การระดมทุนสาธารณะ
การระดมทุนสาธารณะ (อังกฤษ: crowdfunding) หรือ คราวด์ฟันดิง คือ แนวทางการระดมทุนเพื่อทำโครงการหรือธุรกิจ โดยการรวบรวมทุนจำนวนน้อยจากผู้คนจำนวนมาก และส่วนใหญ่ผ่านอินเทอร์เน็ต[1][2] การระดมทุนสาธารณะเป็นรูปแบบหนึ่งของการระดมความคิดเห็นของมหาชน (crowdsourcing) และการเงินทางเลือก (alternative finance) มีการคาดคะเนว่าในปี ค.ศ. 2015 มีการระดมทุนกว่าสามหมื่นสี่พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในรูปแบบนี้[3][4] แม้ว่าจะมีแนวคิดที่คล้ายคลึงกัน ซึ่งสามารถดำเนินการได้ผ่านทางการสมัครสมาชิกทางไปรษณีย์ (mail-order subscriptions) การจัดงานเพื่อการกุศล (benefit events) และวิธีการอื่น ๆ แต่คำว่า การระดมทุนสาธารณะ จะนิยามเฉพาะการใช้เว็บไซต์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการลงทะเบียน[5] รูปแบบการระดมทุนสาธารณะยุคใหม่นี้ โดยทั่วไปอาศัยผู้มีบทบาทสำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ (หนึ่ง) ผู้ริเริ่มโครงการ (project initiator) ซึ่งเป็นผู้เสนอแนวคิดหรือโครงการที่ต้องการระดมทุน (สอง) บุคคลหรือกลุ่มคนที่สนับสนุน และ (สาม) องค์กรที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง (เรียกอีกอย่างว่า "แพลตฟอร์ม") ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดมาเพื่อเปิดตัวแนวคิด[6]
การระดมทุนสาธารณะถูกนำไปใช้เพื่อระดมทุนให้กับกิจการที่เจ้าของดำเนินการเอง ในหลากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น โครงการศิลปะและความคิดสร้างสรรค์[7] ค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ การเดินทาง และโครงการเพื่อสังคม[8] แม้จะมีการเสนอแนะให้การระดมทุนสาธารณะมีความสอดคล้องกับความยั่งยืนมาก ๆ แต่จากการสำรวจพบว่า ความยั่งยืนมีบทบาทเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการระดมทุนสาธารณะ[9] นอกจากนี้ การระดมทุนสาธารณะยังถูกวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการนำไปใช้สนับสนุนการหลอกลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฉ้อโกงขอระดมทุนเพื่อการรักษามะเร็งที่มีราคาแพง[10][11][12][13]
ประวัติความเป็นมา
แก้การระดมทุนยุคแรก
แก้การระดมทุนโดยการรวบรวมเงินบริจาคจำนวนน้อยจากผู้คนจำนวนมาก มีประวัติศาสตร์อันยาวนานและหลากหลาย เช่น ในอดีตเคยมีการระดมทุนเพื่อการเขียนและตีพิมพ์หนังสือ โดยผู้แต่งและสำนักพิมพ์จะโฆษณาโครงการผ่านระบบการจองซื้อล่วงหน้า (praenumeration) หรือการบอกรับเป็นสมาชิก (subscription) หนังสือจะถูกเขียนและตีพิมพ์ก็ต่อเมื่อมีสมาชิกที่แสดงความสนใจซื้อหนังสือมากพอ แม้ว่ารูปแบบการบอกรับเป็นสมาชิกจะไม่ใช่การระดมทุนสาธารณะที่โดยตรง เพราะเงินจะเริ่มหมุนเวียนเมื่อผลิตภัณฑ์ถูกส่งมอบ แต่จำนวนรายชื่อก็ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนในการตัดสินใจตีพิมพ์หนังสือ[15]
ในทางทฤษฎี พันธบัตรสงคราม ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของการระดมทุน เพื่อใช้ในความขัดแย้งทางทหาร ตัวอย่างเช่น ในช่วงทศวรรษที่ 1730 เมื่อลูกค้าของธนาคารแห่งประเทศอังกฤษ ต้องการนำเงินปอนด์ไปแลกเป็นทองคำ ชุมชนพ่อค้าของกรุงลอนดอนได้ช่วยเหลือธนาคารโดยการสนับสนุนสกุลเงินปอนด์จนกว่าความเชื่อมั่นในสกุลเงินจะกลับคืนมา นับเป็นการระดมทุน (แม้จะเป็นเงินของตัวเอง) ในยุคแรก ๆ กรณีศึกษาที่ชัดเจนกว่าของการระดมทุนสาธารณะสมัยใหม่ คือ โครงการออกใบรับรองของออกุสต์ กองเต้ (Auguste Comte) เพื่อรับการสนับสนุนจากสาธารณชนสำหรับงานปรัชญาของเขาต่อไป บทความ "Première Circulaire Annuelle adressée par l'auteur du Système de Philosophie Positive" ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 1850 ยังคงมีใบรับรองบางส่วนที่ยังคงอยู่ แม้จะไม่มีการระบุชื่อและจำนวนเงิน[16]
ขบวนการสหกรณ์
