กรีมา บาโลจ (บาโลจ: کریمہ بلۏچ; Karima Baloch, 8 มีนาคม 1983[8] – 20 หรือ 22 ธันวาคม 2020)[9] หรือ กรีมา เมหราบ (کریمہ محراب; Karima Mehrab)[10][11][12] เป็นนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนและผู้ลี้ภัยชาวบาลูจจากประเทศปากีสถาน[13] เธอเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชของบาโลชิสถานจากประเทศปากีสถาน และในปี 2016 ได้รับการขึ้นชื่อเป็น 100 สตรี ของบีบีซี[14] สมาชิกหลายคนในครอบครัวขยายของเธอเกี่ยวพันกับความไม่สงบในบาโลชิสถานทั้งในปากีสถานและอิหร่าน[15]

กรีมา บาโลจ
ภาพจับหน้าจอจากวิดีโอเมื่อปี 2016 ของบาโลจที่ส่งให้กับนายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทระ โมที[1]
เกิดกรีมา เมหราบ (Karima Mehrab)[2][3][4]
8 มีนาคม ค.ศ. 1983(1983-03-08)
อำเภอเกจ แคว้นบาโลชิสถาน ปากีสถาน
สาบสูญ (อายุ 37)
โทรอนโต รัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา
พบร่าง22 ธันวาคม 2020
โทรอนโตวอเตอร์ฟรอนต์ ทะเลสาบออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา
ที่ฝังศพอำเภอเกจ แคว้นบาโลชิสถาน ปากีสถาน
26°05′54″N 62°21′54″E / 26.0983°N 62.3649°E / 26.0983; 62.3649
สัญชาติปากีสถาน
อาชีพนักเคลื่อนไหวสิทธิมนุษยชน[5]
ปีปฏิบัติงาน2005–2020
มีชื่อเสียงจาก100 สตรีประจำปี 2016 ของบีบีซี[6][7]

กิจกรรมการเคลื่อนไหว

แก้

บาโลจเริ่มกิจกรรมการเคลื่อไหวเพื่อสิทธิมนุษยชนและเอกราชของบาโลชิสถานในปี 2005 เมื่อเธอเข้าร่วมการประท้วงในตูรบาตเพื่อต่อต้านและเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับการบังคับสูญหายพลเมืองในบาโลชิสถาน พน้อมทั้งถือภาพถ่ายของญาติเธอที่ถูกอุ้มหาย[16] เธอเข้าร่วมองค์การนักศึกษาบาลูจ (BSO) ในปี 2006 และขึ้นมาเป็นประธานขององค์การในปี 2015 และเป็นสตรีคนแรกที่เป็นประธานขององค์การ[16] บทความในปี 2014 ของ OZY เขียนเล่าเกี่ยวกับเธอไว้ว่า "ในเมืองหลวง อิสลามาบาด กรีมาถูกมองเป็นผู้แสดงทางการเมืองที่อันตราย และเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ในขณะที่ในบาลูจิสภาน ที่อยู่ห่างออกไปราวหนึ่งพันกิโลเมตร เธอเป็นวีรชนและความหวังของผู้คน"[17]

ในบทสัมภาษณ์ปี 2014 เธอระบุว่า[18] "การเรียกร้องโดยสันติของเรากลายมาเป็นยาพิษที่ฆ่าเรา ในสามปีที่ผ่านมามีสมาชิกของเราจำนวนมากที่ถูกฆ่าตายโดยทรมาน อีกหลายพันคนถูกอุ้มหาย สองเดือนก่อน ประธานองค์การที่ฉันอยู่ถูกลักพาตัวไปต่อหน้าต่อตาของฉัน ห่อนหน้านี่ในปี 2009 รองประธานขององค์การ Zakir Majeed ก็ถูกอุ้มหายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ [...] ปัจจุบันเขาก็ยังไม่มีใครพบเขา [...] บ่วงเชือกมันกำลังรัดคอเราเข้ามาเรื่อย ๆ"

