กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ
กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ (อังกฤษ: Aerial Reinforcement Division) หรือรู้จักกันในชื่อของ ตำรวจพลร่ม (อังกฤษ: Police Aerial Reinforcement Unit: PARU) เป็นกองบังคับการภายใต้กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2496 โดยได้รับการสนับสนุนการฝึกจากสำนักข่าวกรองกลางของสหรัฐอเมริกา ในการต่อต้านการรุกรานของคอมมิวนิสต์ในยุคนั้น[4]
กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ Aerial Reinforcement Division Police Aerial Reinforcement Unit | |
---|---|
เครื่องหมายนักโดดร่มชั้นพิเศษ สัญลักษณ์ค่ายนเรศวร | |
อาร์มตำรวจพลร่ม | |
เครื่องหมายราชการ | |
ชื่อทางการ | กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ |
อักษรย่อ | บก.สอ. / PARU |
คำขวัญ | ไม่มีอะไรที่ตำรวจพลร่มทำไม่ได้ ตายเสียดีกว่าละทิ้งหน้าที่ ตายในสนามรบ เป็นเกียรติของค่ายนเรศวร[1] PARU Can do.[2] |
ข้อมูลองค์กร | |
ก่อตั้ง | 1 เมษายน, พ.ศ. 2496 |
หน่วยงานก่อนหน้า |
|
โครงสร้างเขตอำนาจ | |
เขตอำนาจในการปฏิบัติการ | ประเทศไทย |
แผนที่เขตอำนาจของ กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ | |
เขตอำนาจตามกฎหมาย | ทั่วราชอาณาจักร |
ลักษณะทั่วไป | |
เขตอำนาจเฉพาะทาง |
|
สำนักงานใหญ่ | ค่ายนเรศวร, เลขที่ 1280 ถนนเพชรเกษม ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120 |
ผู้บริหารหน่วยงาน |
|
หน่วยงานปกครอง | สำนักงานตำรวจแห่งชาติ • กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน |
กองกำกับการ | • 5 กองกำกับการ |
ปฏิบัติการสำคัญ | |
เว็บไซต์ | |
http://www.bppparu.go.th/ |
กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ มีศักยภาพในการปฏิบัติการสงครามพิเศษ การยุทธส่งทางอากาศ และการยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศสูง สามารถปฏิบัติงานได้ทั่วปรเทศ โดยกำลังส่วนหน้าสามารถเคลื่อนย้ายได้ภายใน 30 นาที และกำลังส่วนใหญ่เคลื่อนที่ได้ภายใน 2 ชั่วโมง ตามขีดความสามารถของอากาศยานสนับสนุน[5]
คติประจำใจของตำรวจพลร่ม คือ "ไม่มีอะไรที่ตำรวจพลร่มทำไม่ได้ ตายเสียดีกว่าละทิ้งหน้าที่ ตายในสนามรบ เป็นเกียรติของค่ายนเรศวร"[6]
ประวัติ
แก้สำนักข่าวกรองสหรัฐได้ทำการฝึกตำรวจและทหารไทยให้มีศักยภาพในการส่งกำลังทางอากาศ การฝึกอาวุธพิเศษ และรบแบบกองโจรเพื่อต่อต้านภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยมอบหมายให้ พ.ต.อ. เจมส์ วิลเลี่ยม แลร์ พร้อมคณะ เป็นครูฝึกหน่วยพลร่ม ณ ค่ายเอราวัณ จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2494[4] ในขณะนั้นเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้รับการฝึกเสร็จสิ้นแล้วก็เดินทางกลับไปประจำการตามต้นสังกัดเดิมของตน เนื่องจากยังไม่มีการตั้งหน่วยพลร่มหรือตำรวจพลร่มขึ้นมาอย่างเป็นทางการ เหลือไว้เพียงกำลังชุดที่ได้รับเลือกให้เป็นครูฝึกเพื่อถ่ายทอดการรบแบบกองโจร การฝึกอาวุธพิเศษ และการกระโดดร่มให้กับนักเรียนรุ่นต่อไป
จากนั้น บิล แลร์ ได้มีแนวคิดในการจัดตั้งหน่วยตำรวจพลร่มขึ้นในปี พ.ศ. 2496 โดยเรียกว่าหน่วย PARU ซึ่งย่อมาจาก Police Aerial Reinforcement Unit[7] โดยเน้นความหมายไปที่ตัว R ของคำว่า PARU หมายถึงการสนับสนุนกำลังเพิ่มเติม ซึ่งเป็นคำที่ดูแล้วไม่ให้ความรู้สึกคุกคามมากเกินไป และเหมาะสมกับหน่วยตำรวจ โดย บิล แลร์ และ ร.ต.ต. เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในครูฝึกชุดแรก ได้เสนอต่อ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ให้รวบรวมกำลังตำรวจที่ได้รับการฝึกการรบแบบกองโจรและการโดดร่มตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2494 เป็นต้นมาให้มาประจำการรวมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการส่งกำลังโดยไม่ต้องรวบรวมกำลังพลจากต้นสังกัดต่าง ๆ ที่ตำรวจเหล่านั้นต้องกลับไปหลังจากฝึกในช่วงแรก โดยใช้ค่ายนเรศวร อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่ตั้งหน่วย เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2496 โดยหน่วยตำรวจพลร่มได้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของ กองยานยนต์ (ตำรวจรถถัง) ตำรวจสอบสวนกลาง[8] ตามความเห็นชอบของ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ ที่ได้รับการเสนอจาก บิล แลร์ ซึ่งบิล แลร์เอง ได้รับการแต่งตั้งและพระราชทานยศทางตำรวจ และมอบหมายให้เป็นที่ปรึกษาประจำหน่วยตำรวจพลร่ม [4] ในขณะเดียวกัน ร.ต.ต. สเน่ห์ สิทธิพันธุ์ ผู้ร่วมเสนอการจัดตั้งหน่าวยก็ได้ถูกแต่งตั้งเป็นผู้บังคับหน่วยคนแรก[9]