แก้ขบวนการสหกรณ์ในศตวรรษที่ 19 และ 20 ถือเป็นต้นแบบที่กว้างขวางกว่า โดยมีการรวมกลุ่มกัน เช่น กลุ่มชุมชนหรือกลุ่มตามความสนใจ ร่วมกันระดมทุนเพื่อพัฒนาแนวคิด ผลิตภัณฑ์ และวิธีการจัดจำหน่ายและผลิตสินค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทของยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ ตัวอย่างเช่น ในปี 1885 เมื่อแหล่งเงินทุนจากรัฐบาลไม่เพียงพอสำหรับการสร้างฐานอนุสาวรีย์เทพีเสรีภาพ แคมเปญที่ริเริ่มโดยหนังสือพิมพ์สามารถระดมทุนบริจาคขนาดเล็กจากผู้บริจาคกว่า 160,000 คน[15]
ยุคอินเทอร์เน็ต
แก้การระดมทุนสาธารณะผ่านอินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมและกลายเป็นกระแสหลักในกลุ่มศิลปะและดนตรีเป็นครั้งแรก[17] ตัวอย่างที่น่าจดจำครั้งแรกของการระดมทุนสาธารณะออนไลน์ในแวดวงดนตรีเกิดขึ้นในปี 1997 เมื่อแฟนเพลงของวงร็อคสัญชาติอังกฤษ มาริลเลี่ยน (Marillion) ระดมทุนผ่านแคมเปญทางอินเทอร์เน็ตได้เงินกว่า 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนการทัวร์คอนเสิร์ตทั่วสหรัฐอเมริกาครั้งใหญ่ หลังจากนั้นวงมาริลเลี่ยนยังคงใช้กลวิธีนี้ในการระดมทุนสำหรับการผลิตอัลบั้มของพวกเขาอีกด้วย[18][19][20] ความสำเร็จนี้ต่อยอดมาจากการระดมทุนสาธารณะผ่านนิตยสาร ตัวอย่างเช่น สมาคมมังสวิรัติ (the Vegan Society) ใช้การระดมทุนสาธารณะผ่านนิตยสารเพื่อการผลิตสารคดีเรื่อง Truth or Dairy ในปี 1992[21]
แคมเปญ "ปลดปล่อยเบลนเดอร์" (Free Blender) ในปี 2002 ถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างเบิกโรงของการระดมทุนสาธารณะสำหรับซอฟต์แวร์[22][23] แคมเปญนี้มีเป้าหมายที่จะเปิดซอร์สโค้ดให้กับซอฟต์แวร์กราฟิก 3 มิติอย่างเบลนเดอร์ (Blender) โดยการระดมทุน 100,000 ยูโรจากชุมชน โดยมีข้อเสนอผลตอบแทนเพิ่มเติมสำหรับสมาชิกที่บริจาค[24][25]
ประเภทของการระดมทุน
แก้รายงานเดือนพฤษภาคม 2014 ของศูนย์กลางการระดมทุน (The Crowdfunding Centre) ได้ระบุประเภทหลักของการระดมทุนไว้ 2 ประเภท ดังนี้
- การระดมทุนต่างตอบแทน (Rewards-based crowdfunding): ผู้ประกอบการเสนอขายสินค้าหรือบริการล่วงหน้าเพื่อเปิดตัวแนวคิดธุรกิจ โดยไม่ต้องก่อหนี้หรือสูญเสียทุน/หุ้น ผู้สนับสนุนจะได้รับสินค้าหรือบริการตอบแทนเป็นการตอบแทนสำหรับเงินที่สนับสนุน
- การระดมทุนแบบระดมทุนด้วยสิทธิ์ (Equity-based crowdfunding): วิธีการที่ผู้สนับสนุนจะได้รับหุ้นของบริษัท ซึ่งมักอยู่ในช่วงเริ่มต้น แลกเปลี่ยนกับเงินที่ให้การสนับสนุน[26]
การระดมทุนต่างตอบแทน
แก้การระดมทุนต่างตอบแทน หรือบางครั้งเรียกว่า ระดมทุนแบบให้สิ่งตอบแทน, การระดมทุนแบบไม่ใช้สิทธิ์ (non-equity crowdfunding), ระดมทุนแลกกับสิ่งของ ถูกนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ครอบคลุมตั้งแต่ การบันทึกอัลบั้มและการโปรโมทภาพยนตร์[27] การพัฒนาซอฟต์แวร์ฟรี การพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์[28] ไปจนถึงโครงการสาธารณะ[29]
งานวิจัยหลายชิ้นได้ระบุลักษณะเด่นของการระดมทุนตอบแทนไว้ดังนี้
- ไม่จำกัดที่ตั้ง: ในการระดมทุนตอบแทน แหล่งที่มาของเงินทุนไม่ขึ้นอยู่กับที่ตั้ง ตัวอย่างเช่น บนแพลตฟอร์มหนึ่งกำหนดระยะทางระหว่างผู้สร้างสรรค์ผลงานกับนักลงทุนอยู่ห่างกันประมาณ 3,000 ไมล์ ในช่วงที่แพลตฟอร์มเปิดตัวระบบแบ่งรายได้
- การกระจายทุนไม่เท่าเทียม: เงินทุนสำหรับโครงการเหล่านี้มักกระจุกตัวอยู่ที่โครงการเพียงไม่กี่โครงการ ซึ่งดึงดูดเงินทุนส่วนใหญ่ไป นอกจากนี้ เงินทุนยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความใกล้เคียงของเป้าหมายโครงการ ส่งเสริมพฤติกรรมที่เรียกว่า "herding behavior" (พฤติกรรมเลียนแบบการลงทุนของผู้อื่น)
- เพื่อนและครอบครัวเป็นแหล่งเงินทุนเริ่มต้น: งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า เพื่อนและครอบครัวมักเป็นแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ในช่วงเริ่มต้น เงินทุนจากกลุ่มคนเหล่านี้อาจกระตุ้นให้ผู้สนับสนุนรายอื่นๆ ตัดสินใจลงทุนในโครงการด้วย
