ยาฮู!

(เปลี่ยนทางจาก Yahoo)

ยาฮู! (อังกฤษ: Yahoo!; เขียนตามสไตล์ในโลโกเป็น yahoo!)[4][5] คือบเป็นผู้ให้บริการเว็บเซอร์วิสสัญชาติอเมริกันที่มีสำนักงานใหญ่ที่ซันนีเวล รัฐแคลอฟอร์เนีย และดำเนินการโดยบริษัทที่มีชื่อจากเว็บไซต์ Yahoo! Inc. ที่ถือครองโดยกองทุนเพื่อการลงทุนที่บริหารโดย Apollo Global Management ร้อยละ 90 และ Verizon Communications ร้อยละ 10

ยาฮู!
โลโกตั้งแต่ ค.ศ. 2019
ประเภทของธุรกิจบริษัทย่อย
ประเภทเว็บท่าและบริการออนไลน์
ก่อขึ้นมกราคม 1994; 30 ปีที่แล้ว (1994-01)
สำนักงานใหญ่,
สหรัฐ
พื้นที่ให้บริการทั่วโลก
เจ้าของ
ผู้ก่อตั้ง
สินค้ารายการผลิตภัณฑ์
รายได้7.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (2020)[1]
พนักงาน8,600 คน (2017)[2]
บริษัทแม่
ยูอาร์แอลyahoo.com แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ
การโฆษณาYahoo! Ad Tech[3]
ลงทะเบียนไม่จำเป็น
สถานะปัจจุบันเปิดบริการ

ยาฮูให้บริการเว็บท่า เสิร์ชเอนจิน ยาฮูเสิร์ช และบริการที่เกี่ยวข้อง เช่น มายยาฮู!, ยาฮูเมล, ยาฮูนิวส์, ยาฮูไฟแนนซ์, ยาฮูสปอตส์ และแพลตฟอร์มโฆษณา ยาฮู! เนทีฟ

ยาฮูได้รับการจัดตั้งโดยเจอร์รี หยางกับเดวิด ไฟโลในเดือนมกราคม ค.ศ. 1994 และเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกสมัยอินเทอร์เน็ตยุคแรกในคริสต์ทศวรรษ 1990[6] อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานเริ่มลดลงในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 2000 เนื่องจากมีการยกเลิกบริการบางส่วน และสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดให้แก่เฟสบุ๊กและกูเกิล[7][8]

ประวัติ

แก้

ก่อตั้ง

แก้
 
เจอร์รี หยางกับเดวิด ไฟโล ผู้ก่อตั้งยาฮู

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1994 เจอร์รี หยางกับเดวิด ไฟโล สร้างเว็บไซต์ชื่อ "Jerry and David's guide to the World Wide Web" ขณะยังเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด[9][10][11][12] เว็บไซต์นั้นเป็นสารบบเว็บที่คนแก้ไขได้ จัดเรียงตามลำดับชั้น ตรงข้ามกับดัชนีของหน้าที่ค้นหาได้ จากนั้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1994 มีการเปลี่ยนชื่อ "Jerry and David's Guide to the World Wide Web" ไปเป็น "ยาฮู!" และกลายเป็นทีรู้จักในฐานะยาฮูไดเรกทอรี[10][13][14][15][16] จากนั้นลงทะเบียนโดเมน "yahoo.com" ในวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1995[17]

คำว่า "yahoo" เป็นคำย่อสวนทางของ "Yet Another Hierarchically Organized Oracle"[18] หรือ "Yet Another Hierarchical Officious Oracle"[19] โดยไฟโลและหยางกล่าวว่า พวกเขาตั้งชื่อเว็บไซต์ว่า ยาฮู! เพราะพวกเขาชอบความหมายที่ระบุไว้ในพจนานุกรม Gulliver's Travels โดย Jonathan Swift: ว่า “หยาบคาย, ตรงไปตรงมา, แปลก”

ยาฮูก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1995 โดยเปิดตัวฟังก์ชันเสิร์ชเอนจินที่มีชื่อว่า ยาฮูเสิร์ช สิ่งนี้ทำให้ผู้ใช้ค้นหายาฮูไดเรกทอรี[20][21] จากนั้นยาฮูกลายเป็นสารบบออนไลน์และเสิร์ชเอนจินยอดนิยมอันแรกในเวิล์ดไวด์เว็บ[22]

