Nomen dubium
nomen dubium (ภาษาละติน แปลว่า "ชื่อชนิดที่ไม่แน่นอน ยังมีข้อสงสัย", pl. nomina dubia ) ในระบบชื่ออนุกรมวิธานสัตว์สากล (ICZN) คือชื่อวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่แน่นอน หรือยังมีข้อสงสัยว่าใช้ได้ ส่วนหมายเหตุในระบบชื่ออนุกรมวิธานพืชสากล (ICBN) และ ระบบชื่ออนุกรมวิธานแบคทีเรียสากล (ICNB) คำว่า "nomen dubium" คือไม่มีสถานะ
ในบางกรณี เป็นไปได้ที่มันอาจถูกกำหนดเป็น nomen dubium เพราะยังไม่แน่ใจว่าตัวอย่างถูกจัดอยู่ในกลุ่มหรือไม่ ในกรณีนี้อาจเกิดได้จากตัวอย่างต้นแบบดั้งเดิมหรือ ตัวอย่างต้นแบบแรกสูญหายหรือถูกทำลาย การตั้งชื่อของตัวอย่างต้นแบบตัวอย่างใหม่ หรือตัวอย่างใหม่แทนตัวอย่างต้นแบบ nomen dubium จะถูกใช้ในกรณีแบบนี้
บางชื่ออาจจะกลายเป็น nomen dubium ถ้าตัวอย่างต้นแบบแรกของมันไม่ครบสมบูรณ์หรือไม่เพียงพอ ขาดส่วนสำคัญที่จะใช้ในการวินิจฉัย (เกิดขึ้นบ่อยๆในกรณีซากดึกดำบรรพ์) เพื่อความเสถียรภาพมั่นคง ระบบชื่ออนุกรมวิธานสัตว์สากลจะให้ตัวอย่างต้นแบบตัวอย่างใหม่ หรือ ตัวอย่างใหม่แทนตัวอย่างต้นแบบ ใช้ nomen dubium
ยกตัวอย่าง สัตว์เลื้อยคลานจำพวกอาร์โคซอร์ Parasuchus hislopi Lydekker ที่คล้ายจระเข้ ในปี ค.ศ. 1885 ได้ถูกพรรณนาจัดจำแนกบนพื้นฐานของจะงอย premaxillary (ส่วนจมูก) แต่มันก็ไม่เพียงพอที่จะจัดเป็น Parasuchus เหมือนญาติใกล้ชนิดของมัน ทำให้มันมีชื่อว่า Parasuchus hislopi-nomen dubium บรรพชีวินวิทยาชาวเท็กซัส Sankar Chatterjee เสนอตัวอย่างต้นแบบตัวอย่างใหม่ , โครงกระดูกที่สมบูรณ์, ที่ถูกค้นพบใหม่[1] ซึ่งต่อมา International Commission on Zoological Nomenclature พิจารณาและยอมรับในปี ค.ศ. 2003 ที่จะแทนที่ด้วยตัวอย่างใหม่แทนตัวอย่างต้นแบบ[2]
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Case 3165, Bulletin of Zoological Nomenclature 58:1 เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 30 March 2001.
- ↑ Opinion 2045, Bulletin of Zoological Nomenclature 60:2 เก็บถาวร 2007-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 30 June 2003.