กชกร วรอาคม

ภูมิสถาปนิกชาวไทย

กชกร วรอาคม (เกิดปี พ.ศ. 2519) เป็นภูมิสถาปนิกชาวไทย นักเขียน และอาจารย์พิเศษคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์[2]และบัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด[3] เป็นผู้ก่อตั้งสำนักงานออกแบบบริษัท Landprocess เป็นที่รู้จักจากการออกแบบงานภูมิทัศน์และโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สวนสาธารณะหลายแห่ง อาทิเช่น อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวนเกษตรลอยฟ้าใจกลางสยามสแควร์ Siam Green Sky อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

กชกร วรอาคม
เกิดเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2521 (46 ปี)
 ไทย
สัญชาติไทย
ศิษย์เก่า
รางวัลTED fellow
ผลงานสำคัญ
โครงการสำคัญ

กชกร วรอาคม ติดอันดับดาวรุ่งแห่งปี 100 คน ประจำปี พ.ศ. 2562 ในสาขานักนวัตกรรม ซึ่งจัดอันดับโดยนิตยสาร ไทม์

ประวัติ

แก้

กชกรศึกษาที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นศึกษาที่ภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 ได้ไปฝึกงานที่อเมริกาและทำงานอยู่พักหนึ่ง และกลับมาศึกษาต่อจนจบด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง และได้ทุนไปศึกษาต่อที่บัณฑิตวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (GSD) ในด้านภูมิสถาปัตยกรรม จากการศึกษาที่นี่ทำให้ค้นพบว่าถนัดการออกแบบพื้นที่สาธารณะ กลับมาเป็นภูมิสถาปนิก ตั้งบริษัท Landprocess[4] ได้ออกแบบโครงการในลักษณะเชิงผสมผสาน Greenovative Design[5] อย่างงาน Siam Green Sky, โครงการบูรณะพัฒนาอาคารพาณิชย์บริเวณหมอน 47 การออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมของสยามสแควร์วัน ที่ได้นำแนวคิดพื้นที่สีเขียวมาบริหารจัดการในส่วนต่าง ๆ ภายในและภายนอกอาคาร เธอยังออกแบบสระว่ายน้ำสำหรับผู้พิการทางสายตา มูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ สระแห่งนี้ใช้เป็นสระสำหรับให้นักกีฬาพาราลิมปิกและผู้พิการทางสายตาได้มีโอกาสมาฝึกซ้อมและออกกำลังกาย[6]

ต่อมาออกแบบอุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สวนสาธารณะเนื้อที่ 28 ไร่ ออกแบบให้เป็นพื้นที่หน่วงน้ำของเมือง ซึ่งได้รับคัดเลือกโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ให้เป็นผลงานออกแบบสถาปัตยกรรมดีเด่น (ASA AD Award) ในปี พ.ศ. 2561[7] ถือเป็นครั้งแรกที่รางวัลด้านสถาปัตยกรรมให้รางวัลกับสวนสาธารณะ[8] ผลงานต่อมาออกแบบอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ออกแบบเพื่อให้เป็นห้องเรียนกลางแจ้ง เพื่อศึกษาเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตย และเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำเช่นเดียวกับที่อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[9] ออกแบบเชื่อมโยงการระบายน้ำกับผังแม่บทของมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นส่วนหนึ่งกับตัวมหาวิทยาลัยและเมือง[10] อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี เป็นแปลงเกษตรในเมืองบนหลังคาเขียวที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย[11] และสวนสาธารณะลอยฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย และใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากที่สหรัฐ[12]

กชกรเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาและผู้ออกแบบโครงการสวนสาธารณะคลองช่องนนทรี[13] และเป็นหนึ่งในผู้ออกแบบโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์สวนลุมพินี

งานด้านสังคม

แก้

กชกรก่อตั้งกลุ่มศิลป์บำบัด ARTFIELD ใช้ศิลปะและดนตรีช่วยบำบัดผู้ป่วยโรคมะเร็ง ก่อนหน้านั้นตอนศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เคยร่วมกับเพื่อน ๆ ต่างชาติ ตั้งองค์กรไม่แสวงหากำไร ชื่อ KOUNKUEY (คุ้นเคย) เพื่อทำงานพัฒนาชุมชน โดยนำความรู้หลายด้านมาผสมผสาน ทำงานในหลายพื้นที่[4] องค์กรทำงานเพื่อสังคม เช่น ออกแบบห้องน้ำให้กับชุมชนสลัมในเคนยา ต่อมาปี 2560 เธอก่อตั้งองค์กรประกอบการทางสังคม (SE) ปฏิบัติการเมืองพรุน (Porous City Network) ที่มุ่งรับมือปัญหาน้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ[14]

กชกรยังได้รณรงค์การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองและเป็นส่วนหนึ่งของการประชุมว่าด้วยเทคโนโลยี การบันเทิง และการออกแบบ (TED) เป็นคนไทยคนแรกที่ได้เป็นสมาชิก TED Fellows[8] หนึ่งในโครงการของ TED ที่ให้การสนับสนุนผู้ที่เป็นกำลังสำคัญที่ขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นบนโลกใบนี้ กชกรเป็นผู้พูด (speaker) ใน 2018 TED WOMAN (จัดขึ้นที่สหรัฐ)[15] ขึ้นเวทีของ NAP (National Adaptation Plan) UN Climate Change ขององค์การสหประชาชาติที่เกาหลีใต้

ปี 2562 ขึ้นพูดเปิดบนเวที Movin’On ที่ประเทศแคนาดา งานประชุมสุดยอดว่าด้วยการสัญจรที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Mobility ที่ใหญ่ที่สุดในโลก[16] กชกรติด 1 ใน 15 Women Leading the Fight Against Climate Change ของนิตยสาร ไทม์[17] และติดอันดับหนึ่งใน 100 ดาวรุ่งแห่งปีของ ไทม์ ประจำปี 2019 ในสาขานักนวัตกรรม[18]

ผลงานออกแบบ

แก้

ระเบียงภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. กชกร วรอาคม เป็นภูมิสถาปนิกไทยซึ่งติด 1 ใน 15 Women Leading the Fight Against Climate Change ของนิตยสาร TIME เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา, Website:https://readthecloud.co/ .สืบค้นเมื่อ 07-10-2562
  2. ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย (9 สิงหาคม 2561). "กชกร วรอาคม : ภูมิสถาปนิกผู้ใช้ 'พื้นที่' บำบัดความป่วยไข้". สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  3. Scott, Bruce. "Landscape Architect Kotchakorn "Kotch" Voraakhom on the Beauty of Public Spaces". prestigeonline.com. PRESTIGE. สืบค้นเมื่อ 6 November 2021.
  4. 4.0 4.1 เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ (23 มิถุนายน 2558). "กชกร วรอาคม บอกรัก...ด้วยงานศิลป์". กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  5. "กชกร วรอาคม ด้วยรักในฐานะภูมิสถาปนิก". โพสต์ทูเดย์. 8 มิถุนายน 2560. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  6. "กชกร วรอาคม". ArtBangkok. 13 กุมภาพันธ์ 2556. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  7. The Association of Siamese Architects. (2018). ASA ARCHITECTURAL DESIGN AWARDS 2018 | The Association of Siamese Architects. [online] Available at: http://asa.or.th/news/asa-architectural-design-awards-2018/ [Accessed 2 May 2018].
  8. 8.0 8.1 8.2 "น่าฟัง! ดร.กชกร วรอาคม ภูมิสถาปนิกหญิงกับการเปลี่ยนเมืองที่กำลังจมเป็นภูมิสถาปัตยกรรมที่พร้อมสู้น้ำท่วมได้". 3 มิถุนายน 2562. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-06. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  9. "อุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-07-01. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  10. ธารริน อดุลยานนท์ (7 กันยายน 2560). "อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี : สวนใหม่ล่าสุดของธรรมศาสตร์ที่มีอาคารเรียนใต้เนินดินและพื้นที่สีเขียวสำหรับทุกคน". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  11. มิ่งขวัญ รัตนคช (7 ธันวาคม 2562). "อุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี สวนแห่งใหม่ของธรรมศาสตร์ที่เป็น Green Roof Urban Farm ใหญ่สุดในเอเชีย". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  12. "เนรมิต!! สวนผักออร์แกนิกลอยฟ้าใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ณ อาคารอุทยานเรียนรู้ ป๋วย 100 ปี". ผู้จัดการออนไลน์. 17 ธันวาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  13. "เปิดตัว "ผู้ออกแบบ" คลองช่องนนทรี "ฟรี" ธุรกิจ 4 แห่ง-คู่สัญญารัฐ 59 ล้าน". กรุงเทพธุรกิจ.
  14. ธารริน อดุลยานนท์ (10 กรกฎาคม 2560). "Make Bangkok Porous Again". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  15. "กชกร วรอาคม : ภูมิสถาปนิกหญิงไทย". มิกซ์. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  16. ทรงกลด บางยี่ขัน (5 กรกฎาคม 2562). ""Movin'On Summit 2019 ประชุมสุดยอดว่าด้วยการสัญจรที่ยั่งยืน ณ มอนทรีออล ประเทศแคนาดา ซึ่งรวมไอเดียพัฒนายานพาหนะในยุคน้ำมันใกล้หมด"". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  17. ทรงกลด บางยี่ขัน (2 ตุลาคม 2562). "หญิงไทย 1 ใน 15 Women Leading the Fight Against Climate Change จากทั่วโลกที่เป็นนักสร้างสรรค์สวน ทั้งสวนเก็บน้ำ สวนคลุมตึก สวนเยียวยาเมือง และสวนบนสะพานร้าง". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  18. "ไทม์ ยก ธนาธร-แบล็กพิงก์-กชกร วรอาคม ติดดาวรุ่ง Time 100 Next 2019". ไทยรัฐ. 14 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  19. ธารริน อดุลยานนท์. "The Healing Garden". เดอะคลาวด์. สืบค้นเมื่อ 6 สิงหาคม 2562. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)