พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ (15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2349 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2420) มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าชายกลาง เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 44 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาน้อยระนาด เมื่อวันเสาร์ เดือน 3 แรม 12 ค่ำ ปีฉลู สัปตศก จ.ศ. 1167 ตรงกับวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2348 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2349) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น “กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็น “กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์“ ทรงกำกับกรมช่างทองมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงกำกับศาลฎีกา ทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์กุลเชษฐ์แห่งพระบรมวงศานุวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นเวลา 3 ปีเศษ ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2412 ต่อจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปุก พระเชษฐภคินีต่างพระมารดา ตราบจนสิ้นพระชนม์เมื่อวันอังคาร เดือน 4 ขึ้น 8 ค่ำ ปีชวด อัฐศก จ.ศ. 1238 ตรงกับวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2419 (แบบสากลคือ พ.ศ. 2420) สิริพระชันษา 71 ปี
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ | |
---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 2 พระองค์เจ้าชั้นเอก | |
ประสูติ | 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2349 |
สิ้นพระชนม์ | 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2420 (71 ปี) |
พระบุตร | 25 องค์ |
ราชสกุล | วัชรีวงศ์ |
ราชวงศ์ | จักรี |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย |
พระมารดา | เจ้าจอมมารดาน้อยระนาด ในรัชกาลที่ 2 |
พระโอรสธิดา
แก้พระองค์เป็นต้นราชสกุล วัชรีวงศ์ มีพระโอรสและพระธิดา ดังนี้[1]
- หม่อมเจ้าหญิงนารี วัชรีวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2369 พระราชทานเพลิง ณ วัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2448)
- หม่อมเจ้าหญิงไม วัชรีวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2380 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2430
- หม่อมเจ้ากุสุเมศ วัชรีวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2381 – 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2418)
- หม่อมเจ้าหญิงละไม วัชรีวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2381 – 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2454)
- หม่อมเจ้าหญิงละมุน วัชรีวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2383 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2430)
- หม่อมเจ้าหญิงละมุล วัชรีวงศ์ มีพระนามลำลองว่าท่านหญิงเต่า (ประสูติ พ.ศ. 2384 – 25 เมษายน พ.ศ. 2452)
- หม่อมเจ้าหญิงอึ่ง วัชรีวงศ์
- หม่อมเจ้าหญิงประจง วัชรีวงศ์
- หม่อมเจ้าขาว วัชรีวงศ์ ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัชรีวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2387 – 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2444)
- หม่อมเจ้าหญิงพริ้ง วัชรีวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2391 – 23 มีนาคม พ.ศ. 2448)
- หม่อมเจ้าหญิงพลบ วัชรีวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2393 – 15 มกราคม พ.ศ. 2441)
- หม่อมเจ้าหญิงโถมนา วัชรีวงศ์ หม่อมแย้มเป็นมารดา มีพระนามลำลองว่าท่านหญิงเลื่อนเนื่องจากประสูติเมื่อครั้งที่พระบิดาได้รับเลื่อนพระอิสริยยศ (ประสูติ พ.ศ. 2395 พระราชทานเพลิง พ.ศ. 2494) เป็นพระชายาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นจรัสพรปฏิภาณ
- หม่อมเจ้าชวลิต วัชรีวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2397)
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2401)
- หม่อมเจ้าวิทยา วัชรีวงศ์ หม่อมแย้มเป็นมารดา มีพระนามลำลองว่าท่านชายกู๋ (ประสูติ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2402 – 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2469) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าหญิงมารศรี ปราโมช พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนวรจักรธรานุภาพ และยังมีหม่อมอีก 2 คน คือ หม่อมชุ่ม วัชรีวงศ์ ณ อยุธยาและหม่อมทิม วัชรีวงศ์ ณ อยุธยา มีโอรสธิดา คือ
- หม่อมราชวงศ์หญิงลูกจันทร์ วัชรีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์หญิงพุ่ม วัชรีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์อนุวิทย์ วัชรีวงศ์ สมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงพูนเรืองศรี วัชรีวงศ์ (ราชสกุลเดิม : จรูญโรจน์) มีบุตรธิดา คือ
- หม่อมหลวงวิษณุ วัชรีวงศ์
- หม่อมหลวงกฤติกา วัชรีวงศ์
- หม่อมหลวงสุชาวดี วัชรีวงศ์
- หม่อมหลวงศุลีรัชต์ วัชรีวงศ์
- หม่อมราชวงศ์วิทยานนท์ วัชรีวงศ์ สมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงมณีปฏิภาณ วัชรีวงศ์ (ราชสกุลเดิม : จรูญโรจน์) มีบุตรธิดา คือ
- หม่อมหลวงวิมจิราวุฒิ วัชรีวงศ์
- หม่อมหลวงวิวัฒน์ วัชรีวงศ์
- หม่อมหลวงวรนุช วัชรีวงศ์
- หม่อมหลวงวรเทพ วัชรีวงศ์
- หม่อมหลวงวรพงษ์ วัชรีวงศ์
- หม่อมหลวงวรเดช วัชรีวงศ์
- หม่อมหลวงวรวุฒิ วัชรีวงศ์
- หม่อมหลวงพีรพันธุ์ วัชรีวงศ์
- หม่อมหลวงมานิตย์ วัชรีวงศ์
- หม่อมหลวงมนัส วัชรีวงศ์
- หม่อมเจ้าชายไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ พ.ศ. 2402 พระราชทานเพลิง พ.ศ. 2403)
- หม่อมเจ้าหญิงลม้าย วัชรีวงศ์ (ประสูติ พ.ศ. 2407 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2439) มีหม่อมตลับเป็นมารดา เสกสมรสเป็นพระชายาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสนั่น
- หม่อมเจ้าหญิงไม่ปรากฏพระนาม (ประสูติ พ.ศ. 2407 พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2408)
- หม่อมเจ้าพนม วัชรีวงศ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ พ.ศ. 2410)
- หม่อมเจ้าสวัสดิ วัชรีวงศ์ (พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2430)
- หม่อมเจ้าหญิงละออ วัชรีวงศ์ (สิ้นชีพิตักษัย พ.ศ. 2430)
- หม่อมเจ้าหลง วัชรีวงศ์ (ประสูติ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2414 – 23 ธันวาคม พ.ศ. 2468)
- หม่อมเจ้าหญิงปริก วัชรีวงศ์
- หม่อมเจ้าเพชร วัชรีวงศ์
- หม่อมเจ้าบุษเมศ วัชรีวงศ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้ธรรมเนียมพระยศของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
- พ.ศ. ไม่ปรากฏ – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์ (น.ร.) (ฝ่ายหน้า)
- พ.ศ. 2416 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.) (ฝ่ายหน้า)
อ้างอิง
แก้- ↑ ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
ก่อนหน้า | พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปุก | กุลเชษฐ์ในราชวงศ์จักรี (11 สิงหาคม พ.ศ. 2416 – 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2420) |
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ |