โอมัร หยาต มหัล
โอมัร หยาต มหัล (อูรดู: عمر حیات محل; Omar Hayat Mahal หรือ Umer Hayat Mahal) เป็นหเวลีไม้ที่สร้างขึ้นในต้นศตวรรษที่ 20 ตั้งอยู่ในจนิโยฏ ประเทศปากีสถาน[1][2] เริ่มก่แสร้างในปี 1923 แล้วเสร็จในปี 1935 แรกเริ่มมีความสูง 5 ชั้น[3] สร้างขึ้นโดย เศข โอมัร หยาต (Sheikh Omar Hayat) นักธุรกิจชาวเมืองจนิโยฏที่ไปร่ำรวยในกัลกัตตา[4] อาคารนี้แสดงให้เห็นถึงฝีมือช่างศิลป์และช่างไม้ของจนิโยฏ ทั้งภายในและภายนอกอาคารซึ่งประดับอย่างสวยงาม[4]
عمر حیات محل | |
ฟาซาดด้านหน้าของอาคาร | |
พิกัด | 31°43′09″N 72°58′48″E / 31.719217°N 72.980056°E |
---|---|
ที่ตั้ง | จนิโยฏ แคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน |
ประเภท | หเวลี |
เริ่มก่อสร้าง | 1923 |
สร้างเสร็จ | 1935 |
ประวัติศาสตร์
แก้นักเขียนชาวอังกฤษที่บันทึก District Gazeteer of Jhang กล่าวข่านถึงอาคารนี้ว่าเป็น 'สิ่งมหัศจรรย์ของที่นี่' (local wonder)[4] งบประมาณก่อสร้างหเวลนี้สิริรวมอยู่ที่ 200,000 รูปี[4] และเศข โอมัร เสียชีวิตไม่นานหลังก่อสร้างแล้วเสร็จในปีเดียวกัน[4] ลูกชายคนเดียวของเศข คือ กุลซัร โวหระ (Gulzar Vohra) จัดพิธีแต่งงานในหเวลีอย่างยิ่งใหญ่ในปี 1937[4] เขาถูกพบเสียชีวิตในหเวลีในวันต่อมา เข้าใจว่าเกิดจากภาวะพิษคอร์บอนมอน็อกไซด์จากการเผาถ่านหินจำนวนมากในการเฉลิมฉลองงานแต่งงาน[4] ร่างของเขาถูกฝังเคียงข้างมารดาซึ่งเสียชีวิตในเวลาต่อมา ที่ในลานกลางของบ้าน[4]
หลังจากนั้นมา หเวลีจึงถูกทิ้งร้างเนื่องด้วยถูกมองว่าเกี่ยวข้องกับโชคร้าย[4] ทาสรับใช้ในหเวลียังคงอยู่อาศัยต่อภายมน[4] ในปี 1940 องค์การ Anjuman-e-Islamia ได้แปรสภาพอาคารมาเป็นโรงเรียน และในปี 1948 เศข มุฮัมมัด อะมิน (Sheikh Muhammad Amin) ใช้อาคารเป็นศูนย์รับเลี้ยงเด็กกำพร้า ก่อนจะถูกทิ้งร้างอีกครั้งในปี 1950[4] หลังจากนั้น อาคารถูกขโมยบุกรุกเข้าถอดชิ้นงานศิลปะและของประดับภายในอาคารไปขายต่อ[4]
และในทศวรรษ 1970s ชั้นสองชั้นบนถูกรื้อถอนเนื่องจากถูกทิ้งร้างจนไม่ปลอดภัย อีกชั้นต้องถูกทิ้งเนื่องจากถูกฝนถล่มอย่างหนักในปี 1993[3]ท้ายที่สุด รัฐบาลเข้าครอบครองอาคารในปี 1989 และมีการบูรณะครั้งใหญ่ในกลางทศวรรษ 1990s ด้วยเงินจากการระดมทุนของชุมชนท้องถิ่น[4] ปัจจุบันอาคารใช้งานเป็นหอสมุดและศูนย์วัฒนธรรม[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Historic Royal Palaces of Pakistan". nation.com.pk. 23 May 2016.
- ↑ "These photos will take you on a magical trip through Chiniot". Dawn. 24 February 2016.
- ↑ 3.0 3.1 Oriental Architecture. "Asian Historical Architecture: A Photographic Survey". www.orientalarchitecture.com. สืบค้นเมื่อ 2018-02-02.
- ↑ 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 4.13 Ali, Aown (2015-12-03). "Umar Hayat Mahal: Chiniot's dying 'wonder'". DAWN.COM (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-02-02.