พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียแอนด์อัลเบิร์ต
พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียแอนด์อัลเบิร์ต (อังกฤษ: Victoria and Albert Museum; V&A) เป็นพิพิธภัณฑ์ศิลปะในลอนดอน และเป็นพิพิธภัณฑ์ด้านศิลปะประยุกต์, ศิลปะเพื่อการตกแต่ง และ การออกแบบ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีของสะสมเป็นการถาวรมากกว่า 2.27 ล้านชิ้น[4] พิพิธภัณฑ์สถาปนาขึ้นในปี 1852 และตั้งชื่อตามราชินีวิกตอเรีย และ เจ้าชายอัลเบิร์ต
ตราประจำพิพิธภัณฑ์นับตั้งแต่ปี 1989 | |
ทางเข้าหลักของพิพิธภัณฑ์ | |
ชื่อเดิม | พิพิธภัณฑ์อุตสาหการ, พิพิธภัณฑ์เซาธ์เคนซิงทัน |
---|---|
ก่อตั้ง | 1852 |
ที่ตั้ง | ถนนครอมเวล เคนซิงทันแอนด์เชลซี ลอนดอน SW7 |
พิกัดภูมิศาสตร์ | 51°29′47″N 00°10′19″W / 51.49639°N 0.17194°W |
ประเภท | พิพิธภัณฑ์ศิลปะ |
ขนาดผลงาน | 2,278,183 ชิ้น, 145 โถงจัดแสดง |
จำนวนผู้เยี่ยมชม |
|
ผู้อำนวยการ | ทรีสทรัม ฮันท์[3] |
เจ้าของ | ส่วนหนึ่งของกรมกิจการดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อ และกีฬา |
เว็บไซต์ | www |
พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียแอนด์อัลเบิร์ตตั้งอยู่ในเขตเคนซิงทันแอนด์เชลซี ในย่านอัลเบอร์เทอพอลิส ที่ซึ่งมีหน่วยงานทางวัฒนธรรมมากมายที่เกี่ยวข้องกับเจ้าชายอัลเบิร์ตตั้งอยู่ เช่น อัลเบิร์ตเมเมอเรียล, พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ, พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์, รอยัลอัลเบิร์ตฮอลล์ และ อิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน พิพิธภัณฑ์เป็นองค์การสาธารณะนอกกรมภายใต้การสนับสนุนของกรมกิจการดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อ และกีฬา พิพิธภัณฑ์ไม่เก็บค่าเข้าชมเช่นเดียวกับหลายพิพิธภัณฑ์ของอังกฤษ
พิพิธภัณฑ์วิกตอเรียแอนด์อัลเบิร์ตมีพื้นที่ขนาด 12.5 เอเคอร์ (5.1 เฮกตาร์)[5] และมีโถงจัดแสดง 145 ห้อง ของสะสมของพิพิธภัณฑ์มีอายุย้อนกลับไปถึง 5,000 ปี ตั้งแต่ยุคโบราณจนปัจจุบัน จากวัฒนธรรมในยุโรป อเมริกาเหนือ แอฟริกาเหนือ และเอเชีย วัตถุสะสมทั้งเครื่องเซรามิกส์, แก้ว, ผ้า, เครื่องแต่งกาย, เครื่องเงิน, เครื่องโลหะ, อัญมณี, เฟอร์นิเจอร์, วัตถุจากยุคกลาง ประติมากรรม ภาพเขียน งานพิพม์ ถือว่ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
พิพิธภัณฑ์มีของสะสมจำพวกประติมากรรมยุคหลังคลาสสิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีวัตถุจากยุคเรนเนสซองส์ของอิตาลีมากที่สุดนอกประเทศอิตาลี แผนกเอเชียยังมีศิลปะจากเอเชียใต้ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และโลกอิสลาม ของสะสมจากเอเชียตะวันออกของพิพิธภัณฑ์ถือว่าดีที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป โดยเฉพาะงานโลหะและงานเซรามิกส์ ส่วนของสะสมอิสลามถือว่าใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป
นับตั้งแต่ปี 2001 พิพิธภัณฑ์ได้เริ่มโครงการบูรณะปรับปรุงมูลค่า 150 ล้านปอนด์ โถงจัดแสดงยุโรปศตวรรษที่ 17-18 เปิดในปี 2015 หลังการบูรณะปรับปรุงห้องแอสตัน เว็บส์[6][7] นอกจากนี้พิพิธภัณฑ์ยังมี ยังวีแอนด์เอ ในลอนดอนตะวันออกเป็นพิพิธภัณฑ์สาขา รวมถึงยังมีโครงการวีแอนด์เออีสต์ซึ่งมีแผนจะสร้างเช่นกัน[8] สาขาแรกนอกลอนดอนคือวีแอนด์เอดันดี เปิดให้บริการในปี 2018
อ้างอิง
แก้- ↑ "ALVA – Association of Leading Visitor Attractions". www.alva.org.uk. สืบค้นเมื่อ 23 October 2020.
- ↑ "2017 Visitor Figures". Association of Leading Visitor Attractions. สืบค้นเมื่อ 22 March 2018.
- ↑ Stewart, Heather (13 January 2017). "Tristram Hunt to quit as MP to become V&A director". The Guardian. ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 13 January 2017.
- ↑ "V&A · About us". Victoria and Albert Museum.
- ↑ "FuturePlan – Victoria and Albert Museum". vam.ac.uk. 6 May 2011. สืบค้นเมื่อ 12 May 2011.
- ↑ "'Our Europe is an inclusive Europe': the Victoria and Albert Museum's new European Galleries". Apollo. 2015-12-04.
- ↑ "FuturePlan Live: Europe 1600 – 1815". Victoria & Albert Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ธันวาคม 2015.
- ↑ "V&A East". Victoria and Albert Museum. สืบค้นเมื่อ 21 July 2022.
บรรณานุกรม
แก้- Banham, Mary; Hillier, Bevis, บ.ก. (1976). A Tonic to the Nation: The Festival of Britain 1951.
- Physick, John (1982). The Victoria and Albert Museum: The History of its Building. ISBN 978-0-7148-8001-3. OCLC 230893308.
- Sheppard, F.H.W., บ.ก. (1975). Survey of London XXXVIII: The Museums Area of South Kensington and Westminster.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- V&A websites:
- Historical images of V&A
- Construction of V&A Museum เก็บถาวร 24 กุมภาพันธ์ 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- The V&A Museum prior to opening เก็บถาวร 25 กุมภาพันธ์ 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Victoria and Albert Museum at the Survey of London online:
- Architecture of the V&A
- Victoria and Albert Museum within Google Arts & Culture