ซิมโฟนีหมายเลข 5 (เบทโฮเฟิน)

(เปลี่ยนทางจาก Symphony No. 5 (Beethoven))

ซิมโฟนีหมายเลข 5 ในบันไดเสียง ซี ไมเนอร์ (Symphony No. 5 in C Minor) ของลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน เป็นผลงานที่เขาประพันธ์ขึ้นในช่วง ค.ศ. 1804-1808 โอปุส 67 (Opus 67) ซิมโฟนีบทนี้นับว่าเป็นหนึ่งในงานดนตรีคลาสสิกที่ได้รับความนิยมสูงสุด และรู้จักกันแพร่หลายที่สุด รวมทั้งถูกนำออกแสดงและได้รับการบันทึกเสียงมากที่สุดบทหนึ่ง

ลูทวิช ฟัน เบทโฮเฟิน

ซิมโฟนีบทนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็ว หลังจากนำออกแสดงครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1808 ในเวลานั้น แอ็นสท์ เทโอดอร์ อมาเดอุส ฮ็อฟมัน (Ernst Theodor Amadeus Hoffmann) ได้บรรยายเอาไว้ว่า "นับเป็นหนึ่งในผลงานชิ้นสำคัญที่สุดแห่งยุค"

บทเพลงนี้ขึ้นต้นด้วยตัวโน้ตหลักเพียง 4 พยางค์

{\clef treble \key c \minor \time 2/4 {r8 g'8[ g'8 g'8] | ees'2\fermata | r8 f'8[ f'8 f'8] | d'2~ | d'2\fermata | } }

เนื่องจากโน้ตหลัก 4 ตัวของเพลงคล้ายกับ (คือ จุด จุด จุด ขีด) ที่ตรงกับอักษรโรมัน V โน้ตหลักนี้จึงใช้เป็นเครื่องหมายของคำว่า "victory" (ชัยชนะ) ในพิธีเปิดการออกอากาศสถานีวิทยุบีบีซี (BBC) ของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นความคิดของวิลเลียม สตีเฟนสัน (William Stephenson)

การบรรเลงรอบปฐมฤกษ์

แก้

ซิมโฟนีบทนี้ออกบรรเลงเป็นรอบแรก เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1808 โดยเบทโฮเฟินเป็นผู้ควบคุมวงด้วยตนเอง โอกาสดังกล่าวถือว่าเป็นคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ ประกอบด้วยผลงานใหม่ทั้งหมดของเบทโฮเฟิน โดยได้แสดงที่โรงละครในกรุงเวียนนา และมีรายการแสดงดังนี้

  • ซิมโฟนีหมายเลข 6 (Symphony No. 6)
  • Aria: "Ah, perfido", Op. 65
  • The Gloria movement of the Mass in C Major
  • Piano Concerto No. 4
  • -- พักการแสดง --
  • ซิมโฟนีหมายเลข 5
  • Sanctus and Benedictus movements of the C Major Mass
  • Choral Fantasy

การแสดงดังกล่าวใช้เวลานานกว่า 4 ชั่วโมง

สำหรับซิมโฟนีหมายเลข 5 และหมายเลข 6 ซึ่งประพันธ์ขึ้นในเวลาใกล้เคียงกันนั้น ปรากฏในโปรแกรมคอนเสิร์ตเป็นหมายเลข 6 และ 5 ตามลำดับ แต่ในปัจจุบันมีการลำดับหมายเลขสลับกันตามลำดับการพิมพ์

เบทโฮเฟินอุทิศซิมโฟนีบทนี้ให้แก่ผู้อุปถัมภ์สองคน ได้แก่ เจ้าชาย F.J. von Lobkowitz และ เคาน์ Andreas Razumovsky คำอุทิศนั้นปรากฏในการพิมพ์ครั้งแรก เมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1809