หน่วยตำรวจพลร่มได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินประกอบพิธีเปิดค่ายนเรศวร รวมถึงได้ทอดพระเนตรการสาธิตโดดร่ม การใช้อาวุธพิเศษ ในการรบด้วยยุทธวิธีแบบกองโจรของตำรวจพลร่ม ในวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2496[10] จึงได้ถือว่าวันนี้ เป็นวันสถาปนาของค่ายนเรศวร ฐานปฏิบัติการของตำรวจพลร่ม
สำหรับสายการบังคับบัญชาในทางธุรการนั้นหน่วยตำรวจพลร่มขึ้นกับกองยานยนต์ แต่ในทางปฏิบัตินั้นมีการจัดรูปแบบองค์กรเที่ยบเท่ากองกำกับการแบบเดียวกับทหารหน่วยพลร่ม โดยขึ้นตรงสายการบังคับบัญชาด้านยุทธการและข่าวกรองต่อกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน การฝึกและเตรียมความพร้อมสำหรับการเสริมกำลังทางอากาศให้กับกรมตำรวจได้อย่างรวดเร็ว มีศักยภาพในการส่งกำลังภายใต้ทุกสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศ ปฏิบัติงานตำรวจได้ในพื้นที่ห่างไกลและหน่วยตำรวจทั่วไปไม่สามารถทำได้อย่างทันท้วงที[11]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 หลังจากตำรวจพลร่มได้โอนพื้นที่ฝึกที่ค่ายเอราวัณให้กับกองทัพบก[12] ได้มีการสำรวจทางอากาศสำหรับหาพื้นที่ในการฝึกฝนและทบทวนทักษะการรบแบบกองโจร และการดำรงชีพในป่า โดยพื้นที่ทางตะวันตกของอำเภอหัวหิน ที่ตั้งของค่ายนเรศวรขณะนั้นมีความเหมาะสมที่จะจัดตั้งค่ายฝึก เนื่องจากภูมิประเทศที่มีความเหมาะสม จึงได้จัดกำลังลงพื้นที่สำรวจในพื้นที่ดังกล่าว ระยะเวลา 4 สัปดาห์ จนพบสถานที่ที่เหมาะสมในการจัดตั้งค่ายฝึกในพื้นที่ป่า บริเวณริมแม่น้ำห้วยสัตว์ใหญ่ ตำบลสองพี่น้อง กิ่งอำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี[11] ปัจจุบันคือ ศูนย์ฝึกรบพิเศษฤทธิฤาชัย ค่ายป่าละอู ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[13]
จากนั้นในปี พ.ศ. 2500 ได้เกิดรัฐประหารขึ้น ทำให้เกิดการปรับโครงสร้างบริหารของกรมตำรวจ และยุบตำรวจกองยานยนต์ (ตำรวจรถถัง) แต่หน่วยตำรวจพลร่มก็อยู่รอดมาได้จากการถูกยุบเลิก[7] โดยยังไม่มีสถานะที่ชัดเจน จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2503 ตำรวจพลร่มจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ (กก.สอ.) ฝ่ายสนับสนุนตำรวจภูธรชายแดน กองบัญชาการตำรวจภูธร[14]
ในขณะนั้น จากภัยคุกคามของประเทศกำลังประสบกับการรุกรานของลัทธิคอมมิวนิสต์เพิ่มมากยิ่งขึ้น ทำให้มีการกำหนดกรอบภารกิจของตำรวจพลร่ม ในการปฏิบัติการส่งครามพิเศษ การทำสงครามแบบกองโจร และได้เข้าร่วมปฏิบัติการในสงครามลับในประเทศลาว ทั้งการฝึกทหารม้ง[15] การปฏิบัติการจิตวิทยา จัดตั้งกองกำลัง[16] และการร่วมปฏิบัติการรบ จนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในชื่อของ PARU ในหมู่ทหารอเมริกัน ทหารม้ง ทหารลาว และทหารไทย ที่ได้ร่วมปฏิบัติการระหว่างปี พ.ศ. 2503 - 2515[4] นอกจากนี้ตำรวจพลร่มได้รับลายพรางไทเกอร์ ซึ่งเป็นลายของเครื่องแบบที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริการในการใช้ปฏิบัติการในประเทศลาว มาเป็นลายพรางประจำหน่วยจนถึงปัจจุบัน[17]
พ.ศ. 2515 กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ ถูกปรับแยกจากกองบัญชาการตำรวจภูธร มาขึ้นกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ในชื่อ กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน[18] ประกอบไปด้วย 9 แผนก และ 5 กองร้อย จึงนับเป็นจุดเริ่มต้นของตำรวจพลร่มกับกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
ในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ตำรวจพลร่มจากกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศ เป็นกำลังส่วนหนึ่งที่ร่วมปฏิบัติการในเช้าวันที่ 6 ตุลาคม มีกำลังประมาณ 50 - 60 นายเข้าร่วมปฏิบัติการโดยไม่ได้รับการแจ้งวัตถุประสงค์ล่วงหน้า[19] ซึ่งอาวุธที่นำมาปฏิบัติการประกอบด้วย ปืนเอ็ม 16 ปืนเอชเอค 33 เครื่องยิงลูกระเบิด เอ็ม 79 และปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง[15]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 ได้มีการปรับส่วนราชการภายในของกองกำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน แบ่งเป็น 6 แผนก และ 8 กองร้อย[20] และย้ายที่ตั้งของค่ายนเรศวร มายังพื้นที่ใหม่ซึ่งเป็นที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์[21] ในอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี[22] ซึ่งเป็นที่ตั้งมาจนถึงปัจจุบัน
จากนั้น ในปี พ.ศ. 2548 ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงจากกรมตำรวจมาเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้มีการยกฐานะของ กำกับการสนับสนุนทางอากาศตำรวจตระเวนชายแดน ขึ้นเป็น กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ส่วนราชการภายในประกอบไปด้วย ฝ่ายอำนวยการ และกองกำกับการ 1 - 4[23]
และในปี พ.ศ. 2552 กองกำกับการสนับสนุนทางอากาศได้รับโอนหน้าที่ของอดีตกองกำกับการ 5 กองบังคับการตำรวจดับเพลิง ที่มีภารกิจในป้องกันและระงับอัคคีภัยในเขตพระราชฐาน ซึ่งถูกยุบเลิกในปี พ.ศ. 2546 ตามมติคณะรัฐมนตรี[24] โดยอดีตกองกำกับการ 5 ตำรวจดับเพลิงได้โอนไปอยู่ในการดูแลของกรุงเทพมหานคร และสำนักงานนายตำรวจราชสำนักประจำ[25] ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2548 และถ่ายโอนมาก่อตั้งเป็น กองกำกับการ 5 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา[26] ทำให้กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ มีภารกิจเพิ่มเติมในการถวายความปลอดภัยในด้านของการป้องกันและระงับอัคคีภัยในเขตพระราชฐาน[27] ทั้งที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และนอกเขตกรุงเทพมหานคร
ภารกิจ
แก้การปฏิบัติการสงครามพิเศษ
แก้การปฏิบัติการสงครามพิเศษ คือการปฏิบัติการปฏิบัติการสงครามนอกแบบ ในการป้องกันและปราบปรามความไม่สงบ ซึ่งรวมไปถึงการปฏิบัติการจิตวิทยา เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ไม่ว่าจะเป็นทั้งการทหาร การเมือง เศรษฐกิจหรือสังคม ในพื้นที่ของข้าศึก พื้นที่ที่ล่อแหลม พื้นที่ที่ถูกข้าศึกเข้ายึดครอง และหลังแนวของข้าศึก โดยสามารถปฏิบัติการได้ทั้งยามสงบหรือยามสงครามเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นในการปกปิดอำพรางปฏิบัติการเพื่อประโยชน์ของการปฏิบัติการและผลประโยชน์ของประเทศชาติ ภายใต้กรอบของยุทธวิธี ยุทธการ และยุทธศาสตร์[28]
การยุทธส่งทางอากาศ
แก้การยุทธส่งทางอากาศ (airborne operation) หรือการปฏิบัติการส่งทางอากาศ[29] เป็นการเคลื่อนย้ายกำลังทั้งในส่วนของพลร่มและส่วนสนับสนุนเข้าไปยังเป้าหมายโดยการส่งทางอากาศ เพื่อปฏิบัติภารกิจทั้งในทางยุทธศาสตร์หรือยุทธวิธีในพื้นที่นั้น ๆ เข้าครอบครองพื้นที่หรือรักษาพื้นที่ โดยใช้ร่มชูชีพ หรือการบินลงด้วยอากาศยานขนส่งที่เหมาะสม[30]
การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ
แก้การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ (air assault) เป็นการเคลื่อนกำลังของกองกำลังภาคพื้นดินพร้อมกับอุปกรณ์สนับสนุนโดยใช้อากาศยานเข้าไปในพื้นที่แนวหลังของฝ่ายตรงข้ามด้วยความรวดเร็ว[31] เพื่อยึดครองภูมิประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ปฏิบัติการโดยอากาศยานขึ้นลงแนวดิ่งอย่างเฮลิคอปเตอร์
การต่อต้านการก่อการร้าย
แก้การต่อต้านการก่อการร้าย (Counter-Terrorism) เป็นการป้องกันและระงับไม่ให้เกิดเหตุการก่อการร้าย การตอบโต้เมื่อเกิดการก่อการร้ายขึ้น โดยตอบสนองต่อเหตุการณ์ด้วยความรวดเร็ว รวมไปถึงมาตรการด้านการข่าวในการต่อต้านการก่อการร้าย โดยมีหน่วยงานหลักในการปฏิบัติการคือ กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ หรือ "หน่วยนเรศวร 261"
การฝึกอบรม
