กะรุน (อังกฤษ: corundum; Al2O3) เป็นแร่รัตนชาติประเภทอะลูมิเนียมออกไซด์ ประกอบขึ้นด้วยธาตุอะลูมิเนียมและออกซิเจน

กะรุน
การจำแนก
ประเภทสารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์
สูตรเคมีAl2O3
คุณสมบัติ
สีใส ขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ฟ้า สีขาว โปร่งใส ถึง โปร่งแสง วาวแบบแก้ว ถึง วาวแบบเพชร
รูปแบบผลึกรูปผลึกแบบหกเหลี่ยม
โครงสร้างผลึกไทรโกนัล
ค่าความแข็ง9
ดรรชนีหักเหnω = 1.767–1.772
nε = 1.759–1.763
การเปลี่ยนสีไม่มี
สีผงละเอียดขาว
ความถ่วงจำเพาะ3.95–4.1
จุดหลอมเหลว2044 °C
สภาพละลายได้ไม่สามารถละลายได้
อ้างอิง: [1][2][3][4]

คุณสมบัติ

แก้
  • มีค่าความแข็งที่ 9 ตามมาตราของโมส (Moh's scale)
  • มีค่าความถ่วงจำเพาะที่ 3.95–4.1
  • มีลักษณะเป็นระบบเฮ็กแซกะนัล รูปผลึกหกเหลี่ยม
  • สี
    • มีหลายสีเช่น ใส ขาว เขียว เหลือง ชมพู แดง ฟ้า สีขาว โปร่งใส ถึง โปร่งแสง วาวแบบแก้ว ถึงวาวแบบเพชร
    • ถ้าเป็นสีฟ้าหรือน้ำเงินเรียกว่าไพลิน
    • ถ้าเป็นสีแดงจะเรียกว่าทับทิม
    • ถ้าเป็นสีเหลืองเรียกว่าบุษราคัม
    • ถ้าเป็นสีเขียวเรียกว่าเขียวส่อง
    • ถ้าเป็นสีชมพูอมส้มเรียกว่าพัดพารัดชา
    • ถ้าสีไม่สดจะเป็นขี้พลอย หรือเรียกว่ากากกะรุน

ประวัติ

แก้

มาจากภาษาสันสกฤต: कुरुविन्द, อักษรโรมัน: Kuruvinda หมายถึง ทับทิม

การกำเนิด

แก้

พบในหินหลายชนิด ในประเทศไทยพบในหินภูเขาไฟชนิดหินบะซอลต์ ต่างประเทศพบในหินแปร หินเปกมาไทต์ หินอัคนีชนิดหินไซอีไนต์ และหินเนฟีลีนไซอีไนต์

แหล่งที่พบ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Handbook of Mineralogy
  2. Corundum at Mindat.org
  3. Corundum at Webmineral
  4. Hurlbut, Cornelius S.; Klein, Cornelis, 1985, Manual of Mineralogy, 20th ed., Wiley, pp. 300-302. ISBN 0-471-80580-7.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ กะรุน