever COVID-19 outbreak". NK News - North Korea News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 12 May 2022. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
  71. "조선중앙통신 | 기사 | 조선로동당 중앙위원회 제8기 제8차 정치국회의 진행". kcna.kp. สืบค้นเมื่อ 12 May 2022.
  72. Chung, Chaewon (12 May 2022). "North Korea says 6 people dead, 187,800 in quarantine due to 'fever' | NK News". NK News - North Korea News. สืบค้นเมื่อ 13 May 2022.
  73. "KCNA | Article | Respected Comrade Kim Jong Un Visits State Emergency Epidemic Prevention Headquarters". kcna.kp. สืบค้นเมื่อ 13 May 2022.
  74. "로동신문". rodong.rep.kp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-14. สืบค้นเมื่อ 13 May 2022.
  75. "로동신문". rodong.rep.kp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-14. สืบค้นเมื่อ 13 May 2022.
  76. Tong-hyung, Kim; Kim, Hyung-jin (12 May 2022). "North Korea reports 6 deaths after admitting COVID-19 outbreak". CTV News (ภาษาอังกฤษ). Associated Press. สืบค้นเมื่อ 13 May 2022.
  77. "조선중앙통신 | 기사 | 조선로동당 중앙위원회 정치국 협의회 진행". kcna.kp. สืบค้นเมื่อ 14 May 2022.
  78. "전국적인 전염병전파 및 치료상황 통보". kcna.kp (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 17 May 2022.
  79. McCurry, Justin (17 May 2022). "North Korea on brink of Covid-19 catastrophe, say experts". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 17 May 2022.
  80. 80.0 80.1 "North Korean COVID-19/Fever Data Tracker". 38 North (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2022.
  81. "N. Korea reports 51% of "fever" cases are concentrated in Pyongyang". english.hani.co.kr. สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
  82. 박수윤 (2022-05-18). 北 코로나 사망 '소아' 비중 높아…전문가 "매우 예외적". 연합뉴스 (ภาษาเกาหลี). สืบค้นเมื่อ 2022-05-20.
  83. Tong-hyung, Kim (2022-05-19). "North Korea's suspected COVID-19 caseload nears 2 million". CTV News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-05-19.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้