- ความคาดหวังที่มากเกินไป: แม้ว่าที่ตั้งทางกายภาพจะไม่ใช่ข้อจำกัดในการระดมทุน แต่จากการสังเกตพบว่า แหล่งที่มาของเงินทุนมักเกี่ยวข้องกับที่ตั้งของแหล่งเงินทุนแบบดั้งเดิม ในการระดมทุนตอบแทน ผู้สนับสนุนมักมีความคาดหวังต่อผลตอบแทนจากโครงการสูงเกินไป และต้องปรับลดความคาดหวังลงเมื่อผลตอบแทนไม่ได้เป็นไปตามที่ตั้งใจไว้[17]
การระดมทุนด้วยสิทธิ์
แก้การระดมทุนด้วยสิทธิ์ คือ การรวมกลุ่มของบุคคลเพื่อสนับสนุนความพยายามที่ริเริ่มโดยบุคคลหรือองค์กรอื่น ๆ ผ่านการให้การสนับสนุนทางการเงินในรูปแบบของสิทธิ์ (equity)[30] ในสหรัฐอเมริกา กฎหมายที่กล่าวถึงใน JOBS Act ปี 2012 จะอนุญาตให้มีกลุ่มนักลงทุนรายย่อยที่กว้างขึ้น โดยมีข้อจำกัดน้อยลงหลังจากการบังคับใช้กฎหมาย[31]
ความแตกต่างจากการระดมทุนต่างตอบแทน
- ข้อมูลไม่สมดุล (information asymmetry): การระดมทุนแบบระดมทุนด้วยสิทธิ์ มีความไม่สมดุลของข้อมูล (information asymmetry) ที่สูงกว่าการระดมทุนตอบแทน ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ไม่เพียงต้องผลิตสินค้าหรือบริการที่ใช้ในการระดมทุนเท่านั้น แต่ยังต้องสร้างสิทธิ์ผ่านการจัดตั้งบริษัทด้วยผลตอบแทน[17]
การระดมทุนแบบระดมทุนด้วยสิทธิ์ แตกต่างจากการบริจาคและการระดมทุนตอบแทน เนื่องจากมีการเสนอหลักทรัพย์ (securities) ซึ่งรวมถึงโอกาสในการได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน กลุ่มนักลงทุน (Syndicates) ซึ่งประกอบด้วยนักลงทุนจำนวนมากที่ทำตามกลยุทธ์ของนักลงทุนนำ (lead investor) คนเดียว สามารถช่วยลดความไม่สมดุลของข้อมูลและหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่เป็นความล้มเหลวของตลาด (market failure) ที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุนแบบระดมทุนด้วยสิทธิ์ได้[32]
การระดมทุนด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล
แก้การระดมทุนอีกประเภทหนึ่งคือการระดมทุนสำหรับโครงการที่เสนอสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นรางวัลให้แก่ผู้สนับสนุน ซึ่งเรียกว่า การเสนอขายโทเค็นครั้งแรก (Initial Coin Offering: ICO)[33] โทเค็นบางประเภท ถูกสร้างขึ้นภายในเครือข่ายแบบเปิดและไร้ศูนย์กลาง (open decentralized networks) เพื่อจูงใจให้คอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เครือข่ายเหล่านำทรัพยากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ในการดูแลรักษาเครือข่ายโปรโตคอล โทเค็นเหล่านี้อาจมีอยู่หรือไม่มีอยู่ก็ได้ในช่วงเวลาที่เปิดขายโทเค็น และอาจต้องใช้ความพยายามในการพัฒนาอย่างมาก รวมถึงการเผยแพร่ซอฟต์แวร์ก่อนที่โทเค็นจะมีใช้งานจริงและสร้างมูลค่าในตลาด
แม้ว่าการระดมทุนอาจเกิดขึ้นเพื่อตัวโทเค็นเอง แต่การระดมทุนบนระบบบล็อกเชน (blockchain) ยังสามารถเป็นการระดมทุนเพื่อแลกกับสิทธิ์ (equity), พันธบัตร (bonds) หรือแม้กระทั่ง "สิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในการบริหาร" (market-maker seats of governance) ของบริษัทที่ได้รับการระดมทุน[34] ตัวอย่างของการขายโทเค็นแบบนี้เช่น ออเกอะ (Augur) แพลตฟอร์มซอฟต์แวร์นายตลาดพยากรณ์แบบกระจายศูนย์ (decentralized, distributed prediction market) ซึ่งสามารถระดมทุนได้ 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากผู้เข้าร่วมมากกว่า 3,500 คน[34] นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอื่น ๆ เช่น เครือข่ายบล็อกเชน อีเธอเรียม และ องค์กรอิสระไร้ศูนย์กลาง (Decentralized Autonomous Organization)[35][36][37][38]
การระดมทุนแบบกู้ยืม