ขยายตัว

แก้

ในปี 1997-1999 คล้ายกับเว็บเสิร์ชเอนจิน และเว็บไดเร็คทอรี่หลาย ๆ แห่ง ยาฮู! ได้ขยายคอนเซ็ปต์ตัวเองเป็นเว็บท่า ในช่วงปลายทศวรรษที่ 90 ยาฮู! (Yahoo!) , เอ็มเอสเอ็น (MSN) , ไลคอส (Lycos) , เอ็กไซต์ (Excite) และเว็บท่าอื่น ๆ เติบโตอย่างรวดเร็ว เว็บท่าเหล่านี้ได้ควบซื้อกิจการของบริษัทอินเทอร์เน็ตต่าง ๆ หลายต่อหลายบริษัทเพื่อขยายขอบข่ายการให้บริการที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อที่จะทำให้นักท่องอินเทอร์เน็ตใช้เวลาอยู่กับเว็บไซต์ของตนมากขึ้น

ในวันที่ 8 มีนาคม ปี 1997 ยาฮู! ได้เข้าซื้อกิจการของบริษัท โฟร์ อีเลฟเว่น (Four11) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการเว็บเมลที่ชื่อว่า ร็อกเก็ตเมล (Rocketmail) และเปลี่ยนชื่อมาเป็น Yahoo! Mail นอกจากนี้ยังได้ซื้อกิจการของ ClassicGames.com และเปลี่ยนชื่อเป็น Yahoo! Games จากนั้นก็เข้าซื้อกิจการของบริษัทการตลาดแบบตรง (Yoyodyne Entertainment) Inc. ในวันที่ 12 ตุลาคม ปี 1998 และจากนั้นไม่นานเมื่อ 28 มกราคม 1999 ยาฮู! ก็เข้าซื้อกิจการของผู้ให้บริการโฮสติ้งชื่อดัง จีโอซิตี้ (GeoCities) และยังซื้อบริษัท อีกรุ๊ปส์ (eGroups) ซึ่งยาฮู! ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อบริการว่า Yahoo! Groups หลังจากวันที่ 28 มิถุนายน ปี 2000 นอกจากนี้ ยาฮู! ยังได้เปิดตัวบริการ Yahoo! Messenger ในวันที่ 21 กรกฎาคม ปี 1999.

3 มกราคม ปี 2000 ท่ามกลางกระแสดอตคอมบูมสูงสุด ราคาหุ้นของยาฮู! ขึ้นไปสูงสุดที่ 475 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อหุ้น และ 16 วันหลังจากนั้นราคาหุ้นในยาฮู! ญี่ปุ่นสูงเกิน 101.4 ล้านเยน (962,140 ดอลลาร์สหรัฐ ณ เวลานั้น) ในช่วงนั้นยังมีกระแสข่าวจากสำนักข่าว CNBC รายงานเพิ่มเติมอีกว่ายาฮู! กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาร่วมกิจการกับอีเบย์แบบ 50/50 ถึงแม้ว่าดีลนั้นจะไม่ได้เกิดขึ้นจริงแต่ทั้งสองบริษัทก็ได้ผสานความร่วมมือทางธุรกิจโดยเฉพาะในด้านการตลาดและโฆษณาใน 6 ปีต่อมาในปี 2006

จากนั้นในช่วงปี 2000 ก็เป็นปีเดียวกับที่กระแสฟองสบู่ดอตคอมแตก Yahoo! เริ่มนำเอาเสิร์ชเอนจินของ Google มาใช้ในเว็บไซต์ จน Google ได้ลูกค้าจาก Yahoo! ไปมากมาย จนวันหนึ่ง เทอร์รี่ ซีเมล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารขณะนั้นก็ตัดสินใจว่า Yahoo! ควรจะสร้างเทคโนโลยีเสิร์ชเอนจินของตัวเอง และเริ่มนำมาใช้ในปี 2004 และปรับบริการอีเมล Yahoo! Mail เพื่อสู้กับ Gmail ของ Google ในปี 2007 แต่จากนั้นแม้ว่าจะมีการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของตัวเองมากมาย สถานการณ์ทางการเงินของบริษัทก็ยังอยู่ในขั้นทรงตัว

เดือนกุมภาพันธ์ 2008 Microsoft Corporation ได้ประกาศจะเข้าซื้อกิจการของ Yahoo! เป็นเงิน 44.6 พันล้านเหรียญ แต่ Yahoo! ได้ปฏิเสธอย่างนิ่มนวลว่าเป็นการตีราคา Yahoo! ที่ต่ำเกินไปมาก ซึ่งคงไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นพอใจนัก สามปีถัดมามูลค่าหุ้นของ Yahoo! อยู่ที่ 22.24 พันล้านเหรียญ โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ แครอล บาร์ซ เข้ามาแทนที่ผู้ร่วมก่อตั้ง Jerry Yang ในมกราคม 2009 ในเดือนกันยายน 2011 เธอออกจาก Yahoo! โดยประธานบอร์ด Roy Bostock และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน Tim Morse ได้รับหน้าที่เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารชั่วคราว

