อุรังอุตังสุมาตรา

(เปลี่ยนทางจาก Pongo abelii)

อุรังอุตังสุมาตรา (อังกฤษ: Sumatran orangutan; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pongo abelii) เป็นหนึ่งในอุรังอุตังสองสปีชีส์ ซึ่งพบเฉพาะบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น อุรังอุตังชนิดนี้หายากและมีขนาดตัวเล็กกว่าอุรังอุตังบอร์เนียว (P. pygmaeus) อุรังอุตังสุมาตราเพศผู้มีความสูงได้ถึง 1.4 เมตร และหนัก 90 กิโลกรัม ขณะที่เพศเมียจะมีขนาดตัวเล็กกว่า โดยเฉลี่ยแล้วจะสูง 90 เซนติเมตร และหนัก 45 กิโลกรัม

อุรังอุตังสุมาตรา
เพศผู้ในสวนสัตว์ไลพ์ซิช ไลพ์ซิช
เพศเมียกับลูกใน Tierpark Hellabrunn มิวนิก
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix I (CITES)[2]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
Mammalia
อันดับ: อันดับวานร
Primates
อันดับย่อย: Haplorhini
Haplorhini
อันดับฐาน: Simiiformes
Simiiformes
วงศ์: ลิงใหญ่
Hominidae
สกุล: Pongo
Pongo
Lesson, 1827[3]
สปีชีส์: Pongo abelii
ชื่อทวินาม
Pongo abelii
Lesson, 1827[3]
การกระจายพันธุ์ในอินโดนีเซีย

พฤติกรรม

แก้

เมื่อเปรียบเทียบกับอุรังอุตังบอร์เนียวแล้ว อุรังอุตังสุมาตราค่อนข้างที่จะมีพฤติกรรมกินผลไม้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กินแมลงมากกว่า ผลไม้ที่อุรังอุตังชนิดนี้ชื่นชอบ รวมไปถึง จิกและขนุน นอกจากนี้มันยังกินไข่นกและสัตว์มีกระดูกสันหลังขนาดเล็กด้วย[4] อุรังอุตังสุมาตราใช้เวลากินอาหารในเปลือกต้นไม้น้อยกว่ามาก

มีการสังเกตพบว่า อุรังอุตังสุมาตราป่าในบึง Suaq Balimbing สามารถใช้เครื่องมือได้[5] อุรังอุตังจะหักกิ่งไม้ที่มีขนาดยาวประมาณหนึ่งฟุต จากนั้นจึงหักกิ่งอ่อนออกและเสียดสีปลายด้านหนึ่ง จากนั้น มันจะใช้แท่งไม้ดังกล่าวเพื่อขุดเข้าไปในโพรงต้นไม้เพื่อหาปลวก พวกมันยังใช้แท่งไม้แหย่ผนังรังผึ้ง โดยขยับไปมา แล้วจึงจับเอาน้ำผึ้ง นอกเหนือจากนั้น อุรังอุตังยังใช้เครื่องมือในการกินผลไม้ด้วย เมื่อผลของต้นช้างไห้สุก สันเปลือกที่แข็งของมันจะอ่อนลงจนกระทั่งเปิดออก ภายในผลของมันคือเมล็ดที่อุรังอุตังชอบกิน แต่เมล็ดจะถูกหุ้มด้วยขนคล้ายเส้นใยแก้ว ซึ่งจะสร้างความเจ็บปวดให้แก่อุรังอุตังหากกินเข้าไป อุรังอุตังที่กินผลช้างไห้จะเลือกแท่งไม้ยาวห้านิ้ว แล้วหักเปลือกไม้ออก แล้วจึงค่อย ๆ รวบรวมเส้นขนโดยใช้แท่งไม้ดังกล่าว เมื่อผลไม้ปลอดภัยที่จะกินแล้ว มันก็จะกินเมล็ดโดยใช้แท่งไม้หรือนิ้วมือ ถึงแม้ว่าบึงที่คล้ายกันจะสามารถพบได้บนเกาะบอร์เนียว แต่อุรังอุตังบอร์เนียวไม่ใช้อุปกรณ์ประเภทนี้

อุรังอุตังสุมาตราจะอาศัยและหากินบนต้นไม้มากกว่าอุรังอุตังบอร์เนียว ซึ่งอาจเป็นเพราะเนื่องจากการมีนักล่าที่มีขนาดใหญ่กว่า อย่างเช่น เสือสุมาตรา มันจึงเคลื่อนที่จากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งโดยการห้อยโหน

อุรังอุตังสุมาตราในธรรมชาติที่มีความคุ้นเคยกับมนุษย์ จะยอมให้มนุษย์เข้าใกล้ได้มากกว่า แต่ก็ไม่ใกล้จนเกินไป ผิดจากประชากรที่อาศัยอยู่ในป่าลึกเมื่อพบมนุษย์จะรีบหนีทันที

อุรังอุตังสุมาตรา จะหักกิ่งไม้ทั้งกิ่งทำเป็นรังบนต้นไม้ โดยเลือกสถานที่ ๆ ปลอดภัย หนึ่งตัวอาจมีรังได้ถึง 3-4 แห่ง บางตัวอาจจะทำรังเพียงแค่นอนเล่น และมีพฤติกรรมย้ายรังไปเรื่อย ๆ [6]

วัฏจักรชีวิต

แก้

อุรังอุตังสุมาตราเป็นสัตว์สังคมมากกว่าอุรังอุตังบอร์เนียว กลุ่มของอุรังอุตังเหล่านี้จะรวมตัวกันเพื่อหาอาหารบนต้นจิกที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม เพศผู้โตเต็มวัยมักจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับเพศผู้ตัวเต็มวัยอีกตัวหนึ่ง เพศผู้ที่ยังโตไม่เต็มวัยจะพยายามจับคู่กับเพศเมีย ถึงแม้ว่าพวกมันมักจะประสบความล้มเหลวเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากเพศเมียตัวเต็มวัยสามารถหลีกหนีเพศผู้เหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย เพศเมียตัวเต็มวัยมักจะจับคู่กับเพศผู้ตัวเต็มวัยมากกว่า

