กรีฑา
กรีฑา (อังกฤษ: athletics) หมายถึง กีฬาประเภทหนึ่งแบ่งเป็นประเภทลู่และลาน ประเภทลู่ ได้แก่ วิ่งระยะทางต่าง ๆ ประเภทลาน ได้แก่ ขว้างจักร กระโดดสูง ทุ่มน้ำหนัก มีการแข่งขันขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อประมาณ 776ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยทำการแข่งขัน ณ ลาน เชิงเขาโอลิมปัส ในแคว้นอีลิส ประเทศกรีซ โดยเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในสมัยโบราณ เมื่อกรีซเสื่อมอำนาจลง โรมันได้เข้ามาปกครองกรีซและห้ามชาวกรีกแข่งขันกีฬา ทำให้การแข่งขันกรีฑาต้องล้มเลิกไปด้วย
สมาพันธ์สูงสุด | กรีฑาโลก |
---|---|
ลักษณะเฉพาะ | |
แข่งรวมชายหญิง | ใช่ |
หมวดหมู่ | ในร่มหรือกลางแจ้ง |
จัดแข่งขัน | |
โอลิมปิก | ตั้งแต่ โอลิมปิกฤดูร้อน 1896 |
พาราลิมปิก | ตั้งแต่ พาราลิมปิกฤดูร้อน 1960 |
ต่อมาใน พ.ศ. 2439 นักกีฬาชาวฝรั่งเศส ชื่อ ปีแยร์ เดอ กูแบร์แต็ง ได้เริ่มการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นใหม่หลังจากล้มเลิกไปเป็นเวลานานถึง 1,500ปีกว่าๆ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขึ้นครั้งนี้ได้จัดขึ้นที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ และกรีฑาเป็นกีฬาชนิดหนึ่งที่ได้รับการบรรจุเข้าในการแข่งขันครั้งนี้ด้วย จากนั้นจึงมีพัฒนาการมาตามลำดับจนถึงปัจจุบัน ในประเทศไทยได้มีการแข่งขันขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2440กรีฑาซึ่งได้รับการจัดตั้งสามารถสืบย้อนไปได้ถึงกีฬาโอลิมปิกสมัยยุคโบราณนับแต่ 776 ปีก่อนคริสตกาล และรายการแข่งขันกรีฑาสมัยใหม่ส่วนใหญ่มีสโสมสรสมาชิกของสหพันธ์กรีฑานานาชาติ(IAAF) กรีฑาเป็นกระดูกสันหลังของโอลิมปิกฤดูร้อนสมัยใหม่ และการชุมนุมระหว่างประเทศชั้นนำอื่น ๆ รวมทั้ง การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก (IAAF World Championships) และการแข่งขันกรีฑาในร่มชิงแชมป์โลก (World Indoor Championships) และกรีฑาสำหรับผู้พิการทางกายแข่งขันกันที่ พาราลิมปิกฤดูร้อน และการแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลกของคณะกรรมการพาราลิมปิกในระหว่างประเทศ (IPC Athletics World Championships.)