แก้การระดมทุนแบบกู้ยืม บางครั้งเรียกว่า เพียร์ทูเพียร์, P2P หรือ ตลาดสินเชื่อ (marketplace lending) เริ่มต้นขึ้นจากการก่อตั้ง โซปา (Zopa) ในสหราชอาณาจักรเมื่อปี 2005[39] และในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2006 โดยมีการเปิดตัว เลนดิ่งคลับ และ พรอสเปอร์ดอตคอม[40] ผู้กู้สามารถยื่นคำขอสินเชื่อออนไลน์โดยทั่วไปโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย โดยระบบอัตโนมัติจะทำการตรวจสอบและยืนยันข้อมูลคำขอ รวมถึงประเมินความเสี่ยงเครดิตและอัตราดอกเบี้ยของผู้กู้ด้วย นักลงทุนจะซื้อหลักทรัพย์ในกองทุนที่ใช้ในการปล่อยสินเชื่อให้กับผู้กู้รายบุคคลหรือกลุ่มผู้กู้ นักลงทุนได้รับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยของสินเชื่อที่ไม่มีหลักประกัน ผู้ดำเนินระบบจะได้รับรายได้จากค่าธรรมเนียมการปล่อยสินเชื่อและค่าบริการสินเชื่อ[40] ในปี 2009 นักลงทุนสถาบัน (institutional investors) เริ่มเข้าสู่ตลาดสินเชื่อแบบ P2P ตัวอย่างเช่น ในปี 2013 กูเกิล ได้ลงทุน 125 ล้านดอลลาร์สหรัฐใน เลนดิ่งคลับ[40] ในปี 2014 ในสหรัฐอเมริกา ยอดสินเชื่อแบบ P2P มีมูลค่ารวมประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[41] เช่นเดียวกัน ในปี 2014 ในสหราชอาณาจักร แพลตฟอร์ม P2P ปล่อยสินเชื่อให้ธุรกิจเป็นมูลค่า 749 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้น 250% จากปี 2012 ถึง 2014 และปล่อยสินเชื่อให้กับลูกค้ารายย่อยเป็นมูลค่า 547 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้น 108% จากปี 2012 ถึง 2014[42]: 23 ในทั้งสองประเทศ ในปี 2014 ประมาณ 75% ของเงินทั้งหมดที่หมุนเวียนผ่านการระดมทุนไหลผ่านแพลตฟอร์ม P2P[41] บริษัท เลนดิ่งคลับ เข้าตลาดหลักทรัพย์ในเดือนธันวาคม 2014 ด้วยมูลค่าประมาณ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[40]
การระดมทุนแบบคดีความ
แก้การระดมทุนแบบคดีความ ช่วยให้โจทก์หรือจำเลยสามารถขอรับการสนับสนุนทางการเงินจากบุคคลจำนวนมากในลักษณะกึ่งปิด และรักษาความลับ โดยสามารถขอรับบริจาคหรือเสนอผลตอบแทนเป็นการแลกเปลี่ยนเงินทุน นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้นักลงทุนซื้อหุ้นในคดีความที่ตนสนับสนุน ซึ่งอาจทำให้พวกเขาได้รับผลตอบแทนมากกว่าเงินลงทุนหากคดีความประสบความสำเร็จ (ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับค่าเสียหายที่โจทก์ได้รับในตอนท้ายของคดี ซึ่งในสหรัฐอเมริกาเรียกว่าค่าธรรมเนียมแบบมีเงื่อนไข (contingent fee) ในสหราชอาณาจักรเรียกว่าค่าธรรมเนียมความสำเร็จ (success fee) และในระบบกฎหมายประชาชนหลายแห่งเรียกว่า pactum de quota litis)[43] เล็กซ์แชร์ส (LexShares) เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่อนุญาตให้นักลงทุนที่ได้รับการรับรอง (accredited investors) ลงทุนในคดีความ[44]
การระดมทุนแบบบริจาค
แก้การระดมทุนแบบบริจาค คือ ความร่วมมือกันระหว่างบุคคลทั่วไปเพื่อช่วยเหลือองค์กรการกุศล[45] เงินทุนที่ได้จากการระดมทุนแบบบริจาค มักนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านศาสนา สังคม สิ่งแวดล้อม หรือสาธารณประโยชน์อื่น ๆ[46] ผู้บริจาคจะมารวมตัวกันเพื่อสร้างชุมชนออนไลน์ ร่วมสนับสนุนเงินทุนให้บริการและโครงการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย เช่น ด้านสาธารณสุข[47] และการพัฒนาชุมชน[48] หัวใจสำคัญของการระดมทุนแบบบริจาคก็คือ ผู้บริจาคไม่ได้รับผลตอบแทนใด ๆ แต่เป็นการบริจาคด้วยเจตนารมณ์อันดี[49] ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของการระดมทุนแบบบริจาคได้ก่อให้เกิดข้อกังวลทางจริยธรรม เนื่องจากอาจมีแคมเปญหลอกลวงและปัญหาเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว[50]
บทบาท
แก้อิทธิพลของบุคคล
แก้บุคคลในกลุ่มผู้ระดมทุนมีบทบาทสำคัญในการจุดกระบวนการระดมทุนและส่งผลต่อมูลค่าสูงสุดของสิ่งที่เสนอขายหรือผลลัพธ์ของกระบวนการ บุคคลเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในการคัดเลือกและโปรโมทโครงการที่พวกเขาเชื่อมั่น ในบางครั้ง บุคคลเหล่านี้จะรับบทบาทเป็นผู้บริจาคที่ต้องการให้ความช่วยเหลือแก่โครงการสังคม ในบางกรณี พวกเขายังกลายเป็นผู้ถือหุ้นและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและเติบโตของสิ่งที่เสนอขายด้วย นอกจากนี้ บุคคลยังเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่พวกเขาสนับสนุนไปยังชุมชนออนไลน์ของตนเอง ส่งผลให้เกิดการสนับสนุนเพิ่มเติม (ในฐานะผู้ส่งเสริมการระดมทุน)
