กลุ่มปิม ฟอร์เตาน์
กลุ่มปิม ฟอร์เตาน์ (ดัตช์: Lijst Pim Fortuyn หรือย่อเป็น LPF) เป็นพรรคการเมืองฝ่ายขวาในประเทศเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นโดยปิม ฟอร์เตาน์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยและนักข่าวการเมือง โดยตั้งใจจะก่อตั้งพรรคในนามพรรคเนเธอร์แลนด์น่าอยู่ (Leefbaar Nederland) ลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2002 แต่ถูกตัดสิทธิ์หัวหน้าพรรคในเดือนกุมภาพันธ์เนื่องจากกรณีการสัมภาษณ์ในประเด็นผู้อพยพ จึงได้ก่อตั้งกลุ่มปิม ฟอร์เตาน์ขึ้นแทนในอีกไม่กี่วันต่อมา หลังจากนั้นได้รับความสนใจจากสาธารณชนพอสมควรก่อนที่ปิม ฟอร์เตาน์จะถูกลอบสังหารเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม ค.ศ. 2002 เพียงเก้าวันเท่านั้นก่อนการเลือกตั้งจะเกิดขึ้น แต่พรรคได้ยืนยันที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งต่อไป จนกลายเป็นพรรคที่ได้รับคะแนนเสียงสูงสุดเป็นอันดับสองในการเลือกตั้ง
กลุ่มปิม ฟอร์เตาน์ Lijst Pim Fortuyn | |
---|---|
ชื่อย่อ | LPF |
ผู้ก่อตั้ง | ปิม ฟอร์เตาน์ |
ประธาน | ปิม ฟอร์เตาน์ (2002) เปเตอร์ ลางเกินดัม (2002) เอ็ด มาส (2002–2003) แซร์เกย์ โมเลอเฟ็ลด์ (2004–2006) แบร์ต สเนล (2006–2008) |
หัวหน้า | ปิม ฟอร์เตาน์ (2002) (†) ว่าง (2002) มัต แฮร์เบิน (2002) แฮร์รี ไวน์สเคงก์ (2002) มัต แฮร์เบิน (2002–2004) เคราร์ด ฟัน อัส (2004–2006) มัน เฮร์เบิน (2006) โอลัฟ สตูเคอร์ (2006) ว่าง (2006–2008) |
ก่อตั้ง | 14 กุมภาพันธ์ 2002 |
ถูกยุบ | 1 มกราคม ค.ศ. 2008 |
แยกจาก | เนเธอร์แลนด์น่าอยู่ |
ที่ทำการ | Spaanse Kubus Vlaardingweg 62 รอตเทอร์ดาม |
อุดมการณ์ | ขวาจัด[1][2][3] ลัทธิอิงสามัญชน[4][5] คตินิยมแบบฟอร์เตาน์ อนุรักษนิยม[6][7] ชาตินิยม[5] คตินิยมต่อต้านสหภาพยุโรป[5][8] |
จุดยืน | ขวาจัด[6][9] |
สี | เหลืองและน้ำเงิน |
การเมืองเนเธอร์แลนด์ รายชื่อพรรคการเมือง การเลือกตั้ง |
กลุ่มปิม ฟอร์เตาน์ ได้จัดตั้งรัฐบาลผสมกับพรรคเรียกร้องประชาธิปไตยคริสเตียนและพรรคประชาชนเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย แต่ความขัดแย้งภายในพรรคทำให้รัฐบาลผสมต้องแตกหักและมีการเลือกตั้งครั้งใหม่ในอีกไม่กี่เดือนต่อมา หลังจากนั้น พรรคเสื่อมความนิยมลงเพราะขาดผู้นำที่ชัดเจน นำมาสู่การยุบพรรคใน ค.ศ. 2008
อ้างอิง
แก้- ↑ Pauwels, Teun (2014). Populism in Western Europe: Comparing Belgium, Germany and The Netherlands. Routledge. pp. 117–118. ISBN 9781317653912.
- ↑ Barbara Wejnert (26 July 2010). Democratic Paths and Trends. Emerald Group Publishing. p. 28. ISBN 978-0-85724-091-0. สืบค้นเมื่อ 20 August 2012.
- ↑ Thomas Poguntke; Paul Webb (21 June 2007). The Presidentialization of Politics: A Comparative Study of Modern Democracies. Oxford University Press. p. 158. ISBN 978-0-19-921849-3. สืบค้นเมื่อ 24 August 2012.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Coalition Politics and Cabinet Decision Making. p.90. Author - Juliet Kaarbo. Published by the University of Michigan. First published in 2012. Accessed via Google Books.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Aleksandra Moroska (2009). "Right-wing Populism and Euroscepticism in Western and Eastern Europe – List Pim Fortuyn and League of Polish Families, Comparative Approach". ใน Krisztina Arató; Petr Kaniok (บ.ก.). Euroscepticism and European Integration. CPI/PSRC. pp. 308–320. ISBN 978-953-7022-20-4.
- ↑ 6.0 6.1 Thijl Sunier; Rob van GInkel (2006). "'At Your Service!' Reflections on the Rise of Neo-Nationalism in the Netherlands". ใน André Gingrich; Marcus Banks (บ.ก.). Neo-nationalism in Europe and Beyond: Perspectives from Social Anthropology. Berghahn Books. p. 121. ISBN 978-1-84545-190-5.
- ↑ Raymond Taras (2012). Xenophobia and Islamophobia in Europe. Edinburgh University Press. p. 185. ISBN 978-0-7486-5489-5.
- ↑ Cas Mudde (2007). "A Fortuynist Foreign Policy". ใน Christina Schori Liang (บ.ก.). Europe for the Europeans: The Foreign and Security Policy of the Populist Radical Right. Ashgate Publishing, Ltd. p. 217. ISBN 978-0-7546-4851-2.
- ↑ Andeweg, R. and G. Irwin Politics and Governance in the Netherlands, Basingstoke (Palgrave) p.49