วุฒิสภาสหรัฐ

(เปลี่ยนทางจาก United States Senate)

38°53′26″N 77°0′32″W / 38.89056°N 77.00889°W / 38.89056; -77.00889

วุฒิสภาสหรัฐ

United States Senate
รัฐสภาสหรัฐ ชุดที่ 118
ตราวุฒิสภาสหรัฐ
ธงประจำวุฒิสภาสหรัฐ
ธงวุฒิสภาสหรัฐ
ประเภท
ประเภท
เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาสหรัฐ
จำกัดวาระ
ไม่มี
ประวัติ
สมัยประชุมใหม่
3 มกราคม ค.ศ. 2023 (2023-01-03)
ผู้บริหาร
กมลา แฮร์ริส, D
ตั้งแต่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021
แพตตี เมอร์เรย์, D
ตั้งแต่ 3 มกราคม ค.ศ. 2023
ผู้นำเสียงข้างมาก
ชัค ชูเมอร์, D
ตั้งแต่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021
ผู้นำเสียงข้างน้อย
มิตช์ แมคคอนเนลล์, R
ตั้งแต่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021
วิปเสียงข้างมาก
ดิก เดอร์บิน, D
ตั้งแต่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021
วิปเสียงข้างน้อย
จอห์น ธูน, R
ตั้งแต่ 20 มกราคม ค.ศ. 2021
โครงสร้าง
สมาชิก100 คน
กลุ่มการเมืองใน
วุฒิสภา
เสียงข้างมาก (51)
  •   เดโมแครต (48)
  •   อิสระ (3)
เสียงข้างน้อย (49)
ระยะวาระ
6 ปี
การเลือกตั้ง
ระบบคะแนนนำใน 46 รัฐ
ระบบอื่น ๆ ใน 4 รัฐ
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งล่าสุด
8 พฤศจิกายน 2022 (35 คน)
การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาครั้งหน้า
5 พฤศจิกายน 2024 (34 คน)
ที่ประชุม
ห้องประชุมวุฒิสภาสหรัฐ
อาคารรัฐสภาสหรัฐ วอชิงตัน ดี.ซี.
เว็บไซต์
www.senate.gov
รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญสหรัฐ

วุฒิสภาสหรัฐ (อังกฤษ: United States Senate) เป็นสภาสูงของรัฐสภาสหรัฐ โดยเป็นสภานิติบัญญัติแห่งสหรัฐร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐซึ่งเป็นสภาล่าง

องค์ประกอบและอำนาจของวุฒิสภาตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญแห่งสหรัฐ มาตรา 1[1] วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกวุฒิสภาซึ่งเป็นผู้แทนจากแต่ละรัฐ โดยแต่ละรัฐมีผู้แทนเท่ากันรัฐละสองคน ไม่ว่ามีประชากรมากน้อยเพียงใด โดยมีวาระดำรงตำแหน่งสลับฟันปลา (staggered term) วาระละ 6 ปี ปัจจุบันในสหภาพมี 50 รัฐ ฉะนั้นจึงมีสมาชิกวุฒิสภา 100 คน รองประธานาธิบดีสหรัฐมีหน้าที่เป็นประธานในที่ประชุมและถือเป็นประธานวุฒิสภาโดยตำแหน่ง (ex officio member) และสามารถออกเสียงลงมติได้ในกรณีที่เสียงเท่ากันทั้งสองฝ่าย โดยหากรองประธานาธิบดีสหรัฐไม่ได้เป็นประธานในการประชุม ประธานชั่วคราวซึ่งโดยธรรมเนียมจะเป็นสมาชิกอาวุโสซึ่งมาจากฝ่ายเสียงข้างมากจะทำหน้าที่แทนประธาน

วุฒิสภานั้นกล่าวได้ว่าเป็นสภาที่มีความสุขุมรอบคอบ[2]และมีเกียรติ[3][4][5]มากกว่าสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐอันเนื่องมาจากวาระที่นานกว่า จำนวนสมาชิกที่น้อยกว่า และการเป็นผู้แทนของคนทั้งรัฐ ซึ่งจากอดีตจนถึงปัจจุบันแสดงให้เห็นว่าวุฒิสภามีบรรยากาศของความเป็นเหตุเป็นผลและมีการแบ่งพรรคพวกตามพรรคการเมืองน้อยกว่า[6]

ตั้งแต่ปี 1789 ถึง 1913 สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งของสภานิติบัญญัติของรัฐที่ตนเป็นผู้แทน หลังการให้สัตยาบันการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญครั้งที่ 17 ในปี 1913 ปัจจุบัน สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยระบบคะแนนนำ ห้องประชุมวุฒิสภาตั้งอยู่บริเวณปีกเหนือของอาคารรัฐสภาสหรัฐในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Constitution of the United States". Senate.gov. March 26, 2009. สืบค้นเมื่อ October 4, 2010.
  2. Amar, Vik D. (1988-01-01). "The Senate and the Constitution". The Yale Law Journal. 97 (6): 1111–1130. doi:10.2307/796343. JSTOR 796343. S2CID 53702587.
  3. Stewart, Charles; Reynolds, Mark (1990-01-01). "Television Markets and U.S. Senate Elections". Legislative Studies Quarterly. 15 (4): 495–523. doi:10.2307/439894. JSTOR 439894.
  4. Richard L. Berke (September 12, 1999). "In Fight for Control of Congress, Tough Skirmishes Within Parties". The New York Times.
  5. Joseph S. Friedman (March 30, 2009). "The Rapid Sequence of Events Forcing the Senate's Hand: A Reappraisal of the Seventeenth Amendment, 1890–1913". Curej – College Undergraduate Research Electronic Journal.
  6. Lee, Frances E. (June 16, 2006). "Agreeing to Disagree: Agenda Content and Senate Partisanship, 198". Legislative Studies Quarterly. 33 (2): 199–222. doi:10.3162/036298008784311000.