แรงจูงใจในการมีส่วนร่วม
แก้แรงจูงใจที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าร่วมกระบวนการระดมทุน ได้แก่:
- ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ (Desire for patronage): ผู้บริโภคต้องการรู้สึกว่าตนเองมีส่วนรับผิดชอบอย่างน้อยบางส่วนต่อความสำเร็จของโครงการริเริ่มของผู้อื่น
- ความปรารถนาที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคมร่วมกัน (Desire for social participation): ผู้บริโภคต้องการเป็นส่วนหนึ่งของกิจริยมเชิงสังคมร่วมกับผู้อื่น
- ความคาดหวังผลตอบแทนจากการลงทุน (Desire for investment)[6]: ผู้บริโภคหวังที่จะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนทางการเงิน
นอกจากนี้ บุคคลยังเข้าร่วมระดมทุนเพื่อที่จะได้เห็นผลิตภัณฑ์ใหม่ก่อนวางจำหน่าย การเข้าถึงผลิตภัณฑ์ก่อนวางจำหน่าย มักเปิดโอกาสให้ผู้ระดมทุนมีส่วนร่วมโดยตรงมากขึ้นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การระดมทุนยังดึงดูดบุคคลในกลุ่มญาติและเพื่อนของผู้สร้างสรรค์ผลงานเป็นพิเศษ เนื่องจากช่วยให้การตกลงทางการเงินเป็นไปอย่างราบรื่นและช่วยจัดการความคาดหวังของแต่ละฝ่ายที่มีต่อโครงการ[17]
งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า บุคคลที่เข้าร่วมโครงการระดมทุนมักจะมีลักษณะเฉพาะตัวที่โดดเด่นหลายประการ ได้แก่:
- แนวโน้มความคิดสร้างสรรค์ (Innovative Orientation): กระตุ้นความต้องการที่จะลองรูปแบบใหม่ในการมีปฏิสัมพันธ์กับบริษัทและผู้บริโภคอื่น ๆ
- การมีอัตลักษณ์ร่วมกับเนื้อหา วัตถุประสงค์ หรือโครงการที่เลือกสนับสนุน (Social Identification): จุดประกายความปรารถนาที่จะเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ
- การแสวงหาผลประโยชน์ (Monetary Exploitation): เป็นแรงจูงใจให้บุคคลเข้าร่วมโครงการโดยคาดหวังผลตอบแทน[6]
แพลตฟอร์มระดมทุนมีแรงจูงใจในการสร้างรายได้โดยดึงดูดโครงการที่น่าสนใจและผู้สนับสนุนที่ใจกว้าง นอกจากนี้ แพลตฟอร์มเหล่านี้ยังมุ่งแส่ให้โครงการและแพลตฟอร์มของตนเองได้รับความสนใจจากสาธารณชนอย่างกว้างขวาง[17]
การเติบโตของการระดมทุน
แก้เว็บไซต์ระดมทุนช่วยให้บริษัทและบุคคลทั่วโลกระดมทุนจากประชาชนได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น
- ปี 2010 ระดมทุนได้ 89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ปี 2011 ระดมทุนได้ 1.47 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ปี 2012 ระดมทุนได้ 2.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย 1.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มาจากการระดมทุนในอเมริกาเหนือ[51]
คาดการณ์ว่าการระดมทุนจะเติบโตแตะ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025[52]
รายงาน The State of the Crowdfunding Nation เดือนพฤษภาคม 2014 โดย The Crowdfunding Centre ศูนย์ข้อมูลด้านการระดมทุนที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร เผยว่า ในเดือนมีนาคม 2014 มีการระดมทุนได้มากกว่า 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อชั่วโมงทั่วโลก นอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัวแคมเปญระดมทุนทั่วโลกกว่า 442 แคมเปญต่อวันอีกด้วย[26]
ศักยภาพการเติบโตในอนาคตของแพลตฟอร์มระดมทุน ยังขึ้นอยู่กับปริมาณการระดมทุนของพวกเขาด้วยเงินทุนจากธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ระหว่างเดือนมกราคม 2017 ถึง เมษายน 2020 ที่ผ่านมา มีการระดมทุนให้แก่แพลตฟอร์มระดมทุนทั่วโลก 99 รอบ โดยระดมทุนรวมกันได้มากกว่าครึ่งพันล้านดอลลาร์สหรัฐ เงินทุนเฉลี่ยต่อรอบการระดมทุนโดยบริษัทเสี่ยงทุนสำหรับแพลตฟอร์มระดมทุน อยู่ที่ 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในสหรัฐอเมริกาและ 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐในยุโรป ระหว่างเดือนมกราคม 2017 ถึง เมษายน 2020[53]