ช่วงอัตราการเกิดของอุรังอุตังสุมาตรายาวนานกว่าอุรังอุตังบอร์เนียว และถือว่ายาวนานที่สุดในหมู่พวกลิงใหญ่ อุรังอุตังสุมาตราพร้อมที่จะมีลูกเมื่ออายุได้ 15 ปี ลูกอ่อนอุรังอุตังจะอยู่ใกล้กับแม่ของมันจนกระทั่งอายุได้ 3 ปี และแม้กระทั่งหลังจากนั้น พวกมันจะยังคงรวมกลุ่มกับแม่ของมัน อุรังอุตังทั้งสองชนิดมักจะมีชีวิตอยู่หลายทศวรรษ มีประมาณการอายุขัยว่าอาจสูงถึงมากกว่า 50 ปี ค่าเฉลี่ยของการผสมพันธุ์ครั้งแรกของอุรังอุตังสุมาตราอยู่ที่ 12.3 ปี ไม่มีสัญญาณระบุถึงภาวะหมดประจำเดือนในอุรังอุตังชนิดนี้[7]

สถานะ

แก้

อุรังอุตังสุมาตราเป็นสัตว์ประจำถิ่นเกาะสุมาตรา และมีถิ่นที่อยู่อาศัยจำกัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางตอนเหนือของเกาะ ในธรรมชาติ อุรังอุตังสุมาตรารอดชีวิตอยู่ในจังหวัดนังกรูอาเจะฮ์ดารุสสลาม (NAD) ซึ่งตั้งอยู่ทางปลายเหนือสุดของเกาะ[8] อุรังอุตังชนิดนี้เคยมีถิ่นที่อยู่อาศัยอย่างกว้างขวาง เนื่องจากพบว่ามันได้เคยอาศัยห่างออกไปทางใต้ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 อย่างเช่น ในจำบีและปาดัง[9] อุรังอุตังสุมาตราจำนวนน้อยยังได้อาศัยอยู่ในจังหวัดสุมาตราเหนือ ตามแนวที่ติดต่อกับ NAD โดยเฉพาะอย่างยิ่งในป่าทะเลสาบโทบา อุรังอุตังชนิดดังกล่าวได้ถูกจัดอันดับเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ขั้นวิกฤตในบัญชีแดงของ IUCN ตั้งแต่ ค.ศ. 2000[1] และได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งใน "ไพรเมตที่ใกล้สูญพันธุ์ที่สุดในโลก 25 ชนิด"[10]

การสำรวจใน ค.ศ. 2004 ประเมินว่ามีอุรังอุตังสุมาตราเหลืออยู่ประมาณ 7,300 ตัว[8] และปัจจุบันเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก คือ อุทยานแห่งชาติกุนุงเลเซอร์ ซึ่งเป็นมรดกโลก[6]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 Singleton, I.; Wich , S.A.; Nowak, M.; Usher, G.; Utami-Atmoko, S.S. (2023) [amended version of 2017 assessment]. "Pongo abelii". IUCN Red List of Threatened Species. 2023: e.T121097935A247631244. doi:10.2305/IUCN.UK.2023-1.RLTS.T121097935A247631244.en.
  2. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  3. Lesson, René-Primevère (1827). Manuel de mammalogie ou Histoire naturelle des mammifères (ภาษาฝรั่งเศส). Paris: Roret, Libraire. p. 32.
  4. "Science & Nature - Wildfacts - Sumatran orangutan". BBC. สืบค้นเมื่อ 2009-07-03.
  5. Zimmer, Carl. "Tooling through the trees - tool use by wild orangutans" Discover Magazine, November 1995.
  6. 6.0 6.1 "Indonesia : สุดหล้าฟ้าเขียว". ช่อง 3. 6 September 2014. สืบค้นเมื่อ 6 September 2014.[ลิงก์เสีย]
  7. S. A. Wich; S. S. Utami-Atmoko; T. M. Setia; H. D. Rijksen; C. Schürmann, J.A.R.A.M. van Hooff and C. P. van Schaik (2004). "Life history of wild Sumatran orangutans (Pongo abelii)". Journal of Human Evolution. 47 (6): 385–398. doi:10.1016/j.jhevol.2004.08.006. PMID 15566945.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 Singleton, I.; Wich, S.; Husson, S.; Stephens, S.; Utami Atmoko, S.; Leighton, M.; Rosen, N.; Traylor-Holzer, K.; Lacy, R.; Byers, O. (2004). "Orangutan population and habitat viability assessment". Final Report. IUCN/SSC Conservation Breeding Specialist Group (CSG). IUCN.
  9. Rijksen, H. D. (1978). "A Field Study on Sumatran Orang utans (Pongo pygmaeus abelli, Lesson 1827)". Ecology, Behavior and Conservation. Wageningen: Veenaman and Zonen.
  10. Mittermeier, R. A.; Wallis, J.; Rylands, A. B.; Ganzhorn, J. U.; Oates, J. F.; Supriatna, E. A.; Palacios, E.; Heymann, E. W.; Kierulff, M. C. M., บ.ก. (2009). Primates in Peril: The World's 25 Most Endangered Primates 2008–2010 (PDF). Arlington, VA.: IUCN/SSC Primate Specialist Group (PSG), International Primatological Society (IPS), and Conservation International (CI). pp. 1–92. ISBN 978-1-934151-34-1. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 2011-01-29.

ข้อมูล

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้