ชนิดของกรีฑา
แก้- การวิ่งระยะสั้น คือ ระยะทางที่วิ่งไม่เกิน 400 เมตร ส่วนประกอบสำคัญในการวิ่งและการแกว่งแขน ท่าตั้งต้นก่อนวิ่งควรทำมุม 75-80 องศา
- การวิ่งผลัด เหมือนกับการวิ่งระยะสั้นต่างกันตรงมีไม้คทาถืออยู่ในมือเวลาวิ่ง
- การวิ่งข้ามรั้ว ควรฝึกกระโดดระดับสูงก่อน
- วิ่งกระโดดไกล คือ การโดดอย่างสูงจากพื้นไปในอากาศ การเคลื่อนไหวส่วนใหญ่ใช้ การเหยียดขาแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
- กระโดดจากพื้นอย่างสูง
- ระยะลอยตัวในอากาศ
- ระยะลงพื้น
- วิ่งกระโดดสูง คือ การกระโดดขึ้นสปริงข้อเท้าข้างเดียว
- แบบท่ากลิ้งตัว
- แบบท่ากรรไกรทางตรง
- แบบท่ากรรไกร2ทาง
- ทุ่มน้ำหนัก เป็นกรีฑาประเภทลาน การฝึกทุ่มมี 2 ระยะคือ การทุ่มอยู่กับที่และการเคลื่อนที่ผ่านวงกลมทุ่ม
- ขว้างจักร วิธีขว้างจักรแบ่งเป็น 2 วิธี คือ การขว้างอยู่กับที่และการหมุนตัวขว้าง ขว้างจักร
- พุ่งแหลน เป็นกรีฑาประเภทลาน การถือแหลน มี 2 แบบ คือ แบบถือเหนือไหล่และแบบชิดข้างลำตัว
ลู่และลาน
แก้ประเภทลู่ | ประเภทลาน | รวมการแข่งขัน | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
การวิ่งระยะสั้น | การวิ่งระยะกลาง | การวิ่งทางไกล | การวิ่งข้ามรั้ว | การวิ่งผลัด | กระโดด | ขว้าง | |
60 เมตร 100 เมตร 200 เมตร 400 เมตร |
800 เมตร 1500 เมตร 3000 เมตร |
5000 เมตร 10,000 เมตร |
ข้ามรั้ว 60 เมตร ข้ามรั้ว 100 เมตร ข้ามรั้ว 110 เมตร ข้ามรั้ว 400 เมตร ข้ามเครื่องกีดขวาง 3000 เมตร |
ผลัด 4 × 100 เมตร ผลัด 4 × 400 เมตร |
กระโดดไกล เขย่งก้าวกระโดด กระโดดสูง กระโดดค้ำถ่อ |
ทุ่มน้ำหนัก ขว้างจักร ขว้างค้อน พุ่งแหลน |
ปัญจกรีฑา สัตตกรีฑา ทศกรีฑา |
- หมายเหตุ
- ประเภทการแข่งขัน ที่เป็นตัวเอียง เป็นการแข่งขันชิงแชมป์โลกในร่มเท่านั้น
- สัตตกรีฑาแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ประเภท โดยแต่ละการแข่งขันประกอบด้วยชนิดที่แตกต่างกัน และทั้งสองได้รับการยอมรับจากสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ ได้แก่ สัตตกรีฑาในร่มชาย และสัตตกรีฑากลางแจ้งหญิง
กรีฑาในประเทศไทย
แก้การเล่นกรีฑาในประเทศไทย ริเริ่มโดยครูชาวอังกฤษนำมาสอนให้นักเรียนไทย ได้ฝึกเล่นในโรงเรียนพระตำหนักวังสวนกุหลาบ ในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วค่อยเจริญแพร่หลายขึ้น เมื่อกระทรวงธรรมการเริ่มทำการได้กราบบังคมทูลเชิญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานและทอดพระเนตรการแข่งขัน นับตั้งแต่นั้นมากระทรวงธรรมการ ได้พยายามจัดให้มีการแข่งขันกรีฑาเป็นประจำปีตลอดมา
ใน พ.ศ. 2476 รัฐบาลได้ตั้งกรมพลศึกษาขึ้น มีนโยบายส่งเสริมการกีฬาและการกรีฑาของชาติให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น สนับสนุนให้มีการแข่งขันหลายประเภท เช่น การแข่งขันระหว่างโรงเรียน มหาวิทยาลัย และระหว่างประชาชนควบคู่กันไปภายใต้การดำเนินงานของกรมพลศึกษา
สมาคมกรีฑาสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2494 โดยมีพระยาจินดารักษ์ เป็น นายกสมาคมคนแรก และในปีเดียวกันก็ได้เข้ามาเป็นสมาชิกของสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ (IAAF)
เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม รับสมาคมกีฬากรีฑาแห่งประเทศไทยอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
ปัจจุบัน การแข่งขันกรีฑาถือเป็นกีฬาหลักที่จะต้องบรรจุเข้าอยู่ในการแข่งขันรายการสำคัญๆ ทุกครั้ง และนักกรีฑาของไทยหลายคน ได้สร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยในการแข่งขันระหว่างชาติหลายครั้ง ส่วนใหญ่จะเป็นการวิ่งผลัด