แก้การฝึกอบรมให้กับบุคลากรของหน่วยงานเพื่อทบทวนให้เกิดความเชี่ยวชาญ การฝึกอบรมให้กับบุคลากรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[32] ทั้งในด้านของยุทธวิธีต่าง ๆ อาทิ การส่งกำลังทางอากาศด้วยการกระโดดหอสูง การฝึกในอุโมงค์ลม การโดดร่ม การฝึกอาวุธยุทธวิธีในการปฏิบัติการ การฝึกเกี่ยวกับหลักสูตรการส่งครามพิเศษ การปฏิบัติการจิตวิทยา การควบคุมฝูงชน การป้องกันและปราบปรามความไม่สงบในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการสนับสนุนการฝึกอบรมให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรต่าง ๆ[33]
หลักสูตรที่มีการฝึกอบรมโดยกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ อาทิ
- การโดดร่มแบบสายกระตุก[34]
- หลักสูตรการโดดร่มขั้นพื้นฐาน (Airborne)
- หลักสูตรการโดดร่มเพื่อแต่งตั้งในตำแหน่งนักโดดร่ม
- หลักสูตรการโดดร่มทบทวนประจำปี
- หลักสูตรผู้ควบคุมการโดดร่ม (Jumpmaster)
- การโดดร่มแบบกระตุกเอง (Free Fall)[34]
- หลักสูตรการโดดร่มแบบกระตุกเองขั้นพื้นฐาน (Free Fall)
- หลักสูตรการโดดร่มแบบกระตุกเองขั้นสูง (Advance Free Fall)
- หลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย[35]
- หลักสูตรค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย (Sea Air Rescue)[36]
- หลักสูตรหน่วยปฏิบัติการพิเศษขั้นชำนาญการ (S.W.A.T Advance)[37]
ถวายความปลอดภัยด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัย
แก้ถวายความปลอดภัยด้านการป้องกันและระงับอัคคีภัยในเขตพระราชฐานและที่ประทับ ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และภายนอกกรุงเทพมหานคร รวมทั้งการสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัยให้กับประชาชน โดยกองกำกับการ 5 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ
การช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย
แก้ดำเนินการโดยกองร้อยกู้ชีพ กองกำกับการ 3 การให้การสนับสนุนและช่วยเหลือกู้ภัยตามที่ได้รับการร้องขอ อาทิ การค้นหาผู้ประสบภัยทางทะเล[38][39] การค้นหาและช่วยเหลือผู้หลงป่า[40]
นอกจากนี้ กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดนได้ร่วมปฏิบัติภารกิจในการร่วมปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยถ้ำหลวง โดยกำลังพลของกองร้อยกู้ชีพ จำนวน 10 นาย[41] ถูกส่งไปเตรียมความพร้อมในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ซึ่งต่อมา พลตำรวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา[42] ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติในขณะนั้น ได้นำกำลังพลชุดดังกล่าวออกปฏิบัติการสำรวจค้นหาโพรงถ้ำและโพรงอากาศเหนือถ้ำหลวง[43] เพื่อค้นหาแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้ง 13 ราย โดยขณะปฏิบัติภารกิจได้มีหนึ่งในกำลังพลได้รับบาดเจ็บในขณะปฏิบัติภารกิจ แต่ก็ได้พักรักษาตัวและดีขึ้นในเวลาต่อมา[44]
โครงสร้างภารกิจ
แก้โครงสร้างของกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ค่ายนเรศวร) ตามระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ประกอบไปด้วย
- ฝ่ายอำนวยการ
- กองกำกับการ 1
- กองกำกับการ 2
- กองกำกับการ 3
- กองกำกับการ 4
- กองกำกับการ 5
กองกำกับการ 1
แก้กองกำกับการ 1 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ "หน่วยตำรวจพลร่มรบพิเศษ" มีหน้าที่หลักในการปฏิบัติการสงครามพิเศษ การยุทธส่งทางอากาศ การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ การยิงสนุนบสนุนด้วยอาวุธประจำหน่วย ปฏิบัติการจิตวิทยา สนับสนุนภารกิจการรักษาความสงบเรียบร้อย รักษาความมั่นคงภายในและการป้องกันประเทศ รวมไปถึงการรักษาผลประโยชน์ของประเทศตามแนวชายแดน
ปัจจุบันกองกำกับการ 1 ได้มีการวางกำลังประจำการอยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[45] เพื่อปฏิบัติภารกิจรักษาความสงบ ปฏิบัติการมวลชนสัมพันธ์[46]และดูแลความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบตามฐานปฏิบัติการต่าง ๆ[47]
สำหรับกองกำกับการ 1 ประกอบไปด้วยส่วนงานดังนี้
กองร้อยปฏิบัติการจิตวิทยา
แก้ปฏิบัติการด้านจิตวิทยาเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ และเป็นกำลังสนับสนุนในสภาวะสงคราม สภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ไม่ปกติ ด้านการปฏิบัติการสงครามพิเศษ การส่งยุทธทางอากาศ การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ
กองร้อยอาวุธ