ถูกขับไล่ออกนอกประเทศ

แก้

ในปี 2015 บาโลจลี้ภัยออกจากประเทศหลังถูกขึ้นทะเบียนเป็นผู้ก่อการร้ายโดยรัฐบาลปากีสถาน น้อง/พี่สาวของเธอระบุว่า "... การเคลื่อนไหวโดยเปิดเผยในปากีสถานนั้นเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ไปแล้ว"[16][19] หนึ่งปีถัดมา ในปี 2016 เธอได้รับสถานะลี้ภัยในประเทศแคนาดา ที่ซึ่งเธออาศัยอยู่จนกระทั่งสาบสูญและถูกพบศพในเดือนธันวาคม 2020[20] ในปี 2016 หลังนายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทระ โมทีกล่าวสุนทรพจน์วันเอกราชอินเดีย ที่ซึ่งมีเนื้อหาบางตอนพูดถึงความไม่สงบในบาโลชิสถาน บาโลจได้อัดวิดีโอแจ้งและขอบคุณโมทีที่พูดถึงประเด็นนี้ ระบุว่า "เราจะสู้ในสงครามของเรา ให้คุณเป็นกระบอกเสียงของเรา[ก็พอ]"[21][22]

บีบีซีขึ้นชื่อบาโลจเป็น 100 สตรี ในปี 2016 ในฐานะนักเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อ "เอกราชของบาโลชิสถานจากประเทศปากีสถาน"[23][24][25] ในปี 2018 เธอได้ยกประเด็นปัญหาเกี่ยวกับความไม่เท่าเทียมทางเพศในปากีสถานขึ้นในที่ประชุมของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ[26]

การสูญหายและเสียชีวิต

แก้
 
การประท้วงในปากีสถานจากกรณีการหายตัวไปของบาโลจ ซึ่งมีขึ้นแม่แต่ในเมืองใหญ่ทั้งลาฮอร์และอิสลามาบาด[27]

มีผู้พบเห็นบาโลจครั้งสุดท้ายในวันที่ 20 ธันวาคม 2020[28][29] ในวันที่ 22 ธันวาคม 2020 มีผู้พบศพของเธอลอยอยู่ในน้ำบริเวณโทรอนโตวอเตอร์ฟรอนต์[30][31] เจ้าหน้าที่ตำรวจโทรอนโตรายงานแรกระบุว่าพบศพของเธอที่เลคออนแทรีโอและไม่ได้ระบุข้อมูลอื่นเพิ่มอีก[15] ซีบีซีนิวส์ รายงานว่าเพื่อนสนิทและนักเคลื่อนไหวชาวบาลูจ ลาตีฟ โยฮัร (Lateef Johar) ระบุว่า "เจ้าหน้าที่ได้แจ้งแก่ครอบครัวของเธอว่าพบศพเธอจมน้ำเสียชีวิต"[32] มีการประท้วงย่อม ๆ เรียกร้องให้ตรวจสอบการเสียชีวิตของเธอขึ้นทั้งในปากีสถานและแคนาดา[33][34] กลุ่มชาติพันธุ์ชาวบาลูจ, ชาวปาทาน และ ชาวสินธ์ ในแคนาดาได้ออกแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับการเสียชีวิตของเธอ[35] ตำรวจแคนาดาต่อมาระบุว่ารับทราบถึงข้อกังวลเกี่ยวกับการเสียชีวิตของบาโลจ อย่างไรก็ตามยังไม่พบหลักฐานแสดงความไม่ชอบมาพากล[33] และท้ายที่สุดได้ระบุว่าการเสียชีวิตของเธอ "ไม่ได้เกิดจากอาชญากรรม"[36][20]

