รัฐสภานอร์เวย์
รัฐสภานอร์เวย์ หรือ สตูติงเงอ (นอร์เวย์: Stortinget, ออกเสียง: [ˈstûːʈɪŋə]; "สมัชชาใหญ่") คือองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดแห่งราชอาณาจักรนอร์เวย์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1814 พร้อมกับรัฐธรรมนูญนอร์เวย์ ตั้งอยู่ที่กรุงออสโล มีลักษณะเป็นสภาเดี่ยวโดยประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 169 คน มาจากการเลือกตั้งคราวละ 4 ปี โดยใช้การเลือกตั้งระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อเปิดจากเขตเลือกตั้งที่มีผู้แทนหลายคน สมาชิกรัฐสภาในภาษานอร์เวย์คือ "stortingsrepresentant" มีความหมายตรงตัวว่า "ตัวแทนของสตูติงเงอ"[1]
รัฐสภานอร์เวย์ Stortinget (นอร์เวย์) | |
---|---|
สมัยที่ 166 | |
ประเภท | |
ประเภท | |
ผู้บริหาร | |
ประธานสภา | Masud Gharahkhani, Labour Party ตั้งแต่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 |
รองประธานสภา | Svein Harberg, Conservative Party |
Nils T. Bjørke, Centre Party | |
Morten Wold, Progress Party | |
Kari Henriksen, Labour Party | |
Ingrid Fiskaa, Sociallist Left Party | |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 169 ที่นั่ง |
กลุ่มการเมือง | ฝ่ายรัฐบาล (76)
ฝ่ายค้าน (93)
|
การเลือกตั้ง | |
ระบบสัดส่วนแบบบัญชีรายชื่อเปิดโดยวิธีแซ็งต์-ลากูว์ | |
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด | 13 กันยายน ค.ศ. 2021 |
ที่ประชุม | |
ที่ทำการรัฐสภา ออสโล | |
เว็บไซต์ | |
stortinget |
รัฐสภานั้นมีผู้นำคือประธานรัฐสภาและรองประธานทั้งห้าคน (ตั้งแต่ ค.ศ. 2005) โดยประกอบกันเป็นเปรซิเดียม และสมาชิกรัฐสภาจะแบ่งกันรับผิดชอบในคณะกรรมาธิการทั้ง 12 มีผู้ตรวจการแผ่นดินจำนวน 3 คนซึ่งขึ้นตรงกับรัฐสภา
ระบบรัฐสภาในนอร์เวย์เริ่มก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1884 โดยในช่วงแรกนั้นมีลักษณะเป็นสภาเดี่ยวซึ่งแบ่งสมาชิกออกเป็นสองสภาย่อยทำให้นอร์เวย์เป็นระบบสองสภาโดยพฤตินัย[2] ได้แก่ Lagting และ Odelsting[3] ต่อมาในการแก้ไขรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 2007 ได้ล้มเลิกระบบนี้และเปลี่ยนมาเป็นดังปัจจุบัน โดยเริ่มมีผลตั้งแต่การเลือกตั้งค.ศ. 2009 เป็นต้นมา[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ Stortingsrepresentant ulovlig pågrepet, NTB, Dagens Næringsliv, 18 August 2016
- ↑ 2.0 2.1 A Europe of Rights: The Impact of the ECHR on National Legal Systems, Helen Keller, Alec Stone Sweet, Oxford University Press, 2008, page 210
- ↑ Scandinavian Politics Today, David Arter, Manchester University Press, 1999, page 31