ต้นปี 2012 หลังจากค้นหาประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ Yahoo! ก็ได้ Scott Thompson มีข่าวการปลดพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะประหยัดเงินไปราว 375 ล้านเหรียญในปีนั้น และกำลังเร่งปรับโครงสร้างองค์กรอย่างเร่งรีบ แต่ในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน ทาง Yahoo! ได้ออกมาให้ข่าวว่า Thompson ไม่ได้อยู่กับบริษัทอีกต่อไปแล้ว

เดือนกรกฎาคม 2012 Yahoo! ก็ได้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารคนใหม่ "มาริสสา เมเยอร์" อดีตผู้บริหารจาก Google มาทำหน้าที่พลิกฟื้นบริษัท

เสื่อมถอย

แก้

ในปี 2017 ผู้ถือหุ้นของ Yahoo ได้อนุมัติอย่างเป็นทางการในการขายบริษัทให้กับ Verizon ด้วยมูลค่า 4.48 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลจากการที่บัญชี Yahoo ถูกแฮกบัญชีอีเมลล์

อ้างอิง

แก้
  1. "Fortune 500: Yahoo company profile". Fortune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 12, 2022. สืบค้นเมื่อ March 8, 2022.
  2. "Verizon Communications, Form 8-K, Current Report, Filing Date Jul 27, 2017" (PDF). secdatabase.com. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ May 2, 2018. สืบค้นเมื่อ May 1, 2018.
  3. Lepitak, Stephen (February 3, 2022). "Yahoo Targets Ad Tech Momentum with Spate of Exec Promotions". AdWeek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 31, 2022. สืบค้นเมื่อ April 7, 2022.
  4. Yahoo Commercial 2006 ที่ยูทูบ
  5. Yahoo 'Flashing Lights' Commercial (1080p) ที่ยูทูบ
  6. "Yahoo's Sale to Verizon Ends an Era for a Web Pioneer". The New York Times. July 25, 2016. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 16, 2017. สืบค้นเมื่อ February 23, 2017.
  7. McGoogan, Cara (July 25, 2016). "Yahoo: 9 reasons for the internet icon's decline". The Daily Telegraph. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 17, 2018. สืบค้นเมื่อ April 4, 2018.
  8. "The Glory That Was Yahoo". March 21, 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2020. สืบค้นเมื่อ January 10, 2019.
  9. "Yahoo! Inc. – Company Timeline". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 13, 2008. สืบค้นเมื่อ July 19, 2016.
  10. 10.0 10.1 Clark, Andrew (February 1, 2008). "How Jerry's guide to the world wide web became Yahoo". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 5, 2013. สืบค้นเมื่อ May 23, 2012.
  11. "Yahoo! celebrates 20th anniversary". Yahoo News. March 1, 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 13, 2016.
  12. Romano, Andrew (March 1, 2015). "At 20, Yahoo Celebrates and Looks Ahead". Yahoo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 27, 2016.
  13. Thomson, David G. (2006). Blueprint to a Billion. Wiley-Interscience. p. 155. ISBN 978-0-471-77918-6.
  14. Trex, Ethan. "Jerry and David's Guide to the World Wide Web becomes Yahoo!". Blogs.static.mentalfloss.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 16, 2010. สืบค้นเมื่อ August 24, 2010.
  15. The Yahoo Directory — Once The Internet's Most Important Search Engine — Is To Close เก็บถาวร มิถุนายน 11, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน September 26, 2014, retrieved on June 3, 2017
  16. Yahoo schließt seinen Katalog เก็บถาวร พฤษภาคม 18, 2017 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน from golem.de, September 27, 2014, retrieved on June 3, 2017
  17. "This Day in History, January 18, 2017". CNBC. January 18, 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 4, 2021. สืบค้นเมื่อ May 4, 2021.
  18. Gaffin, Adam (September 11, 1995). "Hello, Is Anyone Out There?". Network World. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 14, 2015. สืบค้นเมื่อ March 5, 2015.
  19. Gil, Paul (April 19, 2021). "What Does "Yahoo" Stand For?". Lifewire. สืบค้นเมื่อ May 4, 2021.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. Oppitz, Marcus; Tomsu, Peter (2017). Inventing the Cloud Century: How Cloudiness Keeps Changing Our Life, Economy and Technology. Springer Science+Business Media. p. 238. ISBN 9783319611617. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 26, 2020. สืบค้นเมื่อ September 5, 2019.
  21. "Yahoo! Search". Yahoo!. November 28, 1996. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 28, 1996. สืบค้นเมื่อ September 5, 2019.
  22. "What is first mover?". SearchCIO. TechTarget. September 2005. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 28, 2020. สืบค้นเมื่อ September 5, 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้