การตอบรับและอิทธิพล

แก้

รายละเอียดของแต่ละท่อน

แก้

ซิมโฟนีบทนี้มีด้วยกัน 4 ท่อน หรือมูฟเมนต์ ดังนี้

I. Allegro con brio
II. Andante con moto
III. Scherzo, Allegro
IV. Allegro

สามท่อนแรกนั้นเรียบเรียงสำหรับเครื่องดนตรีต่าง ๆ ได้แก่ ฟลูต 2 เลา, โอโบ 2 เลา, บีแฟลต คลาริเน็ต 2 เลา , บาสซูน 2 เลา, ฮอร์น 2 คัน, ทรัมเป็ต 2 คัน, กลองทิมปะนี และเครื่องสาย ได้แก่ ไวโอลิน 1 และไวโอลิน 2, วิโอลา, เชลโล และดับเบิลเบส ส่วนท่อนสุดท้ายได้เพิ่มปิคโคโล, คอนทราบาสซูนอย่างละเลา และทรอมโบน 3 คัน (อัลโต,เทเนอร์ และเบส)

การแสดงดนตรีทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 35 นาที

การใช้บันไดเสียง

แก้

ซิมโฟนีหมายเลข 5 อยู่บันไดเสียง ซีไมเนอร์ (C minor) มีนักวิจารณ์ให้ความเห็นว่าสำหรับเบทโฮเฟินแล้ว บันไดเสียงนี้เป็นตัวแทนของ “น้ำเสียงแบบวีรบุรุษ และมีความเกรี้ยวกราด” และเขาใช้บันไดเสียงนี้สำหรับงานที่มีความเข้มข้นเป็นพิเศษ หรือ สงวนไว้สำหรับดนตรีที่แสดงออกทางอารมณ์สูงสุดของเขา

ผลงานอื่น ๆ ของเบทโฮเฟินในบันไดเสียง ซีไมเนอร์ ที่ให้ภาพในลักษณะดังกล่าว มีดังนี้ง

  • "Piano Sonata No. 5", Opus 10 no. 1 (1795-8)
  • "Piano Sonata No. 8", Opus 13, "Pathetique" (1798)
  • "Piano Concerto No. 3" no. 3 (1800)
  • "String Quartet No. 4", Opus 18, no. 4 (1800)
  • "Sonata in C minor for Violin and Piano", Op. 30, no. 2 (1802)
  • "Symphony No. 3"; second "Funeral March" movement (1803)
  • "Coriolanus" overture, Opus 62 (1807)
  • "Piano Sonata No. 32", Op. 111 (1822)

ซิมโฟนีหมายเลข 5 กับผลงานในรูปแบบอื่น

แก้

เสียงโน้ต 4 พยางค์ จากมูฟเมนต์ที่ 1 ของซิมโฟนีหมายเลข 5 ถูกนำมาใช้ซ้ำหลายครั้งในดนตรียุคหลัง เช่น

  • ถูกนำมาใช้เป็นเพลงเปิดของสถานีวิทยุบีบีซี ของอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
  • เพลง A Fifth of Beethoven เป็นซิมโฟนีหมายเลข 5 ในจังหวะดิสโก โดย Walter Murphy เมื่อ ค.ศ. 1976 และเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ Saturday Night Fever (1977)
  • เพลง Roll Over Beethoven โดย Chucker Berry เมื่อ ค.ศ. 1956 และนำมาขับร้องใหม่โดยวง The Beatles, Status Quo และวง ELO - Electic Light Oechestra (ค.ศ. 1973))
  • นักกีตาร์ Yngwie Malmsteen โซโลกีตาร์ ซิมโฟนีหมายเลข 5 แบบเฮฟวีเมทัล
  • ภาพยนตร์ Beethoven(1992) หนังครอบครัวเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์เซนต์เบอร์นาร์ด ชื่อว่าเบทโฮเฟิน โดยใช้เสียงโน้ตท่อนนี้ แทนตัวเบทโฮเฟิน
  • ภาพยนตร์ V for Vendetta (2005) หนังและหนังสือเกี่ยวกับการต่อสู้ขับไล่ทรราช ใช้เสียงโน้ตท่อนนี้ สื่อถึงการต่อสู้และชัยชนะ โดย V (มาจากเลข 5 และหมายถึง Victory) เป็นชื่อตัวละครเอก

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้