อ้างอิง

แก้
  1. "Baloch activist makes Rakhi appeal, asks PM Modi to be voice of their struggle". India Today (ภาษาอังกฤษ). 19 August 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2020. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
  2. Perkel, Colin (22 December 2020). "Pakistani dissident Karima Mehrab found dead in Toronto, prompting calls for probe". Global News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. Purkel, Colin (23 December 2020). "Family of activist Karima Mehrab urge thorough investigation into her death". CTV News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "Missing Pakistani dissident Karima Mehrab found dead in Toronto". Canadian Broadcasting Corporation. 22 December 2020. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. Hashim, Asad (22 December 2020). "Prominent Pakistani rights activist found dead in Toronto". www.aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2021. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  6. "Karima Baloch: Pakistani rights activist found dead in Toronto". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 22 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2021. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  7. "BBC 100 Women 2016: Who is on the list?". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 7 October 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 January 2021. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  8. "Grief, anger and a curfew as Pakistani activist Karima Baloch buried". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). 25 January 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 January 2021. สืบค้นเมื่อ 25 January 2021.
  9. SL, TAI GABE DIGITALA (2020-12-22). "Hallan muerta a una destacada militante baluche refugiada en Canadá". naiz (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2021-01-02.
  10. Perkel, Colin (23 December 2020). "Family of Pakistan dissident Karima Mehrab urge thorough investigation into her death". The Globe and Mail. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2020. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  11. Bharti, Bianca; Maric, Jelena (22 December 2020). "Police say death of Pakistani activist Karima Mehrab in Toronto was 'non-criminal' but others have doubts". National Post (ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา). สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. Perkel, Colin (22 December 2020). "Anger, suspicion after Pakistani dissident Karima Mehrab found dead in Toronto". thestar.com (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2020. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.
  13. Baloch, Shah Meer; Ellis-Petersen, Hannah (22 December 2020). "Karima Baloch, Pakistani human rights activist, found dead in Canada". The Guardian (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2020. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
  14. "Baloch activist vocal about Pakistan goes missing, found dead in Toronto" (ภาษาอังกฤษ). 22 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2020. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
  15. 15.0 15.1 Drury, Flora (24 December 2020). "Karima Baloch: Activist's family mourns a 'mountain of courage'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
  16. 16.0 16.1 16.2 "Karima Baloch: Pakistani rights activist found dead in Toronto". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 22 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2020. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
  17. Palet, Laura Secorun (18 October 2014). "Karima Baloch: Campaigning for Independence From Pakistan". OZY. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2020. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  18. Hussain, Jahanzeb (10 July 2014). "This woman is leading Baloch students in their struggle for independence from Pakistan". Global Voices. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
  19. "Karima Baloch: Activist's family mourns a 'mountain of courage'". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-12-24. สืบค้นเมื่อ 2021-01-12.
  20. 20.0 20.1 "Canadian police conclude investigation, term Karima Baloch's death 'non-criminal'". Dawn News. 23 December 2020. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
  21. "Rakhi message for PM Modi from Balochistan: Be our brother, be our voice". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 19 August 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2020. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  22. Sharma, Manimugdha (18 October 2019). Allahu Akbar: Understanding the Great Mughal in Today's India (ภาษาอังกฤษ). Bloomsbury Publishing. ISBN 978-93-86950-54-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2020. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020. This didn’t mean much on a strategic level as India didn't really have the wherewithal to aid the Baloch struggle physically […] This gladdened many Baloch hearts…
  23. BBC 100 Women 2016: Who is on the list? เก็บถาวร 11 กรกฎาคม 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, BBC, 7 October 2019. Retrieved 24 November 2016.
  24. "Two Pakistani women made it to BBC's 100 Women 2016 list". Dawn. 23 November 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2020. สืบค้นเมื่อ 25 December 2020.
  25. "Prominent Baloch activist, vocal critic of Pakistan government, found dead in Toronto". Scroll.in (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 23 December 2020. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
  26. "Deaths of Karima Baloch, Sajid Hussain bound to raise uncomfortable questions for Pakistan on Balochistan". Firstpost. 23 December 2020. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  27. "کریمہ بلوچ کی موت کے خلاف پاکستان میں احتجاج". وی او اے (ภาษาอูรดู). 24 December 2020. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  28. "Prominent Baloch activist, vocal critic of Pakistan government, found dead in Toronto". Scroll.in (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 23 December 2020.
  29. "Toronto Police Operations". Twitter. 21 December 2020. สืบค้นเมื่อ 12 January 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  30. Mukhopadhyay, Ankita (23 December 2020). "Missing Pakistani activist Karima Baloch found dead in Toronto". DW (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 23 December 2020.
  31. "Activist Karima Baloch, vocal about Balochistan's freedom from Pakistan, found dead in Canada". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 22 December 2020. สืบค้นเมื่อ 22 December 2020.
  32. "Missing Pakistani dissident Karima Mehrab found dead in Toronto". CBC. 22 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2020. สืบค้นเมื่อ 25 December 2020.
  33. 33.0 33.1 "Family of activist Karima Mehrab urge thorough investigation into her death". ctvnews.ca. 23 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2020. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.
  34. "BHRC to hold vigil for activist Karima Baloch in Toronto". ANI News (ภาษาอังกฤษ). 26 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2020. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  35. Bhalla, Abhishek (23 December 2020). "Pak dissident groups in Canada claim activist Karima Baloch was murdered, demand investigation". India Today (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2020. สืบค้นเมื่อ 26 December 2020.
  36. "Canadian police rule out 'foul play' in Pakistani activist death". Al Jazeera. 23 December 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 December 2020. สืบค้นเมื่อ 24 December 2020.