แก้ปฏิบัติการด้านการยิงสนับสนุนให้กับหน่วยดำเนินกลยุทธ์ที่กำลังปฏิบัติการ รวมถึงเป็นกำลังสนับสนุนในสภาวะสงคราม สภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ไม่ปกติ ด้านการปฏิบัติการสงครามพิเศษ การส่งยุทธทางอากาศ การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ
กองร้อยรบพิเศษ 1 - 4
แก้ปฏิบัติการด้านกลยุทธ์ในการปฏิบัติการสงครามพิเศษ การส่งยุทธทางอากาศ การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ การรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคง ป้องกันรักษาการณ์ชายแดนไทย
กองกำกับการ 2
แก้กองกำกับการ 2 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ มีหน้าที่เกี่ยวกับการสนับสนุนการรักษาความสงบเรียบร้อยในการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบรวมไปถึงการก่อการร้าย การควบคุมฝูงชนตามการร้องขอของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ[17] งานด้านกิจการพลเรือนและการช่วยเหลือประชาชนตามแนวชายแดน และเป็นกำลังสนับสนุนในการปฏิบัติการในสภาวะสงคราม สภาวะฉุกเฉิน และสถานการณ์ไม่ปกติ ในการยุทธส่งทางอากาศ การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ[48] ประกอบไปด้วยหน่วยงานภายในคือ
กองร้อย 1 - 4
แก้ปฏิบัติหน้าที่ในการสนับสนุนการรักษาความสงบ ป้องกันและปราบปรามความไม่สงบ และการปราบปรามการก่อการร้าย และเป็นกำลังสนับสนุนในสถานการณ์ไม่ปกติ สภาวะฉุกเฉิน สภาวะสงคราม ด้วยการยุทธส่งทางอากาศ และการยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ
กองกำกับการ 3
แก้กองกำกับการ 3 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ "หน่วยนเรศวร 261" มีหน้าที่หลักในการปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล การก่อการร้ายในเขตเมือง การรักษาความปลอดภัย การเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และสนับสนุนการรักษาความสงบและความมั่นคงภายใน การหาข่าวกรองเชิงยุทธวิธี และเป็นกำลังสนับสนุนสภาวะสงคราม ทางด้านการปฏิบัติการสงครามพิเศษ การส่งยุทธทางอากาศ การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ[49] ประกอบไปด้วยส่วนงานต่าง ๆ ดังนี้
กองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 1
แก้ปฏิบัติการด้านการต่อต้านการก่อการร้ายสากล การก่อการร้ายในเขตเมือง และเป็นกำลังสนับสนุนในสภาวะสงคราม สภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ไม่ปกติ ด้านการปฏิบัติการสงครามพิเศษ การส่งยุทธทางอากาศ การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ เป็นกำลังหลักของหน่วยนเรศวร 261
กองร้อยปฏิบัติการพิเศษที่ 2 - 3
แก้ปฏิบัติการถวายความปลอดภัยพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ และพระราชอาคันตุกะ รวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยให้แก่บุคคลสำคัญ และเป็นกำลังสนับสนุนในสภาวะสงคราม สภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ไม่ปกติ ด้านการปฏิบัติการสงครามพิเศษ การส่งยุทธทางอากาศ การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ
งานเก็บกู้วัตถุระเบิด
แก้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการค้นหา เก็บกู้ พิสูจน์ทราบ และทำลายวัตถุระเบิด การตรวจสถานที่หลังเกิดเหตุระเบิด การป้องกันการก่อวินาศกรรมและต่อต้านการก่อการร้าย รวมไปถึงการตรวจสอบสถานที่ประทับเพื่อถวายความปลอดภัย และรักษาความปลอดภัยของพื้นที่ และการปฏิบัติงานเพื่อสนับสนุนภารกิจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
กองร้อยกู้ชีพ
แก้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการกู้ชีพ กู้ภัย การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวมไปถึงเป็นกำลังสนับสนุนในสภาวะสงคราม สภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ไม่ปกติ ด้านการปฏิบัติการสงครามพิเศษ การส่งยุทธทางอากาศ การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ
กองร้อยระวังป้องกันที่ 1 - 3
แก้ปฏิบัติหน้าที่ในการสนับสนุนและร่วมปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล การก่อการร้ายในเมือง และการก่อความไม่สงบ พร้อมทั้งเป็นกำลังสนับสนุนในสภาวะสงคราม สภาวะฉุกเฉิน สถานการณ์ไม่ปกติ ด้านการปฏิบัติการสงครามพิเศษ การส่งยุทธทางอากาศ การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ
กองกำกับการ 4
แก้กองกำกับการ 4 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ มีหน้าที่หลักในการฝึก อบรม ศึกษา วิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับการส่งครามพิเศษ ทั้งด้านอาวุธ ยุทธวิธี โดยมีผลงานการวิจัยพัฒนา อาทิ นวัตกรรมการฝึกสถานีหอสูง การฝึกสถานีล้มตัว การฝึกกับเครื่องมือจำลองที่ทันสมัยคืออุโมงค์ลมเพื่อฝึกซ้อมก่อนการกระโดดร่มจริง[50] และเป็นกำลังสนับสนุนในสถานการณ์ไม่ปกติ ภาวะฉุกเฉิน สภาวะสงคราม ในด้านของการการยุทธส่งทางอากาศ การยุทธเคลื่อนทางอากาศ และการสงครามพิเศษ ประกอบไปด้วย[51]
กองร้อยฝึกรบพิเศษ
แก้ดำเนินการฝึกเกี่ยวกับหลักสูตรการส่งครามพิเศษ การปฏิบัติการจิตวิทยา การควบคุมฝูงชน การป้องกันและปราบปรามความไม่สงบในสถานการณ์ต่าง ๆ และเป็นกำลังสนับสนุนในสถานการณ์ไม่ปกติ ภาวะฉุกเฉิน และสภาวะสงคราม ในการปฏิบัติการสงครามพิเศษ การยุทธส่งทางอากาศ การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ
กองร้อยฝึกอาวุธ ยุทธวิธี
แก้ดำเนินการฝึกเกี่ยวกับการใช้อาวุธและยุทธวิธีพิเศษต่าง ๆ การต่อต้านและปราบปรามการก่อการร้าย การรักษาความปลอดภัยในสถานการณ์ต่าง ๆ การเก็บกู้และทำลายวัตถุระเบิด และการค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัย[52] รวมถึงเป็นกำลังสนับสนุนในสถานการณ์ไม่ปกติ ภาวะฉุกเฉิน และสภาวะสงคราม ในการปฏิบัติการสงครามพิเศษ การยุทธส่งทางอากาศ การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ
กองร้อยฝึกส่งกําลังทางอากาศ
แก้ดำเนินการฝึกเกี่ยวกับการโดดร่ม ทั้งในส่วนของนักโดดร่ม การควบคุมการโดดร่ม การส่งกำลังทางอากาศยาน[53] และเป็นกำลังสนับสนุนในสถานการณ์ไม่ปกติ ภาวะฉุกเฉิน และสภาวะสงคราม ในการปฏิบัติการสงครามพิเศษ การยุทธส่งทางอากาศ การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ
กองกำกับการ 5
แก้กองกำกับการ 5 กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ "ตำรวจพลร่มดับเพลิง"[54] เป็นกองกำกับการที่มีภารกิจหลักในการถวายความปลอดภัยและการป้องกันระงับอัคคีภัยในเขตพระราชฐาน ทั้งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร 5 แห่ง[55] และเขตพระราชฐานนอกพื้นที่กรุงเทพมหานคร รวมถึงสนับสนุนในด้านของการบรรเทาสาธารณภัย การฝึกอบรมด้านการบรรเทาสาธารณภัยให้แก่หน่วยงานและประชาชน[56]
หน่วยงานภายในอื่น ๆ
แก้ฝึกศูนย์ฝึกรบพิเศษฤทธิฤาชัย ค่ายฝึกรบพิเศษตำรวจพลร่ม (ป่าละอู)
แก้ฝึกศูนย์ฝึกรบพิเศษฤทธิฤาชัย ค่ายฝึกรบพิเศษตำรวจพลร่ม (ป่าละอู) สังกัดกองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ ตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์[13] เป็นศูนย์ฝึกเกี่ยวกับการฝึกการทำการรบในภูมิประเทศป่าเขา ซึ่ง นักเรียนพลร่มทุกนายจะต้องผ่านการฝึกจากที่นี่อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อฝึกและทดสอบการดำรงชีพในป่า[11]
บ้านพักสวัสดิการ ตำรวจพลร่มค่ายนเรศวร
แก้กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ มีบ้านพักสวัสดิการเปิดให้บริการนักท่องเที่ยว ประชาชนและข้าราชการตำรวจสำหรับพักผ่อนตากอากาศริมทะเล ระหว่างค่ายนเรศวรและพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ประกอบด้วยอาคารชุดแบบทาวน์เฮ้าส์ อาคารพักแบบเดี่ยว และอาคารจัดเลี้ยงขนาดเล็ก[57]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ http://www.pinthup.com/?page_id=88
- ↑ เนตรเกื้อกิจ, พันตำรวจโท รังสรรค์, INSIGHT POLICE กองร้อยกู้ชีพ ค่ายนเรศวร ตอนที่ 2, สืบค้นเมื่อ 2022-04-01
- ↑ บันทึก 6 ตุลา - ตำรวจพลร่มตระเวนชายแดน https://doct6.com/learn-about/who/6-2
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 "กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน". www.bppparu.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-06-08. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ "ผบ.ตร.ลงเพชรตรวจเยี่ยม "บก.สอ.บช.ตชด." ชมการสาธิตช่วยเหลือตัวประกัน". mgronline.com. 2015-03-03.