แพลตฟอร์มระดมทุน
แก้ในปี 2015 เคยมีการคาดการณ์ว่าจะมีเว็บไซต์ระดมทุนให้เลือกมากกว่า 2,000 แห่งในปี 2016[54] แต่ข้อมูลจาก ครันช์เบส (Crunchbase) ในปี 2021 ชี้ว่า สหรัฐอเมริกามีองค์กรระดมทุนเพียง 1,478 แห่ง[55] ในเดือนมกราคม 2021 บริษัท คิกสตาร์เตอร์ (Kickstarter) สามารถระดมทุนได้มากกว่า 5.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากโครงการต่างๆ กว่า 197,425 โครงการ[56]
แพลตฟอร์มระดมทุนแต่ละแห่งมีบริการที่แตกต่างกันและประเภทของโครงการที่สนับสนุนก็แตกต่างกันไปด้วย[6]
แพลตฟอร์มระดมทุนแบบคัดสรรค์ (Curated crowdfunding platforms) ทำหน้าที่เป็น "ตัวประสานเครือข่าย" (network orchestrators) โดยคัดเลือกสิ่งที่เสนอขายบนแพลตฟอร์ม พวกเขาสร้างระบบองค์กรที่จำเป็นและเงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้เกิดการบูรณาการทรัพยากรระหว่างผู้เล่นคนอื่น ๆ[6] แพลตฟอร์มระดมทุนแบบตัวกลาง (Relational mediators) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างผู้เสนอ และผู้สนับสนุนโครงการ พวกเขาเข้ามาแทนที่ตัวกลางแบบเดิม (เช่น บริษัทเพลงยักษ์ใหญ่ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน) แพลตฟอร์มเหล่านี้เชื่อมโยงศิลปิน นักออกแบบ ผู้ริเริ่มโครงการเข้ากับผู้สนับสนุนที่มุ่งมั่น ซึ่งมีความเชื่อมั่นในบุคคลเบื้องหลังโครงการมากพอที่จะให้การสนับสนุนทางการเงิน[17]
ในปลายปี 2012 แพลตฟอร์มระดมทุนทางเลือกแบบโอเพ่นซอร์สที่ชื่อว่า Selfstarter[57] เกิดขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้กับการคัดสรรค์โครงการระดมทุนตามอำเภอใจบนแพลตฟอร์มที่มีอยู่ โดยเกิดขึ้นจากโครงการ ล็อคิตรอน (Lockitron) ซึ่งเคยถูกปฏิเสธจากคิกสตาร์เตอร์ มาก่อน[58] แม้ว่า เซลฟ์สตาร์เตอร์ (Selfstarter) จะกำหนดให้ผู้สร้างโครงการต้องตั้งค่าโฮสต์และระบบประมวลผลการชำระเงินเอง แต่ก็พิสูจน์ให้เห็นว่า โครงการต่างๆ สามารถระดมทุนได้สำเร็จโดยไม่ต้องมีตัวกลางที่หักเปอร์เซ็นต์จากเงินที่ระดมทุนได้จำนวนมาก
อ้างอิง
แก้- ↑ "การเสนอขายหลักทรัพย์ผ่านระบบคราวด์ฟันดิง". สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 2024-07-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Definition of Crowdfunding". www.merriam-webster.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-10-23.
- ↑ "Cambridge Judge Business School: Cambridge Centre for Alternative Finance". Jbs.cam.ac.uk. สืบค้นเมื่อ 2015-07-24.
- ↑ Barnett, Chance (June 9, 2015). "Trends Show Crowdfunding To Surpass VC In 2016". Forbes. สืบค้นเมื่อ June 29, 2016.
- ↑ "Oxford Dictionary Definition of Crowdfunding". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 31, 2013. สืบค้นเมื่อ July 23, 2014.; พจนานุกรมเมอร์เรียม-เว็บสเตอร์ได้อธิบายคำว่าคราวด์ฟันดิงไว้ว่าเป็น "การชักชวนการเรียกร้องการบริจาคทางการเงินจากผู้คนจำนวนมากโดยเฉพาะจากชุมชนออนไลน์" "Merriam Webster Dictionary Definition of Crowdfunding". สืบค้นเมื่อ July 23, 2014.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 6.3 6.4 "Crowdfunding: Transforming Customers Into Investors Through Innovative Service Platforms" (PDF). สืบค้นเมื่อ February 7, 2013.
- ↑ Agrawal, Ajay; Catalini, Christian; Goldfarb, Avi (2015). "Crowdfunding: Geography, Social Networks, and the Timing of Investment Decisions". Journal of Economics & Management Strategy (ภาษาอังกฤษ). 24 (2): 253–274. doi:10.1111/jems.12093. ISSN 1530-9134. S2CID 154926205.
