กฎหมาย
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
กฎหมาย เป็นระบบของกฎและแบบแผนแนวทางปฏิบัติซึ่งบังคับใช้ผ่านสถาบันทางสังคมเพื่อควบคุมพฤติกรรม ในทุกที่ที่เป็นไปได้[1] กฎหมายก่อร่างการเมือง เศรษฐศาสตร์และสังคมในหลายวิถีทาง และใช้เป็นสื่อกลางความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในทางสังคม กฎหมายว่าด้วยสัญญาวางระเบียบทุกอย่างตั้งแต่การซื้อตั๋วรถโดยสารประจำทางถึงการซื้อขายบนตลาดตราสารอนุพันธ์ กฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินนิยามสิทธิและหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับการโอนและกรรมสิทธิ์ของสังหาชิดมทรัพย์ส่วนตัวและอสังหาริมทรัพย์ กฎหมายทรัสต์ (Trust law) ใช้กับสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อการลงทุนและความมั่นคงทางการเงิน ขณะที่กฎหมายละเมิด (tort) อนุญาตให้เรียกร้องให้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนหากสิทธิหรือทรัพย์สินของบุคคลได้รับความเสียหาย หากความเสียหายนั้นถูกประกาศว่า มิชอบด้วยกฎหมายในบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎหมายอาญาให้วิธีการซึ่งรัฐสามารถดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดได้ กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดกรอบสำหรับการบัญญัติกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเลือกตั้งผู้แทนทางการเมือง กฎหมายปกครองใช้เพื่อทบทวนการวินิจฉัยของหน่วยงานภาครัฐ ขณะที่กฎหมายระหว่างประเทศควบคุมกิจการระหว่างรัฐเอกราชในกิจกรรมตั้งแต่การค้าไปจนถึงระเบียบทางสิ่งแวดล้อมหรือการปฏิบัติทางทหาร นักปรัชญากรีก อริสโตเติล เขียนไว้เมื่อ 350 ปีก่อนคริสตกาลว่า "นิติธรรมดีกว่าการปกครองของปัจเจกบุคคลใด ๆ"[2]
ระบบกฎหมายกล่าวถึงสิทธิและความรับผิดชอบในหลายวิถีทาง ความแตกต่างทั่วไปสามารถตัดสินได้ระหว่างเขตอำนาจซีวิลลอว์ ซึ่งประมวลกฎหมายของตน และระบบคอมมอนลอว์ ที่ซึ่งผู้พิพากษาบัญญัติกฎหมายนั้นไม่ถูกรวบรวม ในบางประเทศ ศาสนาเป็นที่มาของกฎหมาย กฎหมายเป็นบ่อเกิดอันมีคุณค่าของการสอบสวนอย่างคงแก่เรียน ไปยังประวัติศาสตร์กฎหมาย ปรัชญา การวิเคราะห์เศรษฐกิจหรือสังคมวิทยา กฎหมายนั้นยังยกประเด็นที่สำคัญและซับซ้อนเกี่ยวข้องกับความเสมอภาค ความเป็นธรรมและความยุติธรรม ผู้ประพันธ์ อานาตอล ฟร็องส์ กล่าวใน ค.ศ. 1894 ว่า "ในความเสมอภาคอันสูงส่งของมัน กฎหมายห้ามมิให้ทั้งคนรวยและจนนอนใต้สะพาน ขอทานบนท้องถนนและขโมยแถวขนมปังอย่างเดียวกัน"[3] ในประชาธิปไตยตามแบบ สถาบันกลางสำหรับการตีความและบัญญัติกฎหมาย คือ สามฝ่ายหลักของรัฐบาล ได้แก่ ฝ่ายตุลาการอันไม่ลำเอียง ฝ่ายนิติบัญญัติอันเป็นประชาธิปไตย และฝ่ายบริหารที่รับผิดชอบ ในการนำกฎหมายไปปฏิบัติและการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนให้บริการแก่สาธารณชน ระบบราชการหรือรัฐการของรัฐบาล คือ ทหารและตำรวจนั้นสำคัญ แม้องค์กรของรัฐทั้งหมดเหล่านี้เป็นสิ่งซึ่งถูกสร้างขึ้นจากกฎหมายและถูกผูกพันด้วยกฎหมาย แต่วิชาชีพทางกฎหมายอิสระและประชาสังคมก็แจ้งและสนับสนุนความก้าวหน้าขององค์กรเหล่านี้
ปัญหาข้อกฎหมาย
แก้ปัญหาข้อกฎหมาย คือ การนำข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วมาปรับกับตัวบทกฎหมาย แล้ววินิจฉัยว่าข้อเท็จจริงนั้นมีผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร เช่น การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่ ผิดฐานใด เป็นการกระทำโดยพลาดหรือไม่ คดีขาดอายุ ความหรือไม่ เป็นการร้องทุกข์หรือไม่ เป็นผู้เสียหายหรือไม่ เป็นต้น
อ้างอิง
แก้- ↑ Robertson, Crimes against humanity, 90; see "analytical jurisprudence" for extensive debate on what law is; in The Concept of Law Hart argued law is a "system of rules" (Campbell, The Contribution of Legal Studies, 184); Austin said law was "the command of a sovereign, backed by the threat of a sanction" (Bix, John Austin); Dworkin describes law as an "interpretive concept" to achieve justice (Dworkin, Law's Empire, 410); and Raz argues law is an "authority" to mediate people's interests (Raz, The Authority of Law, 3–36).
- ↑ หมายเหตุ ต้นฉบับเขียนว่า "ที่กฎหมายปกครองก็สมควรกว่าพลเมืองคนใด ๆ" [it is more proper that law should govern than any one of the citizens] (Aristotle, Politics 3.16)
- ↑ ต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสว่า "La loi, dans un grand souci d'égalité, interdit aux riches comme aux pauvres de coucher sous les ponts, de mendier dans les rues et de voler du pain" (France, The Red Lily, Chapter VII).