- ↑ เนตรเกื้อกิจ, พันตำรวจโท รังสรรค์, INSIGHT POLICE กองร้อยกู้ชีพ ค่ายนเรศวร ตอนที่ 2, สืบค้นเมื่อ 2022-04-01
- ↑ 7.0 7.1 matichon (2020-10-12). "ภาพเก่าเล่าตำนาน : พันตำรวจเอก เจมส์ วิลเลียม แลร์ ภารกิจลับ...งานใหญ่...จะไม่ใช้คนเยอะ... โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก". มติชนออนไลน์.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2498. เล่ม 72 ตอนที่ 51, วันที่ 12 กรกฎาคม 2498
- ↑ Lair, James William (Bill Lair). Essay. In อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ ม.ว.ม, ป.ช., ท.จ.ว., 113. กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ์, 2543.
- ↑ "ค่ายนเรศวรจัดพิธีสถาปนาครบรอบปีที่ 65". banmuang.co.th (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ 11.0 11.1 11.2 "ประวัติ ตชด. พลร่มค่ายนเรศวร - Pinthup".
- ↑ ต้นโพธิ์, ต้อย (2018-03-05). "(9) ศึกชนช้าง 2 นายพลหมวกแดง". COP'S Magazine.
- ↑ 13.0 13.1 "พิธีเปิดหลักสูตรการต่อต้านปราบปรามการก่อการไม่สงบ (ตปส.)". fo.rtpoc.police.go.th.[ลิงก์เสีย]
- ↑ พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการ กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2503 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 77 ตอนที่ 77 หน้า 746
- ↑ 15.0 15.1 "'บันทึก 6 ตุลา' เปิดคำให้การ 'ตำรวจพลร่ม' ชี้เป็นปฏิบัติการสงครามลับ บอกระดับความโหดฝ่ายขวา". prachatai.com.
- ↑ "ไทยเคยส่งตำรวจไปเป็นครูฝึกหน่วยรบพิเศษม้งในลาวด้วยเหรอครับ". Pantip.
- ↑ 17.0 17.1 ปัญญา, พันตำรวจโท อินทรัตน์, INSIGHT POLICE-กองร้อยกู้ชีพ ค่ายนเรศวร, สืบค้นเมื่อ 2022-04-01
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. [ลิงก์เสีย] ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 130 [มีสถานะเทียบเท่าพระราชกฤษฎีกา แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. ๒๕๐๘ เพื่อปรับปรุงกองบัญชาการตำรวจภูธรและให้จัดตั้งกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน] เล่ม 89 ตอนที่ 66, วันที่ 25 เมษายน 2515 ฉบับพิเศษ หน้า 1-23
- ↑ "ตำรวจพลร่มตระเวนชายแดน | บันทึก 6 ตุลา". 2017-09-23.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา. พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ กรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทย (ฉบับที่ 14) พ.ศ. 2529. เล่ม 103 ตอนที่ 176, วันที่ 13 ตุลาคม 2529, หน้า 5-31
- ↑ "ชุมชนค่ายนเรศวร". www.cha-amcity.go.th.
- ↑ "ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรี ผู้แทน ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา ..." nbtworld.prd.go.th.
- ↑ admin. "กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2548". policetraining9.com.
- ↑ "ประวัติสถานีดับเพลิงสามเสน - สถานีดับเพลิงสามเสน". www.samsenfire.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-09. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ "โอนงานดับเพลิงเขตพระราชฐานให้ตำรวจราชสำนัก". dailynews. 2017-01-30.
- ↑ "ประวัติ กก.๕ บก.สอ.บช.ตชด. - กองกำกับการ 5กองบังคับการสนับสนุนทางอากาศกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน". sites.google.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-31. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ "เตรียมถ่ายโอนภารกิจถวายความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในเขตพระราชฐาน". dailynews. 2016-06-15.
- ↑ พ.ท.นิพนธ์ บุญศิริ. การปฏิบัติการพิเศษ (Special Operations), สงครามนอกแบบ. บทที่ 2 หลักนิยมพื้นฐานของหน่วยรบพิเศษ. ส่วนวิชาสงครามพิเศษ โรงเรียนเสนาธิการทหารบก สถาัับันวิชาการทหารบกชั้นสูง
- ↑ "Publications : Military Dictionary English - Thai 2015 for Joint Services" (PDF). li.rtarf.mi.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ "การยุทธ์ส่งทางอากาศ". ทหารพลร่ม.