- ↑ Gleasure, R., & Feller, J. (2016). Emerging technologies and the democratisation of financial services: A metatriangulation of crowdfunding research. Information and Organization, 26(4), 101–115.
- ↑ Laurell, Christofer; Sandström, Christian; Suseno, Yuliani (April 2019). "Assessing the interplay between crowdfunding and sustainability in social media". Technological Forecasting and Social Change (ภาษาอังกฤษ). 141: 117–127. doi:10.1016/j.techfore.2018.07.015.
- ↑ Cara, Ed (September 12, 2018). "Crowdfunding Sites Are Putting Money in the Pockets of Cancer Quacks, Report Finds". Gizmodo. สืบค้นเมื่อ December 10, 2018.
- ↑ Newman, Melanie (September 12, 2018). "Is cancer fundraising fuelling quackery?". BMJ (ภาษาอังกฤษ). 362: k3829. doi:10.1136/bmj.k3829. ISSN 1756-1833. S2CID 52193362.
- ↑ "Crowdfunding: The fuel for cancer quackery". Science-Based Medicine (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). September 17, 2018. สืบค้นเมื่อ January 12, 2019.
- ↑ Mole, Beth (September 20, 2018). "Crowdfunding raises millions for quack cancer remedies, like coffee enemas". Ars Technica (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ January 12, 2019.
- ↑ Olaf Simons (March 10, 2016). "Crowdsourcing Comte". positivists.org. สืบค้นเมื่อ March 10, 2016.
- ↑ 15.0 15.1 "The Statue of Liberty and America's crowdfunding pioneer". BBC Online. April 24, 2013. สืบค้นเมื่อ April 28, 2013.
- ↑ Olaf Simons (March 11, 2016). "Crowdfunding Comte". positivists.org. สืบค้นเมื่อ March 11, 2016.
- ↑ 17.0 17.1 17.2 17.3 17.4 17.5 Agrawal, Ajay; Catalini, Christian; Goldfarb, Avi (June 2013). "Some Simple Economics of Crowdfunding". NBER Working Paper No. 19133. doi:10.3386/w19133.
- ↑ Golemis, Dean (September 23, 1997). "British Band's U.s. Tour Is Computer-generated". Chicago Tribune. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-01. สืบค้นเมื่อ 2024-07-24.
- ↑ Masters, Tim (November 5, 2011). "Marillion 'understood where the internet was going early on'". BBC News. สืบค้นเมื่อ September 3, 2013.
- ↑ "Marillion fans to the rescue". BBC News. May 11, 2001.
- ↑ "The Vegan Winter 1992". Issuu (ภาษาอังกฤษ). December 1992. สืบค้นเมื่อ January 2, 2020.
- ↑ Blender Foundation Launches Campaign to Open Blender Source เก็บถาวร พฤศจิกายน 28, 2020 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน on linuxtoday (July 22, 2002)
- ↑ 'Free Blender Fund' campaign archived 2002
- ↑ Membership "People can subscribe to become Foundation Member. Members who subscribe during the campaign period, get additional benefits for their support. During campaign: – Costs: minimum one time fee of 50 euros (or US$50)" (archived 2002)
- ↑ "FAQ". Blender Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 3, 2019. สืบค้นเมื่อ January 3, 2019.
- ↑ 26.0 26.1 Catherine Clifford (May 19, 2014). "Crowdfunding Generates More Than $60,000 an Hour (Infographic)". Entrepreneur. Entrepreneur Media, Inc. สืบค้นเมื่อ May 25, 2014.
- ↑ "Crowd funding: An emerging trend in Bollywood". The Times of India. สืบค้นเมื่อ August 12, 2012.
- ↑ "Crowdfunding as the future of science funding?". The Science Exchange Blog. May 27, 2012. สืบค้นเมื่อ August 19, 2012.
- ↑ Hollow, Matthew (April 20, 2013). "Crowdfunding and Civic Society in Europe: A Profitable Partnership?". Open Citizenship. สืบค้นเมื่อ April 29, 2013.
- ↑ Ordanini, A.; Miceli, L.; Pizzetti, M.; Parasuraman, A. (2011). "Crowd-funding: Transforming customers into investors through innovative service platforms". Journal of Service Management. 22 (4): 443. doi:10.1108/09564231111155079. (also available as Scribd document เก็บถาวร มีนาคม 29, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- ↑ Agrawal, Ajay; Catalini, Christian; Goldfarb, Avi (January 1, 2014). "Some Simple Economics of Crowdfunding". Innovation Policy and the Economy. 14 (1): 63–97. doi:10.1086/674021. hdl:1721.1/108043. ISSN 1531-3468. S2CID 16085029.
- ↑ Agrawal, Ajay; Catalini, Christian; Goldfarb, Avi (February 25, 2015). "Are Syndicates the Killer App of Equity Crowdfunding?". Rochester, NY: Social Science Research Network. doi:10.2139/ssrn.2569988. hdl:1721.1/103355. S2CID 37659400. SSRN 2569988.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ Catalini, Christian; Gans, Joshua S. (March 19, 2018). "Initial Coin Offerings and the Value of Crypto Tokens". Working Paper Series (ภาษาอังกฤษ). doi:10.3386/w24418.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ 34.0 34.1 Tapscott, Don; Tapscott, Alex (May 2016). The Blockchain Revolution: How the Technology Behind Bitcoin is Changing Money, Business, and the World. Portfolio/Penguin. pp. 82–83, 128, 181, 245–246. ISBN 978-0670069972.
- ↑ Popper, Nathan (May 21, 2016). "A Venture Fund With Plenty of Virtual Capital, but No Capitalist". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 27, 2016. สืบค้นเมื่อ May 22, 2016.
- ↑ "The DAO of accrue: A new, automated investment fund has attracted stacks of digital money". The Economist. May 21, 2016. สืบค้นเมื่อ May 23, 2016.
- ↑ Waterss, Richard (May 17, 2016). "Automated company raises equivalent of $120M in digital currency". Financial Times. สืบค้นเมื่อ May 23, 2016.
- ↑ Allison, Ian (April 30, 2016). "Ethereum reinvents companies with launch of The DAO". International Business Times. สืบค้นเมื่อ May 1, 2016.
- ↑ Ian Fraser for Unquoted. May 1, 2015 Crowdfunding Part 3: The P2P lenders เก็บถาวร กรกฎาคม 20, 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 40.0 40.1 40.2 40.3 David M. Freedman and Matthew R. Nutting. A Brief History of Crowdfunding เก็บถาวร มกราคม 25, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 41.0 41.1 >Bill Payne for Gust. May 4, 2015 US Crowdfunding in 2014
- ↑ "Nesta Annual Review 2014–2015" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ December 22, 2015. สืบค้นเมื่อ August 1, 2015.
- ↑ "How to Succeed in Crowdfunding Your Legal Claim". Invest4Justice. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2015. สืบค้นเมื่อ November 3, 2015.
- ↑ Randazzo, Sara (August 4, 2016). "Litigation Funding Moves Into Mainstream". The Wall Street Journal. ISSN 0099-9660. สืบค้นเมื่อ February 2, 2017.
- ↑ "Q&A: Rizikitoto's Suraya Shivji, 17, crowd-funds for African orphans". Times-Standard. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 10, 2015. สืบค้นเมื่อ January 10, 2015.
- ↑ Choy, Katherine; Schlagwein, Daniel (2016), "Crowdsourcing for a better world: On the relation between IT affordances and donor motivations in charitable crowdfunding", Information Technology & People, 29 (1): 221–247, doi:10.1108/ITP-09-2014-0215, S2CID 12352130
- ↑ Xu, Larry Zhiming (2018). "Will a digital camera cure your sick puppy? Modality and category effects in donation-based crowdfunding". Telematics and Informatics. 35 (7): 1914–1924. doi:10.1016/j.tele.2018.06.004. S2CID 53015852.
- ↑ Davies, Rodrigo (2015). "Three provocations for civic crowdfunding". Information, Communication & Society. 18 (3): 342–355. doi:10.1080/1369118X.2014.989878. hdl:1721.1/123437. S2CID 148641056.
- ↑ Belleflamme, P.; Omrani, N.; Peitz, M. (March 2015). "The Economics of Crowdfunding Platforms" (PDF). Information Economics and Policy. 33: 11–28. doi:10.1016/j.infoecopol.2015.08.003. S2CID 10924359.
- ↑ Snyder, Jeremy; Mathers, Annalise; Crooks, Valorie (2016). "Fund my treatment!: A call for ethics-focused social science research into the use of crowdfunding for medical care". Social Science & Medicine. 169: 27–30. doi:10.1016/j.socscimed.2016.09.024. PMID 27665200.
- ↑ Global Crowdfunding Volumes Rise 81% In 2012, August 4, 2013, The Huffington Post, Retrieved at September 7, 2013
- ↑ The Rise of Crowdfunding October 28, 2015, MyPrivateBanking Research
- ↑ Fischer, Matthias (2021). Fintech Business Models (ภาษาอังกฤษ). Berlin/Boston: De Gruyter. pp. 115, 116. ISBN 978-3-11-070450-1.
- ↑ "2,000 Global Crowdfunding Sites to Choose from by 2016". The Huffington Post. October 23, 2015.
- ↑ "80 Crowdfunding Statistics You Must See: 2021 Platforms, Impact & Campaign Data". April 19, 2021.
- ↑ "These Are the Top 10 Crowdfunding Platforms". March 11, 2021.
- ↑ "Selfstarter". GitHub.
- ↑ Goodman, Michelle. "Crowdfunding Without Kickstarter". Entrepreneur. สืบค้นเมื่อ 17 April 2023.
อ่านเพิ่ม
แก้- "Crowdfunding and Civic Society in Europe: A Profitable Partnership?" Open Citizenship, vol. 4, no. 1. (2013).
- Crowdfunding for Emergencies เก็บถาวร เมษายน 24, 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by the United Nations Office for the Coordination of Humanitarian Affairs, 2015.
- Dynamics of Crowdfunding: Determinants of Success and Failure by Ethan Mollick, examines what causes individual projects to succeed or fail.
- "Is There an eBay for Ideas?" European Management Review, 2011
- The Geography of Crowdfunding, NET Institute Working Paper No. 10-08, Oct 2010
- Ex Ante Crowdfunding and the Recording Industry: A Model for the U.S.?
- Crowdfunding and the Federal Securities Laws by C. Steven Bradford
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Crowdfunding