- ↑ โรงเรียนรักษาดินแดน. เอกสารประกอบการบรรยาย การสื่อสารทางยุทธวิธีในระดับหน่วยต่าง ๆ[ลิงก์เสีย]
- ↑ "หลักสูตรโดดร่ม วัดใจนร.นายร้อยแหวกฟ้าคว้า'ปีก'". bangkokbiznews. 2014-04-02.
- ↑ "Recent Hostile Environment Awareness Training (HEAT) – Cha-am | Human Development Forum Foundation" (ภาษาNew Zealand English).
- ↑ 34.0 34.1 ระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ว่าด้วยประมวลระเบียบการตำรวจไม่เกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 11 การศึกษา การฝึกและอบรม (ฉบับที่ 23) พ.ศ. 2558, บทที่ 25 หลักสูตรการโดดร่ม เก็บถาวร 2022-06-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "ร่วมพิธีเปิดหลักสูตรการต่อต้านการก่อการร้าย". fo.rtpoc.police.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-27. สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.
- ↑ "กองร้อยกู้ชีพ ค่ายนเรศวร". www.facebook.com.
- ↑ admin-csd (2018-07-17). "ผบช.ก.ตรวจเยี่ยมผู้เข้ารับการฝึก S.W.A.T. (Advance)". CSD | กองบังคับการปราบปราม.
- ↑ "เจ้าหน้าที่เร่งค้นหาอีก 1 รายที่ยังสูญหายในทะเล". mgronline.com. 2021-05-07.
- ↑ "ฮีโร่ตัวจริง!ตำรวจพลร่มขับเรือฝ่าคลื่นลมช่วยนักท่องเที่ยวกลางทะเล". www.posttoday.com (ภาษาอังกฤษ). 2016-05-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "เจ้าหน้าที่ช่วยหนุ่มติดหน้าผาเขาตาม่องล่ายประจวบฯ". www.posttoday.com (ภาษาอังกฤษ). 2015-01-05.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ matichon (2018-06-26). "'ตำรวจพลร่ม ค่ายนเรศวร' เข้าพื้นที่ถ้ำหลวงฯ รอรับคำสั่ง พร้อมโรยตัวเข้าปล่องถ้ำช่วย 13 ชีวิต". มติชนออนไลน์.
- ↑ "(ชมคลิป) ผบ.ตร.ลุยต่อนำตำรวจพลร่ม-ชุดกู้ภัย เจาะโพรงถ้ำหลวงนำ 13 หมูป่า กลับบ้าน". mgronline.com. 2018-07-04.
- ↑ https://www.pptvhd36.com. "ข่าวดี! ตำรวจพลร่มพบห้องโถงใหญ่ รอผลสำรวจเชื่อมถ้ำหลวง". pptvhd36.com.
{{cite web}}
: แหล่งข้อมูลอื่นใน
(help)|last=
- ↑ ""ดาบจ่อย ตำรวจพลร่ม" ปลอดภัยแล้ว หลังป่วยระหว่างสำรวจโพรงภารกิจช่วยชีวิต 13 หมูป่า". mgronline.com. 2018-07-11.
- ↑ Pisan (2010-03-11). "เอ็กซเรย์บันนังสตา…แดนสนธยากลืนชีวิต "หมวดตี้-ผู้กองแคน-ผู้กำกับฯสมเพียร"". สำนักข่าวอิศรา.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ข้อมูลประจำปี | มูลนิธิสันติภาพชีวิตคิดเพื่อสันติภาพใต้".
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""พล.ต.ต.วันชนะ" ผบก.สอ.บช.ตชด. มอบหมาย "พ.ต.อ.อภิรัตน์" ตรวจเยี่ยม-ให้กำลังใจ กพ. ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่ จชต". สยามรัฐ. 2022-03-19.
- ↑ ระเบียบ ตร. ว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าทของส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 แนบท้ายในส่วนของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
- ↑ "หน้าแรก". sites.google.com.
- ↑ "ผบ.ตร.เปิดอุโมงค์ลมฝึกโดดร่มแบบกระตุก". Thai Post | อิสรภาพแห่งความคิด (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ "กก.4 บก.สอ.บช.ตชด. - ภารกิจ". sites.google.com.
- ↑ ""บิ๊กรอย"เป็นประธานฯพิธีฝึกยุทธวิธีเพิ่มทักษะพร้อมให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ". สยามรัฐ. 2021-08-31.
- ↑ การโดดร่มของนักเรียนนายร้อยตำรวจ [AIR BRONE 225], สืบค้นเมื่อ 2022-03-30
- ↑ "ตำรวจพลร่มดับเพลิง - ค่ายนเรศวร". www.facebook.com.
- ↑ matichon (2019-09-18). "'ศรีวราห์' ประธานปล่อยแถวตรวจความพร้อมตำรวจปฏิบัติหน้าที่เขตพระราชฐาน". มติชนออนไลน์.
- ↑ รายการ สน.เพื่อประชาชน : หลักสูตรป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและดับเพลิงปี 2563, สืบค้นเมื่อ 2022-03-30
- ↑ "บ้านพักสวัสดิการ ตำรวจพลร่ม". www.facebook.com.